ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทำ csr

การทำธุรกิจนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันการมองไปที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่สิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

Show

ปัจจุบันผู้คนนั้นให้ความสำคัญกับบริษัทที่เล็งเห็นถึงปัญหาของสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายๆ องค์กรเองก็ได้มีการริเริ่มกิจกรรม CSR เพื่อสร้างเสริมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกันมากขึ้น

เรามาดูกันว่ากิจกรรม CSR นั้นคืออะไร? มีความสำคัญ และประโยชน์มากน้อยแค่ไหน? และสามารถเริ่มต้นอย่างไรได้บ้าง?

ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทำ csr

กิจกรรม CSR ภายในองค์กรคืออะไร มีอะไรบ้าง?

กิจกรรม CSR มาจากคำว่า Corporate Social Responsibility สามารถแปลตรงตัวได้ว่า การจัดกิจกรรมขององค์กรเพื่อความรับผิดชอบ และให้ความสำคัญต่อสังคม

เมื่อพูดถึงการทำเพื่อสังคมแล้ว หลายๆ คนอาจนึกถึงการออกไปจัดกิจกรรมบริจาคให้เด็กยากไร้ หรือการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะต่างๆ

แต่ความจริงแล้ววัตถุประสงค์หลักของกิจกรรม CSR นั้นคือการทำเพื่อผลประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน รูปแบบของ CSR จึงมีมากมายหลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

  • กิจกรรม CSR​ - ส่งเสริมการรับรู้ปัญหาของสังคม

    คือ การจัดหาเงินทุน ทรัพยากร หรืออาสาสมัคร กิจกรรม CSR​ เพื่อทำการส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ถึงปัญหาของสังคม ซึ่งจะออกมาเป็นในลักษณะของการ PR เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงปัญหา โดยองค์กรอาจบริหารงานนี้ด้วยตัวเอง หรือร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • กิจกรรม CSR​ - แผนการตลาดที่เกี่ยวโยงกับปัญหาของสังคม

    คือ การบริจาค หรือแบ่งกำไรจำนวนหนึ่งจากการขายผลิตภัณฑ์นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

    โดยเรามักจะเห็นกิจกรรม CSR​ แบบนี้กันได้บ่อยๆ จากการโฆษณาสินค้าว่า “รายได้ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปพัฒนาสังคม” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนช่วยเหลือผ่านการซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

  • กิจกรรม CSR​ - แผนการตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม 

    คือ กิจกรรม CSR​ ที่จัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุน ร่วมลงทุน หรือเฟ้นหาบุคลากร เพื่อเข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของสังคมโดยตรง โดยมักจะเป็นการลงมือทำขององค์กรใหญ่ๆ หรือการร่วมมือกันของหลายๆ บริษัท

  • กิจกรรม CSR​ - การบริจาคเพื่อการกุศล 

    คือ การบริจาคเงิน หรือข้าวของเครื่องใช้ เพื่อใช้สนับสนุนสังคม หรือองค์กรการกุศลต่างๆ ที่ทำเพื่อสังคม โดยมากมักจะเกิดจากข้อเสนอที่องค์กรภายนอกร้องขอให้ช่วยทำการสนับสนุน

  • กิจกรรม CSR​ - อาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือสังคม

    คือ การสนับสนุนให้พนักงานภายในองค์กรออกมาเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม CSR ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด ยกตัวอย่างเช่น อาสาสมัครเพื่อทำความสะอาดชุมชน ปลูกป่า หรือร่วมกันนำของไปบริจาคให้แก่ผู้ยากไร้

    โดยพนักงานอาจได้รับวันหยุดเพิ่มเติม หรือวันลาชดเชยจากการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครนี้

ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทำ csr
  • กิจกรรม CSR - การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม

    คือ การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม ยกตัวอย่างเช่น ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ และเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ ลดการปล่อยมลพิษออกสู่พื้นที่สาธารณะ หรือแม้แต่การร่วมมือกันประหยัดพลังงานของพนักงานภายในองค์ ซึ่งเป็นวิธียกระดับคุณภาพของสังคมในระยะยาว

ประโยชน์ของกิจกรรม CSR

ปัจจุบันโลกนั้นได้มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมนั้นทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนจึงให้ความสนใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนองค์กรที่มองเห็นปัญหาของสังคม และพร้อมที่จะปรับตัวช่วยเหลือ

