เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

회원님이 요청이 처리되지 않았습니다.

요청을 처리하는 중 문제가 발생하였습니다. 가능한 한 빨리 문제를 해결하도록 하겠습니다.

  • 홈으로 돌아가기

  • 한국어
  • English (US)
  • Tiếng Việt
  • Bahasa Indonesia
  • ภาษาไทย
  • Español
  • 中文(简体)
  • 日本語
  • Português (Brasil)
  • Français (France)
  • Deutsch

  • 가입하기
  • 로그인
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 장소
  • 게임
  • Marketplace
  • Facebook Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 지역
  • 기부 캠페인
  • 서비스
  • 투표 정보 센터
  • 그룹
  • 정보
  • 광고 만들기
  • 페이지 만들기
  • 개발자
  • 채용 정보
  • 개인정보처리방침
  • 쿠키
  • AdChoices
  • 이용 약관
  • 고객 센터
  • 연락처 업로드 및 비사용자
  • 설정
  • 활동 로그

Meta © 2022

 เพราะทุกๆ 1 ชั่วโมง คนไทย เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันประมาณ 6 คน หรือเท่ากับเสียชีวิตมากถึง 54,000 คนต่อปี

ภาวะหัวใจหยุดเต้นถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยไม่จำกัดอายุและไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้า

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 54,000 คน หรือเฉลี่ยแล้วเท่ากับเสียชีวิตประมาณ 6 คน ทุกๆ 1 ชั่วโมง ในทางการแพทย์ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่เว้นแม้แต่คนที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

หากพบคนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เรามีเวลาเพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น ที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการทำ CPR (ปั๊มหัวใจผายปอดกู้ชีพ) เพราะทันทีที่หัวใจหยุดทำงาน เลือดจะไม่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงสมองทำให้สมองตายเนื่องจากขาดเลือดและออกซิเจน

*การทำ CPR ไม่ยากอย่างที่คิด แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้ช่วยเหลือต้องไม่ตื่นเต้นตกใจ แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตบไหล่พร้อมปลุกเรียก
2.ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว รีบตะโกนขอความช่วยเหลือและโทรแจ้ง 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
3.เช็กดูว่าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยเอาหูแตะบริเวณจมูกของคนไข้ ตามองที่หน้าอก หากหน้าอกคนไข้ไม่ขยับ หน้าท้องไม่กระเพื่อม แสดงว่าหยุดหายใจให้ปั๊มหัวใจทันที
4.สำหรับการปั๊มหัวใจ ให้ปั๊ม 100-120 ครั้งต่อนาที ปั๊มต่อเนื่องนาน 2 นาที แล้วสลับคนปั๊ม ควรปั๊มไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมกู้ภัยจะมาถึง
5.ในขณะเดียวกัน ถ้าในสถานที่เกิดเหตุมีเครื่อง AED (เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ) ให้รีบไปนำมาช่วยผู้ป่วยให้เร็วที่สุด
6.ส่วนวิธีการใช้เครื่อง AED นั้น ให้กดปุ่มเปิดเครื่อง แปะแผ่นนำไฟฟ้าในตำแหน่งที่ลูกศรบอก จากนั้นทำตามที่เครื่องสั่งระหว่างรอทีมกู้ภัย
ถ้าทำ CPR พร้อมกับใช้เครื่อง AED สามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ 10 เท่า

CPR เป็นการกดนวดหัวใจเพื่อกระตุ้นอัตราการไหลเวียนของเลือด ส่วนการผายปอดคือการช่วยเติมออกซิเจนเข้าไป แต่ไม่ได้ทำให้หัวใจกลับมาทำงาน ดังนั้น AED หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจจึงมีความสำคัญ เพราะการทำงานของเครื่อง AED คือปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุกหัวใจของผู้ป่วยให้กลับมาเต้นอีกครั้ง

