การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

งานนี้นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของ พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ผ่านงานสถาปัตยกรรมและการใช้เทคโนโลยี จัดแสดงระหว่างวันที่ 10 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และจะย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ002 หวญ 41-32)

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ002 หวญ 41-32)

‘วังหน้า’ คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ในปัจจุบันคงมีน้อยคนที่อธิบายได้อย่างละเอียด ทั้งที่ในยุคสมัยหนึ่งผู้ดำรงตำแหน่ง ‘วังหน้า’ หรือ ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด คือสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ผู้ครอบครอง ‘วังหลวง’

อีกทั้งเมื่อบริบททางการเมืองการปกครองเปลี่ยนไปในแต่ละรัชสมัย บทบาทและความสำคัญของ ‘วังหน้า’ ก็เปลี่ยนตาม เช่นเดียวกับประโยชน์ใช้สอยของบริเวณที่เป็นวังหน้า เสมือนประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง การเดินชมร่องรอยในอดีตของพื้นที่วังหน้าจึงเท่ากับได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์สำคัญๆ ถึง 3 ยุคของกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยความตั้งใจที่จะนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจความเป็นวังหน้าแบบง่ายๆ และน่าสนใจ คุณสิริกิติยา เจนเซน หรือ คุณใหม่ พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จึงร่วมมือกับ The Cloud และ เครื่องดื่ม 100PLUS ชวนผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันมานำ Walk with The Cloud ชมพื้นที่ที่เคยเป็น ‘วังหน้า’ ในอดีต

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

“ที่เลือกทำเรื่อง ‘วังหน้า’ เพราะคิดว่าคนยังไม่ค่อยรู้จัก อยากให้คนเปลี่ยนวิธีคิด ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ประวัติศาสตร์เป็น Collection of Memories ที่เล่าโดยหลายๆ คนในแต่ละยุค และไม่เหมือนกัน ทำไม ‘วังหน้า’ จึงวางผังแบบนี้ ทำไมจึงอยู่ติดริมน้ำ ความคิดของคนยุคนั้นคืออะไร จึงได้จัดทัวร์เดิน โดยให้มีวิทยากร 3 คน ประกอบด้วยสถาปนิก ภูมิสถาปนิก และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ จะได้เห็นประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลง และการเชื่อมโยงระหว่าง 3 แง่มุมนี้” คุณใหม่กล่าว

ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม, ดร.พรธรรม ธรรมวิมล และ ผศ. ดร.พีรศรี โพวาทอง จะมาช่วยกันให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ การวางผังเมือง และรูปแบบสถาปัตยกรรม ของอาณาบริเวณ ‘วังหน้า’ ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

‘วังหน้า’ คืออะไร สำคัญอย่างไร

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพวาดจากหนังสือ Portrait of Bangkok (Published to Commemorate the Bicentennial of the Capital of Thailand by the Bangkok metropolitan Administration) โดย Larry Sternstein, ค.ศ.1982 / พ.ศ. 2555

วังหน้า หรือ พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นคำที่มีมาแต่สมัยอยุธยา มีความหมาย 2 อย่าง คือ สถานที่ (ที่ประทับของบุคคลที่มีสถานะสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์) และบุคคล (ผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่เรียกว่า พระมหาอุปราช ในสมัยอยุธยา)

สาเหตุที่เรียก ‘วังหน้า’ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า เพราะตั้งอยู่ ‘ด้านหน้า’ ของวังหลวง วังจันทรเกษมซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชก็อยู่ทางทิศตะวันออกอันเป็นด้านหน้าของวังหลวงเช่นกัน

วังหน้าพระองค์สำคัญ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งนี้ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา และประทับ ณ พระราชวังจันทรเกษม ที่ถือเป็นวังหน้าในสมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 4

วังหน้าในสมัยรัตนโกสินทร์มีทั้งสิ้น 6 พระองค์ ประทับอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล ทางทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ตำแหน่งวังหน้าถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้น บริเวณที่เป็นวังหน้าจึงถูกเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้สอยต่างๆ กันไป เช่น พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร บางส่วนเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ใครดำรงตำแหน่ง ‘วังหน้า’ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพจากหนังสือ ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ โดยกรมศิลปากร (พ.ศ. 2556)

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งพระมหาอุปราชมักจะได้แก่พระราชโอรส หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชโอรสหรือพระราชโอรสยังทรงพระเยาว์ ตำแหน่งนี้จะเป็นของผู้ใกล้ชิดรองลงมาคือสมเด็จพระอนุชา หรืออาจเป็นผู้ที่เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนเพื่อขึ้นครองราชย์ เช่น พระราชนัดดา หรือข้าราชการสำคัญๆ

ในสมัยกรุงธนบุรีไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีวังหน้ารวมทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่

สมัยรัชกาลที่ 1

  1. กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ 1)
  2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) แต่งตั้งเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททิวงคต

สมัยรัชกาลที่ 2

  1. เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ (สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ 2)

สมัยรัชกาลที่ 3

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ (พระปิตุลาในรัชกาลที่ 3)

สมัยรัชกาลที่ 4

  1. เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ 4) ต่อมาโปรดฯ ให้เปลี่ยนพระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏจากเดิมว่า ‘พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ เป็นพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดินว่า ‘พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ทรงเป็นวังหน้าที่มีพระเกียรติสูงยิ่งกว่าวังหน้าสมัยใด

สมัยรัชกาลที่ 5

  1. กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ขณะนั้นมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์จึงอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงดำรงตำแหน่งวังหน้า นับเป็น ‘วังหน้า’ พระองค์ที่ 6 และพระองค์สุดท้าย ทรงเป็นวังหน้าพระองค์แรกที่พระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงแต่งตั้ง

แต่ครั้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งวังหน้า และทรงเริ่มประเพณีการสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มาจนปัจจุบัน

ความสำคัญของวังหน้าในแง่การวางผังเมือง

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ดร.พรธรรม กล่าวว่า การเดินคราวนี้เราไม่ได้มาดูแต่ตัวอาคาร รูปแบบสถาปัตยกรรม หรือจิตรกรรมภายใน แต่จะดูในแง่การวางผังเมืองด้วยว่า ทำไมวังหน้าจึงอยู่ตรงนี้ ต้องมีการเปรียบเทียบกับผังของเมืองว่าวังหน้าอยู่ตรงไหน สมัยก่อน จุดสำคัญของเมืองมักจะอยู่ติดกับน้ำ และวังหน้าก็อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้าศึกษาจากภาพถ่ายเก่าจะเห็นชัดเจนว่าพื้นที่วังหน้ากินอาณาบริเวณตรงไหนบ้าง

การที่วังหน้าอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาก็แสดงให้เห็นความสำคัญในแง่การปกป้องเมือง เพราะในยุคแรกๆ บทบาทของวังหน้าเป็นอย่างนั้น เมื่อดูจากตำแหน่งที่อยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกน้อย และต้นคลองรอบกรุง จะเห็นได้ว่าเป็นพื้นที่ของการปกป้องจริงๆ นอกจากตำแหน่งแล้ว ในแง่ของการวางผังเมือง สิ่งสำคัญของวังหน้าอีกข้อคือ ขนาด อาณาบริเวณที่เป็นวังหน้าเรียกได้ว่ามีขนาดใหญ่มากพอๆ กับวังหลวงเลยทีเดียว

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพถ่ายทางอากาศของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยวิลเลียมส์ ฮันต์ ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ.WH2/41 กล่อง 1)

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

แผนที่วังหน้า จ.ศ. 1249 หรือ พ.ศ. 2430 หรือ ค.ศ. 1887 ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

