ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย

ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย
ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย








ท่าเชื่อม (welding position)
ในงานเชื่อมไม่ว่าจะเป็นเชื่อมแก็ส หรือเชื่อมไฟฟ้า ท่าเชื่อมที่สามารถทำการเชื่อมได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือ การเชื่อมท่า แต่สภาวะจริงในการปฏิบัติงานไม่สามารถเลือกท่าที่ถนัดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของงานที่ทำอยู่







เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า

1.ท่าราบ
2.ต่อชนท่าขนานนอน
3.ต่อชนท่าตั้ง
4.ต่อชนท่าเหนือศีรษะ
5.ต่อตัวที่ท่าขนานนอน
6.ต่อตัวทีท่าตั้ง
7.ต่อตัวทีท่าเหนือศีรษะ




เครื่องมือและอุปกรณ์

1.เครื่องเชื่อมไฟฟ้า AC หรือ DC

2.หัวจับลวดเชื่อม

3.สายเชื่อมพร้อม
-หัวจับสายดิน

4. เครื่องมือทำความสะอาด
- ค้อนเคาะสแลก และแปรงลวดทำความสะอาด
- คีมจับงานร้อน

5. อุปกรณ์ป้องกันอันตราย
- หน้ากากเชื่อมไฟฟ้า
- ถุงมือหนัง
- เสื้อหนัง
- รองเท้าส่วนปลายหัวเป็นโลหะ


การเชื่อมต่อชนท่าราบ
การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมที่สามารถควบคุมการเชื่อมได้ง่าย การเชื่อมท่าราบนั้น ลวดเชื่อมทำมุมกับงาน (มุมเดิน) ประมาณ 67-75 องศา และทำมุมกับชิ้นงานด้านข้าง (มุมงาน) 90 องศา ทำการเชื่อมทางซ้ายมือไปขวามือ

การเชื่อมต่อชนท่าขนานนอน สำหรับผู้ฝึกเชื่อมใหม่ ๆ เนื่องจากน้ำโลหะจะไหลย้อนลงมาอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรงเท่าที่ควร แต่ก็สามารถเชื่อมได้ดี ถ้ามีการฝึกเชื่อมจนกระทั่งชำนาญ การหลอมละลายลึกสามารถควบคุมได้ด้วยระยะอาร์ก และมุมในการเชื่อม

การเชื่อมต่อชนท่าตั้ง
เทคนิควิธีการที่จะทำให้น้ำโลหะไหลย้อยน้อยก็คือ เมื่อเคลื่อนที่ส่ายลวดเชื่อม ควรหยุดบริเวณขอบของรอยต่อชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมตรงกลางแข็งตัว และลดการย้อยของน้ำโลหะได้

การเชื่อมต่อชนท่าเหนือศีรษะ
การเชื่อมท่าเหนือศีรษะนี้ ผู้เชื่อมต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเป็นอย่างดี มุมเดิน
และมุมงานของลวดเชื่อมที่กระทำกับงาน เหมือนกับการเชื่อมท่าราบ แต่เพียงเชื่อมงานในลักษณะคว่ำลงเท่านั้น

การเชื่อมต่อตัวทีท่าขนานนอน
การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมทำมุมกับงานขณะเดิน (มุมเดิน) ประมาณ 67-70 องศา และมีงาน ประมาณ 40-50 องศา กับชิ้นงาน

6.การเชื่อมต่อตัวทีท่าตั้ง
- การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมมีมุมเดินประมาณ 70-80 องศา มีมุมงานประมาณ 45 องศา
-เพื่อไม่ให้น้ำโลหะไหลย้อนมากขณะเคลื่อนส่าย ควรหยุดบริเวณขอบของแนวเชื่อมชั่วขณะหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมบริเวณตรงกลางและที่ขอบอีข้างหนึ่งเย็นตัวลง

7.การเชื่อมต่อตัวทีท่าเหนือศีรษะ การเชื่อมต่อตัวทีและการเชื่อมต่อมุมภายใน ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ ลวดเชื่อมจะทำมุมกับงานมีมุมเดิน 85 องศา มีมุมงานประมาณ 40-45 องศา

