บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด เพราะเหตุใด

บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด เพราะเหตุใด

ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีการเปลี่ยนแปลงประชากรเพิ่มขึ้นไม่มากนัก พ.ศ. 2544 ทวีปยุโรปมีจำนวนประชากรประมาณ 727 ล้านคน และใน พ. ศ. 2559 ทวีปยุโรปมีประชากรประมาณ 707 ล้านคน เป็นทวีปที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา แต่เป็นทวีปที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในโลกประมาณ 84 คน ต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งประชากรยุโรปอาศัยอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

ประชากรยุโรปอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นทางแถบพื้นที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตอนกลาง ยุโรปใต้ และบางส่วนของยุโรปตะวันออก หรือในเขตพื้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี เกาะเกรตบริเตน  ทางเหนือของประเทศฝรั่งเศส ผ่านที่ราบใหญ่ของยุโรปไปทางตะวันออกสู่สาธารณะรัฐเช็ก ทางตอนใต้ของประเทศโปแลนด์ ยูเครน ด้านตะวันตกของสหพันธรัฐรัสเซีย ส่วนทางตอนใต้จะหนาแน่นที่สุดบริเวณคาบสมุทรอิตาลีและบริเวณชายฝั่งทางใต้ของประเทศสเปน

นอกจากนี้ ประชากรยุโรปอย่างตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมแม่น้ำสายสำคัญๆ ซึ่งได้กลายเป็นย่านชุมชนมาตั้งแต่ครั้งอดีตโดยเป็นแหล่งเกษตรกรรมและพาณิชยกรรม อาทิ พื้นที่บริเวณกลุ่มแม่น้ำไรน์ วอลกา ดานูบ ลัวร์ นีเปอร์ โอเดอร์ เป็นต้น

สำหรับเขตประชากรเบาบาง ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย บริเวณตอนเหนือของทวีป ทางด้านตะวันออกในเขตไซบีเรียของสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี ไม่สามารถทำการเกษตร ได้นอกจากนี้มีบริเวณทางตอนเหนือของทะเลแคสเปียนซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง รวมทั้งบริเวณเทือกเขาสูงและที่ราบสูงในบริเวณตอนกลางและตอนใต้ของทวีปที่มีความทุรกันดาร และสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน

การเคลื่อนย้ายของประชากร เนื่องจากสภาพปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการรวมกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่งผลให้มีประชากรบางส่วนจากยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะสหพันธรัฐรัสเซีย ยูเครน เบลารุส โปแลนด์ ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานและหางานทำในพื้นที่แถบตอนกลางและตอนใต้ของยุโรปที่มีเศรษฐกิจดีกว่าและมีความเจริญมากกว่า นอกจากนี้ ปัญหาความไม่สงบของบางประเทศในบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ทำให้ประชากรบางส่วนอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลีด้วย

เนื่องจากยุโรปเป็นทวีปที่มีอัตราการเพิ่มของประชากรต่ำ ทำให้ขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอาชีพ จึงมีชาวแอฟริกัน ชาวเอเชีย และชาอเมริกาใต้ เข้าไปเป็นแรงงาน โดยเฉพาะงานทางด้านอุตสาหกรรม การบริการ และภาคเกษตรกรรม ใน พ. ศ. 2559 ทวีปยุโรปมีอัตราเกิด อัตราตาย และการย้ายถิ่นสุทธิโดยแบ่งตามภูมิภาค ดังนี้


ลักษณะทั่วไปของทวีปยุโรป

ลักษณะทั่วไป
ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กรองจากทวีปออสเตรเลีย ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด
พื้นดินของทวีปยุโรปติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับทวีปเอเชีย จึงมีผู้เรียกทวีปทั้งสองนี้ว่า ยูเรเชีย

เส้นกั้นพรมแดนธรรมชาติได้แก่ เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล ทะเลสาบ แคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส
ที่ตั้ง ทวีปยุโรปตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 36 - 71 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 66 องศาตะวันออก - 9 องศาตะวันตก
ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทวีปเอเชีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลสาบแคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส ทะเลแดง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ภูมิภาคของทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค ดังนี้
1. ยุโรปเหนือ ได้แก่เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย
2. ยุโรปตะวันตก ได้แก่ออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร
3. ยุโรปใต้ ได้แก่แอลเบเนีย กรีซ อิตาลี มอลตา โปรตุเกส สเปน
4. ยุโรปตะวันออก ได้แก่บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐสโลวัก ฮังการี โปแลนด์ และโรมาเนีย
รัฐอิสระอีก 5 รัฐ คือ

