ฟิล์มเซรามิคแท้ ยี่ห้อไหนดี

ทุกวันนี้ กระแสของฟิล์มเซรามิคค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นฟิล์มกันความร้อนเทคโนโลยีใหม่ ที่รองรับไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัลได้ดี ลูกค้าหลายคนที่เพิ่งซื้อรถออกมาจากโชว์รูม หรือจะเปลี่ยนฟิล์มในภายหลัง ก็คงกำลังสนใจและอยากศึกษาเกี่ยวกับฟิล์มเซรามิคนี้แน่นอน

เมื่อยิ่งเป็นที่นิยม ฟิล์มเซรามิคในท้องตลาดก็ยิ่งมีเยอะแยะเต็มไปหมด มีทั้งฟิล์มเซรามิคแท้ตัวจริง และฟิล์มเซรามิคย้อมแมวขายโก่งราคา ในเรื่องของราคาเอง ก็มีขายตั้งแต่ราคาถูกจนชวนให้สงสัยว่า … ฟิล์มเซรามิคแท้จริงหรือเปล่า? ดังนั้น บทความความนี้จะพาไปดูวิธีตรวจสอบ “ฟิล์มเซรามิคแท้ดูยังไง?” กันครับ !

 


สนใจหัวข้อไหน คลิ๊กอ่านข้อนั้น

   

วิธีตรวจสอบ ฟิล์มเซรามิคแท้ เช็กเองได้แม้ไม่ใช่ช่าง

 

1. ฟิล์มเซรามิคแท้ … เงาน้อย

เพราะเซรามิคคือธาตุคาร์บอน (ไม่ได้เป็นสารโลหะ) จึงไม่มีคุณสมบัติของความเงา ค่าสะท้อนแสงของฟิล์มเซรามิคจึงต่ำ (ไม่เกิน 8%) หากฟิล์มที่เรากำลังจะซื้อมีค่าสะท้อนแสงเกินนี้ และดูแล้วมีความเงา วาว เหมือนกระจก ให้สันนิษฐานได้เลยว่า เป็นฟิล์มเซรามิคเทียมแน่นอน

 


เทียบกันให้เห็นชัด ๆ !!! ความเงาของฟิล์มโลหะ และความด้านของฟิล์มเซรามิค

 

จากภาพข้างบน เราเลือกเปรียบเทียบ ฟิล์มโลหะโทนสีดำในท้องตลาด (ทางซ้าย) กับฟิล์มลามิน่าเซรามิค L15 Digital Ceramatrix Boost (ทางขวา) จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าทางซ้ายจะมีความเงาวาวมากกว่า ส่วนทางขวา ฟิล์มจะไม่สะท้อนภาพเท่าไหร่ จะออกด้านกว่า ตามคาแรกเตอร์ของฟิล์มเซรามิคครับ
 

2. ฟิล์มเซรามิคแท้… เคลียร์ชัด ดำนอก สว่างใน

เรื่องของสีสันภายนอก ดูเผิน ๆ อาจคิดว่า “ดำเหมือน ๆ กัน” แต่ความจริงแล้ว ไม่เหมือนกันเลยครับ! ฟิล์มเซรามิคแท้จะให้ทัศนวิสัยชัดเจนทุกเวลา ตอนกลางวันจะเคลียร์ชัด ไม่ดูทึม ๆ เหมือนท้องฟ้าโดนย้อมสีดำ (หรือทำให้รู้สึกคล้ายฟ้าครึ้มฝนตลอด) ยิ่งช่วงเวลากลางคืน หรือเวลาขับอยู่ใต้ลานจอดรถในอาคาร ฟิล์มเซรามิคเทียมจะให้ทัศนวิสัยมืดจนยากต่อการขับขี่ บางคนต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลา หรือเวลาถอยจอดรถเข้าซอง ก็ต้องลดกระจกลงเพื่อให้มองเห็นกระจกมองข้าง หากฟิล์มเซรามิคที่คุณใช้อยู่มีอาการแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่าเป็นฟิล์มเซรามิคเทียมได้เลย