“ในกลุ่มคนไข้ที่หมดสติแล้วมีภาวะหัวใจหยุดเต้น การทำ CPR อย่างเดียวอัตราการรอดชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าใช้เครื่อง AED ร่วมด้วยอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 10 เท่า” เพราะโรคหัวใจ บางชนิดสามารถตรวจทราบสาเหตุได้ แต่บางชนิดก็ไม่อาจทราบ เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติมีมากมาย โรคเหล่านี้ถือเป็น “ภัยเงียบ” ดังนั้นแม้ผู้ป่วยจะดูแลสุขภาพอย่างดี ออกกำลังกายดี โรคเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนเครื่อง AED ในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด นอกจากนั้นคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังขาดความเข้าใจวิธีการทำ CPR และใช้เครื่อง AED ทำให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกๆ ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลา

****************************

.

ปัจจุบันมีข่าวการเสียชีวิตอย่างกระทันหันเพิ่มมากขึ้นทุกๆวัน ทั้งในผู้ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง รวมถึงในนักกีฬา ซึ่งการเสียชีวิตอย่างกระทันหันนั้นส่วนมากเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่พบมากขึ้นก็เพราะในยุคสมัยนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่มากขึ้น ทั้ง PM2.5 ทั้งไลฟ์สไตล์ที่มีการเปลี่ยนไป (เช่น การกินอาหาร และการออกกำลังกาย) จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มเติมจากโรคประจำตัวเดิม (เช่น การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง) และเพิ่มโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน  นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า มีคำแนะนำในการช่วยชีวิตเบื้องต้น ในกรณีที่พบผู้หมดสติอย่างกระทันหัน โดยให้คิดถึงภาวะหัวใจวาย และเป้าหมายสำคัญคือควรได้รับการปั๊มหัวใจช่วยชีวิต (CPR) และควรได้รับการช็อกไฟฟ้าด้วยเครื่อง AED (Automated External Defibrillator) โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากภาวะนี้
เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย
สำหรับขั้นตอนในการทำ CPR เบื้องต้นมีหลักการดังนี้
  – อันดับแรกให้เราประเมินสถานการณ์ก่อน ว่าเรามีความพร้อมที่จะเข้าไปช่วย และมีความปลอดภัยในการเข้าไปช่วยหรือไม่ เช่น ถ้าคนไข้ถูกไฟช็อต ก็ต้องตัดไฟก่อนเข้าช่วยเหลือ  (scene safety)
  – ให้เราประเมินว่าคนไข้หมดสติไปจริงหรือไม่ โดยปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อประเมินการตอบสนองของผู้ป่วย หากพบว่าไม่รู้สึกตัว ให้รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 พร้อมร้องขอเครื่อง AED ที่อยู่ใกล้ที่สุด ให้มาที่จุดเกิดเหตุทันที (call for help)
  – ช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ ด้วยการกดหน้าอก จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางส้นมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างของกึ่งกลางกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอก ด้วยความลึก 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120ครั้งต่อนาที โดยไม่จำเป็นต้องช่วยหายใจ (start hand-only CPR)

