ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

ใส่ความเห็น

Enter your comment here...

Fill in your details below or click an icon to log in:

อีเมล (ต้องการ) (Address never made public)

ชื่อ (ต้องการ)

เว็บไซต์

You are commenting using your WordPress.com account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Twitter account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Facebook account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

ยกเลิก

Connecting to %s

Notify me of new comments via email.

Notify me of new posts via email.

Δ

  • social-m123-test-sara1-2 - ข้อสอบ วิชาสังคมศึกษา ม.123 - สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม - เรื่องที่ 2 พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก และชาวพุทธตัวอย่าง Download PDF File

    3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

  • ***สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ม.2*** - ****สรุปเนื้อหา - วิชาสังคมศึกษา ม.2**** - สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม - สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม - สาระ...

    1 เดือนที่ผ่านมา

  • buddha-p1-test - ****ข้อสอบมาตรฐาน วิชาพระพุทธศาสนา ป.1**** - ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 พระพุทธศาสนา เรื่องที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา - ข้อสอบมาตรฐานชั้...

    4 ปีที่ผ่านมา

  • art-p1-test - ****ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 - วิชา ศิลปะ ดนตรี และนาฎศิลป์ **** - ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 - วิชา ศิลปะ ดนตรี และนาฎศิลป์ - ตอนที่ 1 ทัศนศิปล์ หน่วยที่ 1...

    4 ปีที่ผ่านมา

  • Kanngan-p5-test- - ****ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.5 - วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี**** - ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.5 - วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยที่ 1 งานบ้านน่ารู้ - ข้อส...

    4 ปีที่ผ่านมา

  • Main - - ****รวมแบบทดสอบ แบบฝึกหัด - อนุบาล - ประถม - มัธยม**** - *ข้อสอบมาตรฐาน ป.1 - ป.6* - *ข้อสอบมาตรฐาน ป.1* - ข้อสอบมาตรฐาน ป.1 - วิชาพระพุ...

    4 ปีที่ผ่านมา

  • About Ang Thong - อ่างทอง เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนล่าง มีเนื้อท่ 968 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่่น้ำสายสำคัญไหลผ่านสองสาย คือ แม่น้ำ...

    10 ปีที่ผ่านมา

  • Main - หน้าแรก เลือกหัวข้อได้เลยค่ะ

    59 ปีที่ผ่านมา

  • Main - ****คลังข้อสอบ แบบฝึกหัด และใบงาน**** *ข้อสอบมาตรฐาน ป.1 - ป.6* - *ข้อสอบมาตรฐาน ป.1* - ข้อสอบมาตรฐาน ป.1 - วิชาพระพุทธศาสนา

    59 ปีที่ผ่านมา

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

1.2 ทักษะในการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต

ทักษะเพื่อพัฒนาการทํางาน หมายถึง การนำความรู้ ความสามารถ เทคนิค และวิธีการต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวัน มีทักษะกระบวนการทำงาน มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหา มีทักษะการวิเคราะห์งาน มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดริเริ่ม ใช้ทักษะการจัดการในการบริหารงาน ใช้กระบวนการทำงานร่วมกันสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้เป็นอย่างดี ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม มีลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานที่สำคัญ มีดังนี้

1.2.1  ทักษะกระบวนการทำงานเพื่อดำรงชีวิต

    ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง การลงมือทำงานต่างๆด้วยตนเองหรือการทำงานกลุ่มให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. วิเคราะห์การทำงาน เป็นการกำหนดภาวะของงานหรือแจกแจงงานที่จะทำว่าเป็นงานประเภทใด หรือลักษณะงานที่จะต้องทำ ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และมีลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน2เป็นอย่างไรบ้าง

  2. วางแผนในการทำงาน ว่าจะใช้กำลังคนในการทำงานจำนวนเท่าไร จะทำคนเดียวหรือจะทำเป็นกลุ่มใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานนานเท่าใด ใช้สถานที่ใด จะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์อะไรบ้าง ปริมาณเท่าไร มีใครรับผิดชอบอะไรบ้าง เป็นต้น