3. ฟิล์มเซรามิคแท้ … ผ่านทุกสัญญาณดิจิทัล

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า “เพราะเซรามิคคือธาตุคาร์บอน (ไม่ได้เป็นสารโลหะ)” จึงทำให้ฟิล์มเซรามิคไม่ปิดกั้นสัญญาณดิจิทัลต่าง ๆ แต่ต้องระวัง! ฟิล์มเซรามิคเทียมที่นำฟิล์มย้อมสีมาหลอกจำหน่าย ซึ่งฟิล์มชนิดนี้จะไม่ปิดกั้นสัญญาณดิจิทัลเช่นกัน เพราะเป็นการนำแผ่นพลาสติกมาย้อมสีเท่านั้น แต่ข้อเสียคือจะไม่มีคุณสมบัติช่วยกันความร้อนแต่อย่างใด เพราะไม่มีการเคลือบหรือฝังสารกันความร้อนพิเศษใด ๆ เลย ซึ่งคุณสมบัตินี้อาจพิสูจน์ด้วยตาเปล่าได้ยากสักหน่อย แต่เบื้องต้นมีวิธีเชคข้อสังเกต ดังนี้

  • ถ้าติดฟิล์มเซรามิคแล้ว นั่งในห้องโดยสารเวลากลางวันยังรู้สึกแสบผิว สันนิษฐานได้ว่า คุณอาจได้ฟิล์มเซรามิคเทียม ที่ย้อมแมวมาในคราบฟิล์มย้อมดำเฉยๆ
  • ถ้าติดฟิล์มเซรามิคแล้ว รู้สึกกันร้อนได้ดี แต่สัญญาณดิจิทัลหน่วง กระตุก สันนิษฐานได้ว่า คุณอาจได้ฟิล์มโลหะกันร้อนดี ที่เคลมว่าเป็นฟิล์มเซรามิคก็เป็นได้ !!!
 

4. ฟิล์มเซรามิคแท้ … ทนทาน

ฟิล์มเซรามิคแท้ ๆ จะมีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึง 7 ปีเลยแน่ะ ! เพราะกรรมวิธีในการผลิตที่ใช้การยิงประจุอนุภาคของเซรามิคในระดับอะตอม ทำให้อณูเซรามิคฝังเข้าเนื้อฟิล์มในระดับนาโน ทำให้ชั้นเซรามิคติดทนนานฝังเรียงตัวกันบนเนื้อฟิล์มอย่างสม่ำเสมอ ทนทาน ไม่ได้ใช้ดีแค่เพียง 1-2 ปีแรกแล้วก็สีซีด ไม่กันร้อนกันยูวี ใช้แล้วต้องทนแสบผิวครับ

 

นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ช่วยให้เราพิสูจน์ความเป็นฟิล์มเซรามิคแท้อย่างง่าย ๆ ก็คือ การดูแหล่งที่มาในการผลิตจากโรงงานที่มีอยู่จริง เชื่อถือตรวจสอบที่มาได้ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผลิตฟิล์มกรองแสงมาอย่างยาวนาน รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่มาจากบริษัทที่มีความมั่นคง เพื่อความมั่นใจว่าแบรนด์ฟิล์มรถยนต์ที่คุณเลือก จะไม่ปิดตัวหรือเปลี่ยนชื่อบริษัทหนีในช่วงระยะเวลาการรับประกันสินค้า  

พิสูจน์กันเห็นๆ ข้อดีของฟิล์มเซรามิคแท้

พูดถึงหลักการตรวจสอบด้วยตัวเองคร่าวๆ กันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูข้อดีของฟิล์มเซรามิคกันต่อแบบให้เห็นภาพกันชัดๆ ไปเลย จะได้เข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมเจ้าฟิล์มประเภทนี้ถึงได้รับความนิยมกัน

  • ดำนอก สว่างใน ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ให้ความเป็นส่วนตัวแบบแท้จริง
  • ฟิล์มเงาน้อย เข้มสวย มีเอกลักษณ์ในความเป็นฟิล์มเซรามิค
  • ลดความร้อนได้ดีเยี่ยม ทั้งความร้อนจากแสงแดด TSER, รังสียูวี UVA/UVB, อินฟราเรด IR และแสงสว่าง (อ่านเพิ่มเติมเรื่องของ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์)
 


ภาพตัวอย่างในสภาวะกลางวัน เมื่อมองผ่านฟิล์มโลหะ (ด้านบน) และฟิล์มเซรามิค (ด้านล่าง)

