ข้อใดคือลักษณะการคิดแบบคุณ-โทษและทางออก

                 โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย การคิดพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนและลึกซึ้ง หรือการคิดที่ถูกวิธี มีระเบียบ มีเหตุผล และสร้างสรรค์ มี 10 วิธี ดังนี้                  

1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ คิดแบบมีเหตุผล เช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยใช้วิธีการคิดแบบสืบสาวหาเหตุจากปัจจัย พระองค์ตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ โดยทรงพิจารณาว่าเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์นี้เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย แล้วพระองค์ก็สืบสาวไปก็ทรงค้นพบว่า มีผัสสะ เป็นต้น

2. วิธีคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบ คือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นองค์ย่อย ๆ ทำให้มองเห็นความและความสมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยเหล่านั้นว่ามีความเกี่ยว กับเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลและพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร จึงประสานสอดคล้องกันเป็นองค์รวม วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เรารู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริง

3. วิธีแบบสามัญลักษณะ คือ คิดแบบไตรลักษณ์  (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ ทุกขังมีแต่ความทุกข์อนัตตาไม่มีตัวตนที่แน่นอน

4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ วิธีคิดแบบแก้ปัญหา คือ การพิจารณาปัญหามีอะไรบ้าง (ทุกข์) สาเหตุอยู่ที่ใด (สมุทัย) แนวทางและเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ (นิโรธ) พิจารณาวีการ ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย (มรรค) ซึ่งเราสามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาถึงความเป็นจริงและนำไปสู่การคิด ตามกระบวนการนี้

5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นการคิดแบบสุตบุรุษ หรือสัปปุริสธรรมอันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือ รู้จักเหตุ รู้จักผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน   

6. วิธีคิดแบบเห็นคุณ – โทษและทางออก คือ มองในเชิงคุณค่าว่าสิ่งนั้น ๆ มีคุณในแง่ไหน  มีโทษในแง่ไหน มองทั้งคุณและโทษ แล้วก็หาทางออกที่จะแก้ไข

7. คิดแบบคุณค่าแท้- คุณค่าเทียม รู้จักแยกแยะสิ่งดีชั่วได้อย่างมีเหตุผล                 

8. วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุดความดี หมายถึง การบำเพ็ญความดี ซึ่งจะต้องกระทำให้ถึงที่สุด

9. วีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน  คือ คิดอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องบมีวิปัสสนากรรฐานเป็นเครื่องมือ

10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (แบบจำแนก) คือ คิดแบบรอบด้าน แยกแยะ มองสิ่งต่าง ๆในหลาย ๆ มุมอย่างละเอียดรอบคอบ

การคิดทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาสรุปได้สั้น ๆ 4 ข้อ คือ 1. คิดเป็นระเบียบ 2. คิดถูกวิธี 3. คิดเป็นเหตุเป็นผล 4. คิดให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล

ตามมาตรา 122 แห่ง พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (แก้ไขฉบับที่ 11 พ.ศ.2551) “นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันและสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์อื่นอันอยู่ในเขตอำเภอ..."

ตามระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553 ข้อ 6 อำนาจหน้าที่ "ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินตามข้อ 5"

จากฐานอำนาจดังกล่าวเห็นว่า อปท.ควรมีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกันและดูแลรักษาที่ดินของรัฐแยกได้ 3 เรื่อง ดังนี้

1. เรื่องการระวังชี้และรับรองแนวเขต

(1.1) อำนาจในการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน ดังนั้น ในกรณีที่ต้องลงนามรับรองแนวเขตที่ดินในเขตอปท. (ประเภทที่รกร้างว่างเปล่าและประเภทที่สาธารณประโยชน์)นายอำเภอท้องที่ต้องลงนามร่วมกับ นายก อปท. เช่น ในเขตเทศบาลคือ นายกเทศมนตรี ในเขต อบต. คือ นายก อบต. ฯ

(1.2) หน้าที่ในการระวังชี้และรับรองแนวเขต (ตามระเบียบฯ กรมที่ดิน นายกอปท.ต้องลงนามร่วมกับนายอำเภอในการรับรองระวังแนวเขตที่ดินเอกสารสิทธิ์ที่ติดที่ดินสาธารณะ)