  3. การลงมือทำงาน เป็นการทำงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้เป็นการฝึกให้มีนิสัยรักในการทำงาน มีความรับผิดชอบในหน้าที่การมีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงานจึงจะทำให้งานประสบผลสำเร็จได้

  4. การประเมินการทำงาน เป็นการตรวจสอบและการประเมินผลในการทำงานทุกขั้นตอนโดยจะต้อง วิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้น การประเมินการทำงานนั้นสามารถทำได้ 2 ช่วงคือ ช่วงแรก เป็นการประเมินในขณะการปฏิบัติงานว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ อย่างไร ส่วนในช่วงที่  2 เป็นการประเมินผลงานหลังจากที่ได้ทำงานตามที่วางแผนไว้ทั้งหมดแล้ว

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.5 ทักษะกระบวนการทำงาน

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/SJri4UsN3ZUpi2xF9)

  1.2.2  ทักษะการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.6 ทักษะการทำงานร่วมกัน

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/BKbEfkbEU7UmjVNR8)

ทักษะการทำงานร่วมกัน เป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันหลายๆ คน ซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อกับบุคคลหรือสังคม ความสำคัญของการทำงานร่วมกัน ก็คือการทำงานร่วมกันหลายๆ คนแล้วทำให้งานออกมามีคุณภาพ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสื่อสาร ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์การยอมรับ และการโต้ตอบอย่างมีเหตุผล

  1. วิธีการทำงานร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จ ควรปฏิบัติดังนี้

  1. รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม 

  2. มีทักษะในการฟัง พูด แสดงความคิดเห็นและอภิปรายในกลุ่ม ในการทำงานร่วมกับคนอื่นควรฝึกฝนที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และมีวิธีการพูดที่ประนีประนอมกัน พูดจามีหลักการและเหตุผล

  3. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันหลายๆคนนั้น แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน โดยเฉพาะลักษณะนิสัยเราจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันในที่ทำงาน การสร้างลักษณะนิสัยที่ดีและคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน เช่น มีความซื่อสัตย์ มีความเสียสละ มีความยุติธรรม มีความประหยัด มีความขยันและอดทน มีความรับผิดชอบ มีความตรงต่อเวลา เป็นต้น

  4. สร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน ให้มีความเป็นกันเองซึ่งจะทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกดีต่อกันและกัน  ไม่รู้สึกกดดันในการทํางาน

  5. สรุปการทำงานร่วมกัน ควรมีการสรุปผลงานออกมาอย่างเป็นรูปประธรรม อาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทำรายงาน  การอภิปรายภายในกลุ่ม การชี้แจงผลของการทำงานโดยใช้วิธีการประชุมเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มที่ร่วมงานกันได้ทราบความเคลื่อนไหวของงานหรือทราบถึงปัญหา จะทำให้สมาชิกในกลุ่มดำเนินงานร่วมกันได้อย่างมี พร้อมที่จะพัฒนาทีมงานและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น


        เทคนิคในการทำงานร่วมกัน

  1. มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน คิดบวกในทางที่ดีๆ

  2. มีความจริงใจและเต็มที่ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน

  3. สร้างความรู้สึกที่ดีต่อสมาชิกร่วมงานทุกคน และมองเห็นคุณค่าของคนอื่น

  4. รับฟังและยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองและเพื่อนร่วมงาน

  5. ให้ความรักและความเสียสละต่อเพื่อนที่ร่วมงานกัน

  6. มีมนุษยสัมพันธ์และเป็นกันเอง เช่น ไม่ใช้อำนาจหน้าที่การทำงานบังคับข่มเหงเพื่อนร่วมงาน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน

  7. สร้างความชื่นชมเมื่อเพื่อนร่วมงานทำงานได้ดี อาจจะให้รางวัลเป็นสิ่งตอบแทนหรือกล่าวคำชมเชยเสริมกำลังให้

1.2.3  ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนและการทำงาน

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.7 การแสวงหาความรู้

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/BcRx7ctRv1kdHs3u5)