จากภาพข้างบนนี้ ได้ทดสอบระหว่างฟิล์มโลหะแบรนด์หนึ่ง และฟิล์มลามิน่าเซรามิค L30 Digital Ceramatrix Boost (ใน Lamina Digital Boost Series) จะเห็นได้ว่ามุมมองจากฟิล์มโลหะถึงแม้จะสว่าง แต่จะมีความฟุ้งของแสงมากกว่าภาพที่มองจากฟิล์มเซรามิค ด้วยความที่ฟิล์มเซรามิคมีค่าสะท้อนแสงต่ำเพียง 8% จึงตัดแสงจ้าได้ดี จึงช่วยให้มองภาพได้เคลียร์ชัดกว่า และสบายตากว่า เพิ่มทัศนวิสัยความปลอดภัยในการขับขี่ในระดับที่ยอดเยี่ยม สำหรับในตอนกลางคืน ตามไปดูกันต่อดีกว่า


ภาพตัวอย่างในสภาวะกลางคืน เมื่อมองผ่านฟิล์มดำทั่วไป (ด้านบน) และฟิล์มเซรามิค (ด้านล่าง)

จากภาพข้างบนนี้ ได้ทดสอบวิสัยทัศน์ระหว่างฟิล์มดำทั่วไปแบรนด์หนึ่ง และฟิล์มลามิน่าเซรามิค L15 Digital Ceramatrix Boost (ใน Lamina Digital Boost Series) จะเห็นได้ว่ามุมมองจากฟิล์มเซรามิคของลามิน่าจะสว่างใสกว่าฟิล์มโลหะทั่วไป แม้จะมีความเข้มใกล้เคียงกัน ซึ่งถือว่าเป็นความต่างที่หากไม่ได้ลองสัมผัสเองก็คงไม่รู้ครับ


ภาพตัวอย่างแสดงความมันเงาของฟิล์มดำทั่วไป (ด้านซ้าย) และฟิล์มเซรามิค (ด้านขวา)

สำหรับในเรื่องของเงา ฟิล์มเซรามิคจะมีค่าสะท้อนแสงต่ำ (VLR : Visible Light Rejected) ส่วนใหญ่ไม่เกิน 8% นั่นก็คือฟิล์มเซรามิคจะเป็นสีดำด้าน ไม่ค่อยมีความมันเงา เนื่องจากคุณสมบัติของเซรามิคที่ไม่ได้มีการสะท้อนแสงอย่างโลหะนั่นเอง ดังในภาพที่แสดงจะเห็นได้ว่าฟิล์มดำทางซ้าย (ฟิล์มดำทั่วไปในท้องตลาด) จะมีความเงาสะท้อนสิ่งแวดล้อมค่อนข้างขัดเจนกว่าฟิล์มเซรามิค ที่ให้สีดำด้าน ไม่ค่อยสะท้อนแสงหรือภาพบรรยากาศรอบ ๆ อีกทั้งยังเพิ่มลุค matte สวยหรูในสไตล์สุดคูลให้กับกระจกรถของคุณอีกด้วย

 

 

รู้หรือไม่!? ฟิล์มเซรามิคแท้ ไม่ได้มีแต่สีดำ !

 

ถ้าไปดูมาแล้ว จะเห็นเลยครับว่าฟิล์มเซรามิคจาก LLumar แบรนด์ชื่อดังในสหรัฐอเมริกา มีทั้งที่เป็นฟิล์มใส และฟิล์มสีดำ จึงเป็นข้อสรุปได้ชัดเจนครับ ว่าฟิล์มเซรามิคนั้นไม่จำเป็นต้องมีแต่เพียงสีดำเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการผลิตในขั้นตอนการย้อมสี (Deep Dyeing) ว่าจะใช้เม็ดสีอะไรผนึกลงบนแผ่นฟิล์ม

แต่คุณลักษณะสำคัญของฟิล์มเซรามิคที่มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น Lamina Digital Ceramatrix Boost หรือ LLumar Stratos ก็คือค่าสะท้อนแสงต่ำ เพียง 5-8% นั่นเอง (เนื่องจากเป็นเนื้อฟิล์มเซรามิคแท้ 100%)

ส่วนสาเหตุที่ฟิล์มเซรามิคในเมืองไทย ถูกพูดถึงเพียงแค่ความ “ดำนอก สว่างใน” กันเยอะ เป็นเพราะเทรนด์ของผู้ใช้รถในเมืองไทยที่นิยมฟิล์มดำเข้มนั่นเองครับ … แล้วทำไมฟิล์มสีดำเข้ม ถึงนิยมในเมืองไทย​ ? เพราะว่า …

  • ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว คนภายนอกมองไม่เห็น 

อย่าลืมนะครับ ถ้าไม่ใช่ฟิล์มเซรามิค “ดำนอก สว่างใน” แบบแท้ ๆ ก็อาจให้ทัศนวิสัยการขับขี่ไม่เคลียร์ชัดได้ เพราะฟิล์มทั่วไป สียิ่งเข้มเท่าไหร่ก็จะพบอาการ “มืดนอก มืดใน” หรือเบลอ ไม่ชัดเหมือนที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยเจอครับ ว่าทำไมในรถนี่เหมือนกลางคืน แต่พอเปิดกระจกลงมา โอ้โห! แสงสว่างชัดเลย) ฉะนั้นถ้าชอบความ ดำนอก สว่างในแล้วล่ะก็ ต้องเจาะจงฟิล์มเซรามิคแท้เป็นตัวเลือกแรกๆ เลยนะครับ

เชื่อกันว่าฟิล์มยิ่เข้ม % VLT (แสงส่องผ่าน) ยิ่งน้อย ยิ่งช่วยเรื่องการกันร้อนได้ดีขึ้น ซึ่งในอดีตอาจเป็นเช่นนั้นจริง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าในปัจจุบัน ฟิล์มที่เข้มน้อย ก็สามารถกันความร้อนสูงได้ เช่น LLumar Stratos แต่ถ้าจะดูการกันร้อนให้ชัวร์จริงๆ อย่าลืมดูที่ค่า %TSER หรือการลดความร้อนจากแสงแดดนะครับ

เดี๋ยวนี้การใช้สัญญาณดิจิทัลบนรถเป็นเรื่องที่แทบจะขาดไม่ได้เลยล่ะครับ ฉะนั้นคุณสมบัตินี้จึงเริ่มเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถหลายท่านใช้เป็นปัจจัยในการเลือกฟิล์มรถยนต์ด้วย ถ้าเป็นฟิล์มเซรามิคแท้ หรือเป็นฟิล์มที่ระบุว่าเป็นฟิล์มดิจิทัล อย่างเช่น Lamina Digital Boost Series คุณก็สามารถมั่นใจได้เลยว่า เวลาใช้รถคุณจะได้ “สัญญาณดิจิทัลเร็ว แรง ลื่น เสถียร” ตามติดคุณไปทุกที่อย่างแน่นอนครับผม

เพราะอย่างนี้เองครับ ฟิล์มเซรามิคสีเข้ม ๆ จึงบูมในประเทศไทยเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละท่านนะครับ ว่าชอบแบบไหน, สีอะไร และถ้าคุณอยากรู้เพิ่มเติมว่า นอกจากสีของฟิล์มเซรามิคแท้ที่มีทั้งสีที่เข้มและอ่อนแบบนี้แล้ว ฟิล์มรถยนต์รุ่นอื่นๆ จากลามิน่าจะมีสีอะไรอีกบ้าง ? ลองตามไปหาคำตอบเพิ่มได้ที่บทความ สีฟิล์มรถยนต์ ได้เลยครับ

ข้อควรระวังของฟิล์มเซรามิคเทียม

ได้เห็นข้อดีของการใช้เซรามิคแท้กันแล้ว แล้วถ้าเราโชคร้ายเผลอไปใช้ฟิล์มเซรามิคย้อมแมวล่ะ? จะมีข้อเสียอะไรบ้าง? มีเรื่องอะไรที่ต้องระวังกันบ้าง? มาดูกันเลยครับ

 

หมายเหตุ : ฟิล์มเซรามิคเทียมในที่นี้ คือ การที่ร้านติดฟิล์มนำฟิล์มย้อมสีดำ หรือฟิล์มรุ่นสีดำทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีราคาต้นทุนต่ำ มาโมเมเป็นฟิล์มเซรามิคแล้ววางจำหน่ายในราคาระดับพรีเมียมแบบฟิล์มเซรามิคแท้ ซึ่งกันความร้อนได้ไม่ดี เมื่อเทียบกับเงินที่เสียไป! เพราะส่วนใหญ่นำค่ากันรังสี IR สูง ๆ (อาจมากกว่า 90%) มาโฆษณา ทั้ง ๆ ที่ค่า %TSER (การกันร้อนจากแสงแดดจริง) อาจต่ำมากๆ ก็ได้ครับ ทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าต้องเสียเงินแพงกว่าคุณภาพที่ได้รับ

  • มืดนอก มืดใน ทัศนวิสัยเบลอ ไม่เคลียร์เท่า!
  • สัญญาณสะดุด ขาด ๆ หาย ๆ (ในกรณีที่ถูกย้อมแมวด้วยฟิล์มเคลือบโลหะ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับคนใช้ทางด่วนเป็นประจำ ก็เช่น เซ็นเซอร์ประตู Easy Pass ที่เมื่อรถวิ่งผ่านแล้วตัวรับเซ็นเซอร์ Easy Pass จะตัดเงินจากในรถเราไม่ได้)
  • อายุการใช้งานต่ำ โดยเฉพาะฟิล์มย้อมสีดำธรรมดา ส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานไม่ถึง 1 ปี สีจะเริ่มซีดจางกลายเป็นสีอมม่วง เสื่อมคุณสมบัติกันร้อน มีความทนทานที่น้อยกว่าฟิล์มเซรามิคแท้ตัวจริงที่ ไม่ซีด ไม่เป็นสนิม ทนทานตลอดอายุการใช้งาน 7 ปี
 

ฟิล์มเซรามิคแท้ ยี่ห้อไหนดี

สรุปความแตกต่างของฟิล์มเซรามิคเกรดราคาแต่ละช่วง (เป็นข้อมูลจากประการณ์จริงในอุตสาหกรรม)
กดที่ภาพ เพื่อตามไปดู Infographic เล่ากันสนุก ๆ ได้เลยครับ!
 

 

ข้อมูลน่ารู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าฟิล์มกรองแสงทำมาจากอะไร? มีที่มาที่ไปยังไง? รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ แบบเชิงลึก สามารถอ่านได้เลยที่บทความ ฟิล์มกรองแสง หรือถ้าอยากจะรู้เพิ่มเติมเฉพาะเรื่องฟิล์มของรถยนต์ ก็สามารถตามไปอ่านต่อได้ที่บทความ ฟิล์มรถยนต์ เลยครับ


 

สรุป

ในตลาดของฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ต่างก็มีฟิล์มเซรามิควางจำหน่ายในช่วงราคาที่ต่างกันมากมาย หากจะสังเกตว่าฟิล์มเซรามิคแท้ต้องเป็นแบบไหน สามารถดูได้ทั้ง ความเงาของฟิล์มเซรามิคจะน้อยมาก, ดำนอก แต่ต้องสว่างใน, สัญญาณดิจิทัลทะลุผ่านฟิล์มได้ไม่สะดุด และฟิล์มเซรามิคจะมีความทนทานและใช้งานได้ระยะยาว

ถ้าดูแล้ว ดูอีก แล้วยังไม่แน่ใจว่าที่เราดูจะใช่หรือเปล่า … แนะนำให้เลือกยี่ห้อฟิล์มที่มีชื่อเสียง มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งมีโรงงานผลิตฟิล์มที่ได้รับมาตรฐานเชื่อถือได้ในระดับโลก เท่านี้ก็มั่นใจหายห่วงไปได้แน่นอนครับ

 

Lamina Films ชื่อนี้ มั่นใจได้

เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านฟิล์มกรองแสงมายาวนานกว่า 65 ปี มีทั้ง ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ฟิล์มกรองแสงติดอาคาร ฟิล์มนิรภัย ฟิล์มปกป้องสีรถและอื่น ๆ ฟิล์มกรองแสงลามิน่า ผลิตโดย Eastman Performance Films, LLC USA โรงงานผู้ผลิตฟิล์มกรองแสงชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก ฟิล์มลามิน่าทุกรุ่นได้รับมาตรฐาน ISO 9001 และได้มาตรฐานคุณภาพระดับโลกมากมาย อาทิ  ASTM, IWFA, EWFA, NAESCO, AIMCAL, ASHRAE หรือ MASCI เป็นต้น