(1.3) หน้าที่ในการจัดทำทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 4 ชุด ตามแบบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดร่วมกับนายอำเภอและให้เก็บรักษาไว้ที่อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานที่ดินจังหวัดและกรมที่ดินแห่งละ 1 ชุด ตามข้อ 10 แห่ง แห่งระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553

(1.4) หน้าที่ให้ข้อเท็จจริงและความเห็นกรณีทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้สำนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสั่งการให้แก้ไขหรือจำหน่ายรายการทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามข้อ 11 วรรคสาม แห่ง ระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553

(1.5) หน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินตามข้อ 12 แห่ง ระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553

(1.6) หน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดินตาม ข้อ 13 แห่ง ระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553 บัญญัติว่า "ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันเช่น การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง การตรวจสอบหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงการดำเนินคดีกรณีมีข้อพิพาท การรังวัดทำแผนที่การจัดทำทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้เบิกจ่ายจากงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"

2. เรื่องการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ฝ่าฝืน

(2.1) อำนาจดำเนินคดีแก่ผู้ฝ่าฝืน (ร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับนายอำเภอ)

หน้าที่เป็นผู้ดำเนินการระงับข้อพิพาทหรือร้องทุกข์กล่าวโทษภายในสามสิบวันนับแต่รู้เหตุแห่งข้อพิพาทหรือคดี ข้อ 6 วรรคสอง แห่งระเบียบ มท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553

(2.2) หน้าที่ในการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ฝ่าฝืน (รวมถึงเรื่องการบุกรุกด้วย), เป็นโจทก์ร่วมกับนายอำเภอในการฟ้องร้องคดี

3. เรื่องการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์

(3.1) อำนาจในการให้ความเห็นเพื่อใช้ประกอบการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับที่ดินของรัฐ กรณีเอกชนขอใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตามมาตรา 9 หรือมาตรา 12 แห่ง ป.ที่ดิน

(3.2) อำนาจขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เพื่อประโยชน์ในทางราชการ เช่น ใช้เพื่อก่อสร้างสำนักงาน ในฐานะ “ทบวงการเมือง"ตาม มาตรา 8 ทวิ แห่ง ป.ที่ดินประกอบด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ทบวงการเมืองใช้ที่ดินของรัฐเพื่อประโยชน์ในราชการ

(3.3) อำนาจขอเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันจากการใช้เพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตามข้อ 9แห่งระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553

ข้อสังเกตการใช้ใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์

"อำนาจ" ของ อปท. เกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้น จะโยงไปถึงคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทางปกครอง(กฎ, คำสั่ง, การทำอื่นใด, สัญญาทางปกครอง) ตาม มาตรา 9 แห่งพรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ตามหลักกฎหมายปกครองที่ว่า "ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ"ฉะนั้นการที่ทราบว่า อปท.มีอำนาจเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะอย่างไร จึงเป็นสิ่งจำเป็น

นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอำนาจใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันข้อ 7 แห่งระเบียบมท.ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ.2553

อปท.จะให้เช่าที่สาธารณประโยชน์โดยนำรายได้เข้าท้องถิ่นสามารถทำได้แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐพ.ศ. 2547 ซึ่งต้องมีการจัดทำประชาคมและจัดทำโครงการประชุมชี้แจงราษฎรในพื้นที่ดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการที่สาธารณประโยชน์ของกรมที่ดิน

ฉะนั้นกรณีที่ อปท. นำที่ดินของรัฐไปอนุญาตให้เอกชนผู้หนึ่งผู้ใดใช้ประโยชน์จึงเป็นการไม่ถูกต้องหากเกิดความเสียหายต่อผู้ขอใช้หรือต่อที่ดินของรัฐ อปท.จะต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว และจะต้องรับผิดชอบทางวินัย และทางละเมิดหรืออาจจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย

ประเด็นทางสาธารณะ,ทางหลวง

"การได้มาซึ่งที่ดินนั้นเป็นการได้มาเพื่อสร้างทางหลวงตามข้อ 63 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จึงอยู่ในความปกครองดูแลและคุ้มครองป้องกันของเทศบาลซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวแม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ต้องถือว่าข้อ 63 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ฯได้ให้อำนาจหน่วยงานที่ทำหน้าที่สร้างหรือขยายทางหลวงดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินนั้น"

(คำพิพากษาศาลปกครองสงขลา คดีหมายเลขแดงที่ 42/2545ระหว่าง นางสุทิน บุพโก ผู้ฟ้องคดี กับ เทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่องเทศบาลนครหาดใหญ่ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติคดีเกี่ยวกับที่สาธารณะ) (ดูอ้างอิง [1])

***** หมายเหตุ สรุปประเภทที่ดินของรัฐได้ 2 ประเภท คือ

1. ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา กับ

2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

หากทรัพย์ของแผ่นดิน ใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็จะกลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ฉะนั้น ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ (ดูอ้างอิง [2])

หมายเหตุ ระเบียบ มท. มีหลายฉบับ ที่เกี่ยวกับที่ทางสาธารณะ ซึ่งยังไม่ยกเลิก ได้แก่

[1] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพการจัดขึ้นทะเบียนและการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2550,

[2] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการเกี่ยวกับการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ที่ตื้นเขิน พ.ศ. 2547,

[3] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2547,

[4] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน จากการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหนึ่ง เป็นอีกอย่างหนึ่ง พ.ศ. 2543,

[5] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ทบวงการเมืองใช้ที่ดินของรัฐเพื่อประโยชน์ในราชการตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2541,
(หมายเหตุ ลำดับที่ 5 ถูกยกเลิกโดย“ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพ การจัดขึ้นทะเบียน และการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2550”)

[6] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสอบสวนเกี่ยวกับการบุกรุกที่หรือทางสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2539,

ฯลฯ

อ้างอิง

[1] อนุชา ฮุนสวัสดิกุล. “คดีปกครองที่สำคัญเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น". สถาบันพระปกเกล้า,สิงหาคม 2547. (คดีปกครองเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 ประเภท), 

http://www.kpi.ac.th/คดีปกครอง...

[2] ลักคณา พบร่มเย็น, "ประเภทของที่ดินของรัฐ", คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บันทึก GotoKnow 24 ธันวาคม 2551, https://www.gotoknow.org/posts/231729

[3] กรมการปกครอง, "ขอบเขตหัวข้อการดูแลรักษาคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน", http://iad.dopa.go.th/subject/land2.doc

[4] ดูเพิ่มเติมใน "มาตรฐานการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์", รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายวสันต์ วรรณวโรทร) ประธานคณะทำงาน ตาม คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 119/2549 ลงวันที่ 12 เมษายน 2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างมาตรฐานการบริหาร/การบริการสาธารณะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น, http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/27/27.htm

[5] ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการสอบสวนเกี่ยวกับการบุกรุกที่หรือทางสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2539, http://dl.parliament.go.th/han...

& http://drmlib.parliament.go.th...

[6] แนวทาง วิธีการ และมาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จังหวัด (กบร.จังหวัด), http://pab.dopa.go.th/main/law/land_threat.pdf

คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จังหวัด (กบร.จังหวัด), คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ที่ 1/2553. ลงวันที่ 19 มกราคม 2553

ข้อใดที่เป็นลักษณะของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ คือ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณ-โทษ และทางออกหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ สาระสำคัญ โยนิโสมนสิการ เป็นวิธีคิดตามหลักพระพุทธศาสนาที่สอนให้คิดพิจารณาอย่างถ่องแท้ แยบคาย และรอบคอบก่อนการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความมีสติ

ข้อใดแสดงถึงคิดแบบคุณ

6. วิธีคิดแบบคุณ โทษและทางออก คือ การมองให้ครบทั้งข้อดี ข้อเสีย และทางแก้ไข หาทางออกให้หลุดรอดปลอดพ้นจากข้อบกพร่อง ต่างๆ เน้นวิธีมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เน้นการศึกษา และยอมรับความเป็นจริง ตามที่ สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้รู้ และเข้าใจ ถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งด้านดี ด้านเสีย จุดอ่อน

ข้อใดคือลักษณะของบุคคลที่มีวิธีคิดแบบสามัญลักษณะ

3. วิธีแบบสามัญลักษณะ คือ คิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้เอง เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกขัง มีแต่ความทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่แน่นอน

วิธีการคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมมีลักษณะอย่างไร

ถ้าคิดเพียงแต่จะสนองตัณหาของตน ไม่ว่ากับสิ่งใด ก็เป็นการคิดด้วยคุณค่าเทียม แต่ถ้าคิดถึงแก่นหรือคุณประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนั้น ก็เรียกว่าคิดด้วยคุณค่าแท้