ประเทศใดมีรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ

 
ประเทศ

การปกครอง

            1.    ไทย

        ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

            2.    มาเลเซีย

        ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

            3.    อินโดนีเซีย

        ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

            4. สิงคโปร์

    สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็น       หัวหน้าฝ่ายบริหาร

            5.    เวียดนาม

        ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
         
            6.    พม่า
        เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

            7.
    ลาว
       สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
        
            8.    กัมพูชา
        ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
        
            9.    บรูไน
        ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

        
            10.    ฟิลิปปินส์
        ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

สาธารณรัฐ หรือ รัฐมหาชน เป็นระบอบการปกครองที่ไม่ใช่ ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน การดำเนินกิจกรรม และตำแหน่งหน้าที่ จะต้องได้รับการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับการแต่งตั้ง แต่ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ ในปัจจุบันไปแปลความหมายว่า เป็นระบอบการปกครองที่ประมุขรัฐ ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์ ต้นแบบจริงๆของสาธารณรัฐก็คือ สาธารณรัฐโรมัน ยุคที่ผู้ปกครองได้รับเลือกมาจากคณะผู้เลือกตั้ง

ที่น่าสังเกตก็คือว่า ประเทศที่ใช้คำว่า สาธารณรัฐ จะปกครองด้วย ลัทธิคอมมิวนิสต์ มาก่อน เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น

ในสมัยใหม่ สาธารณรัฐ เปลี่ยนรูปแบบที่มีการปกครองเป็นการรวมตัวของรัฐต่างๆ หรือ สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐฯ ฝรั่งเศส รัสเซีย หรืออินเดีย เป็นต้น เพียงแต่ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน แต่รูปแบบการปกครอง ฝ่ายบริหารต้องมีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญและมาจากประชาชน เป็นอิทธิพลมาจากคนต้นคิดเป็นทฤษฎีการเมืองที่ชื่อว่า มงแต็สกีเยอ และเชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดของระบอบประชาธิปไตย

ต่อมาก็แตกแขนงไปอีกหลายรูปแบบการปกครอง เช่น ถ้าปกครองด้วยคนชั้นสูงก็จะเรียกว่า ศักดินา ถ้าปกครองด้วย คนส่วนน้อย ก็เป็นอภิชนาหรือคณาธิปไตย

ส่วนใหญ่ สาธารณรัฐ มักเป็น เอกราช ในการปกครอง เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ เขียนว่าทุกรัฐมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ หรือเขตปกครองของ สหภาพโซเวียต ที่แตกแยกการปกครองออกเป็นประเทศใครประเทศมันมีรัสเซียเป็นพี่ใหญ่ ก็อธิบายว่า เป็นสาธารณรัฐ ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญของโซเวียตในอดีตให้คำจำกัดความว่า เป็นรัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ แล้วแต่จะเรียก ต่อมากลายเป็น พรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต ให้อำนาจในรูปแบบ รวมศูนย์ เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทั้งหมด

การปลดแอกการปกครองของกองทัพปลดแอกในจีน ล้มล้างระบอบการปกครองจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่งก็เช่นกัน จะเป็นคอมมิวนิสต์จีนหรือคอมมิวนิสต์โซเวียต จะเป็นทุนนิยม สังคมนิยม

ผลสรุปสุดท้ายอยู่ที่การใช้อำนาจของผู้ปกครอง

รูปแบบการปกครองเป็นเรื่องสมมติขึ้นมา จะเรียกว่าประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ปกครอง ไม่ใช่ระบอบการเมืองการปกครอง และในปัจจุบันถือว่าระบอบการปกครองเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้ว

ยิ่งเข้าสู่ยุคปัจจุบัน โลกไร้พรมแดน คำว่า ประชาธิปไตย ถูกสื่อออกมาในลักษณะของสิทธิและเสรีภาพ ที่ไม่ต้องการขีดจำกัด ทุกคนเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองเลือกอนาคตตัวเอง ไม่สนใจว่าจะเป็นระบอบการปกครองใด

การมีคุณธรรมของผู้ปกครองและการกินดีอยู่ดี ความเสมอภาคเท่าเทียมของผู้ใต้ปกครอง ด้วยการวัดระดับจากความสุขของประชาชน สำคัญกว่าจะขัดแย้งกันที่ระบบ รูปแบบ ลัทธิการปกครอง ที่พิสูจน์แล้วว่ากินไม่ได้.