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

  – เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้เปิดเครื่อง และทำตามที่เครื่อง AED แนะนำ ซึ่งจะมีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
       1 เปิดเครื่อง
      2 แปะแผ่นนำไฟฟ้าบนหน้าอกผู้ป่วย
      3 เครื่องวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ขั้นตอนนี้ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย)
      4 เมื่อเครื่องแนะนำให้ทำการช็อก ให้กดปุ่มช็อก (ขั้นตอนนี้ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย)
      5 หลักจากเครื่องช็อกเสร็จให้เริ่มทำการกดหน้าอกต่อทันที
      6 เมื่อครบสองนาที เครื่องจะสั่งให้หยุด CPR และจะวนไปขั้นตอนที่ 3 ต่อ
  – ปฏิบัติตามที่เครื่อง AED แนะนำ จนกว่าทีมกู้ชีพ จะมาถึง และ ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอด และปลอดภัย
  – ในกรณีที่ไม่มี AED ให้ทำการกดหน้าอกอย่างเดียวไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
  – ผู้ช่วยเหลือจะหยุดกดหน้าอกได้ก็ต่อเมื่อ 1) ผู้ป่วยเริ่มขยับตัว 2) ทีมกู้ชีพมาถึง 3) AED แจ้งว่าไม่ให้สัมผัสผู้ป่วย
         นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว กล่าวต่ออีกว่า ในกรณีที่เป็นเด็ก การทำ CPR คล้าย ๆ กับผู้ใหญ่ แต่ของเด็กจะเน้นการเรื่องทางเดินหายใจเป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่การเสียชีวิตในเด็กจะมาจากทางเดินหายใจอุดตัน เช่น การกินอาหารติดคอ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอุดหลอดลม ซึ่งการช่วยชีวิตในขั้นตอนแรกให้ดูว่ามีอะไรอุดในลำคอ หรือในปากหรือไม่ ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมที่เอาออกได้ให้เอาออก แต่ถ้าไม่เห็นหรือไม่มั่นใจ “ห้าม” เอานิ้วล้วงเข้าไปในปากเด็กเพราะ อาจจะทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นเข้าไปลึกขึ้น

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

เมื่อใดจึงจะหยุดการทํา cpr แก่ผู้ป่วย

         ในกรณีที่เด็กอายุยังไม่ถึง 1 ขวบ ขั้นตอนแรกให้จับเด็กคว่ำหน้า ให้ศีรษะต่ำแล้วตบที่ระหว่างกระดูกสะบักด้านหลัง 5 ครั้ง (back blow) เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา หรือถ้าเด็กที่มีอายุเยอะหน่อยก็ใช้วิธีการกดที่บริเวณท้อง (abdominal thrust) โดยการเข้าทางด้านหลัง ใช้แขนสอดข้างลำตัวเด็ก วางมือที่ใต้ลิ้นปี่ และออกแรงดึงมือเข้ามาที่ลิ้นปี่อย่างรวดเร็ว ถ้าหากระหว่างที่ทำการช่วยเหลือ พบว่าเด็กหมดสติและไม่หายใจ ให้เริ่มทำ CPR ทันที

“อย่าใช้นิ้วล้วงเข้าปากเด็ก เพราะอาจะจะทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปลึกขึ้น”
นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว กล่าวย้ำ

สามารถชมวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน CPR ได้ทาง www.facebook.com/PR9Cardio
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 1270 หรือ Line: https://lin.ee/vR9xrQs
และสามารถติดตามข้อมูลความรู้ และการรักษาต่าง ๆ ได้ที่ Website: www.praram9.com หรือ @praram9hospital

เมื่อพบว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ ควรกระทําข้อใด

1 พาผู้ป่วยไปยังที่ที่สามารถช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย 2 ให้ผู้อื่นโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 เพื่อให้รถพยาบาลมารับผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด 3 ระหว่างนั้นทำการปลุกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดังและตบไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกตัว

การทำ CPR ทำในขั้นตอนใด

กดหน้าอก (C) 30 ครั้ง >> เปิดทางเดินหายใจ (A) >> ช่วยหายใจ (B) 2 ครั้ง = 30 : 2. ทั้งนี้ให้ทำ CPR ไปจนกว่ากู้ชีพจะมาถึง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัว

เพราะเหตุใดต้องทำซีพีอาร์ทันทีภายใน 4 นาที หลังจากผู้ป่วยหยุดหายใจ

หากพบคนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เรามีเวลาเพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น ที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการทำ CPR (ปั๊มหัวใจผายปอดกู้ชีพ) เพราะทันทีที่หัวใจหยุดทำงาน เลือดจะไม่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงสมองทำให้สมองตายเนื่องจากขาดเลือดและออกซิเจน

การนวดปั๊มหัวใจเมื่อพบผู้ป่วยไม่หายใจควรทำอย่างไร

เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ...