ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

ช่วงการปกครองในสมัยรัชการเป็นช่วงที่วัฒนธรรมจากตะตกเริ่มเข้ามามอิทธิพลในประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ

การปฏิรูปบ้านเมืองใน สมัยรัชกาลที่๕ แบ่งเป็นกี่ระยะอะไรบ้าง

แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิรูประยะแรก และการปฏิรูประยะหลัง

การปฏิรูปประเทศระยะแรก

การปฏิรูปประเทศในระยะแรก รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งศภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย  รวมไปถึงยกเลิกประเพณีโบราณต่าง ๆ ไม่เห็นว่าไม่เหมาะกับสังคมสังคมในสมัยนั้น แต่สภาทั้ง 2 ปฏิบัติงานได้ไม่นานก็ต้องยุติหน้าที่ลงเนื่องจากวิกฤติการณ์วังหน้า

การปฏิรูปประเทศระยะหลัง

รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงภยันอันตรายของจากล่าอาณานิคมของประเทศโลกตะวันตก และทรงเห็นว่าการปกครองในแบบเดิมของไทยนั้นมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญของบ้านเมือง จึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการปกครอง 2435 โดยใน พ.ศ. 2430 ได้มีการเริ่มแผนการปฏิรูปการปกครองขึ้นตามแบบแผนของตะวันตก ในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ต่อได้เปลี่ยนมาใช้คำว่ากระทรวงแทนโดยสถาปนาขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2435  และยังได้มีการประกาศแต่งตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงขึ้น และยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่งต่อจากนั้นก็ได้มีการยุบกระทรวงเหลือเพียง 10  กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระกรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านเศรษฐกิจ  

การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

  1. มีการปรับตัวให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้หลุดพ้นจากการคุกคามจากประเทศตะวันตกด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศที่มีความล้าหลัง ดังนั้นในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความทันสมัยนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนอย่างมาก 
  2. มีการปฏิรูปการคลัง เนื่องด้วยปัญหาทางด้านการคลังที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปทางด้านอื่น ๆ และปัญหาในเรื่องความล้าสมัยไม่สามารถตรวจสอบได้ของการคลัง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปโดยมีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ เป็นที่รวมงานการเก็บภาษีอากรและแจกจ่ายภาษีนั้นไปยังกรมกองต่าง ๆ  มีการจัดทำงบประมาณ มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และส่วนของแผ่นดิน และมีการปฏิรูประบบเงินตรา 

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านสังคม  

เนื่องในสมัยรัชกาลที่  ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสไทย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขนบประเพณีในบางเรื่องอีกด้วย เช่น ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเดิมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจะเป็นผู้ถือน้ำและสาบานตน เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสวยน้ำและสาบาน 

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ ปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงิน และ การคลัง สมัย รัชกาล ที่ 5

วันปิยมหาราช


วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 และบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
1. การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่ามีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมากและลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้วต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระราชหฤทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จแม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก

2. การปฏิรูประบบราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกันจากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

3. การสาธารณูปโภค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานและถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคมและส่งเสริมการเพาะปลูก การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลังต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 การไฟฟ้าพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2433 การไปรษณีย์โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลขซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

4. การเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จฯ

5. การศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

6. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์