    ทักษะการแสวงหาความรู้  คือ  การค้นคว้าหาความรู้โดยสร้างความรู้ใหม่เพิ่มเติมขึ้นจากการคิด การศึกษา การทดลอง การค้นคว้า การฝึกอบรม หรือการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองแล้วนำความรู้นั้นมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้าโดยไม่จำกัดว่าจะมาจากแหล่งความรู้ใดบ้าง เช่น ความรู้ในห้องเรียน ความรู้ตามป้ายนิเทศหรือสถานที่ต่างๆและสื่ออื่นๆ

    นักเรียนสามารถฝึกฝนทักษะการแสวงหาความรู้ได้หลายวิธีการ โดยเริ่มจากความสนใจหรือความต้องการของตนเอง อาจจะปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆ รอบข้าง เช่น ครูประจำชั้น ครูแนะแนว ครูปกครอง ผู้รู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตัวเองสนใจหรือต้องการ

  1.  ขั้นตอนในการแสวงหาความรู้ มีดังนี้

  1. กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้ คือ การตั้งหัวข้อและการตั้งประเด็นที่จะทำการศึกษาค้นคว้าความรู้นั้น กำหนดขอบเขตของหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการจะค้นคว้าความรู้ การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้นั้น เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว ต้องวางแผนกำหนดเป้าหมายในการสืบค้นข้อมูล เช่น จะศึกษาความรู้จากที่ใดบ้าง จะศึกษาหาความรู้อย่างไร ควรเริ่มต้นเมื่อใด สถานที่ได เป็นต้น

  2. การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้ เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่จะศึกษาค้นคว้าได้แล้ว ก็ต้องวางแผนกำหนดเป้าหมายว่าจะทำการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งใดวิธีการอย่างไร ควรเริ่มต้นเมื่อใดเป็นต้น

  3. การดำเนินการสืบค้นข้อมูล เป็นการดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามหัวข้อที่ต้องการและทำตามแผนงานที่วางไว้ตามลำดับขั้นตอน

  4.  การวิเคราะห์ข้อ คือ การนำเอาข้อมูลความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาค้นหาหรือได้รับมา แล้วนำเอาข้อมูลมาพิจารณาอย่างละเอียด จัดลำดับข้อมูล ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องและชัดเจนของข้อมูล

  5. การสรุปผล คือ การนำเอาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้มาทำการบันทึกและจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาในครั้งต่อไป มีวิธีการบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้หลากหลายรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา เช่น จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การจดบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ ลงในสมุด การถ่ายสำเนาเอกสารไว้ในแฟ้ม การจัดเก็บลงในแผ่น CD เป็นต้น 

2.  วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีดังนี้

  1.  การอ่าน เป็นการศึกษาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทันต่อสถานการณ์ และเป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ เช่น การอ่านนิยาย การอ่านบทความ หรือบทกวีต่างๆ

  2. การฟังเป็นการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจที่เปิดรับเมื่อรับฟัง ข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลความคิดเป็นของตนเอง เป็นการสะสมความรู้ให้กับตนเอง และแหล่งข้อมูลในการฟังที่ดี เช่น การเข้าร่วมอบรมฟังคำบรรยาย การเข้าร่วมอบรมความรู้ต่างๆ เป็นต้น

  3. การศึกษาค้นคว้าโดยการหา ข้อมูลข่าวสาร ความเข้าใจ ความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จากตำราเอกสารทางวิชา การผลงานการวิจัย แหล่งการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน ผู้เที่ยวชาญเป็นต้น

  4. การสังเกตเป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เราพบเห็นอย่างเข้าใจ แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ หรือหาความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น กับสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ 

  5. การซักถาม เป็นการรับฟังข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้วนำข้อสงสัยไปซักถามกับผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญ แต่การซักถามนั้นจะต้องมีการอนุญาต