ซานมารีโน อยู่ในเขตประเทศอิตาลี ด้านทะเลอาเดรียติก
อันดอร์ร่า อยู่ระหว่างพรมแดนประเทศฝรั่งเศสและสเปน
นครรัฐวาติกัน ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี
โมนาโก ในเขตฝรั่งเศสบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ลิกเตนสไตน์ อยู่ระหว่างพรมแดนสวิตเซอร์แลนด์

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต คือ
1. เขตหินเก่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ซึ่งถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะจนสึกกร่อน และพังทลายจนกลายเป็นที่ราบสูง ทำให้มี ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งมาก เรียกว่า ฟยอร์ด ( Fjord ) เทือกเขาหินเก่าที่สำคัญ คือ

1.1 เทือกเขาเชอเลน ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย
1.2 เทือกเขาแกรมเพียน ในสกอตแลนด์

2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง
เป็นเขตที่ราบใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรปมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด ได้แก่ที่ราบด้านตะวันตกของประเทศ
ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ที่ราบภาคเหนือของเยอรมนี โปแลนด์ ที่ราบบริเวณตอนใต้ของสหราชอาณาจักร
เป็นเขตที่มีความสำคัญมากทางด้านเศรษฐกิจ มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านหลายสาย
ได้แก่ แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำเซน แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเอลเบ บริเวณแม่น้ำรูห์ในเขตประเทศเยอรมนีเป็นแหล่งถ่านหิน ที่สำคัญของยุโรป
ที่ราบริมทะเลบอลติกในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เรียกว่า บอลติกชิลด์ ( Baltic Shield )
3. เขตที่ราบสูงภาคกลาง
เป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ เกิดจากการ สึกกร่อนพังทลาย ได้แก่
เมเซต้า ที่ราบสูงในภาคกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย
มัสซิฟ ซองตรัล ( Massif Central ) ที่ราบสูงตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส
ป่าดำ ( Black Forest ) ที่ราบสูงตอนกลาง และภาคใต้ของประเทศเยอรมนี
โบฮีเมีย ( Bohemia ) ที่ราบสูงระหว่างพรมแดนประเทศเยอรมนี สาธารณรัฐ เช็กและสาธารณรัฐสโลวัก
4. เขตภูเขาหินใหม่ทางภาคใต้
เกิดจาการโก่งตัวของผิวโลก ได้แก่
เทือกเขาพีเรนีส ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน
เทือกเขาแอลป์ ทอดแนวจากตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ผ่านเข้าไปในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ยอดเขาสำคัญของเทือกนี้ คือ มองบลังค์
เทือกเขาแอปเพนไนน์ ในคาบสมุทรอิตาลี
เทือกเขาไดนาริกแอลป์ ในคาบสมุทรบอลข่าน
เทือกเขาคอเคซัส อยู่ระหว่างทะเลดำ และทะเลสาบแคสเปียนมียอดเขา สูงที่สุดในโลก คือ เอลบรูซ ( Elbrus )

ลักษณะภูมิอากาศ

เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศของทวีปยุโรป
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของทวีปยุโรป ได้แก่
1. ปัจจัยด้านที่ตั้ง เนื้อที่ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปจะอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น และบางส่วนจะอยู่ในเขตอากาศหนาว ไม่มีส่วนใดอยู่ในเขตอากาศร้อนเลย
2.ปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศและอิทธิพลจากทะเล ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีฝั่งทะเลยาวมาก เทือกเขาส่วนใหญ่ วางตัวแนวตะวันออก - ตะวันตก ไม่เป็นอุปสรรคในการขวางกั้นทิศทางลม ทำให้ทวีปยุโรปได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างทั่วถึง จึงเป็นทวีปเดียวที่ไม่มีอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย เขตแห้งแล้งที่สุดในทวีปยุโรป คือ ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย บริเวซณตอนเหนือของทะเลดำ 3.ปัจจัยด้านลมประจำ ลมประจำตะวันตก พัดมาจากมหาสมุทร แอตแลนติก เข้าสู่ทวีปยุโรปตลอดปี มีผลทำให้ทวีปยุโรปมีลักษณะอากาศชุ่มชื้น
4.ปัจจัยด้านกระแสน้ำ กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ ไหลเลียบฝั่งด้านตะวันตกของทวีป มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิบนพื้นทวีปยุโรป

ลักษณะภูมิอากาศของทวีปยุโรป
แบ่งออกเป็น 7 เขตคือ
1.ลักษณะอากาศแบบทุนดรา ( Tundra Climate )
เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดมากในฤดูหนาว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลักษณะอากาศแบบขั้วโลก ( Arctic Climate ) เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดยาวนาน
พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ มอส ตะไคร่น้ำ สาหร่าย เขตอากาศนี้ได้แก่ชายฝั่งภาคเหนือของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก
2.ลักษณะอากาศแบบไทกา ( Taiga Climate )
เป็นบริเวณที่มีอากาศ หนาวเย็น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลักษณะอากาศแบบกึ่งขั้วโลก ( Subarctic Climate ) มีฤดูร้อนยาวนานมากกว่าเขตอากาศแบบทุนดรา
พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าสน หรือป่าไทกา ได้แก่บริเวณประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์
3.ลักษณะอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ( Marine Westcoast Climate )
มีลักษณะอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี คือบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปยุโรป ได้แก่ประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และตอนเหนือของประเทศเยอรมนี
พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน
4.ลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ( Humid Continental Climate )
ได้แก่บริเวณตอนกลางของยุโรป ภาคกลางและภาคใต้ของรัสเซีย
พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน
5. ลักษณะอากาศแบบชื้นกึ่งร้อน ( Humid Subtropic Climate )
ได้แก่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป ตอนเหนือและตอนกลางของคาบสมุทรบอลข่าน ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ได้รับอิทธิพลจากทะเล จึงทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี ไม่มีฤดูแล้งที่เด่นชัด
6.ลักษณะอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediteranean Climate )
มีอากาศอบอุ่น ฝนตกชุกในฤดูหนาว ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก
พืชพรรณธรรมชาติที่สำคัญคือ คอร์ก โอ๊ค ไม้พุ่มมีหนาม ส้ม องุ่น มะกอก มะนาว ได้แก่บริเวณคาบสมุทรอิตาลี ภาคใต้ของสเปน ฝรั่งเศส
7.ลักษณะอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น
ได้แก่ตอนเหนือของทะเลดำ ซึ่งเป็นแหล่งดินดี เป็นเขตปลูกข้าวสาลี พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe)

Ref : http://www.geocities.com/swerapan/europe.htm#eu1 09/08/2007

บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเพราะเหตุใด

ที่ราบใหญ่ภาคกลางเป็นเขตที่มีความส าคัญมากที่สุดทางด้านเศรษฐกิจของทวีปยุโรปและมีประชากร อาศัยอยู่หนาแน่น เพราะมีพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สร้างเส้นทางคมนาคมทางบกได้ง่าย และมีแม่น้าสายยาว ไหลผ่านที่ราบนี้หลายสาย ได้แก่แม่น้าแซน ไรน์เอลเบอ โอเดอร์และ วิสตูลา ใช้ในการขนส่งได้ดีและท าให้มี ดินและน้าที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ ...

บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากรกระจายตัวหนาแน่นมากที่สุด

2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง เป็นเขตที่ราบใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรปมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด ได้แก่ที่ราบด้านตะวันตกของประเทศ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ที่ราบภาคเหนือของเยอรมนี โปแลนด์ ที่ราบบริเวณตอนใต้ของสหราชอาณาจักร

บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากร เบาบางมากที่สุด

ลักษณะความหนาแน่นของประชากร - ประชากรอาศัยอยู่อย่างหน้าแน่นบริเวณยุโรปตะวันตก ยุโรปใต้และบางส่วนของยุโรปตะวันออก เช่น พื้นที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ เยอรมนี ตอนเหนือของ ฝรั่งเศส และเลียบไปทางตะวันออกของทวีป - ประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง ได้แก่ บริเวณ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และ สหพันธรัฐรัสเซีย

เขตพื้นที่บริเวณใดที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด

บริเวณที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมาก ที่สุดในทวีป คือ บริเวณที่ราบลุ่มน้า เช่น ที่ ราบลุ่มน้าไนล์ที่ราบลุ่มน้าไนเจอร์ ➢ บริเวณทะเลทรายและป่าดิบชื้น จะมี ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ยกเว้นบริเวณที่มี แหล่งน้าใต้ดินในทะเลทราย (โอเอซิส) จะมี ประชากรอาศัยอยู่จานวนมาก เนื่องจากมี ความอุดมสมบูรณ์ปริมาณน้าเพียงพอต่อการ บริโภค

บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเพราะเหตุใด บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากรกระจายตัวหนาแน่นมากที่สุด บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีประชากร เบาบางมากที่สุด เขตพื้นที่บริเวณใดที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด การเคลื่อนย้ายประชากรของทวีปยุโรปนั้น เนื่องจากสาเหตุใด แหล่งเกษตรกรรมสำคัญของทวีปยุโรป อยู่ในบริเวณใด ประชากรชาวยุโรปกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรป ชาวยุโรปในภูมิภาคต่าง ๆ จะมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องใดมากที่สุด ยุโรปเหนือ มีประเทศอะไรบ้าง