พื้นที่ที่เคยเป็นวังหน้า ประตูวังหน้าทางทิศใต้ เล็งไปที่วังหลวง หากยืนตรงถนนหน้าพระธาตุจะเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ การวางผังเมือง การวางตำแหน่งของอาณาเขตที่เป็นวังหน้า ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจที่จะสื่ออะไรบางอย่าง เช่น ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือแฝงความหมายในการเป็นจุดยุทธศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันยังพอมองเห็นร่องรอยเหล่านี้อยู่ สิ่งที่ยังหลงเหลือเป็นหลักฐานชัดเจนคืออาคารต่างๆ ซึ่งถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ และยังเห็นร่องรอยสถาปัตยกรรมเฉพาะของวังหน้าที่ไม่เหมือนวังหลวง

ความสำคัญของวังหน้าในแง่สถาปัตยกรรม

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

วังหน้าแต่ละพระองค์มีบทบาทและความยาวนานในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน วังหน้าที่ทรงทิ้งมรดกทางสถาปัตยกรรมไว้มากที่สุดคือพระองค์แรก (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) กับพระองค์ที่ 4 (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ) ซึ่งเป็นพระองค์ที่โปรดให้ซ่อมพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนสวยงาม

ผศ. ดร.พีรศรี กล่าวว่า สถาปัตยกรรมวังหน้าเป็นรองแต่เพียงวังหลวง และบทบาทที่เปลี่ยนไปของวังหน้าก็สะท้อนออกมาในสถาปัตยกรรม

ตำแหน่งวังหน้านี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อมารื้อฟื้นอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงทำให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่โต มีแบบแผนฐานานุศักดิ์กำกับโดยเฉพาะ เป็นส่วนหนึ่งของการรื้อฟื้นความเจริญสมัยกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง อาคารต่างๆ ก็เปลี่ยนหน้าที่การใช้สอยไปตามสภาพสังคมในขณะนั้น เช่น เป็นโรงทหาร เป็นมหาวิทยาลัย

ส่วนที่มีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่งยวดคือส่วนที่เป็นเขตพระราชฐาน ซึ่งเป็นเหมือนแหล่งรวมประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เรื่อยมาจนรัชกาลที่ 7 ที่เราจะเห็นพัฒนาการโครงสร้างของรูปแบบอาคารหลายๆ ยุค

ความเป็นพระราชวังต้องมีเขตส่วนหน้า ชั้นกลาง และชั้นใน แต่ส่วนที่เหลืออยู่จนถึงปัจจุบันอย่างส่วนที่เป็นวัด ที่ประทับ คือส่วนที่สำคัญที่สุด ส่วนที่หายไปแล้วคือเขตพระราชฐานฝ่ายหน้า (ปัจจุบันคือส่วนของท้องสนามหลวง) อีกส่วนหนึ่งคือเขตฝ่ายใน ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนไปเป็นโรงทหารในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 8 ซึ่งทุกที่ล้วนมีเรื่องราวของตัวเอง

ความสำคัญของวังหน้าในแง่ประวัติศาสตร์ศิลปะ

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะคือการศึกษาคนในอดีต จิตรกรรมและประติมากรรมของวังหน้าคือภาพบันทึกอดีต ซึ่งไม่ใช่อดีตที่หยุดนิ่ง แต่เป็นอดีตที่เคลื่อนไหว

ไฮไลต์สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะวังหน้าคือพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระอุโบสถ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ซึ่งบันทึกเรื่องราวแตกต่างกันไป ภาพจิตรกรรมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เล่าเรื่องพุทธประวัติ เน้นความสวยงามแบบอุดมคติ ในขณะที่จิตรกรรมในวัดพระแก้ววังหน้าเล่าเรื่องตำนานการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จึงมีเรื่องราวของสามัญชนเพิ่มเข้ามา

อีกทั้งภาพจิตรกรรมในสองสถานที่นี้ยังเป็นหลักฐานชัดเจนว่าภาพจิตรกรรมมีการเคลื่อนไหว มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรัชกาล เช่น มีลักษณะเป็นตะวันตกมากขึ้น ดังนั้น ภาพจิตรกรรมจึงเป็นภาพบันทึกประวัติศาสตร์ บันทึกลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละยุค

6 จุดในเส้นทางชมร่องรอยอดีตของวังหน้า

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

จุดที่ 1

แนวกำแพงวังหน้า อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

สาเหตุที่วังหน้าตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากจะเข้าถึงทางน้ำได้โดยตรงแล้ว ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ในเชิงทหาร ถ้าดูจากภาพถ่ายทางอากาศก็จะเห็นว่า วังหน้าอยู่ในจุดที่ทำหน้าที่ปกป้องส่วนสำคัญที่สุดของเมือง คือวังหลวง (พระบรมมหาราชวัง) และปกป้องเมือง (ที่อยู่ด้านหลังของวังหน้า)

จุดนี้แสดงให้เห็นความสำคัญในแง่การวางผังเมือง กรุงรัตนโกสินทร์เลือกที่ตั้งโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแกนหลัก จึงเห็นความสัมพันธ์ของแม่น้ำกับเมือง วังหน้าเป็นส่วนสำคัญของเมืองในสมัยนั้น จุดนี้คือทิศเหนือของเกาะรัตนโกสินทร์ มองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาและปากคลองบางกอกน้อย เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มองเห็นคนที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะคนที่มาจากพม่า มาจากทางเหนือ

จุดที่หนึ่งนี้จะเห็นร่องรอยกำแพงเมืองและกำแพงโรงทหาร กำแพงเมืองคือส่วนที่อยู่ใต้โรงอาหาร เป็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ ส่วนกำแพงโรงทหารนั้นอยู่กลางแจ้ง ตรงหน้าคณะรัฐศาสตร์ ก้อนอิฐมีขนาดเล็กกว่าเพราะสร้างในสมัยหลัง และทั้งสองกำแพงในปัจจุบันนั้นตั้งอยู่บนแนวกำแพงเดิม

จุดที่ 2

ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

เนื่องจากวังหน้าไม่ได้เป็นสมบัติส่วนตัว แต่เป็นสมบัติของแผ่นดิน การใช้สอยพื้นที่จึงเปลี่ยนแปลงไปตามการปกครอง ในสมัยที่ยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บริเวณนี้ใช้เป็นตำหนักฝ่ายใน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำแหน่งวังหน้าถูกยกเลิก ตึกหลังนี้จึงกลายมาเป็นโรงทหาร ที่ที่ทหารใช้พักอาศัย

การใช้พื้นที่เปลี่ยนไปอีกครั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย สยามไม่ต้องพะวงกับการสงครามเหมือนครั้งต้นกรุง ในสมัยรัชกาลที่ 8 จึงใช้พื้นที่เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ตึกโดมที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเชิงสถาปัตยกรรมนั้นไม่ใช่โดม ความน่าสนใจของอาคารหลังนี้คือความสามารถของสถาปนิก (คุณจิตรเกษม หรือ คุณหมิว อภัยวงศ์) ที่แปลงอาคารเก่าโครงสร้างก่ออิฐถือปูนสมัยรัชกาลที่ 5 โดยใช้ที่ว่างระหว่างอาคารโรงทหาร 2 หลัง ใส่อาคารที่เป็น ‘ตึกโดม’ เข้าไปตรงกลาง อาคารใหม่นี้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างในสมัยรัชกาลที่ 8 สถาปนิกออกแบบให้มีส่วนโค้งที่สอดรับกับตึกเก่า จึงเหมือนได้ตึกใหม่โดยที่ไม่ต้องลงทุนมาก

จุดที่ 3

ถนนพระจันทร์มุ่งหน้าไปยังสนามหลวง

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

พื้นที่วังหน้าเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับถนนสายสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคต้น คือถนนราชดำเนิน ตามแนวกำแพง ถนนพระจันทร์อันเป็นถนนเก่าแก่ เชื่อมตั้งแต่ป้อมพระจันทร์ (ท่าพระจันทร์ในปัจจุบัน) วิ่งตรงเข้าไปในสนามหลวง พอยกเลิกตำแหน่งวังหน้าแล้ว เขตพระราชฐานชั้นนอกของวังหน้าจึงกลายเป็นสนามหลวง ดังนั้น สถาปัตยกรรมจึงเปลี่ยนไปพร้อมกับเมือง (วิธีเดินทางหลักอย่างทางน้ำก็เปลี่ยนมาเป็นถนนต่างๆ ได้แก่ ถนนราชดำเนิน ถนนรอบสนามหลวง)