  6. การสัมภาษณ์ เป็นการสนทนาพูดคุยกับบุคคลอื่นอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาข้อมูลความรู้ความเป็นจริง ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าไว้ล่วงหน้า และนำความรู้ที่ได้มาทำการรวบรวมข้อมูล

  7. การรวบรวมและการบันทึกข้อมูล เป็นการนำข้อมูลจากการแสวงหาความรู้ และบันทึกข้อมูลนั้นให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่นการจดบันทึกในสมุด การบันทึกลงในแฟ้มเอกสาร การบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ การบันทึกไว้ในแผ่น CD  เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการจัดเก็บฐานข้อมูลสารสนเทศ

1.2.4. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต

    ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน คือ การแก้ปัญหาในการทำงาน เพื่อให้ประสบความ สำเร็จ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่ง คือ จะต้องวิเคราะห์ปัญหาตั้งแต่ที่เป็นปัญหาเล็กๆ กล้าเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาด 

  1. ขั้นตอนการแก้ปัญหาในการทำงาน

  1. สำรวจปัญหา เป็นวิธีการสังเกตการณ์ เฝ้าคอยดูสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือการทดลอง และพยายามค้นหาผลลัพธ์ที่อาจจะเป็นไปได้

  2. วิเคราะห์ปัญหา เป็นการกำหนดรายละเอียดของปัญหา คือ การทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น แยกแยะข้อมูลว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ลำดับปัญหาที่ต้องการแก้ไขก่อน หลัง 

  3. สร้างทางเลือก เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้ววิธีการที่จะต้องใช้ในการแก้ปัญหามีอะไรบ้างและดำเนินการคิดค้นหาวิธีการทำงานที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง

  4. ประเมินทางเลือก เมื่อสร้างทางเลือกได้หลายวิธีแล้ว ก็ต้องสรุปหรือประเมินว่า วิธีการใดบ้างที่เหมาะสมหรือดีที่สุดที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา เช่น การสร้างหรือผลิตชิ้นงาน การซ่อมแซม การปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานต่างๆให้มีสภาพการใช้งานที่ดี สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกทำงานชนิดใด หรือทำในเรื่องใดบ้าง

  5. วางแผนปฏิบัติงาน เป็นการกำหนดกรอบแนวความคิด ในการทำงาน การวางแผน การแบ่งความรับผิดชอบงาน และลำดับขั้นตอนการทำงานได้อย่างเหมาะสม ตามทักษะ กระบวนการงานอาชีพ

  6. ลงมือปฏิบัติงาน เป็นการลงมือปฏิบัติงานตามแผนการทำงานที่ได้วางไว้อย่างเป็นระบบและถูกต้องตามขั้นตอนทักษะกระบวนการงานอาชีพด้วยความปลอดภัย

  7. การประเมินผลและการแก้ปัญหา เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน การนำเสนอผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ประเมินว่าอยู่ในระดับใด เป็นไปตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ หากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนการที่ได้กำหนดไว้ ให้นำไปปรับปรุงแก้ไขในการทำงานครั้งต่อๆไป

  1. เทคนิคการแก้ปัญหาในการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต

การทำงานกับปัญหาในการทำงานเป็นของคู่กัน ปัญหาต่างๆในการทำงานมีหลากหลายปัญหา เช่น ปัญหาในการประสานงานกับลูกค้า กับเพื่อนร่วมงาน กับนายจ้าง หรือปัญหาจากการทำงานของตนเองในการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องจะมีวิธีที่แตกต่างกัน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราจะต้องมีหลักคิดที่จะหาทางในการแก้ปัญหา หรือช่วยให้การแก้ปัญหานั้นง่ายขึ้นได้ ซึ่งวิธีการคิดในการแก้ปัญหามี ดังนี้

  1. ทำไมสิ่งนี้จึงเป็นปัญหา ให้ถามตัวเองซ้ำๆว่า ทำไมสิ่งนี้จึงเป็นปัญหา แล้วหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าเกิดจากอะไรแล้วค่อยๆคิด หาสาเหตุที่เรามั่นใจ เพื่อจะได้คิดหาวิธีการแก้ไข

