ข้อใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบ

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี”

การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร

การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี”

กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน

กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
  2. รวบรวมข้อมูล(Information gathering)
  3. เลือกวิธีการ (Selection)
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
  5. ทดสอบ (Testing)
  6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
  7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ

ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ

การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ

การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ

การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข

การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล

การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดู หรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้

การนำกระบวนการเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้น สามารถช่วยให้ผู้นำไปใช้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ง่ายขึ้น โดยหากผู้อ่านท่านใดนสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่ เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยี ได้ตามลิงค์ด้านล่าง


คำแนะนำ

         1.  แบบทดสอบแบ่งเป็น  2  ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย  4  ตัวเลือก
              มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
         2.  ตอนที่  2  ภาคปฏิบัติแบบอัตนัย  2  ข้อ  10 คะแนน
         3.  ตอนที่ 1 ให้นักเรียนคลิกตัวเลือกที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว และเมื่อทำแบบทดสอบครบ
              ทุกข้อแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม  "ตรวจคำตอบ"  จะทราบคะแนนทันที


ตอนที่ 1

ข้อที่ 1 :  ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาขั้นตอนใดที่ผู้พัฒนาโปรแกรมต้องศึกษาถึงวิธีการประมวลผลมากที่สุด

   ก. สิ่งที่ต้องการ
   ข. รูปแบบการแสดงผลทางเอาต์พุต
   ค. การประมวลผล
   ง. ลักษณะของข้อมูลเข้า


ข้อที่ 2 :  ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิเคราะห์ปัญหา

   ก.  ทำความเข้าใจกับปัญหา
   ข.  ทำความเข้าใจกับลักษณะข้อมูลเข้าออก
   ค.  ทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา
   ง.  ทดสอบรูปแบบข้อมูลเข้าและข้อมูลออก


ข้อที่ 3 :  ข้อใดคือความหมายของอัลกอริทึม

   ก. การทำความเข้าใจกับปัญหา
   ข. การอธิบายขั้นตอนการทำงานเป็นข้อๆ
   ค. การคิดวิธีแก้ปัญหา
   ง. การทดสอบขั้นตอนการทำงาน


ข้อที่ 4 :  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเขียนจากขั้นตอนใด

   ก. พิจารณาข้อมูลอินพุต
   ข. พิจารณาข้อมูลเอาต์พุต
   ค. การอธิบายวิธีประมวลผล
   ง. สิ่งที่ต้องการทางเอาต์พุต
ข้อที่ 5 : ถ้าหากต้องการให้คอมพิวเตอร์คำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยม ท่านคิดว่าข้อมูลใดคือข้อมูลอินพุต

   ก. พื้นที่, ความสูง
   ข. พื้นที่, ความยาวฐาน
   ค. ความยาวฐาน, สูง
   ง. พื้นที่, ความยาวฐาน, สูง


ข้อที่ 6 :  การทดสอบความถูกต้องของขบวนการแก้ปัญหาควรจะทำกับข้อมูลตัวอย่างกี่ชุด

   ก. อย่างน้อย 1 ชุด
   ข. อย่างน้อย 2 ชุด
   ค. ขึ้นกับลักษณะของปัญหา
   ง. ทุกกรณีที่สามารถเป็นไปได้ในปัญหานั้นๆู


ข้อที่ 7 :  ข้อใดคือการวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการทางเอาต์พุต

   ก. การวิเคราะห์ว่าโปรแกรมนั้นต้องทำงานบนเครื่องรุ่นใด
   ข. การวิเคราะห์ว่าต้องการผลลัพธ์อะไรจากการประมวลผล
   ค. การวิเคราะห์รูปแบบการพิมพ์ผลลัพธ์
   ง. ถูกทุกข้อ


ข้อที่ 8 : จากปัญหาต่อไปนี้

               "ให้หาค่าเฉลี่ยของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ที่ป้อนผ่านแป้นพิมพ์ และแสดง
               ค่าเฉลี่ยออกทางจอภาพ"

           ผลลัพธ์ที่ต้องการจากปัญหานี้คือข้อใด

   ก. ค่าของตัวแปร 3 ตัว
   ข. ค่าของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ที่รับผ่านทางแป้นพิมพ์
   ค. ค่าเฉลี่ยของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน
   ง. ค่าเฉลี่ยของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ที่แสดงออกทางจอภาพ


ข้อที่ 9 : ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัญหาคือข้อใด

   ก.  ทำให้เข้าใจและแยกแยะปัญหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
   ข.  สามารถหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย
   ค.  ผู้เขียนโปรแกรมมองเห็นลำดับการทำงาน
   ง.   ถูกทุกข้อ


ข้อที่ 10 : ในชีวิตประจำวันบุคคลใดจัดว่าวิเคราะห์ปัญหาไม่เป็น

   ก. นิดฝึกคิดวิเคราะห์ และหารายได้เสริม
   ข. เอลำดับขั้นตอนการทำอาหารของตนเอง
   ค. เจลอกการบ้านเพื่อนเสมอ
   ง. โอสร้างปฏิทินการทำงานของตนเองเสมอ