พระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสําคัญในการสถาปนาอาณาจักรไทยมีใครบ้าง

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน


  • ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")

    เพื่อน ๆ จะอ่านบทเรียนออนไลน์อย่างเดียว หรือดาวน์โหลดคลิปสนุก ๆ จากแอปพลิเคชัน StartDee คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง แล้วไปเรียนกับครูเอกได้เลย

     

    ปฐมบทแห่งชาติไทย...การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

    อาณาจักรสุโขทัย ถือเป็นอาณาจักรแห่งแรกของคนไทย โดยกว่าจะมาเป็นอาณาจักรแห่งนี้ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะในช่วงเวลานั้น อาณาจักรเขมรโบราณหรือขอมยิ่งใหญ่มาก อีกทั้งยังขยายอิทธิพลมายังชุมชนชาวสยาม มอญ และลาว ทำให้พื้นที่บริเวณอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ซึ่งปรากฏหลักฐานด้านสถานที่ต่าง ๆ มาถึงปัจจุบัน เช่น ศาลตาผาแดง พระปรางค์วัดศรีสวาย พระปรางค์วันพระพายหลวง โดยทั้งหมดอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน

    ณ ช่วงเวลานั้น สหายชาวไทย 2 ท่านคือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมออกไปจากดินแดนได้สำเร็จ จากนั้นจึงได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงสุโขทัยในปี พ.ศ. 1792 โดยได้เฉลิมพระนามใหม่ว่า “พ่อขุนศรีอินราทิตย์” ถือเป็นพระปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์พระร่วง และยังถือเป็นต้นกำเนิดราชวงศ์พระร่วงอีกด้วย

    หลังจากนั้น ราชวงศ์พระร่วงก็ปกครองอาณาจักรสุโขทัยมาอย่างยาวนานเพียงราชวงศ์เดียว โดยมีกษัตริย์ทั้งสิ้น 9 พระองค์ ตามตารางด้านล่างนี้เลย

    ลำดับ

    พระนาม

    ปีครองราชย์

    1

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

    ราว พ.ศ. 1792 ถึงปีใดไม่ปรากฏ

    2

    พ่อขุนบานเมือง

    ปีใดไม่ปรากฏ ถึง พ.ศ. 1822

    3

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1841

    4

    พระยาเลอไทย

    พ.ศ. 1841 ถึงปีใดไม่ปรากฏ

    5

    พระยางั่วนำถม

    ปีใดไม่ปรากฏ ถึง พ.ศ. 1890

    6

    พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)*

    พ.ศ. 1890 -  พ.ศ. 1911

    7

    พระมหาธรรมราชาที่ 2 

    พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1942

    8

    พระมหาธรรมราชาที่ 3 (พระยาไสลือไทย หรือ พระยาไสลิไทย)

    พ.ศ. 1942 - พ.ศ. 1962

    9

    พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)**

    พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1981

    *ผู้แต่งไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นเนื้อหาของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อาจจะยากเกินไปสักหน่อย แต่เพื่อน ๆ ก็สามารถไปอ่านกันได้ที่ลิงก์นี้เลย
    **ปกครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย

     

    ในช่วงที่มีอาณาจักรสุโขทัยอยู่นั้น ยังมีอาณาจักรของคนไทยอีกหนึ่งอาณาจักรคืออาณาจักรอยุธยา ซึ่งค่อย ๆ มีอำนาจและขยายอิทธิพลมายังอาณาจักรสุโขทัย ทำให้ใน พ.ศ. 1981 กรุงสุโขทัยได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา และไม่มีกษัตริย์ปกครองนับจากนั้น ซึ่งสุดท้ายแล้ว อาณาจักรสุโขทัยก็ได้ถูกผนวกเป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2006

    Did you know แล้วพ่อขุนผาเมืองหายไปไหน ?

    เพื่อน ๆ อาจจะเกิดความสงสัยว่า หลังจากที่ขับไล่ขอมออกไปแล้ว ผู้นำทั้ง 2 ท่านตกลงกันยังไงว่าใครจะขึ้นเป็นกษัตริย์ มีการทะเลาะเบาะแว้ง แย่งชิงกันหรือไม่ แล้วทำไมพ่อขุนผาเมืองถึงไม่อยู่ดูแลอาณาจักรที่ตัวเองลงมือลงแรงช่วยให้เป็นเอกราชต่อ

