การ เขียน แผนการ สอน ที่ ดี

ศึกษา และปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย การเขียนชุดคำสั่ง และการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโคบอล หลักการต่าง ๆ ของวิธีการเขียนโปรแกรม ความรู้ทั่วไป หลักการภาษาโคบอล ส่วนประกอบ และโครงสร้างของภาษาโคบอล การออกแบบโปรแกรมโครงสร้าง การแก้ไขข้อผิดพลาด การทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม และเทคนิคการจัดการแฟ้มข้อมูลในโปรแกรมภาษาโคบอล และปฏิบัติการเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจด้วยภาษาโคบอล

สอดคล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่

จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ

3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบ

ยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะ

พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

4. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียน

เกิดการเรียนรู้

5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิด

ความเข้าใจในหลักการได้ง่าย

6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วง

ที่ทำการวัด (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้

ถ้าครูได้ทำแผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้น เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 134)

1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน

2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ

3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด

การวางแผนการจัดการเรียนรู้

           การวางแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การตีความหมายของหลักสูตร และการกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรที่จะต้องนำมาจัดการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียน ผลจากการวางแผนจะได้คู่มือที่ใช้เป็นแนวทาง เรียกว่ากำหนดการสอน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการ

การประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 2 – 7)

1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว

ดำเนินการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้

2. ศึกษาความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของหลักสูตร


3. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง โดยพิจารณาขอบข่ายเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา

แผนการสอน ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำหรับการเป็นครูนั้น ก็คือการจัดทำ แผนการสอน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งภาระงานที่ครูต้องทำ โดยจะมีหลักการทำ แผนการสอนไว้

แนวการจัดทำ แผนการสอน แผนจัดการเรียนรู้

1. ความหมายและกระบวนการจัดการเรียนรู้

1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการสอน โดยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงเหมาะสมกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบหรือการกระทำด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง ส่งเสริมการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น โดยครูคอยให้คำแนะนำและดูแลนักเรียน
1.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
1) จัดเนื้อหาและกิจกรรมสอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน
2) จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกเวลาทุกสถานที่ ประสานกับผู้ปกครองเพื่อพัฒนาผู้เรียน
3) ฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
4) จัดให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ปฏิบัติจริง คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา
5) จัดการเรียนรู้ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม
6) จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้

2. สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
2.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2.2 ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
2.3 วิเคราะห์หลักสูตร
2.4 ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
2.5 ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล
2.6 ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ
2.7 ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
2.8 ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
2.9 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
2.10 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

3. หลักในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
3.1 ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
3.2 ใช้วิธีการสอนอย่างไร
3.3 สอนแล้วผลเป็นอย่างไร

4. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
4.1 สาระสำคัญ
4.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
4.3 เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
4.4 กิจกรรมการเรียนรู้
4.5 การวัดและประเมินผล (มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน)
4.6 สื่อและแหล่งเรียนรู้
47 ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ผู้นิเทศ
4.8 บันทึกผลหลังสอน

5. ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
5.1 ปก
5.2 ใบรองปก
5.3 คำนำ
5.4 สารบัญ
5.5 มาตรฐานการเรียนรู้
5.6 ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
5.7 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้รายภาค/รายปี
5.8 คำอธิบายรายวิชา
5.9 หน่วยการเรียนรู้
5.10 แผนการจัดการเรียนรู้
5.11 สื่อ/นวัตกรรม
5.12 บรรณานุกรม

6. แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

6.1 สาระสำคัญ
สาระสำคัญ หมายถึง ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาสาระ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆของเนื้อหาสาระของ แผนการสอน นั้น
วิธีเขียน แผนการสอน
1) เขียนอย่างสรุป กระชับ
2) ใช้คำที่มีความหมายเจาะจง แน่นอน เช่น “เป็น” “ประกอบ” “หมายถึง” “คือ”
3) เป็นการขยายชื่อเรื่อง
4) เขียนเป็นความเรียงหรือเป็นข้อก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมเป็นความเรียง
5) เริ่มด้วยสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของเนื้อหาก่อนแล้วตามด้วยรายละเอียดที่สำคัญ
เช่น เขียนชื่อเรื่อง ตามด้วย เป็น /หมายถึง/คือ แล้วตามด้วย ข้อความขยายชื่อเรื่อง
6.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการบอกให้ทราบว่าเมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วผู้เรียนจะทำอะไรได้บ้าง
วิธีเขียน
1) เขียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
2) เขียนให้สังเกตได้ วัดได้
3) การเขียนมีองค์ประกอบ 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นพฤติกรรม (ใช้คำกริยา)
ส่วนที่ 2 เงื่อนไขหรือสถานการณ์
ส่วนที่ 3 เกณฑ์ (ความสามารถขั้นต่ำในการบรรลุจุดประสงค์ )
6.3 เนื้อหาสาระ/สาระการเรียนรู้
1) เขียนให้มีความถูกต้อง
2) เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
3) เขียนเนื้อหาใหญ่ เนื้อหาย่อยและมีรายละเอียดของเนื้อหา

6.4 กิจกรรมการเรียนรู้
1) กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น
• กิจกรรมการซักถาม คือการตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ อาจซักถามเป็นกลุ่มหรือในชั้นเรียน เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน หรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ
• กิจกรรมการอภิปราย หัวข้อการอภิปรายอาจเป็นข้อความหรือเป็นคำถามก็ได้ (ส่วนใหญ่นิยมหัวข้อที่เป็นคำถาม) ผู้อภิปรายแต่ละคนจะแสดงเหตุผลหรืออธิบายเพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งหัวข้อที่กำหนดโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย และไม่มีการลงมติ อาจจะเป็นการอภิปรายปากเปล่าในกลุ่มหรือในชั้นเรียนและอาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย
• กิจกรรมการแสดงความคิดเห็น คือการตั้งข้อสังเกต หรือให้ข้อสรุป ตามความติดเห็นหรือตามเหตุผลของแต่ละบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องสนับสนุนหรือคัดค้าน อาจแสดงความเห็นโดยพูด หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนจะมีลักษณะทำนองเดียวกับการตอบคำถามที่ต้องการให้แสดงความเห็นหรือเหตุผลประกอบคำตอบในคำถามประเภทให้ตอบเสรี
• กิจกรรมการค้นหา คือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ข้อมูลสาระสนเทศ หรือทักษะกระบวนการ(การกระทำหลายการกระทำ ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นชุดเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง) ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวมหรือสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การบันทึก วิเคราะห์ สังเคราะห์ การทดลอง การตรวจสอบกฎหรือหลักการทางเศรษฐ์ศาสตร์ การหาคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
2) เทคนิคการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
• เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำคัญ
• จัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
• ใช้กระบวนการเรียนที่เหมาะสม
6.5 การวัดผลและประเมินผล
1) เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
2) มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน เช่น
• วิธีวัด
• เครื่องมือวัด
• เกณฑ์การวัดที่ชัดเจน
6.6 สื่อและแหล่งเรียนรู้
1) สื่อเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา/ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนและผู้เรียน
2) เรียงลำดับให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
3) ระบุสื่อ/ แหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
6.7 การวัดผลและประเมินผล
1) เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
2) มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน เช่น
• วิธีวัด
• เครื่องมือวัด
• เกณฑ์การวัด
6.8 บันทึกผลหลังสอน

7. แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สังเกตได้ดังนี้
7.1 มีองค์ประกอบครบถ้วน
7.2 เขียนแต่ละองค์ประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน
7.3 องค์ประกอบของแผนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
7.4 นำกระบวนการสอนมาใช้อย่างเหมาะสม
7.5 เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้แล้วผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
7.6 บันทึกผลหลังสอนได้ชัดเจน


เพียงแค่นี้ ก็สามารถทำ แผนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา :  toffycool.wordpress.com

การเขียนแผนการสอน ข้อควรรู้ แผนการสอน

Share on Facebook Share on Twitter

รูปแบบหรือแผนการสอนที่ดีควรเป็นอย่างไร

สรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะที่ช่วยส่งเสริมเจตคติที่ดี ช่วยสะท้อนให้ ผู้สอนเป็นนักคิด นักวางแผน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความเฉพาะเจาะจง ครอบคลุม และมีความ ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ตลอดจนมีความชัดเจน ทุกคนสามารถแปลความ ได้ตรงกันและมีการนาไปใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การเขียนแผนการสอนมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของแผนการสอนมีดังต่อไปนี้ 1)ผู้สอนและผู้เรียนรู้วัตถุประสงค์ของการสอน 2)ผู้สอน/คณะผู้ร่วม สอนเข้าใจตรงกันและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ 3)ผู้สอนสามารถวางแผนและจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน 4)สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพและใช้เป็นข้อมูล ในการประเมินผลการ ...

ขั้นตอนการเขียนแผนการสอน มีอะไรบ้าง

1) เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ชัดเจน 2) รวมเนื้อหาและขอบเขตได้ชัดเจน 3) ค้นคว้าเนื้อหาได้ตรงจุดและสะดวก 4) ออกแบบและเขียนแผนการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น 5) เลือกวิธีการเรียนรู้ได้ง่ายและเหมาะสม 6) สามารถสรุปความคิดรวบยอดส าคัญได้ดี 7) การวัดและประเมินผลมีความเที่ยงตรง

แผนการสอน 3 ขั้น มีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการเรียนการสอน.
ขั้นนำ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ส่งเสริมความสนใจและกระตุ้น ... .
ขั้นสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ดึงเอาความรู้เดิมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่นำ ... .
ขั้นสรุป จุดมุ่งหมายในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้สรุป และทบทวนความรู้ที่ได้รับว่าเพิ่มขึ้น.