เหตุใดพม่ากับมอญจึงต้องมีการทำสงคราม

ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วประเภทนิยายพงศาวดาร  เมื่อจ.ศ. 1147  (พ.ศ.2328)  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) พระยาอินทรอัคคราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา  แปลและเรียบเรียงเรื่องราวของพระเจ้าราชาธิราชซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารมอญให้เป็นภาษาไทย เนื้อหาเรื่องราชาธิราชแบ่งเป็น  3 ตอน  คือ  

ตอนที่ 2  พระเจ้าราชาธิราช

และตอนที่ 3  พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรา    

ตอนพระเจ้าฟ้ารั่ว เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงการสร้างเมืองเมาะตะมะตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระมหากษัตริย์พุกามพระองค์หนึ่งชื่อพระเจ้าอลังคจอสูได้มาสร้างเมืองเมาะตะมะขึ้น ณ ป่าแห่งนั้นตามพุทธทำนาย  พระเจ้าอลังคจอสูทรงให้อลิมามางเป็นเจ้าเมือง ฝ่ายสมณเทวบุตรได้จุติลงมาเป็นชาวเกาะวาน แขวงเมืองเมาะตะมะ ชื่อว่ามะกะโท  เมื่ออายุได้ 15 ปี  มะกะโทได้คุมบริวารมาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ระหว่างเดินทางเกิดนิมิตแก่มะกะโทว่าจะได้เป็นใหญ่ในภายหน้า มะกะโทจึงมาฝากตัวอยู่กับนายช้างเมืองสุโขทัย ต่อมาเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงประจักษ์ถึงสติปัญญาของมะกะโทจึงทรงชุบเลี้ยงจนได้เป็นขุนวัง มะกะโทได้ลอบรักกับนางเทพสุดาสร้อยดาวพระราชธิดาของสมเด็จพระร่วงเจ้าแล้วเกรงความผิดจึงพาพระราชธิดาหนีกลับไปเมืองวาน ผู้คนเห็นว่ามะกะโทมีวาสนาบารมีจึงพากันมาสมัครเป็นพวกพ้อง มะกะโทคิดการจะเป็นใหญ่จึงยกน้องสาวคือนางอุ่นเรือนให้เป็นภรรยาของอลิมามาง ต่อมามะกะโทมีบริวารมากขึ้น อลิมามางเกิดระแวงจึงคิดอุบายฆ่า แต่มะกะโทซ้อนกลจนสามารถฆ่าอลิมามางได้ มะกะโทจึงได้เป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะและได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระร่วงเจ้าว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว” เป็นปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะ 

พระเจ้าฟ้ารั่วได้ครองราชย์และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่เมืองเมาะตะมะ ภายหลังเมื่อสวรรคตแล้วมีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนถึงสมัยของพระเจ้ารามไตย      

ตอนที่ 2 พระเจ้าราชาธิราช พระเจ้ารามไตยมีโอรสธิดา 3 พระองค์ พระราชธิดาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ชนมายุยังน้อย พระราชธิดาองค์กลางทรงพระนามว่าวิหารเทวี แต่คนทั่วไปเรียกว่า พระมหาเทวี  โอรสองค์สุดท้องชื่อมุนะซึ่งต่อมาได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าอู่หรือเรียกอีกพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก  พระเจ้าช้างเผือกมีโอรสธิดา 4 พระองค์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องราชาธิราช  คือ โอรสองค์แรกที่มีพระนามว่ามังสุระมณีจักร หรือพระยาน้อย  โอรสอีกพระองค์มีพระนามว่า พ่อขุนเมือง  ส่วนพระธิดา 2 พระองค์ของพระเจ้าช้างเผือกนั้นมีพระนามว่าตะละแม่ท้าวและตะละแม่ศรี  โอรสและธิดาของพระเจ้าช้างเผือกนั้นล้วนประสูติจากต่างมารดาทั้งสิ้น พระยาน้อยนั้นกำพร้ามารดา พระมหาเทวีจึงทรงเลี้ยงดูตั้งแต่เด็กจนเจริญวัย  พระยาน้อยได้ลอบรักกับตะละแม่ท้าวน้องสาวต่างมารดา  จนมีโอรสชื่อพ่อลาวแก่นท้าว  ส่วนตะละแม่ศรีนั้นพระเจ้าช้างเผือกได้ให้อภิเษกกับสมิงมราหู เพื่อตอบแทนที่บิดาของสมิงมราหูอาสาศึกจนตัวตาย  

พระเจ้าช้างเผือกไม่โปรดพระยาน้อยและไม่ประสงค์จะให้ราชสมบัติ เพราะทรงเห็นว่า “มีใจฉกรรจ์  ไม่ศรัทธาในพระศาสนา” หวังจะให้พ่อขุนเมืองได้ครองราชสมบัติต่อ แต่ต่อมาพ่อขุนเมืองสิ้นพระชนม์ก่อน พระยาน้อยจึงเป็นโอรสที่จะต้องครองราชย์สืบต่อ

ต่อมาพระมหาเทวีได้ลอบเป็นชู้กับสมิงมราหูจึงคิดการจะฆ่าพระยาน้อยเพื่อให้สมิงมราหูได้ราชสมบัติ พระยาน้อยรู้ตัวจึงหนี ทิ้งตะละแม่ท้าวและพ่อลาวแก่นท้าวไว้ที่เมืองพะโค เมื่อมีผู้ทำนายว่าจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ พระยาน้อยก็ซ่องสุมหาคนมีฝีมือเป็นพวก ได้พ่อมอญและมังกันจีเป็นคู่คิดและพากันไปตั้งตัวที่เมืองตะเกิง เมื่ออยู่ที่เมืองตะเกิงนั้นได้นางเม้ยมะนิกแม่ค้าแป้งน้ำมันเป็นชายา ต่อมาเมื่อพระเจ้าช้างเผือกเสด็จสวรรคต พระยาน้อยสู้รบกับพระมหาเทวีและสมิงมราหูได้ชัยชนะขึ้นครองราชย์ ทำพิธีราชาภิเษก ทรงพระนามว่าพระเจ้าสีหราชาธิราช  ทรงครองราชย์และเปลี่ยนชื่อเมืองพะโคเป็นเมืองหงสาวดี ทรงปูนบำเหน็จขุนทหารทั้งหลายเป็นอันมาก นายทหารคู่ใจคือพ่อมอญและมังกันจี ได้ปูนบำเหน็จเป็นสมิงพ่อเพชรและราชมนูตามลำดับ

เมื่อพระเจ้าราชาธิราชได้ครองราชสมบัติแล้วได้ทรงปราบเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่แข็งเมือง  ทรงได้นายทหารที่มีฝีมือมาเป็นพวกพ้องเป็นอันมาก มีทหารคนหนึ่งที่เข้ามาสวามิภักดิ์คือมะสะลุมซึ่งต่อมาได้ยศเป็นสมิงนครอินทร์ พระเจ้าราชาธิราชทรงปกครองบ้านเมืองได้อย่างสงบเรียบร้อย  จนถึงศักราช 753 จึงเกิดสงครามกับพม่าขึ้นในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวา

สงครามระหว่างมอญกับพม่าในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวานั้น เริ่มต้นด้วยพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาซึ่งครองราชสมบัติ ณ กรุงอังวะ ได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าช้างเผือกสิ้นพระชนม์ พระเจ้าราชาธิราชได้ครองราชสมบัติต่อ  พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาทรงคิดจะปราบปรามมอญเสียก่อนที่จะมีกำลังแข็งกล้าจึงทรงยกทัพมาตีมอญที่เมืองหงสาวดี  พระเจ้าราชาธิราชทรงยกทัพออกไปต้านศึกไว้ การสู้รบในครั้งนั้นทัพของพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาพ่ายแพ้ ฝ่ายมอญเมื่อเห็นว่าพม่าพ่ายแพ้ก็ส่งราชทูตไปเยาะเย้ยจนในที่สุดพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาตรอมพระทัยสวรรคตเมื่อพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาสวรรคต มังสุเหนียดพระโอรสได้ครองราชย์ต่อมาทรงพระนามเมื่อราชาภิเษกแล้วว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องหรือเรียกอีกพระนามคือพระเจ้ามณเฑียรทอง  มังศรีธาตุพระราชอนุชาคิดชิงราชสมบัติแต่พ่ายแพ้แก่พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง จึงหนีไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าราชาธิราช ณ กรุงหงสาวดี   พระเจ้าราชาธิราชทรงเห็นเป็นโอกาสจึงยกทัพไปตีเมืองอังวะ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องยังไม่พร้อมทำศึกจึงทรงให้พระสังฆราชภังคยะสะกะโรไปขอหย่าทัพ  พระเจ้าราชาธิราชจึงทรงยกทัพกลับเมืองหงสาวดี

ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเมื่อพระเจ้าราชาธิราชทรงยกทัพกลับไปแล้วทรงคิดการทำสงครามตอบแทน โดยปราบหัวเมืองที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินให้ราบคาบก่อน แล้วจึงส่งสารขอให้เมืองเชียงใหม่ยกมาช่วยตีกระหนาบในการทำสงครามกับมอญ แต่ทหารฝ่ายมอญจับคนเดินสารได้  ทางเมืองเชียงใหม่ไม่ได้สารจากพม่าจึงไม่ได้ยกทัพมาตามแผนของพม่า ฝ่ายเจ้าเมืองที่ถูกพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องปราบปรามได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าราชาธิราช  พระเจ้าราชาธิราชจึงทรงถือโอกาสนั้นยกทัพไปตีหัวเมืองเหล่านั้นคืน อีกทั้งจับตัวมังกำมุนีและตะละเจ้าเปฟ้า พระราชบุตรเขยและพระราชธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องซึ่งอยู่รักษาเมืองตะแคงไป  พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงรอไม่เห็นเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาช่วยการศึกก็ทรงจัดทัพให้เหล่าทหารลงมาตีเมืองหงสาวดี  ฝ่ายมอญมีกำลังน้อยกว่าแต่ก็ได้ยกทัพออกมาสู้รบเป็นสามารถจนทัพพม่าแตกพ่ายไป 

ปีต่อมาพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีอีกครั้ง ครั้งนี้ นางมังคละเทวีพระอัครมเหสีได้ตามเสด็จด้วย พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องแพ้ต้องล่าทัพกลับไป ขณะเดินทางกลับช้างทรงของนางมังคละเทวีเตลิดเข้าป่าไป นางมังคละเทวีได้ทหารชื่อฉางกายช่วยไว้ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงระแวงว่าฉางกายเป็นชู้กับนางมังคละเทวีจึงทรงสั่งประหารชีวิตฉางกาย

พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีหลายครั้ง แต่ไม่ว่ายกทัพมาตีโดยตรงหรือใช้วิธีตีหัวเมืองรายทางก็ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายมอญได้ สุดท้ายจึงทรงเจรจาหย่าศึก สงครามระหว่างมอญและพม่าจึงสงบลงเป็นเวลาหลายปี

สงครามระหว่างมอญกับพม่าเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อโอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องคือมังรายกะยอฉวาซึ่งเกลียดชังมอญได้ก่อเหตุสงครามขึ้น มังรายกะยอฉวานั้นในชาติก่อนคือพ่อลาวแก่นท้าวโอรสของพระเจ้าราชาธิราชอันประสูติจากตะละแม่ท้าว พ่อลาวแก่นท้าวถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระเจ้าราชาธิราชทรงเห็นว่ากระด้างกระเดื่อง พ่อลาวแก่นท้าวถือพยาบาทจึงอธิษฐานขอเกิดใหม่เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงอังวะเพื่อจะมาทำสงครามกับมอญ  เมื่อถือกำเนิดใหม่ได้ชื่อว่ามังรายกะยอฉวา  มังรายกะยอฉวาถือเหตุที่ประชาชนมอญและพม่าที่อาศัยตามชายแดนได้วิวาทแย่งชิงน้ำมันดินกันก่อสงครามใหญ่ ในการสงครามมังรายกะยอฉวาไม่อาจเอาชนะมอญ แต่ก็สามารถจับตัวสมิงนครอินทร์  สมิงพระรามและช้างพลายประกายมาศได้  แต่ภายหลังมังรายกะยอฉวาก็ถูกฝ่ายมอญจับและถูกทำพิธีปฐมกรรม  หลังจากนั้นสงครามมอญพม่าก็ซาลง

ต่อมา จ.ศ. 785 พระเจ้ากรุงต้าฉิง เจ้าเมืองจีนได้ยกกองทัพมาทำสงครามกับพม่า โดยท้าให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องส่งนายทหารออกไปประลองฝีมือกับกามะนีนายทหารเอกของพระเจ้ากรุงต้าฉิง สมิงพระรามซึ่งถูกจองจำอยู่ในคุกจึงอาสาศึก สมิงพระรามสามารถสังหารกามะนีในสนามประลอง    พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงพระราชทานพระธิดาแก่สมิงพระรามและทรงแต่งตั้งสมิงพระรามเป็นอุปราช แต่ท้ายที่สุดสมิงพระรามก็หนีกลับไปยังกรุงหงสาวดี สงครามมอญพม่าในยุคพระเจ้าราชาธิราชกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้ยุติลง ตราบจนพระเจ้าราชาธิราชและพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จสวรรคต

ตอนสุดท้ายเริ่มต้นในสมัยของพระเจ้าแมงแรฉะวากีกษัตริย์พม่าและตะละนางพระยาท้าวกษัตริย์มอญ  พระเจ้าแมงแรฉวากีได้ให้ทหารยกทัพมาซุ่มจับตะละนางพระยาท้าวเมื่อคราวเสด็จไปนมัสการพระเกศธาตุ ณ เมืองตะเกิง  แล้วทรงตั้งตะละนางพระยาไว้ที่พระอัครมเหสี ขนานพระนามว่าแสจาโป   ต่อมาพระนางแสจาโปหนีกลับกรุงหงสาวดีได้ด้วยความช่วยเหลือของสามเณรปิฎกธร เมื่อกลับถึงกรุงหงสาวดีพระนางจึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระปิฎกธร พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมากทรงได้รับการสรรเสริญจากพระมหากษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ เพราะกษัตริย์พระองค์ใดมาทดสอบพระสติปัญญาก็ทรงชนะได้ด้วยปัญญาเสมอ จึงทรงได้รับพระนามต่าง ๆ ว่า ปัญญาราชบ้าง  พระมหาราชาธิบดีบ้าง  พระราชาธิบดีบ้าง  ในสมัยที่พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรทรงครองราชย์นี้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตราบนั้นมา

เพราะเหตุใดพระเจ้ากรุงจีนจึงยกทัพมา

เพราะเหตุใดพระเจ้ากรุงจีนจึงยกทัพมาพม่า answer choices. เพราะต้องการขยายอาณาเขตลงมาทางตอนใต้ อยากทอดพระเนตรเห็นทหารที่มีฝีมือรำทวนต่อสู้ตัวต่อตัวกับกามะนี

เหตุใดครอบครัวมอญ อพยพมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

ครั้งที่ 9 พ.ศ.2358 สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มอญที่เข้ามาครั้งนี้เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนเพราะพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าเกณฑ์ชาวมอญจำนวนหลายหมื่นคนหมุนเวียนกันก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ คนมอญได้รับความเดือดร้อนกันทั่วทุกเมือง จึงเป็นเหตุให้มอญอพยพเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากกว่า 40000 คน ใช้เวลาอพยพอยู่ 2 ปี ...

สมัยพระเจ้าต้องทำศึกกับพม่ากี่ครั้ง

การทาสงครามกับพม่าครั้งสำคัญๆ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ตลอดรัชกาลนี้มีการทำสงครามกับพม่าถึง 7 ครั้ง ที่สำคัญและหนักหน่วงที่สุดคือสงครามครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. 2328 ซึ่งเรียกกันว่า “ศึกเก้าทัพ” ที่พระเจ้าปดุงของพม่ายกทัพเข้ามา 5 ด้านรวม 9 ทัพ ทำให้

วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องราชาธิราช คือข้อใด

ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา เป็นหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระยาพระคลัง (หน) พระยาอินทรอัคคราช พระภิรมรัศมีและพระศรีภูริปรีชา ช่วยกันแต่งขึ้น เป็นบทร้อยแก้ว โดยมีพระราชประสงค์ให้แต่งเพื่อเป็นหนังสือสำหรับบำรุงสติปัญญาของพระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชบริพาร มีเนื้อหาสาระและส่วนประกอบ ...

เพราะเหตุใดพระเจ้ากรุงจีนจึงยกทัพมา เหตุใดครอบครัวมอญ อพยพมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าต้องทำศึกกับพม่ากี่ครั้ง วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องราชาธิราช คือข้อใด สงครามระหว่างอยุธยากับพม่า 24 ครั้ง ครั้นจะรับอาสาบัดนี้เล่าก็เหมือนหาบสองบ่าอาสาสองเจ้าหาควรไม่ จากข้อความนี้เป็นโวหารชนิดใด ไทยรบกับพม่ากี่ครั้ง ใครยกทัพมาช่วยพม่ารบกับไทย อุปมาดังชายธงอันต้องลม หมายถึง การปะทะครั้งแรกอันเป็นชนวนเหตุของสงครามอันยาวนานระหว่างไทยกับพม่าในพศ. 2081 คือเหตุการณ์ใด สงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งแรก มีสาเหตุมาจากข้อใด อุปมาดังชายธงอันต้องลม ใครคือชายธง