    จริง ๆ แล้ว ไม่มีใครรู้คำตอบที่แท้จริงหรอก แต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าพ่อขุนผาเมืองคงจะกลับไปปกครองเมืองราด (นักประวัติศาสตร์คาดว่าน่าจะเป็นจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน) ซึ่งแม้จะไม่ได้ถูกยกย่องเป็นเมืองหลวง (ซึ่งจริงๆ แล้วเราคนไทยในปัจจุบันเป็นคนยกย่องอาณาจักรสุโขทัยเป็นเมืองหลวงเอง ไม่ใช่คนสมัยนั้น) แต่ก็เป็นอีกเมืองที่ประชาชนพูดภาษาไทย (อาจมีพูดมอญและเขมรด้วย) และมีขนาดที่ใหญ่ไม่น้อยกว่าอาณาจักรสุโขทัยเลย (บางข้อสันนิษฐานระบุว่า อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ใหญ่โต กินพื้นที่แค่ อ.เมือง และอ.ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กับอ.เมือง จังหวัดพิษณุโลกเท่านั้นเอง) ดังนั้น เมืองราดย่อมมีความสำคัญหรืออาจจะเป็นปึกแผ่นมานานกว่าอาณาจักรสุโขทัยที่เพิ่งเริ่มต้นก็ได้

    นอกจากนั้น อีกหนึ่งข้อสันนิษฐานถึงเหตุผลที่ท่านไม่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็เพราะว่าท่านเองสืบเชื้อสายมาจากเขมร และยังมีพระชายาเป็นเจ้าหญิงชาวเขมร พระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อีก การจะขึ้นครองอาณาจักรสุโขทัยและปกครองคนไทยคงจะไม่ราบรื่นแน่ ๆ ท่านจึงเสียสละให้พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์ไปเลยดีกว่า

    ไม่ว่าสาเหตุจะเป็นอย่างไร แต่พ่อขุนผาเมืองเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรุงสุโขไทยได้มีเอกราช และเป็นราชธานีแห่งแรกของพวกเรา

     

    การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย

    แม้ว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวจะสามารถขับไล่ขอมไปได้แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าอาณาจักรสุโขทัยจะรุ่งเรืองได้ในทันที ยังต้องอาศัยหลายปัจจัยในการผลักดันให้ยิ่งใหญ่ ดังนี้

    การทำศึกสงคราม

    อาณาจักรสุโขทัยต้องเผชิญกับศึกสงครามหลายครั้ง เพราะมีบ้านเมืองหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงต้องการแย่งชิงความเป็นใหญ่ ทำให้ในช่วงแรก ๆ ที่สถาปนา สุโขทัยจึงต้องทำศึกสงครามเพื่อขยายอำนาจออกไป โดยมีศึกที่สำคัญคือ ศึกขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกทัพมาตีเมืองตากที่อยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งศึกครั้งนี้ได้มีวีรกรรมอันกล้าหาญของพระราชโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สามารถทำศึกชนช้าง เอาชนะขุนสามชนได้สำเร็จ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงทรงตั้งพระนามให้พระราชโอรสว่า “พระรามคำแหง” หมายถึง รามผู้กล้าหาญ ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สำคัญที่ช่วยให้อาณาจักรสุโขทัยมั่นคง สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง 

    พ่อขุนรามคำแหง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองและนักรบที่กล้าหาญ อีกทั้งยังมีกองทัพที่เข้มแข็ง ทำให้เมืองเล็กเมืองน้อยยอมเข้ามาสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย

     

    การผูกไมตรีกับเพื่อนบ้าน

    ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง ได้มีการผูกมิตรผูกไมตรีกับเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นล้านนา พะเยา นครศรีธรรมราช มอญ และยังส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับดินแดนที่อยู่ไกลออกไปอย่างจีน ซึ่งทำให้ได้รับวิทยาการความรู้บางอย่างมาพัฒนาบ้านเมืองอีกด้วย

     

    สถานะของผู้ปกครอง

    ด้วยความที่ในช่วงแรกอาณาจักรสุโขทัยมีดินแดนที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก ทำให้ผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัย มีความใกล้ชิดกับประชาชน เปรียบเสมือน “พ่อกับลูก” โดยพระมหากษัตริย์จะถูกเรียกว่า “พ่อขุน” มีหน้าที่ดูแลสารทุกข์สุกดิบให้แก่ราษฎรทุกคนที่มีสถานะเป็น “ลูก” 

    เรื่องเกี่ยวกับสถานะผู้ปกครอง ได้ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 โดยได้บรรยายสภาพสังคมในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยมีใจความว่า เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่ราษฎร จึงทรงให้แขวนกระดิ่งไว้ที่หน้าประตูวัง เพื่อให้ประชาชนที่เดือดร้อนมาร้องทุกข์ได้ และยังอบรมสั่งสอนขุนนางและราษฎรให้รู้บาปบุญคุณโทษอีกด้วย

     