  2. คิดแก้ปัญหาได้จากหลายๆหนทางในการแก้ปัญหาอาจได้ความคิดมาจากคนหลายๆ คน หลายๆวัย ทำให้ได้หลายทางเลือก เช่น จากตำรา จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ จากพ่อแม่ จากเพื่อนสนิทเป็นต้น จะทำให้ได้รับคำตอบจากมุมมองที่แตกต่างกัน ในที่สุดก็จะได้วิธีแก้ปัญหาที่ต้องการได้

  3. คิดแบบยืดหยุ่นปัญหาในการทำงาน บางปัญหาเราจำเป็นต้องคิดแบบยืดหยุ่น คือให้หลุดออกจากกรอบเดิมๆ จึงจะพบวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะดีกว่าวิธีเดิมๆ ที่เราสามารถใช้ในการแก้ปัญหาได้

  4. ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ร่างกายกับจิตใจนั้นถือว่ามีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ถ้าร่างกายเราถูกใช้งานหนักจนเกินไป เคร่งเครียดกับงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน จิตใจก็ไม่ได้พักผ่อนตามไปด้วย เราควรให้เวลากับการผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย ว่ายน้ำ หรือทำงานอดิเรกต่างๆ ที่เราชื่นชอบ เพื่อทำให้จิตใจของเราว่างและเปิดกว้างพอที่จะเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมา รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

1.2.5. ทักษะการจัดการทำงาน

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.8 ทักษะเกี่ยวกับงาน

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/1NxTCJW18bh4i6199)

    ทักษะการจัดการ  หมายถึง  กระบวนการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนดำเนินงาน การทำกิจกรรมต่างๆตามหน้าที่อย่างสร้างสรรค์และเป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมไปถึงการประเมินงานเพื่อปรับปรุง แก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งทักษะ
การจัดการสามารถจัดได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1.  ทักษะเกี่ยวกับคน (Human Skill) คือ การที่สามารถเข้าใจ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีเนื่องจากผู้จัดการคือบุคคลที่ทำงานสำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น ผู้จัดการจำเป็นต้องสามารถโน้มน้าว จูงใจและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล เช่น การพูดจาสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกันกับเพื่อนร่วมงาน

  2. ทักษะเกี่ยวกับงาน (Technical Skills) คือ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะอย่างการมอบหมายงาน และความรับผิดชอบในหน้าที่การทำงานของแต่ละคน เช่นผู้จัดการฝ่ายบัญชีมีความรู้ความสามารถในหลักการบัญชี รวมทั้งสามารถสรุปผลการดำเนินงานในรูปบัญชีได้ ในขณะที่ผู้จัดการฝ่ายผลิต มีความรู้ความสามารถในกระบวนการและขั้นตอนในการผลิตเป็นต้น

  3. ทักษะเกี่ยวกับการคิด (conceptual Skill)  ประกอบด้วยความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์ และสามารถมองเห็นภาพรวมของส่วนต่างๆ ในองค์การ การคิดแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สำหรับองค์การ

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.9 ทักษะเกี่ยวกับการคิด

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/ZYb78Lw8uzTm3bUR8)

1.2.6  การใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

    การใช้ทรัพยากรในการทำงานจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน โดยการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเราควรช่วยกันใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ดังนี้

  1. การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น ปิดสวิตช์ไฟฟ้าทุกครั้งหลังจากไม่ได้ใช้งาน ปิดก๊อกน้ำทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ เป็นต้น

  2. การนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำอีก เนื่องจากสิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำกลับไปใช้ซ้ำได้อีก เช่น กระดาษเมื่อใช้ไปแล้ว 1 หน้า จะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหน้าหนึ่งเ ป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษหรือขวดพลาสติก ขวดโลหะ ที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง ขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร และการทำลายสิ่งแวดล้อมได้

  1. การใช้สิ่งอื่นทดแทน  เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองใส่อาหารแทนใช้โฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.10 การใช้พลังงานทดแทน

