เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

อะไร เกิดขึ้นตอนไหนมาดูกันจ้า by สำนักงานสอบบัญชี ONESIRI

Taxpointคือ ? ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ( TAX POINT ) หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมาย ว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่
สิทธิ>>เรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ
หน้าที่>>1. จัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ หรือ ผู้รับบริการ

  • 2. นำยอดขาย ภาษีขาย ไปลงในรายงานภาษีขาย

ขายสินค้า TAX POINT อยู่ที่ส่งมอบ จะยกเว้น
(1) มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) ได้รับชำระราคาสินค้า
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ

บริการ TAX POINT เกิดเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ ยกเว้น
ได้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าTAX POINT เกิดขึ้นแล้ว

 

 

 

 

 

เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร
เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

 

 

เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

 

เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

 

CR> xx

Post Views: 1,481

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Tags: Taxpointภาษีมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งในแต่ละประเภทธุรกิจหรือแต่ละกิจกรรมการค้านั้นจะมีจด Tax point ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจขายสินค้า จุด Tax point คือเมื่อส่งมอบสินค้า หมายความว่าทันทีที่คุณส่งของให้กับลูกค้าแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระเงิน คุณก็จะต้องนำส่งภาษีขายให้กับกรมสรรพากร

จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) ถ้าจะให้อธิบายเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายคือ จุดที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษีขายให้กับกรมสรรพากร

ซึ่งในแต่ละประเภทธุรกิจหรือแต่ละกิจกรรมการค้านั้นจะมีจด Tax point ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
ธุรกิจขายสินค้า จุด Tax point คือเมื่อส่งมอบสินค้า หมายความว่าทันทีที่คุณส่งของให้กับลูกค้าแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระเงิน คุณก็จะต้องนำส่งภาษีขายให้กับกรมสรรพากร

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงจุด Tax point ทั้งหมดของภาษีมูลค่าเพิ่มกันครับ ว่ามีอะไรกันบ้าง เรียกว่าจำกันไม่หวาดไม่ไหวกันเลยทีเดียว

เมื่อจุดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) เกิดขึ้น กิจการมีหน้าที่อย่างไร

11 Sepจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

Posted at 11:39h in All, บัญชีภาษีพื้นฐาน by admin_pnk

จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point)

ความรับผิดสำหรับการขายสินค้า

  • มาตรา 78 (1)(2)(3)(4) หรือ (5)
  • มาตรา 78/3 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 189

ความรับผิดสำหรับการให้บริการ

  • มาตรา 78/1 (1)(2)(3) หรือ (4)
  • มาตรา 78/3 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 18

ความรับผิดสำหรับการนำเข้า

  • มาตรา 78/2

https://www.rd.go.th/publish/5205.0.html

Tax point

การขายสินค้า

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย

เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่ ได้โอนกรรม สิทธิ์ /รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ

เช่าซื้อ/ขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ

ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่ได้รับชำระราคา /ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด

การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 8)

เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่

- ตัวแทนโอนกรรมสิทธิ์ / รับชาระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

- ตัวแทนนำสินค้าไปใช้

การส่งออก

เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา สินค้าที่ไม่มีรูปร่าง

เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อน  รับชำระราคา

การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ

กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่ค่าตอบแทน

เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า

กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น

เมื่อนำไปใช้

กรณีมีสินค้า/ทรัพย์สินในวันเลิกกิจการหรือขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน

เมื่อเลิกกิจการหรือเมื่อขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน แล้วแต่กรณี

กรณีสินค้าขาดจากรายงาน

เมื่อตรวจพบ

กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0 %

เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

Tax point

การให้บริการ

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน


เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกากับภาษีก่อนรับชำระราคา

การให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน 

เมื่อมีการใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนใช้ฯ

การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และใช้บริการนั้นในประเทศไทย

เมื่อชำระราคาค่าบริการ (ผู้จ่ายเงินต้องนาส่ง VAT 7% โดยยื่นแบบ ภ.พ.36 ตามมาตรา 83/6 (2))

การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง

การรับชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิต

เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต

กรณีรับโอนสิทธิในบริการที่เคยเสีย VAT อัตรา 0 %

เมื่อชำระค่าบริการ

Tax point

การนำเข้า

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

การนำเข้าสินค้าทุกกรณี

เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

กรณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

ที่มา : เอกสาร “ภาษีมูลค่าเพิ่มและ ภาษีซื้อต้องห้าม” http://download.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/PasiBan.pdf

Post Views: 1,535

Share

Print page