8.การเชื่อมต่อมุมภายนอกท่าขนานนอน
ลวดเชื่อมทำมุมกับชิ้นงานโดยมีมุมเดินประมาณ 65-75 องศา มีมุมงาน 130-140

สรุป เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า
เรื่อง การเชื่อมไฟฟ้า
ประกอบไปด้วยลักษณะของท่าเชื่อมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของวิชางานเชื่อมเบื้องต้น เพราะสื่อการสอนนี้จะสามารถทำให้ตัวนักศึกษาเอง เข้าใจหลักและวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปปฏิบัติให้เป็นองค์ความรู้ที่เป็นจริง อย่างมีประสิทธิภาพ





ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย

จัดทำโดย
นายพัฒนชัย ปะกาเว รหัส 019 สาขาวิชา คอบ.วิศวกรรมอุตสาหการ

เขียนโดย คนไม่น่าสงสาร ที่07:23

ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย

1. การเชื่อมทราบ (Flat Position Welding) เป็นทำเชื่อมที่ทำได้ง่ายที่สุด เพราะสามารถควบคุมบ่อหลอมละลายได้ง่าย

เนื่องจากบ่อหลอมละลายอยู่บนรอยต่อของงาน แรงดึงดูดของโลกไม่มีผลต่อน้ำ โลหะเหลวมาก

 

ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย

2. การเชื่อมท่าขนานนอน (Horizontal Position Welding) เป็นท่าเชื่อมที่อยู่ในแนวนอน แรงดึงดูดของโลกจะทำให้น้ำโลหะไหลย้อยลงมาด้านล่างซึ่งผู้เชื่อมต้องควบคุมเป็นพิเศษ

 

ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย

3. การเชื่อมท่าตั้ง (Vertical Position Welding) รอยเชื่อมของท่านี้จะอยู่ในแนวดิ่งซึ่งมีอยู่ด้วยกันสองวิธี

คือ การเชื่อมจากด้านล่างขึ้นไปข้างบน เรียกว่า การเชื่อมท่าตั้งเชื่อมขึ้น (Vertical Up)

และการเชื่อมจากข้างบนลงมาข้างล่าง เรียกว่าการเชื่อมท่าตั้งเชื่อมลง (Vertical Down)

 

ท่าเชื่อมใดที่เชื่อมได้ง่าย

4. การเชื่อมท่าเหนือศรีษะ (Overhead Position Welding) เป็นท่าเชื่อมที่ยากที่สุด เนื่องจากแนวเชื่อมอยู่ด้านล่างของรอยต่อ

หัวเชื่อมจะอยู่ใต้ชั้นงานที่จะเชื่อม ผู้เชื่อมอาจได้รับอันตรายจากการเชื่อมเนื่องจากสะเก็ดไฟและน้ำโลหะที่หยดลงมา

·        การเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Arc Welding)

              การเชื่อมด้วยไฟฟ้าเป็นตัวประกอบในการทำงาน โดยการใช้ลวดเชื่อม (Electrode) ซึ่งเป็นขั้วบวกมาสัมผัสกับงานเชื่อมซึ่งขั้วลบ การเอาประจุไฟฟ้าลบ

 (Nagative) วิ่งไปประทะกับประจุไฟฟ้าบวก (Positive) จะเกิดการสปาร์ค (Spark) ขึ้น ซึ่งเรียกว่า อาร์ค (Arc) ในขณะเดียวกันลวดเชื่อมซึ่งห่อหุ้มด้วย

สารเคมีก็หลอมละลายลงไปในงานเชื่อมด้วย ทำให้โลหะหรือชิ้นงานเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันได้ตามต้องการ

·        การเชื่อมด้วยไฟฟ้ามีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

•  เลือกเครื่องเชื่อมแบบที่ต้องการ D.C. / A.C. และต่อสายดิน (Ground) ให้ถูกต้อง

•  เลือกใช้หน้ากากให้เหมาะสมกับใบหน้า และชนิดของกระจก เพื่อป้องกันรังสี อุลตร้าไวโอเลต

•  ตรวจดูสายเชื่อมและสายดินให้เรียบร้อย ข้อต่อสายต้องแน่นเพื่อป้องกันไฟรั่ว

•  นำสายดินคีบชิ้นงาน หรือโต๊ะทำงานให้แน่น และสะอาดปราศจากสนิม

•  หมุนปรับกระแสไฟบนเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของโลหะ และไม่ควรปรับประแสไฟขณะเครื่องเชื่อมกำลังทำงานอยู่ ควรปิดสวิตซ์ก่อนปรับกระแสไฟ

•  ใช้ตัวจับลวดเชื่อมคีบลวดเชื่อมให้แน่น ทางด้านปลายที่ไม่มีฟลั๊กหุ้ม

•  ถือลวดเชื่อมให้ตั้งตรง แล้วจ่อไว้ใกล้ ๆ บริเวณที่จะเริ่มต้นเชื่อม อย่าให้แตะชิ้นงาน จนกว่าจะใช้หน้ากากบังให้เรียบร้อย

•  จี้ลวดเชื่อมลงบนแผ่นงานเบา ๆ แล้วรีบยกมือกระดกขึ้น เพื่อลวดเชื่อมห่างจากแผ่นงาน โดยเร็วและเดินลวดเชื่อมไปข้างหน้าช้า ๆ ฝึกทำจนเชื่อมได้เป็นอย่างดี ถ้าลวดเชื่อมติดชิ้นงานดึงไม่ออก ต้องอ้าหัวจับลวดเชื่อมออกหรือปิดสวิตซ์แล้วตีออก แล้วทำการเชื่อมใหม่เหมือนเดิม

•  ควรถือลวดเชื่อมให้เอียงออกจากแนวเชื่อมประมาณ 15 - 30 องศา

•  หลังจากเชื่อมได้แล้วต้องทำความสะอาดรอยเชื่อม โดยใช้ค้อนเคาะสแล็กที่เกาะอยู่ตามแนวเชื่อม แล้วใช้แปรงลวดปัดให้สะอาด

ท่าเชื่อมพื้นฐาน

ท่าเชื่อมพื้นฐาน (Position) คือ ท่าที่ผู้ปฏิบัติต้องกระทำต่อชิ้นงานที่เชื่อม ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายชิ้นงานได้ ท่าเชื่อมพื้นฐานมี 4 ตำแหน่งท่าเชื่อม

 คือ ตำแหน่งท่าราบ (Flat Position) ,ตำแหน่งท่าตั้ง (Vertical Position) , ตำแหน่งท่าแนวนอน (Horizontal Position)

 และตำแหน่งท่าเหนือศีรษะ (Overhead Position)

·        รอยต่อของงานเชื่อมไฟฟ้า

รอยต่อพื้นฐานที่ใช้ในงานเชื่อมไฟฟ้ามี 5 แบบ แต่ละแบบมีการวางแผ่นโลหะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

•  รอยต่อชน (Butt Joint) แผ่นโลหะทั้งสองแผ่นวางชิดติดในแนวเดียวกัน

•  รอยต่อเกย (Lap Joint) ลักษณะการวางโลหะ ทั้งสองแผ่นเหมือนรอยต่อชนแต่วางทับกัน

•  รอยต่อมุม (Corner Joint) คือ การวางโลหะ พิงหรือชนกันให้เกิดเป็นมุม การต่อด้วยรอยต่อนี้ต้องอาศัยปากกาจับชิ้นงานช่วย

•  รอยต่อขอบ (Edge Joint) คือ การนำแผ่นโลหะ 2 แผ่นมาวางซ้อนกันแล้วเชื่อมต่อขอบของโลหะทั้งสองติดกัน

•  รอยต่อตัวที (T – Joint) แผ่นโลหะแผ่นหนึ่ง จะนอนและโลหะอีกแผ่นหนึ่งจะลักษณะเหมือนอักษรภาษาอังกฤษตัวที (T)

  การเริ่มต้นอาร์ค          

การเริ่มต้นอาร์ค (Striking the Arc) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ฝึกหัดเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญแล้วพัฒนาไปสู่การเดินแนวเชื่อมที่ยากและซับซ้อนต่อไป

 การเริ่มต้นอาร์คทำได้ 2 วิธี คือ

•  การขีดหรือลาก (Scratching) คือ การอาร์คเชื่อมโลหะต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ยกลวดเชื่อมขึ้นตลอดการอาร์คงาน โดยเริ่มจากการจดลวดเชื่อมเอียง 20 – 25 องศา แล้วขีดหรือลากลวดเชื่อมมาจนลวดเชื่อมทำมุม 90 องศา

•  การเคาะหรือกระแทก (Straight down and up) คือ การเชื่อมโลหะที่ยกลวดขึ้นลงเหมือนการเคาะหรือกระแทกตลอดการอาร์คงาน

เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเชื่อมไฟฟ้า

การเชื่อมด้วยไฟฟ้าจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น ดังนี้

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า (Welding Machine) เป็นแหล่งผลิตหรือเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการเชื่อม ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน

โดยการทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ (โวลต์ต่ำ) แต่มีกระแสไฟฟ้าสูง (แอมป์สูง) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน เครื่องเชื่อมไฟฟ้าโยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ

 คือ เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับและเครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรง

      หน้ากากเชื่อมไฟฟ้าส่วนใหญ่มักทำด้วยไฟเบอร์ มีเลนส์ไว้สำหรับกรองแสงและรังสีแต่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้เห็นการหลอมละลายของการเชื่อมได้ หน้ากากเชื่อมไฟฟ้าจะมี 2 แบบคือ

•  แบบมือจับ (Hand Shield) ใช้กับงานทั่วไป

•  แบบสวมศีรษะ (Head Shield) ซึ่งจะใช้กับงานก่อสร้าง โครงสร้าง งานสนาม หรืองานที่จำเป็นต้องใช้มือจับงานขณะเชื่อม

ค้อนเคาะสแลกทำจากเหล็กเครื่องมือ (Tool Steel) มีคมที่หัวทั้ง 2 ด้าน ด้านหนึ่งคมแบนและอีกด้านหนึ่งคมเป็นเรียว ใช้สำหรับเคาะสแลกที่ผิวเชื่อมออกจากแนวเชื่อม

แปรงลวดเป็นอุปกรณ์ปัดทำความสะอาดผิวรอยเชื่อมทั้งก่อนและหลังการเชื่อม

ถุงมือหนังทำด้วยหนังอ่อน ใช้ใส่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันความร้อน รังสี และคมของโลหะ

คีมจับงานร้อนใช้คีบจับงานที่เชื่อมแล้วและมีความร้อนอยู่ ปากคีมขึ้นอยู่กับรูปร่างของงาน เช่น งานแผ่นก็ใช้คีมปากแบน งานกลม (เพลา) ก็ใช้คีมปากกลม

หัวจับลวดเชื่อมไฟฟ้า(Electrode Holder) ใช้สำหรับคีมจับลวดเชื่อมไฟฟ้า ทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนทนความร้อนมีหลอดทองแดงผสมฝังอยู่ภาย

ในของด้านจับเพื่อไว้ใส่สายเคเบิลเชื่อม มีสปริงที่คันบังคับไว้จับหรือปล่อยลวดเชื่อม ที่ปากมีการทำเป็นฟันหยักไขว้สลับไว้เพื่อเป็นร่องบังคับลวดเชื่อมให้แน่น

·    คีมคีบสายดิน(Ground Clamp) ส่วนใหญ่ทำจากการหล่อทองแดงผสม มีสปริงดันก้านไว้คีบจับงานเพื่อให้กระแสไฟฟ้าเชื่อมครบวงจร

สายเชื่อมไฟฟ้าเป็นสายไฟฟ้าขนาดใหญ่ชนิดอ่อนมีลวดทองแดงเส้นเล็กๆ เรียงกันอยู่ภายในสายประมาณ 800 – 2,500 เส้น มีฉนวนหุ้มหลายชั้น สำหรับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าจะใช้ 2 

เส้น เส้นหนึ่งนำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องไปสู่งานเรียกว่า เคเบิลสายเชื่อม ซึ่งต่อกับหัวจับลวดเชื่อม ส่วนอีกเส้นหนึ่งนำกระแสไฟฟ้าจากงานกลับมายังเครื่องเชื่อมเรียกว่า เคเบิลสายดิน