ข้อใดไม่ใช่การคัดเลือกบทละคร

1. Plot (โครงเรื่อง)

หมายถึงเรื่องที่มีการเกิดความขัดแย้ง (Conflict) ตั้งแต่ตัวละคร 2 ตัวขึ้นไป หรือไม่ก็เกิดขึ้นกับตัวละครตัวเดียวแต่เป็นการขัดแย้งภายในตัวเอง ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวนั้นจะทำให้เกิดเป็นการกระทำ (Action) และการกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการทำอื่นๆ ตามมาสืบเนื่องอย่ามีเหตุมีผล ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ และถูกวางไปทางหนึ่งทางใดอย่างมีระเบียบ

ลักษณะโครงเรื่องที่ถูกวิจารณ์ไม่ดีนั้นคือลักษณะโครงเรื่องที่ผู้เขียนอยากให้เป็นอย่างไรก็บังคับเป็นอย่างนั้นโดยไม่สมเหตุสมผลตามความคิดของตัวละคร

โครงเรื่องที่ดีต้องมีความยาวพอเหมาะ ประกอบไปด้วย ต้น (เกริ่น) กลาง (พัฒนา) จบ และสัมพันธ์กันตามเหตุผลและกฏแห่งกรรม (ที่กล่าวเช่นนี้เพราะผู้ชมควรได้ข้อคิดต่อชีวิตที่ถูกต้อง)

2. Character & Characterization (ตัวละครและการออกแบบตัวละคร)

ตัวละครคือผู้กระทำและผู้ได้รับผลของการกระทำนั้นๆ ในเรื่อง โดยการวางลักษณะนิสัยของตัวละคร (Characterization) นั้นควรเปลี่ยนแปลงจากนิสัยเดิมที่ตัวละครเป็น พัฒนาไปตามเหตุการณ์ที่มากระทบกับชีวิตของตัวละครนั้นๆ

ลักษณะของตัวละครที่หลายคนมักคุ้นเคยคือ

- Typed Character คือตัวละครที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เรียนรู้ ไม่มีการพัฒนา ตัวละครประเภทนี้จะเป็นภาพจำประมาณว่าดีก็ดีเลย เลวก็เลยไปเลย ตัวละครลักษณะ  Typed Character นั้นจะเหมาะกับบละครเด็กๆ หรือในกรณีของเรื่องสอบสวน

- Well-Rounded Character คือตัวละครที่มีทั้งส่วนที่ดีและข้อบกพร่องในตัวเอง มีความคล้ายและใกล้เคียงกับมนุษย์จริงๆ ผู้เขียนมักจะไม่ตัดสินว่าใครเป็นคนดีหรือคนเลว การออกแบบตัวละครประเภทนี้เป็นที่นิยมในการเขียนบทละคร

3. Thought (ความคิด)

คือแก่นของเรื่อง (Theme) จุดมุ่งหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อกับผู้ชม จนอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าผู้ชมรับรู้เรื่องราว (Story) ของละครแต่ไม่สามารถรับรู้ความคิดที่ผู้เขียนต้องการสื่อแล้วก็ถือว่าเป็นความล้มเหลวของละคร

4. Diction (ภาษา)

คือสื่อที่ถ่ายทอดเรื่อง ตัวละคร และความคิด Diction สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้

เนื่องจากความจำกัดในการนำเสนอ การใช้ภาษาจะต้องสื่อความหมายให้คนดูเข้าใจชัดเจนได้ บทละครจะต้องคัดสรรคำพูดที่ใช้ในบทสนทนาอย่างดี ตั้งแต่การเลือกคำ รูปประโยค หรือเทคนิคทางภาษาเพื่อทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงละครได้อย่างลึกซึ้ง

5. Song (เสียง)

ในกรณีนี้ Song ไม่ได้หมายความถึงบทเพลงเพียงอย่างเดียว แต่คือเสียงที่เกิดขึ้นในละครและบทเวที ซึ่งมีความหมายรวมตั้งแต่การใช้เสียงสูงต่ำของนักแสดง สำเนียงภาษา ความเงียบ จนไปถึงดนตรีประกอบ เสียง Effect ฯลฯ อีกด้วย

6. Spectacle (ภาพ)

ภาพในละครคือสิ่งที่คนดู “เห็น” ได้บนเวทีระหว่างการชมละคร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ฉาก แสง เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า เครื่องประกอบฉาก ฯลฯ รวมไปถึงท่าทางและสิ่งที่นักแสดงทำบนเวที โดยทั่วไปแล้วภาพจะเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ในบทละครแต่เกิดจากการวิเคราะห์และกำกับของศิลปิน อย่างไรก็ตามในบทละครสมัยใหม่บางเรื่องก็มีการระบุภาพไว้อย่างละเอียดเช่นเดียวกัน

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 10-11  

คำชี้แจงให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว (ต้องทำทุกข้อ)

สอบครั้งที่ *

สอบสูงสุดได้ 3 ครั้ง

E-mail (ถ้ามี)

ถ้านักเรียนมี E-mail ให้กรอกด้วย หลังสอบเสร็จระบบจะส่งผลการสอบไปที่ E-mail นักเรียนทันที

ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของละคร *

ข้อใดเป็นการนำสาระศิลปะมาประยุกต์ใช้กับการละคร *

สิ่งใดที่ผู้วิจารณ์การแสดงควรทำในการเขียนบทวิจารณ์การแสดงเรื่องหนึ่ง *

ศึกษาเพิ่มเติม เช่น อ่านสูจิบัตรการแสดง บทละคร หรือวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ

อ่านบทวิจารณ์ของคนอื่นก่อนเขียนของตนเอง

ขณะชมการแสดงอยู่ทันทีที่เข้าใจการแสดงรีบออกมาเขียนวิจารณ์ด้านนอกเลย

ใช้ภาษาที่รุนแรง เร้าใจ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ของผู้วิจารณ์

เอกลักษณ์ของความงามในศิลปะการแสดงที่พิเศษจากความงามของศิลปะอื่นๆ คืออะไร *

เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ในขณะที่ชม

เป็นผลงานที่ผู้ชมทุกคนชื่นชมอยู่ตลอดเวลา

เป็นผลงานศิลปะที่รวบรวมการสร้างสรรค์ศิลปะ ทุกแขนงเข้าไว้ด้วยกัน

เป็นความงามที่แสดงออกผ่านการเคลื่อนไหว

สิ่งใดที่ผู้วิจารณ์การแสดงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงในการวิจารณ์การแสดง *

ความสวยงามของแสงสีประกอบการแสดง

มุมมองที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอสู่ผู้ชม

วิธีการเดินทางไปสถานที่ที่ชมการแสดง

การเล่าเรื่องย่อการแสดงนั้นๆ

ถ้านักเรียนจะวิเคราะห์ วิจารณ์องค์ประกอบของการ ร่ายรำ ควรเลือกวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องใดจึงจะเหมาะสม *

ความถูกต้องตามแบบแผนของท่ารำ

ข้อใดเป็นบรรยากาศที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการแสดงละครเวทีเรื่องแผลเก่า *

ฉากวิถีชีวิตชนบท มีกระท่อม ทุ่งนา วัวควาย

ฉากชุมชนแออัด มีบ้านเรือนตั้งหนาแน่น ลำคลอง

ฉากป่าเขาลำเนาไพร มีต้นไม้ เสียงนกร้อง น้ำตก

ฉากในสนามรบ มีปืนใหญ่ มีดดาบ กำแพง ทุ่งหญ้า

การแปลงบทละครที่เป็นอักษรให้เป็นการแสดง จัดเป็นองค์ประกอบของการแสดงละครด้านใด *

ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์ละครตรงกับข้อใด *

เลือกนักแสดงให้เหมาะสมกับบทบาทตัวละครในเรื่อง

ออกแบบเครื่องแต่งกาย ฉาก แสง สี เสียง

ขมิ้นได้รับมอบหมายให้เป็นตัวเอกของละครเรื่อง ปลาบู่ทอง สิ่งแรกที่ขมิ้นต้องทำคือสิ่งใด *

ศึกษาประวัติความเป็นมาของผู้เขียนบท

ทำความรู้จักกับทีมงานผู้สร้างละครทุกคน

เตรียมออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง     ที่เหมาะสม

ถ้าต้องการแสดงให้เห็นความโอ่อ่าหรูหรา ควรใช้สี ประเภทใด *

สิ่งที่พึงปฏิบัติหลังจบการแสดงละครคือข้อใด *

ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับละครชาตรีเครื่องใหญ่ *

การแสดงเน้นความสนุกสนานแบบละครนอกและไม่ต้องรำซัดเบิกโรง

เป็นการนำเอาละครนอกมาผสมผสานกับละครชาตรี

นิยมมาแสดงเป็นละครแก้บนตามสถานที่ต่างๆ

ดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีของละครชาตรีผสมวงปี่พาทย์ของละครนอก

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำว่า “ถนิมพิมพาภรณ์” *

เครื่องประดับศีรษะ เช่น ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า

อาวุธที่ใช้ต่อสู้กัน เช่น ศร พระขรรค์ จักร ตรีศูล คฑา

เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มของตัวละครที่เลียนแบบมาจากเครื่องทรงของกษัตริย์

เครื่องประดับตามแต่ฐานะของตัวละคร เช่น แหวน ทองกร

เพราะเหตุใด ในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงเป็นยุคทองแห่งศิลปะ การแสดง *

มีบทละครเกิดขึ้นมากมาย เช่น อิเหนา ไกรทอง คาวี

ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก

มีการดัดแปลงการแสดงละครจนเกิดการแสดงรูปแบบใหม่ๆ ขึ้น

เกิดละครรูปแบบใหม่หลายประเภท เช่น ละครเสภา ละครร้อง เป็นต้น

“ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย    ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม เอนองค์แอบแนบน้อง   เชยปรางพลางประคองสองสม คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์ เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย กรกอดประทับแล้วรับขวัญ   อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย    ดังสายสุนีวาบปลาบตา” กลอนบทนี้ใช้กับละครใด *

การละครในสมัยใดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ การแสดงละครไปจากเดิมมากนัก *

การแสดงละครใดแตกต่างจากข้ออื่น *

การประเมินผลการแสดงมีประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด *

เพื่อคัดเลือกตัวแสดงให้เหมาะสม

เพื่อปรับปรุงแก้ไขการแสดงในครั้งต่อไป

“ดงบงคมกลองด้วยเสียงพาด  เสียงพิณ เสียงเลื่อน     เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจัดมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน”  จากข้อความสะท้อนให้เห็นถึงการแสดงละครไทยอย่างไร *

ประชาชนทุกคนต้องแสดงละครได้

ประชาชนทุกคนชอบดูการแสดงละคร

การแสดงละครไทยต้องมีเครื่องดนตรีประกอบ

Never submit passwords through Google Forms.