ปลายถนนก่อนถึงสนามหลวง บริเวณวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มีสวนเล็กๆ ร่มรื่นชื่อสวนปิ่มสาย พื้นที่นี้เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งทรงผนวช และปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

ในสนามหลวงที่โล่งว่างยังเคยมี ‘พลับพลาสูง’ อาคารสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้ทอดพระเนตรขบวนทหาร เป็นอาคารสวยงามที่ตกแต่งอย่างสมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื่องจากปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยตัวอาคารแล้ว กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญสถาปัตยกรรมไทยจากโครงการ ‘วังน่านิมิต’ จึงเก็บข้อมูลจากภาพถ่ายเก่าและพระที่นั่งใกล้เคียงมาสร้างเป็นโมเดลใหม่

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพโดย กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ภาพโดย กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล

ปัจจุบันนี้ พอเราเดินเข้า ‘วังหน้า’ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ก็จะเห็นอาคารและพระที่นั่งต่างๆ แต่เมื่อก่อนนั้นไม่ใช่ การเดินเข้าวังหน้าต้องผ่านกำแพงชั้นนอกก่อน มีการควบคุม พอเข้ามาในบริเวณที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน จึงเห็นอาคารต่างๆ ที่บ่งบอกรูปแบบสถาปัตยกรรมหลายยุคหลายสมัย เช่น พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ซึ่งสร้างสมัยรัชกาลที่ 1 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นของวังหน้าโดยเฉพาะ (ในแง่ลวดลายและเครื่องตกแต่ง)

จุดที่ 4

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

พระที่นั่งคชกรรมประเวศ ภาพจากสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ.002หวญ41-26)

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

ที่นี่ใช้เป็นหอพระ คือที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมของที่นี่ถือว่าเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมวังหน้า การที่พื้นนั้นยกสูงขึ้นมาก็เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพื่อให้มองเห็นข้างนอกได้ไกล

จิตรกรรมฝาผนังที่นี่เขียนภาพเทพชุมนุมและพุทธประวัติ แนวความคิดอุดมคติแบบนี้เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนภาพเหล่าเทพมาไหว้บูชาเจดีย์จุฬามณี มีภาพสวรรค์ชั้นต่างๆ สวรรค์ชั้นบนสุดเป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ และเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคตก็จะเสด็จไปเสวยสุขที่สวรรค์ชั้นนั้นเพื่อรอการจุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก

ภาพที่สำคัญและเป็นภาพสุดท้ายของเรื่องราวทั้งหมดคือ ภาพถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดเหตุอัศจรรย์คือจุดไฟอย่างไรก็จุดไม่ติด ต้องรอให้พระมหากัสสปะ พระอัครสาวก มาถึงก่อน พระบาทของพระพุทธเจ้ายื่นออกมาให้พระมหากัสสปะได้กราบ จากนั้นจึงจุดไฟติดและถวายพระเพลิงได้ หลังจากนั้นกษัตริย์จากต่างเมืองต่างก็ทำการรบพุ่งเพื่อแย่งชิงพระสารีริกธาตุ (กระดูกของพระพุทธเจ้า) โทณพราหมณ์ห้ามทุกคนไว้ แต่กลับแอบขโมยพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาเก็บไว้เสียเอง โดยเหน็บไว้ที่มวยผม จึงปรากฏภาพพระอินทร์เหาะลงมา เอาพระเขี้ยวแก้วคืนจากโทณพราหมณ์ขึ้นไปไว้ที่เจดีย์จุฬามณี

