ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

กระแสตื่นตัวของนาโนเทคโนโลยียังคงมีอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้ใครไม่รู้จักเทคโนโลยีจิ๋วนี้แทบจะเรียกว่าตกยุค และยิ่งมีความก้าวหน้าทางวิทยาการเท่าไหร่เราก็ยิ่งได้ตื่นใจกับความน่าอัศจรรย์ของเทคโนโลยีใหม่มากขึ้น แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าในธรรมชาติจะมีความลับเล็กจิ๋วที่จุดประกายนักวิทยาศาสตร์ให้พัฒนาเทคโนโลยีอันน่าตื่นตาหลายๆ อย่างได้ งานนี้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) จึงได้นำความน่าอัศจรรย์ใจมาจัดแสดงในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ภายใต้แนวคิด “นาโนในธรรมชาติ” (Nano in Nature)

งานนี้หลายคนอาจจะสงสัยนาโนเทคจับตุ๊กแกมาลงตู้กระจกมาลงตู้ทำไม อันที่จริงๆ เราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “เจ้าตีนหนึบ” นั้นสามารถเกาะผนังบ้านได้ดีแค่ไหน ไม่ว่าจะเกาะผนังข้างบ้านหรือตีลังกาเกาะเพดานก็ไม่เห็นจะพลาดท่าตกลงมา เดิมเราอาจจะเคยเข้าใจกันว่าเพราะเกิดสุญญากาศระหว่างตีนเจ้าตุ๊กแกกับผนัง แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าจริงๆ แล้วเกิดแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้าขึ้นที่ตีนตุ๊กแกต่างหาก

ทั้งนี้บริเวณใต้อุ้งตีนตุ๊กแกจะมีขนขนาดเล็กที่เรียกว่าซีเต้ (setae) นับล้านเส้นเรียงตัวอัดแน่นอยู่ ซึ่งซีเต้แต่ละเส้นก็ขนขนาดเล็กกว่าที่เรียกว่าสปาตูเล (spatulae) อีกหลายร้อยเส้น โดยสปาตูเลแต่ละเส้นจะมีขนาดประมาณ 200 นาโนเมตร ซึ่งปลายของสปาตูเลแต่ละเส้นจะสามารถสร้างแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่เรียกว่าแรงวานเดอวาลส์ (van der Waals force) ซึ่งแม้จะเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่อ่อนมาก จำนวนสปาตูเลหลายล้านเส้นจึงทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้าอย่างมหาศาล

ความรู้ดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดแนวคิดเลียนแบบสปาตูเลด้วยการพัฒนาขนขนาดนาโน (nanoscopic hairs) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวประมาณ 2 ไมโครเมตรหรือ 2,000 นาโนเมตรจากพอลิเมอร์ที่เรียกว่า “แคปตัน” (Kapton) และยังมีถุงมือเกาะผนังเหมือนสไปเดอร์แมน ผ้าพันแผลชนิดที่ไม่ใช้กาวติดหรือล้อรถหุ่นยนต์ไต่ถัง เป็นต้น

ถัดจากตู้ตุ๊กแกจะมีการจัดแสดงผีเสื้อสีฟ้าในตู้ปริซึมใส ซึ่งเป็นผีเสื้อพันธุ์มอร์ฟอท เรเทนอร์ (Morphot Rhetenor) ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยผีเสื้อพันธุ์ดังกล่าวจะให้สีสันที่หลากหลายจากการที่แสงสะท้อนตกกระทบที่ปีก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าปีกผีเสื้อมีรูพรุนในระดับนาโนจำนวนมหาศาลเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบซึ่งเปรียบเสมือนผลึกโฟโตนิกส์ในธรรมชาติที่จะหักเหแสงทำให้เราเห็นสีในช่วงคลื่นต่างๆ กัน

ขณะเดียวกันนาโนเทคยังได้จัดแสดงการพบความลับ “น้ำกลิ้งบนใบบัว” ของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบว่าใบบัวมีลักษณะคล้ายกับหนามขนาดเล็กจำนวนมหาศาลและหนามเหล่านี้ยังมีปุ่มเล็กๆ ระดับนาโนเมตรทำให้มีพื้นที่สัมผัสน้อย น้ำที่ตกกระทบใบบัวจึงไม่สามารถซึมผ่านหรือกระจายตัวในแนวกว้างได้ อีกทั้งผงฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราก็ไม่สามารถเกาะติดใบบัวได้เช่นเดียวกัน เรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “หลักการของน้ำกลิ้งบนใบบัว” (Lotus Effect) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์นำไปประยุกต์ทำสีทาบ้านไม่เปียกน้ำและทำความสะอาดตัวเองได้ รวมไปถึงพัฒนาเป็นเสื้อผ้ากันน้ำไร้รอยคราบสกปรกได้

ส่วน “ไฮไลต์” ของนาโนเทคคือตู้ปลาที่สามารถเลี้ยงปลาน้ำจืดและน้ำเค็มได้ โดยความมหัศจรรย์ดังกล่าวเกิดจากฟองอากาศขนาดนาโนในน้ำกร่อยหรือ “นาโนบับเบิล” (Nano Bubble) ที่บรรจุก๊าซออกซิเจนไว้ภายในซึ่งทำให้ปลาทั้งพันธุ์น้ำจืดและน้ำเค็มอาศัยอยู่ร่วมกันได้ในตู้ปลาดังกล่าวโดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำนาน 6 เดือน เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงกุ้งพันธุ์น้ำเค็มในน้ำจืดโดยไม่ต้องใช้น้ำทะเลได้

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงสารประกอบนาโนในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นเปลือกหอยเป๋าฮื้อที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นสารประกอบชนิดเดียวกับชอล์คแต่มีโครงสร้างต่างกันจึงมีความแข็งแรงต่างกัน หรือการจัดแสดงใยแมงมุมจำลองที่แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างระดับนาโนที่ซับซ้อนของใยแมงมุมนั้น หากผลิตให้มีความหนามากๆ จะสามารถหยุดเครื่องบินได้ อีกทั้งภายในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์นาโนเทคยังได้เปิดตัวหนังสือเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีภาษาไทยเล่มแรกที่ ชื่อ “นาโนเทคโนโลยี คลื่นลูกใหม่แห่งศตวรรษที่ 21” ซึ่งเขียนโดยนักวิจัยและนักวิชาการของศูนย์ด้วย

ที่สำคัญยังมีการแสดงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีนาโนเข้าไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เสื้อนาโน” ที่ดับกลิ่นอับ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เคลือบด้วยไททาเนียมออกไซด์มีทั้งแบบที่ซักได้ 36 ครั้ง และแบบที่ไม่ต้องซักตลอดอายุการใช้งานนำมาโชว์ให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัส ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้น่าจะกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในอนาคตได้

หากใครสนใจชมความก้าวหน้าและวิทยาการล้ำสมัยของประเทศ ไปชมกันได้ที่งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2548 ตั้งแต่วันนึ้ถึงวันที่ 28 ส.ค. ระหว่างเวลา 09.00 – 21.00 น. ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ อิมแพค เมืองทองธานี

::: อ่านข่าวอื่นๆ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ :::
- สมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะต้องพัฒนาการบริหารวิทย์ให้ทันกับโลก
- ตื่นตากับเทคโนโลยี ฮือฮากับวิทยาการในงานสัปดาห์วิทย์
- กระทบไหล่นักบินอวกาศญี่ปุ่นในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
- ร่วมลงแล็บถอดรหัสชีวิต ในงานสัปดาห์วิทย์ฯ
- ไขปริศนา “ตุ๊กแกเกาะผนัง – น้ำกลิ้งบนใบบัว” ด้วยนาโนเทคโนโลยี
- ดาราพาเหรดชมนวัตกรรมล้ำหน้าในสัปดาห์วิทยาศาสตร์
- มหัศจรรย์แห่งแสง จาก "สะท้อน-หักเห" สู่การส่งข้อมูลพันล้าน
- แง้มประตูดู “บ้านอัจฉริยะ” เทคโนโลยีเสกบ้านยุคใหม่ให้กลายเป็นวิมานอย่างแท้จริง
- ประวิชปรับงานสัปดาห์วิทย์ฯปี 49 กระจายต่างจังหวัด
- เด็กปทุม “พับ-ร่อน” เครื่องบินกระดาษตั้งแต่ ป.1 ซิวแชมป์ระดับชาติ
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสปาตูเล่ spatulae ในตุ๊กแก