บุคคลใดมีหน้าที่พัฒนาโปรแกรม

นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์ มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายข้อมูล

ซึ่งนับว่าภาษา Programming ในโลกนี้มีหลายร้อยภาษาเลยทีเดียว ดูรายการภาษาได้ที่นี่ ซึ่งภาษาที่มาแรงในปี 2018 ก็คือ สามารถอัพเงินเดือนได้มากขึ้นถ้ามี skill ในด้านนี้

ปัจจุบัน บริษัทต่างๆ จะขาดไม่ได้เลยในเรื่องของตัว Software ที่จะต้องนำมา Support ในธุรกิจของบริษัทเอง จึงเรียกว่าเป็นยุครุ่งเรืองของ Developer เลย

เทคโนโลยีในปัจจุบัน

กฎของมัวร์ (Moore’s Law) หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อกฎนี้มาก่อน กอร์ดอน มัวร์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ทำนายว่า ทุก 2 ปี หรือ 24 เดือน จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น แล้วมันเกี่ยวอะไรกับนักพัฒนาอย่างเราๆ

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นพื้นฐานของเครื่องมือในการพัฒนา Software ไม่ว่าจะเป็น นสมาร์ทโฟน แทบเล็ต โน้ตบุ๊ก พวกนี้ก็ต้องรันด้วย Software ทั้งนั้นยิ่งเครื่องเร็วแรงเท่าไหร่เราก็สามารถเขียน Software ที่ซับซ้อนและมีการทำงานที่หลากหลายใส่ได้ลงไปมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็จะมาอำนวยความสะดวกแก่มวลมนุษยชาติ ของเรา

ปัจจุบันเทคโนโลยีออกมาใหม่รายวัน เช่นค่ายของเจ้าพ่อ google ลองเช็คข่าวดูที่นี่ บางคนก็ตามทุกข่าว บางคนก็ปล่อยผ่านๆ เพราะมันเยอะมากเหลือเกินนนนน~~

สำหรับนักพัฒนาแล้วการที่ได้ลิ้มของใหม่ๆ เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก เหมือนกับการลองชิมอาหาร ที่ไม่เคยได้ชิมมาก่อน ปรากฎว่า อาหารนั้นอร่อยมากๆๆ มันก็น่าตื่นเต้นดี บางตัวก็เอาไปใช้กับงานได้บางตัวก็อาจจะได้ใช้ในอนาคต แต่การที่ได้รู้จักใว้ก็ไม่เสียหาย จริงมั้ย!!

หากถามว่าเราจำเป็นต้องเรียนรู้ทุกอย่างเลยหรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็นเลย เราอยากรู้อะไรหรือจะทำอะไร เราก็ศึกษาสิ่งนั้นไปเลย ลองอ่านบทความ วิ่งไล่ตามเทคโนโลยีไม่ทันทำไงดี ศึกษาในสิ่งที่ตัวเองชอบและตัวเองสนใจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ที่สำคัญก็คือเราก็ต้องพัฒนาตัวเองทุกวัน ให้ตามคนอื่นทัน ในโลกที่พัฒนาไปเร็วมากๆแบบนี้ เผื่อจะได้ไปคุยกับคนอื่นเขารู้เรื่อง

สิ่งที่ต้องศึกษาและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
  1. เรื่องของภาษา

การพัฒนา Software นั้นเป็นโลกที่เปิดกว้างมาก การที่ไม่ได้ภาษาอังกฤษเลยเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการศึกษาสมัยนี้ อยากจะเรียนรู้เร็วก็ต้องฝึกภาษาอันดับแรกเลย อาจจะโหลด App มาท่องศัพท์วันละ 3–4 คำ (แต่ที่สำคัญที่สุดคือความ สม่ำเสมอในทุกๆวัน )

2. มาเปิดกว้างกับการเรียนรู้ที่ไม่จำกัด

Udemy => เป็นที่เรียนรู้ course online ใหญ่ที่สุดอันดับโลกแห่งหนึ่ง จะมี ฟรีบ้างเสียเงินบ้าง ถ้า course ดีๆ ก็ต้องเสียเงิน แต่…. ไม่ต้องเสียเงินเป็นพันเพื่อซื้อ(ส่วนมากธรรมดาจะหลักพันขึ้น) เพราะว่า udemy จะลดราคาบ่อยมากกก รอลดราคา 300 ก็ค่อยสอยมาเลยยย

Udacity => บอกเลยว่าชอบเว็บนี้มากกก ถึงแม้ว่าจะไม่ฟรีก็เถอะ๕๕ พยายามหาที่ฟรีๆ ก่อน แต่มีเทคโนโลยีที่อยากเรียนเยอะมากเพราะ udacity จับมือกับองค์กรใหญ่ๆ เอาผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นๆ มาสอนเลย ตอนนี้สนใจเรื่อง Flying Car Engineer แต่ราคาก็ประมาณ $1199 USD ถือว่าพอสมควรอยู่ ๕๕ เรียนจบ ก็สามารถสมัครงานได้เลยน้าาา มีหลายบริษัทเลย (แอบไปส่องในกลุ่ม Slack เขามา ฮ่าๆ)

Coursera => มีหลักสูตรที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา เจาะลึกในแขนงนั้นๆ เรียนจบก็จะมีใบเซอร์ให้ด้วย แต่ต้องเสียเงินซื้อนะ

จริงๆ มีอีกเยอะมากที่ไม่กล่าวถึง 3 เว็บนี้ก็เพียงพอสำหรับเริ่มต้นในการพัฒนาตัวเองแล้ว 

Social => อันนี้ต้องเลือก See first ที่เพจที่เราชอบจริงๆเท่านั้น เพราะ facebook จำกัดใว้ที่ 30 เพจเอง แนะนำเพจเทคโนโลยีและพัฒนาตัวเองที่จะตามโลกให้ทัน

Medium => คนหันมาเขียนบนแพลตฟอร์มนี้เยอะมากๆ ต้องไล่ Follow channel หรือบุคคล ที่เราชอบ ซึ่งก็มีทั้งไทยและต่างประเทศ มีประโยชน์มาก เวลาขึ้นรถไฟฟ้าไม่รู้จะทำไรก็อ่าน Medium มันนี่แหละ

กลุ่ม Facebook => กลุ่ม Facebook มีเยอะมากและเป็น community ที่ดีมากๆด้วย มีการแชร์บทความและแบ่งปันกันตลอดเวลา หรือใครมีข้อคิดเห็นสงสัยอะไรก็ไปโพสถามกันได้เช่น สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

กลุ่ม LINE => อันนี้คิดว่าดีกว่ากลุ่ม Facebook นิดนึง มีการแชร์ปรึกษากันได้ตลอดเวลา เหมือนเป็นกันเอง และสะดวกสุดๆ แต่มีข้อเสียคือจำกัดกลุ่มละ 500 คน คนที่มาไม่ทันก็อาจจะต้องเด้งไปกลุ่มสองกลุ่มสามก็ว่ากันไป

3. พยายามติดตามคนที่เก่งกว่าเรา

ไม่ว่าจะเป็นในช่องทางไหน Facebook / Twitter / Medium / เราสามารถศึกษาคำพูด วิธีคิดของพวกเขาเหล่านั้นได้ แล้วนำมาปรับใช้กับเราเอง อย่าง Twitter ก็เป็น Social ที่น่าเล่นเหมือนกัน แต่ถึงไม่ฮิตเท่า Facebook แต่บุคคลสำคัญส่วนมากเล่น Twitter กัน เราก็ไปติดตามพวกเขาได้เช่น Elon Musk หรือ Donald J. Trump

4. เข้า community หรือ Event บ่อยๆ

ไม่ว่าจะเป็น Event หรือ Meetup ในแฟนเพจที่เราติดตามจะมาเห็นบ่อยๆ เราก็สามารถเข้าร่วมได้ มีทั้งฟรี และ เสียเงินซื้อบัตร แต่ต่อให้เสียเงินก็คิดว่าคุ้มกับสิ่งที่จะได้มา การไป Meetup ตามงานบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสายต่างๆ Angular, React BKK หรือ สาย Data science สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสร้าง Connection และได้รับรู้สิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เชื่อว่าสิ่งนี้จะทำให้เราได้พัฒนาตัวเองอย่างมาก สามารถติดตาม Event ตามเว็บเหล่านี้ได้ มีทั้ง สาย Developer และ Event อื่นๆ

zipeventapp / eventpop / meetup

สุดท้ายก็คือความเสมอต้นเสมอปลายของการเรียนรู้ หากเราเทียบปัจจุบัน กับเมื่อ หกเดือนก่อนตัวเราเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง เก่งขึ้นรึเปล่า ลองถามตัวเองดูว่ามีพัฒนาการด้านไหนดีขึ้นบ้าง รู้อะไรมากขึ้นบ้าง เข้าใจสิ่งไหนมากขึ้นบ้าง ถ้าเห็นความแตกต่างของตัวเองก็ถือได้ว่า เรามีการพัฒนาตัวเองขึ้นมาบ้างแล้ว…

คนในข้อใดมีหน้าที่พัฒนาโปรแกรม

นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์ (อังกฤษ: programmer) มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายข้อมูล

บุคคลในข้อใดมีหน้าที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อผู้ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลได้

บุคคลในข้อใดมีหน้าที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อผู้ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลได้ Database Administrator.

ใครคือผู้วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์

นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ศึกษาปัญหา และความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการกับข้อมูลที่มีอย่างไร หรือจะทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไรจากข้อมูลที่มี เพื่อสามารถพัฒนาระบบของธุรกิจ ไปสู่ความสำเร็จได้

ข้อมูลในข้อใดเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง

Unstructured data เป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน หลายคนอาจจะงงกับคำว่าข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างถ้าจะพูดให้ง่ายขึ้นข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพ คลิปวิดีโอ ไฟล์เสียง หรือเป็นข้อความที่เราคุยกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อมูลเหล่านี้มีจำนวนมากกว่าข้อมูลในรูปแบบ Structured data และเป็นข้อมูลที่ทำให้ ...

คนในข้อใดมีหน้าที่พัฒนาโปรแกรม บุคคลในข้อใดมีหน้าที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อผู้ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลได้ ใครคือผู้วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในข้อใดเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง/ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง/ข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง เป็นองค์ประกอบของข้อมูลในข้อใด ข้อมูลในข้อใดจัดอยู่ใน primary data ข้อใดกล่าวถึงข้อมูล json ได้ถูกต้อง ข้อมูลในข้อใดจัดอยู่ใน secondary data ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะแถวและคอลัมน์ เรียกว่าอะไร ฐานข้อมูล/ซอฟต์แวร์/ฮาร์ดแวร์/ผู้ใช้งาน เป็นองค์ประกอบของระบบใด ข้อมูล/สารสนเทศ/ความรู้/ปัญญา เป็นการแสดงพัฒนาการจากต่ำไปสูงตาม เป็นแนวคิดของใคร