ซึ่งกิจกรรม CSR นั้นจะทำให้คุณได้รับการสนุบสนุนจากประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มมากขึ้นของยอดขายในภายหลัง อีกทั้งยังรวมไปถึงองค์กรต่างๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกันอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับทัศนคติของพนักงานภายในองค์กรให้มีจิตอาสา และใส่ใจในความสำคัญของสภาพสังคมอีกด้วย

Summary

สรุปแล้ว กิจกรรม CSR นั้นไม่ได้มีเพียงการออกไปเป็นอาสาสมัครทำความสะอาดอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่ยังมีวิธีอื่นอีกมากมายที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมได้

ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือใจที่พร้อมจะทำเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนจริงๆ รับรองว่าองค์กรของคุณจะได้รับการยอมรับ และเป็นที่รักต่อผู้คนในสังคมอย่างแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจประเภทใดหรืออยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม หนึ่งเรื่องที่ควรต้องคำนึงถึงในการประกอบกิจการคือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือที่เรียกกันว่า CSR คือ ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความเคารพต่อสังคม แต่ยังรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวของทุกคนอีกด้วย การที่องค์กรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากจะทำให้กิจการของคุณอยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นมิตร สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ภาพลักษณ์ขององค์กร ที่ดูดีต่อสายของผู้บริโภค

 

Table of Contents

CSR คือ ?

CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีขององค์กร CSR คือ แผนธุรกิจประเภทหนึ่งเน้นการบรรลุผลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทั้งพนักงาน นักลงทุน ผู้บริโภค และบุคคลกลุ่มอื่น ๆด้วย

โดยหลักของ CSR คือ การส่งเสริมให้แต่ละองค์กร ดำเนินกิจการอย่างมีจริยธรรมและทำงานเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆกับการเติบโตขององค์กรด้วย

แม้ CSR จะทำให้เกิดต้นทุนระยะสั้น (Short-term costs) ที่ไม่ได้ทำให้เกิดผลกำไรหรือผลประโยชน์ขึ้นในทันที แต่การทำ CSR จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจให้กับผู้ถือหุ้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือปรับปรุงองค์กร ซึ่งจะสามารถเพิ่มผลกำไรในระยะยาวอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย

ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR สามารถก่อให้เกิดขึ้นได้หลายวิธี เรามาทำความรู้จักประเภทของ CSR กันก่อนครับ

 

ประเภทของ CSR

มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1.ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม

Environmental Corporate Social Responsibility หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด แต่ละองค์กรมุ่งเน้นการทำ CSR ด้านนี้เพื่อพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในบางประเทศถึงขั้นเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่องค์กรต้องรายงานเกี่ยวกับการปล่อยเรือนกระจก แต่ก็ต้องยอมรับว่าในการดำเนินกิจการของแต่ละองค์กร อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนอาจถูกมองว่าเป็นหนึ่งในต้นทุนของการประกอบกิจการ

โดยทั่วไป CSR ด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรมักมุ่งเน้นในเรื่อง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเรื่องการกำจัดของเสีย จึงทำให้เกิดการประเมินกระบวนการการผลิตขององค์กรขึ้น เพื่อที่จะระบุได้ว่า ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่สิ้นเปลืองและกำจัดขั้นตอนนั้นออกไปเสีย

ตัวอย่าง บริษัท CSR ด้านสิ่งแวดล้อม :

Unilever ในปี 2014 กับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายแบบกระป๋องฉีด บริษัทได้ทำการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการฉีดแต่ละกระป๋องลง 25% ต่อกระป๋อง และยังได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ใหม่ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง แต่ยังคงปริมาณน้ำยาดับกลิ่นไว้เท่าเดิม ซึ่งหมายความว่า จะได้พื้นที่สำหรับการขนส่งมากขึ้น ใช้รถบรรทุกน้อยลง จึงลดการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการขนส่งได้อีกด้วย

 

2.ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรม

Ethical Corporate Social Responsibility หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรม เป็นการมุ่งเน้นที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดของธุรกิจ เพื่อให้พวกเขาได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตั้งแต่ระดับพนักงานไปจนถึงผู้บริโภค และเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกมากที่สุด องค์กรจะพิจารณาว่า ในการดำเนินกิจการผู้มีส่วนได้เสียจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมหรืองานขององค์กรอย่างไรบ้างนั่นเอง

โดย CSR ด้านจริยธรรมจะพิจารณาถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงพนักงานที่ไม่ได้ทำงานให้กับธุรกิจโดยตรง เช่น อาจมีการจัดทำโปรแกรม CSR เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ที่ผลิตเสื้อผ้าให้กับบริษัทของคุณได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม หรือเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรรายย่อยถูกเอารัดเอาเปรียบ บริษัทต้องจ่ายเงินอย่างยุติธรรมสำหรับพืชผลนั้นๆ

แม้ว่าบางครั้ง CSR ด้านจริยธรรมจะถูกบังคับใช้ได้ยาก แต่โปรแกรมเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้มั่นใจว่า พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ ทั้งหมด จะได้รับข้อตกลงที่ยุติธรรมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

ตัวอย่าง บริษัท CSR ด้านจริยธรรม :

LUSH แบรนด์ออร์แกนิคชื่อดังจากอังกฤษที่มีสาขาในประเทศไทย เป็นที่รู้จักทั่วโลกเรื่องการรณรงค์ไม่ใช้สัตว์ในการทดลอง และบริษัทมีความตั้งใจดำเนินกิจการอย่างยุติธรรม และมีการริเริ่มทำ CSR ด้านจริยธรรมที่เข้มแข็งอีกบริษัทหนึ่ง

บริษัท LUSH จัดหาส่วนผสมจากผู้ผลิตโดยตรงอยู่เสมอ ทำให้ซัพพลายเออร์มั่นใจได้ว่า จะได้รับราคาที่ยุติธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน และการทำเช่นนี้ยังช่วยให้ LUSH มั่นใจได้ว่า ผู้ผลิตจะจัดหาวัตถุดิบที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งทำให้ LUSH มั่นใจได้อีกว่า ผู้บริโภคจะได้รับเครื่องสำอางที่มีคุณภาพดีที่สุดเช่นกัน 

บริษัท LUSH ยังยืนยันว่า ซัพพลายเออร์ของพวกเขาต้องไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็กอีกด้วย

ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทำ csr

Save Ralph อีกหนึ่งแคมเปญที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ เป็นโครงการที่รณรงค์ไม่ใช้สัตว์ในการทดลองเครื่องสำอาง สามารถดูรายชื่อแบรนด์ที่รณรงค์ไม่ใช้สัตว์ในการทดลองได้ที่นี่ครับ crueltyfree.peta

ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทำ csr

Save Ralph : ที่มาภาพ: HSI

 

3.ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการกุศล

Philanthropic Corporate Social Responsibility หรือความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการกุศล นอกเหนือจากการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม CSR ด้านนี้จะเน้นเรื่องการแบ่งปันคือ การบริจาคเงินแก่องค์กรเพื่อการกุศล หรือตามโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม นอกเหนือจากการบริจาค ยังรวมไปถึงการทำกิจกรรมเพื่อการกุศลอีกด้วย เช่น การมีส่วนร่วมในโครงการท้องถิ่นต่างๆ หรือชุมชนต่างๆ ถือเป็นการสนับสนุนกิจกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ตัวอย่าง บริษัท CSR ด้านการกุศล :

Google ดำเนินโครงการการกุศลหลายโครงการผ่านทาง google.org ซึ่งบริษัทได้ให้เงินช่วยเหลือและลงทุนไปแล้วมากกว่า $100 ล้าน Google ยังได้ดำเนินโครงการต่างๆอีกมากมาย โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงพัฒนาในส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ผลงานของพวกเขากับ Learning Equality ในการทำให้เนื้อหาดิจิทัลสามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

โดย Google หวังว่าจะช่วยลดช่องว่างระหว่างชุมชนที่ด้อยโอกาสในอินเดีย ละตินอเมริกา และแอฟริกา จึงทำให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ดีขึ้นด้วยการจัดทำเอกสารผ่านห้องสมุดระบบคลาวด์

 

4.ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านอาสาสมัคร

Volunteering Corporate Social Responsibility หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านอาสาสมัคร เป็นอีกประเภทที่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ใส่ใจ ขององค์กรได้อีกทางหนึ่ง เช่น การสละเวลาของคุณและของพนักงานเพื่อทำความดีในส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน แต่ CSR ด้านนี้ควรเป็นการกระทำที่สม่ำเสมอ มีระยะเวลาในการทำที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อการสร้างภาพ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์กรได้

ตัวอย่าง บริษัท CSR ด้านอาสาสมัคร :

Google นอกจากจะดำเนินการเพื่อการกุศลแล้ว ยังดำเนินโครงการอาสาสมัครซึ่งช่วยให้พนักงานของเขาสามารถอุทิศเวลาทำงานได้มากถึง 20 ชั่วโมง เพื่อไปเป็นอาสาสมัครในชุมชนของพวกเขาในแต่ละปีอีกด้วย

 

7 ขั้นตอนของการทำ CSR

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการจากองค์กรที่มีความซื่อสัตย์และดูเป็นมิตรมากยิ่งขึ้น หลายองค์กรใหญ่ๆเริ่มโฆษณาหรือสร้างคอนเทนต์เรื่องการรักษ์โลก การสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแผนการตลาดเพื่อดึงดูดผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มทำธุรกิจก็สามารถทำ CSR ได้ หรืออยากทำธุรกิจไปพร้อมๆกับการทำ CSR เราขอแนะนำ 7 ขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

1.กำหนดข้อความหรือแคมเปญ

ควรเลือกกิจกรรมหรือโครงการที่มีความเชื่อมโยงหรือสอดคล้องกับธุรกิจของคุณ และทำการวิเคราะห์ว่ากลุ่มคนที่เราต้องการเข้าไปสนับสนุน มีความต้องการในเรื่องอะไรบ้าง จากนั้นเลือกมาหนึ่งอย่าง โดยต้องคิดว่าจะจัดการเรื่องนั้นให้ได้และทำให้ดีที่สุดด้วย อย่าพยายามบริจาคเป็นเงินหากองค์กรของคุณยังไม่พร้อมทางด้านการเงินจริงๆ

2.ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม

อาจใช้ช่องทางออนไลน์ของคุณอย่าง Website หรือ Facebook ของบริษัท เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการเลือกกลุ่มคนที่อยากให้บริษัทของคุณเข้าไปสนับสนุน หรือร่วมโหวตว่าอยากเห็นบริษัทของคุณเข้าไปสนับสนุนในเรื่องอะไร โดยอาจจะมีการให้รางวัลตอบแทนกับผู้บริโภคที่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

3.สร้างดัชนีชี้วัด

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถทำและวัดผลการดำเนินของโครงการนั้นได้จริง โดยการแสดงความคืบหน้าของโครงการเป็นระยะไว้บนหน้า Website หรือ Facebook ของบริษัท นำเสนออย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ช่วยลดความสงสัยที่อาจเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนร่วมในโครงการนั้นๆได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง KPI : Key Performance Indicators คือ ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ

4.ใช้โซเชียลมีเดีย

อย่าเพิ่งบอกลูกค้าว่าคุณกำลังจะทำอะไร ให้ใช้โซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆของบริษัท เพื่อรวบรวมไอเดีย ประสบการณ์ และข้อกังวลของลูกค้า เพื่อให้พวกเขามาร่วมลงทุนในโครงการของคุณด้วย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้โซเชียลมีเดียครบทุกช่องทาง เช่น บล็อก, Facebook, Twitter และช่อง YouTube เพื่อเข้าถึงผู้คนให้ได้มากที่สุด

5.ร่วมมือกับบุคคลที่สาม

การร่วมมือกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไม่เพียงแต่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับโครงการที่คุณจะทำ แต่ยังช่วยให้องค์กรของคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นจากการระดมทุนหรือการทำบุญร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และการร่วมมือกับบุคคลที่สามนี้ อาจทำให้เกิดลูกค้าหรือเครือข่ายทางธรุกิจร่วมกันอีกด้วย

6.หาช่องทางประชาสัมพันธ์ 

หากองค์กรของคุณไม่เคยมีการประชาสัมพันธ์หรือออกสื่อเกี่ยวกับองค์กรเลย ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นทำดูครับ โดยการส่งข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการแข่งขัน กิจกรรม โครงการหรือการระดมทุนต่างๆ โดยติดต่อสื่อที่เหมาะสมกับโครงการของคุณเพื่อขอนำเสนอรายละเอียดอีกช่องทางหนึ่ง

7.นำรายงานการทำ CSR กลับมาใช้ประโยชน์อีก

การใช้แผนภูมิเรื่องราว ภาพถ่ายในรายงานประจำปี และจดหมายข่าวเกี่ยวกับการทำ CSR ของคุณ จะดึงดูดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้นในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวกให้กับองค์กรของคุณ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

ประโยชน์ของ CSR คือ

1.ช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้แก่พนักงาน

การให้โอกาสพนักงานของคุณได้ลองเป็นอาสาสมัคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาทำงานของพวกเขา พนักงานจะได้รับแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจผ่านโอกาสจากการเข้าไปพัฒนาชุมชน หรือจากการได้ลองเป็นอาสาสมัครในบริเวณใกล้เคียง การทำเช่นนี้พนักงานจะรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเหมือนแบรนด์แอมบาสเดอร์ขององค์กร โดยองค์กรที่มีพนักงานเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำ CSR ด้านอาสาสมัครมาก ก็ยิ่งมีโอกาสในการทำกำไรเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการมีพนักงานที่มีความสุขในการโปรโมตองค์กรของคุณผ่านการช่วยเหลือผู้อื่น

 

2.ช่วยปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร

ในยุคดิจิทัล หลายองค์กรได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านต่างๆผ่านทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรส่งผลให้ เช่น ผู้บริโภครู้สึกดีเมื่อได้ซื้อสินค้าและบริการจากองค์กรที่เข้าช่วยเหลือหรือสนับสนุนชุมชนของพวกเขา เพราะฉะนั้นอย่าพลาดโอกาสในการเผยแพร่การทำ CSR ขององค์กรคุณ กระจายข่าวเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการทำ CSR การแจ้งให้สาธารณชนทราบเกี่ยวกับการทำดีขององค์กร จะช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรต่อสาธารณะ

 

3.ช่วยเพิ่มความภักดีของลูกค้า

ในการสำรวจจากเว็บไซต์ Neilson.com โดย Chris McAllister ในปี 2016 ผลคือ 56% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจกล่าวว่า “แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านคุณค่าทางสังคม” สามารถกระตุ้นการซื้อเป็นอันดับสูงสุด และอีก 53% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจกล่าวว่า “แบรนด์ที่มีส่วนร่วมกับกับชุมชน” สามารถกระตุ้นการซื้อได้เช่นกัน

ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทำ csr

Chris McAllister, VP, Reputation Management and Public Affairs

ข้อมูลจาก nielsen.com

ลูกค้าหรือผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะภักดีต่อแบรนด์ของคุณมากขึ้น หากค่านิยมขององค์กรคุณสอดคล้องกับตัวตนของพวกเขา โปรแกรม CSR ทำงานเพื่อแสดงให้เห็นค่านิยมขององค์กรคุณ และแสดงให้เห็นว่าการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นส่วนสำคัญสูงสุดของค่านิยมหลักขององค์กรคุณเช่นกัน

 

4.ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร

หากอยากให้พนักงานในองค์กรได้ลองคิดนอกกรอบหรือมีความคิดสร้างสรรค์ การทำ CSR ถือเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้พนักงานได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือมีพลังในการทำงานเพิ่มมากขึ้นได้ ด้วยการมีส่วนร่วมทางสังคมนี้พนักงานจะรู้สึกมีพลังในภาพรวมที่ใหญ่ขึ้น อาจทำให้พวกเขาเกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือมีแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือสามารถคิดค้นวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆได้

 

ข้อควรระวังในการทำ CSR คือ

  • พยายามหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมด้านการกุศลที่ไม่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายหลักขององค์กรเลย ให้เน้นหาองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่คุณเชื่อมั่น หรือโครงการในชุมชนพื้นที่ใกล้เคียง
  • อย่าใช้โอกาสในการทำ CSR แบบฉาบฉวย (ระยะเวลาสั้น ไม่สม่ำเสมอ) เพื่อหาผลประโยชน์ทางการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์เพียงเท่านั้น

 

สรุป

องค์กรหรือบริษัทต่างๆจำเป็นต้องเข้าใจว่า CSR คือ ความมุ่งมั่นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมด้านใดด้านหนึ่งที่เราได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งมีผลต่อการเติบโตทั้งภายใน (ความพึงพอใจของพนักงานในการทำงานร่วมกับองค์กร) และภายนอก (ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากความภักดีของลูกค้า การรับรู้ถึงชื่อแบรนด์หรือชื่อองค์กรในทางที่ดี) การริเริ่มทำ CSR ถือเป็นโอกาสในการแสดงคุณค่าหลักขององค์กรและสร้างความไว้วางใจให้กับพนักงานและผู้ซื้อของคุณได้