ตามประวัติ พระที่นั่งนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 และมีการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 เชื่อว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังทำเสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 1 และเมื่อมาบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้เห็นฝีมือช่างที่แตกต่างระหว่างสมัยรัชกาลที่ 1 กับ 3 แต่ไม่ได้เห็นชัดเจน เป็นเพียงการคาดเดา เพราะช่วงเวลาไม่ได้ห่างกันมากนัก ความแตกต่างที่สังเกตได้ เช่น ช่างเขียนภาพให้มีระยะใกล้ไกล ซึ่งเป็นเทคนิคของตะวันตกที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3

หลังจากนั้นหลังคาเกิดรั่ว ทำให้น้ำไหลลงมาจนภาพจิตรกรรมชำรุดเสียหายมาก จึงมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 และมีบางจุดที่สังเกตเห็นได้ชัดว่าเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 7 เช่น การปัดฝีแปรงเป็นพุ่มไม้ ซึ่งไม่มีในสมัยรัชกาลที่ 1 หรือ 3

จุดที่ 5

พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นตึกโครงสร้างก่ออิฐถือปูนแบบไทย แต่หน้าตาเป็นแบบตะวันตก เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นยุคที่วังหน้ารุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นเหมือนพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 ของประเทศ สถานะของวังหน้าในยุคนี้จึงคล้ายเป็นวังหลวงกลายๆ

พระที่นั่งองค์นี้มีลักษณะอย่างฝรั่ง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนายพลทหารเรือ และทรงรู้ภาษาอังกฤษ ตึกนี้จึงเป็นสิ่งที่บอกวิวัฒนาการของวังหน้า โดยขึ้นอยู่กับผู้ครอบครองวังในแต่ละยุค เพราะมีทั้งการผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตกกับสถาปัตยกรรมเมืองร้อน การตกแต่งเครื่องเรือน เครื่องประดับภายใน รวมถึงลักษณะการอยู่อาศัยเป็นแบบตะวันตกทั้งสิ้น เช่น มีพระบรมรูปปั้นของประมุขประเทศอังกฤษ รัสเซีย และเยอรมนี ที่ส่งมาน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

จุดที่ 6

พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

การเข ยนเล าเร องท ม บวร มาเก ยวข องด วย

พระอุโบสถแห่งนี้กับที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ถือว่ามีจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่น ส่วนที่พระที่นั่งองค์อื่นๆ มีจิตรกรรมเพียงเล็กน้อย ในทางสถาปัตยกรรม ผังอาคารของพระอุโบสถหรือโบสถ์ของวังหน้าเป็นแบบจตุรมุข เทียบเท่ากับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง

จิตรกรรมที่นี่ไม่เหมือนที่ใด เพราะเขียนภาพตำนานการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเหนือ แต่พอเขียนจิตรกรรมเสร็จกลับเกิดการเปลี่ยนแปลง พระพุทธสิหิงค์จึงถูกนำไปไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์แทน

ข้อแตกต่างระหว่างจิตรกรรมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์กับที่อุโบสถก็คือ ที่นี่มีภาพวิถีชีวิตชาวบ้าน ไพร่พล ราษฎร ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากกว่าภาพจิตรกรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ซึ่งเป็นเรื่องพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะและเรื่องราวในราชสำนัก

จิตรกรรมในอุโบสถเป็นเรื่องการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งไม่ได้มีแต่เรื่องของพระมหากษัตริย์ แต่มีเรื่องของผู้คนธรรมดาด้วย จำนวนคนที่มากขึ้นทำให้ขนาดภาพเล็กลง และต้องใช้พู่กันตัดเส้นละเอียด จึงมีความละเอียดมาก

อย่างไรก็ตาม จิตรกรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์มีคุณค่าในฐานะเป็นภาพเขียนอุดมคติที่งามมาก ตัวละครเดินเหินแบบนาฏลีลา เป็นภาพแบบราชสำนักชั้นสูง แต่ภาพในอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าเป็นของคนธรรมดา ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทย ที่แต่ก่อนจะเขียนแต่ภาพของกษัตริย์ ภาพในวัง เรื่องของคนธรรมดาจะมีน้อย ภาพจิตรกรรมของทั้งสองสถานที่จึงถือเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3