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/gX82cfk6LgwxTTr7A)

  1. การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดเสียหายได้ ถ้ามีการบูรณะซ่อมแซมจะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.11 การซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ที่ชำรุด

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/gX82cfk6LgwxTTr7A)

  1. การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อนที่จะนำไปใช้ เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ การฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่า การปลูกป่าชายเลนเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เป็นต้น 

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย
ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.12 การบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/q4dQaUYkkS1YKYSE9)

  1. การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน  เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำลำคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า

ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย
ใบงาน หลักการ ทำงาน เพื่อการดำรงชีวิต ม.3 เฉลย

รูปที่ 1.13 การเฝ้าระวังปลูกป่าชายเลน และการทิ้งขยะ

(ที่มา : https://images.app.goo.gl/mDMpSoeJoEqbVmYS8)

1.2.7  คุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน

การมีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน เป็นการทำงานอย่างมีจิตสำนึก ถูกวิธี เป็นขั้นตอน มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในสังคม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  1. มีการประกอบอาชีพที่สุจริต ในการทํางานเราจะต้องเลือกประกอบอาชีพที่สุจริตไม่เดือดร้อน ไม่เป็นภัยต่อสังคม และคนทั่วไปเลือกที่จะประกอบอาชีพนั้น

  2. มีความเสียสละ อุปกรณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เราจะต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักให้และการแบ่งปัน ช่วยคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน

  3. มีความซื่อสัตย์ ในการทำงานเราจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และงานที่เราได้รับมอบหมายปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ และไม่คดโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น

  4. มีความขยันและอดทน จะต้องมีความมุ่งมั่นต่องานที่เราได้รับมอบหมาย เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมาย เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน ให้นำปัญหาหรืออุปสรรคนั้นมาปรับปรุงและแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

  5. มีความยุติธรรม ในการทำงานเราจะต้องไม่ลำเอียง ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก ไม่อคติกับเรื่องต่างๆที่ได้ยินหรือรับฟัง จึงจะเป็นที่น่านับถือของเพื่อนร่วมงาน

  6. มีความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย จากเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมาผลิตสินค้า ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  7. มีความตรงต่อเวลา เป็นวินัยพื้นฐานในการทำงานมีความตรงต่อเวลา ไม่มาทำงานสายและต้องส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนด และทำให้งานนั้นสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ประโยชน์ของการตรงต่อเวลา

การพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา คือ เราต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆเป็นการจัดระเบียบให้กับชีวิต สำหรับในการทำงานหรือการเรียน เป็นการพยายามทำงานหรือส่งงานให้ก่อนเวลา เพื่อให้มีเวลาตรวจทานและส่งงานให้ตรงตามกำหนด หากมีการนัดหมายกับผู้ใด ควรที่จะเผื่อเวลาในการเดินทางเพื่อไปให้ถึงจุดหมายก่อนเวลาสักเล็กน้อย เพื่อจะได้ไม่ต้องเร่งรีบรวมถึงมีเวลาเตรียมความพร้อมให้กับตนเอง

การที่เราเป็นคนตรงต่อเวลานั้น จะช่วยให้เราเป็นคนที่ขยันขันแข็ง มีความกระตือรือร้น มีความเอาใจใส่ต่องาน รักที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ จะช่วยให้เราไม่เฉื่อยชา ทันสมัย มีชีวิตชีวา เป็นคนมีระเบียบวินัย สามารถจัดการกับงานหรือสิ่งที่ผ่านเข้ามาได้อย่างเป็นระบบ จึงทำให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีความก้าวหน้าในชีวิตหลายๆ ด้าน ทำให้เป็นคนน่าเชื่อถือ และผู้อื่นให้ความไว้วางใจ และที่สำคัญคือจะช่วยให้ตัวเราเองสามารถจัดการกับชีวิตของเราได้อย่างราบรื่น และมีความสุขทั้งเรื่องงานและการดำรงชีวิตในปัจจุบัน