    การใช้พระพุทธศาสนาในการปกครอง

    หลังจากหมดรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงไปแล้ว อาณาจักรสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ จากนครพันและนครศรีธรรมราชเข้ามา เพื่อเป็นเครื่องขัดเกลาและยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่ทั้งตัวผู้ปกครอง ขุนนางและราษฎรทั่วไป และยังได้รับเอาแนวคิด “ธรรมราชา” มาใช้ โดยกษัตริย์ทรงปกครองตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองจึงได้รับการเรียกขานพระนามใหม่ว่า “พระมหาธรรมราชา” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ มานั่นเอง

    สำหรับหลักธรรมที่ใช้ในการปกครอง คือ หลักทศพิธราชธรรม หรือ หลักธรรม 10 ประการสำหรับผู้ปกครอง เช่น การบริจาค การให้ทาน การมีความซื่อสัตย์ การยึดมั่นในศีลธรรม การไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น

     

    รูปแบบการปกครองสมัยสุโขทัย

    มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเมืองหลวง เมืองลูกหลวง เมืองพระยามหานคร และเมืองออกหรือเมืองประเทศราช 

     

    • เมืองหลวง 

    เป็นศูนย์กลางการปกครอง และวัฒนธรรม โดยในบางช่วงมีการย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัยไปที่เมืองพิษณุโลก

     

    • เมืองลูกหลวง 

    เป็นเมืองที่อยู่ถัดออกไปไม่ไกลจากเมืองหลวง ปกครองโดยบรรดาเชื้อพระวงศ์หรือพระญาติที่สนิทใกล้ชิด เพราะได้รับความไว้วางใจว่าจะไม่ยกทัพมาตีเมืองหลวงนั่นเอง 

    เมืองลูกหลวงทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่าน และสะสมเสบียงอาหาร รวมถึงกำลังคนอีกด้วย โดยประกอบไปด้วยเมืองศรีสัชนาลัย อยู่ทางทิศเหนือ เมืองสระหลวง อยู่ทางทิศใต้ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ทางทิศตะวันออก และเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) อยู่ทางทิศตะวันตก โดยทั้ง 4 เมืองอยู่ล้อมรอบเมืองหลวงทุกทิศทาง เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ข้าศึกประชิดเมืองหลวงได้

     

    • เมืองพระยามหานคร

    เช่น เมืองตาก เป็นเมืองที่ตั้งห่างจากเมืองลูกหลวงออกไปอีก โดยอาจส่งขุนนางไปเป็นเจ้าเมืองปกครอง หรืออาจเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายเจ้าเมืองนั้น ๆ ปกครองสืบไปก็ได้ เมืองพระยามหานครนี้มีอำนาจปกครองตนเอง แต่ก็ต้องขึ้นตรงกับเมืองหลวงด้วยเช่นกัน

     

    • เมืองออกหรือเมืองประเทศราช 

    เช่น เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเมาะตะมะ เป็นต้น ตั้งห่างจากเมืองหลวงที่สุด เป็นเมืองที่มีกษัตริย์ของตนเองปกครองอยู่ แต่ยอมอ่อนน้อมต่ออาณาจักรสุโขทัยด้วยการถวายเครื่องบรรณาการ

     

    เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย

    อาณาจักรสุโขทัยให้อิสระเสรีในการประกอบอาชีพ ผู้คนจึงมีสามารถเลือกอาชีพที่ตนเองถนัดและมีความรู้ความสามารถได้ แต่ด้วยความที่ยังไม่ได้มีวิทยาการสมัยใหม่เหมือนในปัจจุบัน การเลือกประกอบอาชีพจึงจำกัดอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งโดยมากมักเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การค้าขาย งานช่างงานฝีมือ หรืออาชีพเกี่ยวกับงานศิลปะด้านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่ง StartDee จะพาไปเจาะลึกอาชีพด้านเกษตรกรรมและการค้าขาย ลุย !

     

    เกษตรกรรมในสมัยสุโขทัย

    อาชีพยอดฮิตอันดับ 1 ของชาวสุโขทัยคือเกษตรกร เพราะสภาพสังคมของสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเอง อีกทั้งลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของสุโขทัยนั้นเอื้อต่อการทำเกษตรกรรมมาก ๆ ดังคำจารึกในศิลาจารึกความว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หมายความว่า เมืองสุโขทัยนี้ดีเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ดี

    และนอกจากความสมบูรณ์ของแผ่นดิน บรรพบุรุษของชาวสุโขทัยก็ยึดการประกอบอาชีพเกษตรกรรมสืบต่อ ๆ กันมาจนเกิดเป็นภูมิปัญญาในการทำเกษตรกรรมอีกด้วย โดยพืชที่นิยมปลูกมาที่สุดคือ “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนั้นยังมีมะม่วง มะพร้าว มะขาม ตาล หมาก และพลู แต่ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย จะเรียกผลไม้ที่มีชื่อขึ้นต้นว่า “มะ” ว่า “หมาก” แทน เช่น หมากม่วง หมากพร้าว เป็นต้น

    และเมื่อชาวบ้านปลูกพืชผักผลไม้ได้ผลดี ก็เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนขึ้นที่ตลาด หรือที่ในสมัยนั้นเรียกว่า “ปสาน” มีลักษณะเป็นลานกว้าง ๆ เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่ค้าขาย ผู้คนทั้งชาวเมืองสุโขทัยและชาวต่างเมืองก็มักจะมาซื้อหรือมาขายข้าวของเครื่องใช้กันที่นี่ ก่อให้เกิดเป็นการค้าขายขึ้นนั่นเอง



    การค้าขายในสมัยสุโขทัย

    การค้าขายในสมัยอาณาจักรสุโขทัยนั้นไม่มีการเก็บจังกอบ (หรือเรียกอีกอย่างว่า จกอบ) ซึ่งก็คือภาษีผ่านด่านที่เรียกเก็บจากพ่อค้าแม่ค้าต่างเมืองที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมืองสุโขทัย ดังหลักฐานปรากฏอยู่ในศิลาจารึกความว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย” ซึ่งถ้าแปลความแล้วก็จะได้ว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์ดี เจ้าเมืองไม่เก็บภาษีผ่านด่าน ประชาชนเดินทางไปค้าขายได้อย่างสะดวก และค้าขายได้อย่างเสรี

    ด้วยเหตุนี้การค้าขายของสุโขทัยจึงมีความเจริญรุ่งเรือง สภาพเศรษฐกิจก็ดีตามไปด้วย โดยการค้าขายในสมัยสุโขทัย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

     

    • การค้าขายภายใน

    เป็นการค้าขายกันเฉพาะภายในเมืองสุโขทัย เน้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ข้าว มะม่วง มะพร้าว มะขาม ตาล หมาก พลู เครื่องถ้วยชาม ผ้า เครื่องจักสาน มีด เป็นต้น

    • การค้าขายภายนอก

    แบ่งออกเป็นการค้าขายกับบรรดาเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอาณาจักรสุโขทัย และการค้าขายกับต่างประเทศ โดยการค้าขายกับบรรดาเมืองต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของสุโขทัย เพราะสุโขทัยเป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางการค้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ และบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ของสุโขทัยเองก็มักอยู่บนเส้นทางบริเวณแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง และแม่น้ำป่าสัก ซึ่งสะดวกในการติดต่อกับเมืองรอบ ๆ เช่น ทางเหนือมีเส้นทางติดต่อจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ทางตะวันตกมี เมืองเมาะตะมะของมอญ ซึ่งเป็นเมืองท่าสู่ทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล และอินเดียตอนใต้ ส่วนทางใต้มีเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา และติดต่อไปจนถึงนครศรีธรรมราช การตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าทำให้การติดต่อค้าขายกับดินแดนภายนอกมีความสะดวก และจากการที่ไม่ต้องเสียจังกอบนี้เองยิ่งช่วยส่งเสริมให้พ่อค้าต่างเมืองมาค้าขายยังสุโขทัยมากยิ่งขึ้นไปอีก

    ในขณะที่การค้าขายกับต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่อาณาจักรสุโขทัยจะค้าขายกับจีน อินเดีย และอาหรับเป็นหลัก โดยเฉพาะกับ “จีน” นั้นเป็นการค้าภายใต้ระบบรัฐบรรณาการ กล่าวคือ อาณาจักรสุโขทัยจำเป็นต้องส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีและถวายเครื่องราชบรรณาการแก่จีน จีนจึงจะทำการค้าขายด้วย ซึ่งการที่คณะทูตของอาณาจักรสุโขทัยเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนนี้ส่งผลให้อาณาจักรสุโขทัยได้รับความรู้ด้านศิลปะและวิทยาการมาหลายแขนงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างมาก เพราะได้มีการส่งออกขายทั่วอาณาจักรตลอดจนต่างประเทศ เช่น มลายู อินเดีย ลังกา มอญ เป็นต้น

    อ่านมาถึงตอนนี้ เพื่อน ๆ คงจะอยากย้อนเวลากลับสมัยสุโขทัยแล้วใช่มั้ยล่ะ และนอกจากบทเรียนนี้แล้ว เพื่อน ๆ ยังอินกับอาณาจักรสุโขทัยได้อีก ในบทเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเป็นบทเรียนของระดับชั้น ม.1 อาจจะยากไปสักนิด แต่อ่านดูแบบสนุก ๆ ก็ได้นะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita