อาณาจักรอยุธยา มีการปกครอง แบบ มี เป็น ประมุข

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

สังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะต่อเนื่องมาจากสังคมสมัยสุโขทัย แต่ก็ได้มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสังคมสมัยสุโขทัยหลายด้าน ทั้งนี้ก็เพราะว่าสถาบันสูงสุดของการปกครองได้เปลี่ยนฐานะไป นั่นคือ พระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนฐานะจากมนุษยราชในสมัยสุโชทัยเป็นเทวราชขึ้นในสมัยอยุธยา เปลี่ยนจากฐานะความเป็น “พ่อขุน” มาเป็น “เจ้าชีวิต” ของประชาชนซึ่งเป็นผลให้ระบบและสถาบันทางการปกครองต่างๆ แตกต่างไปจากสังคมไทยสมัยสุโขทัยด้วย
สังคมอยุธยา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้น นับตั้งแต่การแบ่งแยกชนชั้นอย่างเด็ดขาด ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ก็มีอันดับสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ในหมู่ราษฎร ก็มีการแบ่งชนชั้นกันเป็นชนชั้นผู้ดีกับชนชั้นไพร่ ในหมู่ข้าราชการก็มี ศักดินาเป็นตัวกำหนดความสูงต่ำของข้าราชการในชนชั้นต่างๆ ซึ่งชนชั้นต่างๆ เหล่านี้ จะก่อให้เกิดมีสิทธิในสังคมอยุธยาขึ้นแตกต่างกันด้วย
ชนชั้นสูงสุดในสมัยอยุธยาคือพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนข้าราชการหรือขุนนางนั้น ก็แบ่งเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไปตามลักษณะหน้า ที่และความรับผิดชอบ พร้อมกับตำแหน่งหน้าที่แล้ว ราชการสมัยอยุธยายังมีศักดินาซึ่งมากน้อยตามตำแหน่งหน้าที่ ระบบศักดินานี้เป็น ระบอบของสังคมอยุธยาโดยแท้ เพราะศักดินานั้น ทุกคนต้องมีตั้งแต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ลงไปจนถึงข้าราชการชั้นผู้น้อย และประชาชนธรรมดา จำนวนลดหลั่นลงไป

ที่มาภาพ : //konchopkid.blogspot.com/2013/

1. พระมหากษัตริย์ พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา
ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน
ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา

2. พระบรมวงศานุวงศ์ หรือเจ้านาย คือเชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ มีฐานะรองจากพระมหากษัตริย์ อำนาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่ง หน้าที่การงานกับความโปรดปรานของพระมหากษัตริย์ ยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น
สกุลยศ เป็นยศที่ได้รับมาตั้งแต่เกิด สืบเชื้อสายจากพระมหากษัตริย์โดยตรง มีลำดับชั้นดังนี้ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า
อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานจากการได้รับราชการ เช่น พระราเมศวร พระบรมราชา เป็นต้น
ยศที่ได้รับอาจมีการเลื่อนขั้นหรือลดขั้นได้แล้วแต่ความผิดที่ได้กระทำลงไปหรือความชอบ ที่ได้รับ แต่มิได้สืบทอดยศที่ได้นั้นไปถึงลูกหลาน สิทธิตามกฏหมายของเจ้านายนั้น เช่น สามารถได้รับส่วนแบ่งรายได้จากภาษีอากรของแผ่นดินจะถูกพิจารณาคดีความได้ภายใน ศาลของกรมวังเท่านั้น และจะนำไปขายเป็นทาสไม่ได้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการสถาปนาเจ้านายให้ทรงกรมมีตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นตำแหน่ง ที่สำคัญที่สุดในตำแหน่งของเจ้านายทั้งหมดจะตั้งให้กับพระราชโอรสผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อแสดงว่า ผู้นั้นสมควรจะได้ครองแผ่นดินเป็นกษัตริย์ต่อไป

3. ขุนนาง มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดิน ในการปกครองประเทศ โดยพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานศักดินา ให้เป็นเครื่องตอบแทนอำนาจ และฐานะของขุนนาง มีดังนี้
1. ขุนนางเป็นชนชั้นที่มีอำนาจมากทั้งในด้านการปกครองและการควบคุมพลเมือง
2. ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงออกกฎหมายศักดินา จัดทำเนียบขันนาง ข้าราชการ ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่ง ยศ ราชทินนาม
3. ขุนนางที่มีไพร่พลมาก จะเป็นฐานแห่งกำลังและอำนาจที่สำคัญปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มขุนนางและเจ้านายจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

//www.gotoknow.org/posts/431413

อาณาจักรอยุธยาได้รับอิทธิพลรูปแบบการปกครองมาจากที่ใด

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิทธิพล จากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้ 1. การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็น ผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ความ ...

กษัตริย์พระองค์ใดในสมัยอยุธยาทรงปฏิรูปการปกครอง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง ลดทอนอำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือนนั้นยังแบ่งออกเป็น 4 กรม หรือจตุสดมภ์ คือสี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาลทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง

ใครเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองอาณาจักรในสมัยอยุธยา

ลักษณะสำคัญของการปกครองสมัยอยุธยา ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิต คือ ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือชีวิตของทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครอง คำสั่งของพระมหากษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ถือเป็นกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะธรรมราชา

การปฏิรูปการปกครองสมัยอยุธยาเกิดขึ้นในสมัยใด

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ตั้งแต่ พ.ศ.1991 ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1991 - พ.ศ.2031 พระองค์ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita