เมื่อออกนอกยานอวกาศ

ซึ่งนอกจากภารกิจในครั้งนี้ ที่ปล่อยตัวนักบินขึ้นไปแล้ว ต่อจากนี้เอง เหล่าบริษัทเอกชน และหน่วยงานด้านอวกาศต่างก็มีแผนจะส่งนักบินออกไปนอกโลกกันอีกหลายภารกิจด้วย

The MATTER รวบรวมภารกิจบางส่วน ที่เตรียมการส่งมนุษย์ออกไปนอกอวกาศว่า มีภารกิจอะไรบ้าง จะเตรียมส่งคนออกไปที่ไหน ใครส่งไปกัน เราจะได้เห็นภาพการส่งนักบินออกนอกโลกกันอีกเมื่อไหร่ ไปดูกัน!

 

เมื่อออกนอกยานอวกาศ

 

2021 – Roscosmos จะส่งผู้โดยสาร 2 คนไปท่องเที่ยวยังสถานีอวกาศนานาชาติ

อีกหนึ่งประเทศที่มีชื่อเสียงด้านอวกาศนอกจากสหรัฐฯ ก็คือรัสเซีย ซึ่ง ในปี 2021 Roscosmos หน่วยงานของรัฐบาลรัสเซียที่ดูแลด้านการบิน วิทยาศาสตร์ และอวกาศในรัสเซีย ประกาศในปี 2019 ว่าได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัทท่องเที่ยวอวกาศในสหรัฐฯ Space Adventures เพื่อส่งผู้โดยสาร 2 คนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติในปี 2021 โดยคาดว่าจะเป็นทริปการเดินทางระยะสั้น และนอกจากผู้โดยสารแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ของ Roscosmos ไปด้วยอีก 1 คน

โดยภารกิจนี้ ถือเป็นภารกิจแรกที่ส่งคนไปสถานีอวกาศในรอบ 12 ปี หลังจากเที่ยวบินล่าสุดในปี 2009 ที่ Guy Laliberte นักธุรกิจ และศิลปินชาวแคนาดา ได้เดินทางไปสนานีอวกาศนานาชาติ

 

2022 – องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) วางแผนส่งนักบินอวกาศอินเดียกลุ่มแรกสู่อวกาศ

อีกประเทศนึงที่มาแรงในด้านอวกาศ อย่างอินเดียเอง ก็มีภารกิจจะส่งตัวนักบินอวกาศไปยังอวกาศเช่นกัน โดย องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) กำลังวางแผนที่จะส่งนักบินอวกาศกลุ่มแรกของอินเดีย จำนวน 3 คน สู่อวกาศ ด้วยยาน ‘Gaganyaan’ เป็นเวลาประมาณประมาณ 1 สัปดาห์

โดยยานลำนี้ จะอยู่ในวงโคจรโลกต่ำ ประมาณ 300-400 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก โดยนายกฯ นเรนทรา โมดี ของอินเดียเอง ก็วางกำหนดการไว้ว่า จะส่งยานลำนี้ขึ้นอวกาศ ภายในปี 2022

 

2023 – SpaceX กับภารกิจส่ง ‘Yusaku Maezawa’ มหาเศรษฐีญี่ปุ่นไปดวงจันทร์

เป็นภารกิจที่ได้ยินกันมานาน กับการส่งมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ของ SpaceX ด้วยยาน BFR ซึ่งตั้งแต่ปี 2018 ได้มีการประกาศชื่อ ‘Yusaku Maezawa’ มหาเศรษฐีญี่ปุ่น ว่าเป็นผู้ที่ซื้อตั๋วและจะได้เดินทางในทริปนี้ โดยนอกจาก Maezawa จะเหมาทั้งยานอวกาศแล้ว ยังมีแผนว่าเขาจะชวนศิลปินอีกจำนวนหนึ่งไปกับเขา

ทั้งในเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Maezawa ยังได้ประกาศตามหาแฟน เพื่อที่จะเดินทางไปยังดวงจันทร์กับเขาในภารกิจที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นี้ด้วย โดยในตอนนี้ ระยะทางหรือเส้นทางของการเดินทางยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีการคาดการณ์ว่าการเดินทางครั้งนี้ อาจะเป็นการส่งมนุษย์ออกไปไกลจากโลกมากที่สุดเลยด้วย

 

2024 –  NASA และบริษัทเอกชน SpaceX, Blue Origin, Dynestics กับภารกิจ Artem Human Landers ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์

ภารกิจ Artem Human Landers เป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ที่น่าจับตา เพราะเป็นภารกิจที่ NASA ประกาศว่าจะเป็นการกลับไปยังดวงจันทร์ และส่งนักบินอวกาศ 1 คู่ไปสำรวจในปี 2024 และจะใช้ดวงจันทร์เป็นฐานปฏิบัติการสำคัญในการเดินทางสำรวจอวกาศต่อไปด้วย ทั้งในครั้งนี้ NASA ยังได้เลือกบริษัทเอกชน 3 เจ้า อย่าง SpaceX, Blue Origin และ Dynestics มาร่วมออกแบบและพัฒนาระบบ

ทั้งสิ่งที่น่าสนใจในโปรเจกต์นี้ คือ 1 ใน 2 คนนักบินอวกาศที่จะถูกเลือกนั้น มีการวางตัวว่า จะเป็นนักบินอวกาศหญิง ซึ่งจะถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้วย โดยในเดือนมีนาคม ปี 2019 ไมค์ เพนซ์ รองปธน.ยังประกาศไว้แล้วว่า “นักบินอวกาศชาวอเมริกันจะเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง ก่อนสิ้นสุดปี 2024”

 

2024 – SpaceX กับแผนส่งมนุษย์กลุ่มแรกไปดาวอังคาร

ดาวอังคาร เป็นเหมือนแผนการใหญ่ที่มนุษย์ โดยเฉพาะอีลอน มัสก์ เจ้าพ่อเทคโนโลยี CEO ของ SpaceX พยายามจะไปให้ถึง และในปี 2024 นี้เอง ก็เป็นเป้าหมายที่ SpaceX ตั้งไว้คือ จะส่งจรวดและคาร์โกบรรทุกสินค้าภายในปี 2022 และในปี 2024 จะส่งทั้งคาร์โก และมนุษย์ไปดาวอังคาร

ทั้งแผนของมัสก์ที่ตั้งเป้าไว้ในโครงการ Interplanetary Transport System ที่ตั้งเป้าจะส่งมนุษย์ไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารนั้น ยังมองว่า เขาจะส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารได้จำนวนล้านคนภายในปี 2050! หรือนับเป็นอีก 30 ปีต่อจากนี้

 

2030s – NASA กับแผนส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร

นอกจากแผนการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์แล้ว NASA เองยังมีแคมเปญที่ชื่อว่า ‘Moon to Mars’ ซึ่งก็มีเป้าหมายที่จะส่งมนุษย์ไปดาวอังคารในทศวรรษ 2030 ด้วย โดย NASA ระบุว่า ภารกิจส่งหุ่นยนต์รถแลนด์โรเวอร์ไปดาวอังคารที่วางแผนไว้ในปี 2020 จะสนับสนุนภารกิจในการส่งมนุษย์ไป

ทั้งในอนาคตแผนการไปดวงจันทร์ของ NASA ยังหวังสร้างฐานปฏิบัติการ ที่จะส่งคนจากดวงจันทร์ ไปยังดาวอังคารอีกต่อนึงด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่วางแผนจะส่งมนุษย์ออกไป อย่าง Space Tourism หรือการท่องเที่ยวในอวกาศ ที่หลายบริษัทกำลังจะเปิดเป็นธุรกิจแนวใหม่ โดยตอนนี้มี บริษัทเอกชน Blue Origin ที่ประกาศแผนส่งมนุษย์ไปท่องเที่ยวอวกาศ ซึ่งแต่เดิมมีกำหนดการตั้งแต่ปี 2019 แต่แผนการล้าช้า และยังอยู่ในระหว่างการทดสอบยาน

ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีนักบินอวกาศที่เสียชีวิตในอวกาศเพียง 18 คนเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นกรณีการเสียชีวิตทันที แน่นอนว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถช่วยเหลือกันและกัน หรือนำศพของเพื่อนนักบินกลับมาดำเนินพิธีกรรมตามศาสนาของตนเองได้

แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ หลังจากมนุษย์มีภารกิจเดินทางไปสำรวจดาวอังคารถี่ครั้งขึ้น สืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย ปัญหาการขาดแคลนเสบียง จึงมีการคาดการณ์กันว่าอัตราการสูญเสียนักบินอวกาศก็จะเพิ่มจำนวนตามขึ้นไปด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าน้อยคนนักที่จะเอาตัวรอดได้ อย่าง (ข้อความต่อไปนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง หากต้องการอ่านให้ทำการลากคลุม) มาร์ก วัตนีย์ (รับบทโดย แมตต์ เดมอน ตัวละครนักบินจากภาพยนตร์เรื่อง The Martian, 2015)

พอล โวล์ป (Paul Wolpe) นักชีวจริยธรรม (bioethicist) จากมหาวิทยาลัยเอเมอรี กล่าวเชิงคำถามต่อปัญหาดังกล่าวว่า “จะเกิดอะไรขึ้นหากนักบินอวกาศต้องเสียชีวิตบนดาวอังคาร หรือสถานีอวกาศบนดวงจันทร์ และหากต้องใช้เวลาหลายเดือนหลายปี กว่าร่างไร้วิญญาณเหล่านั้นจะกลับสู่บ้านของตนเองได้ หรือจริงๆ แล้วการนำพวกเขากลับมาแทบจะเป็นเรื่องเกิดขึ้นไม่ได้เลย?”

หากคุณคิดจะไปดาวอังคาร ก็จงเตรียมตัวตายไว้ด้วย

เมื่อออกนอกยานอวกาศ

Photo: WIKIMEDIA COMMONS

นักบินอวกาศมักจะ ‘ตาย’ นอกยานอวกาศ

คริส แฮดฟิลด์ (Chris Hadfield) นักบินอวกาศชาวแคนาดา และอดีตผู้บังคับบัญชาสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เล่าว่าสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ของมนุษย์อวกาศมักจะเกิดขึ้นระหว่างที่พวกเขาออกไปทำ spacewalk หรือการออกนอกยานอวกาศเพื่อซ่อมบำรุงยาน (กรณีตัวอย่างใน Gravity)

“คุณอาจจะถูกอุกกาบาตขนาดเล็กเล่นงานได้ และคุณก็ไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งนั้น บางทีมันอาจร้ายแรงจนเจาะชุดของคุณให้เป็นรู และเพียงไม่กี่วินาทีคุณก็อาจจะตายได้ทันที”

ว่ากันว่านักบินอวกาศผู้โชคร้ายจะมีเวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น ก่อนที่พวกเขาจะหมดสติ ตัวแข็ง และตายจากการบีบอัดและขาดอากาศหายใจ

แค่ 10 วินาทีที่ร่างกายได้สัมผัสกับสุญญากาศของอวกาศก็เพียงพอที่จะทำให้น้ำในผิวหนังและเลือดระเหยกลายเป็นไอได้ ก่อนที่ร่างกายจะค่อยๆ พองลมเหมือนลูกโป่ง ปอดจะหยุดทำงาน และภายใน 30 วินาที พวกเขาจะกลายเป็นอัมพาตทันที

แม้ความเป็นไปได้ของการตายบนสถานีอวกาศจะมีเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จนเหมือนว่ามันจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่หากเพื่อนนักบินของพวกเขาสักคนต้องเสียชีวิตขึ้นมา

นักบินที่อยู่รอดจะมีวิธีในการจัดการอย่างไร?

เมื่อออกนอกยานอวกาศ

Photo: WIKIMEDIA COMMONS

การจัดการ ‘ศพ’ ปัญหาที่ไม่เคยเตรียมรับมือ?

เทอร์รี เวิร์ตส์ (Terry Virts) นักบินอวกาศประจำ ISS ที่เคยเดินทางไปสถานีอวกาศ 2 ครั้ง และทำภารกิจบนกระสวยอวกาศอีก 1 ครั้ง ในระยะเวลากว่า 213 วันเล่าว่าในความเป็นจริงแล้วเขาไม่เคยได้รับการฝึกถึงวิธีในการจัดการกับ ‘ศพ’ ของคนในอวกาศมาก่อน

“ผมเคยได้รับการฝึกการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือชีวิตคนมาบ้าง แต่ผมไม่เคยถูกฝึกให้รับมือกับสถานการณ์เช่นนั้น ตลอด 16 ปีประสบการณ์การเป็นนักบินอวกาศของผม ผมจำไม่ได้ว่าเคยคุยกับเพื่อนนักบินคนอื่นถึงความเป็นไปได้ของการเสียชีวิตด้วยซ้ำ ทั้งที่รู้ว่ามันเป็นไปได้ แต่มันก็เป็นเหมือนช้างในห้อง* ที่ไม่มีใครเคยพูดถึง”

*สำนวน the elephant in the room มีความหมายว่า แม้จะเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีอยู่จริง แต่กลับเลี่ยงที่จะพูดถึงมัน (อ้างอิงจากhttp://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/an-elephant-in-the-room)

ขณะที่อดีตผู้บังคับบัญชาสถานีอวกาศนานาชาติ คริส แฮดฟิลด์ บอกว่า ในความเป็นจริงนั้นนักบินอวกาศที่ผ่านการฝึกฝนให้รับมือกับภารกิจบนสถานีอวกาศล้วนแล้วแต่ผ่านการฝึกวิธีการจัดการกับเพื่อนนักบินเสียชีวิตมาแล้ว

“หากมีคนเสียชีวิตในอวกาศ อย่างแรกที่ผมจะทำคือดึงเขากลับมาข้างในแอร์ล็อก (ห้องเชื่อม 2 บริเวณที่มีแรงกดอากาศต่างกัน) ผมอาจจะให้เขาอยู่ในชุดที่มีแรงดันอากาศ เพราะร่างกายมนุษย์เราจะเน่าเปื่อยเร็ว หากอยู่ในชุดอวกาศ และเราก็คงไม่อยากได้กลิ่นเน่าและแก๊สที่ปล่อยออกมาหรอกใช่ไหมล่ะ ฉะนั้นแล้วพวกเราก็ควรให้เขาอยู่ในชุดของตัวเอง และเก็บไว้ในส่วนที่เย็นที่สุดของสถานี”

ในกรณีที่มีการเสียชีวิตบนยานอวกาศ ร่างไร้วิญญาณของนักบินจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนใกล้ตอร์ปิโด เนื่องจากเป็นส่วนที่มีอุณหภูมิต่ำ และถูกแยกอย่างเป็นเอกเทศออกจากพื้นที่ของผู้ยังมีชีวิต เพื่อป้องกันเชื้อโรคและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์

เมื่ออยู่ในอวกาศ ระบบแขนกลจะแขวนถุงห่อศพไว้นอกยานเป็นเวลาเกือบชั่วโมงเพื่อทำให้ศพแข็งตัวจนกรอบ ก่อนที่จะทำการเขย่าร่างไร้ลมหายใจให้แตกจนมีลักษณะคล้ายเถ้ากระดูก

 

การฝังศพนักบินอวกาศแบบแช่แข็ง

ถึงแม้นาซาจะยังไม่มีแผนฉุกเฉินรับมือกรณีมีผู้เสียชีวิต แต่ก็เริ่มมีหน่วยงานที่ศึกษาวิธีจัดการกับปัญหาดังกล่าวแล้ว เช่น โพรเมซซา (Promessa) บริษัทจัดการศพด้วยแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสวีเดน ได้ออกแบบโลงศพแช่แข็ง ‘The Body Back’ แทนที่การเผาศพแบบดั้งเดิม ซึ่งก่อให้เกิดเถ้าถ่านเป็นจำนวนมาก โดยเปลี่ยนศพให้กลายเป็นเม็ดน้ำแข็งจำนวนล้านๆ ชิ้นแทน

ระหว่างการศึกษานี้ ซูซานน์ วิก มาซัก (Susanne Wiigh-Masak) และปีเตอร์ มาซัก (Peter Masak) เจ้าของโปรเจกต์บอกว่า ถ้าอยู่บนโลก กระบวนการแช่แข็งแบบ promession จะใช้ไนโตรเจนเหลวในการแช่แข็งร่างกาย แต่เมื่ออยู่ในอวกาศ ระบบแขนกลจะแขวนถุงห่อศพไว้นอกยานเป็นเวลาเกือบชั่วโมงเพื่อทำให้ศพแข็งตัวจนกรอบ ก่อนที่จะทำการเขย่าร่างไร้ลมหายใจให้แตกจนมีลักษณะคล้ายเถ้ากระดูก

โดยกระบวนการนี้จะเปลี่ยนศพของนักบินที่มีน้ำหนักว่า 90 กิโลกรัมให้อยู่ในถุงขนาดน้ำหนักเพียง 22 กิโลกรัม และช่วยให้การนำศพผู้เสียชีวิตกลับบ้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

และหากกระบวนการแช่แข็งศพอาจจะดูยากไป มันก็ยังมีวิธีการปล่อยศพออกไปในอวกาศ (jettison) ที่แม้ว่า UN จะมีกฎระเบียบข้อบังคับในการทิ้งขยะในระบบอวกาศ แต่กฎดังกล่าวก็ไม่ได้มีการพูดถึงศพของมนุษย์แต่อย่างใด

แคเทอรีน คอนลีย์ (Catherine Conley) เจ้าหน้าที่แผนกป้องกันดาวเคราะห์ของนาซากล่าวว่า “ณ เวลานี้ยังไม่มีการออกแนวทางที่ชัดเจนถึงเกณฑ์ในการป้องกันดาวเคราะห์กับการปล่อยศพนักบินอวกาศให้ลอยไปในอวกาศไม่ว่าทั้งนาซาหรือทั้งระดับนานาชาติ”

หากคุณปีนเขาเอเวอร์เรสต์ คุณย่อมรู้ดีว่าถ้าคุณตาย ร่างไร้วิญญาณของคุณก็จะถูกทิ้งไว้ที่นั่น แต่มันก็เป็นสิ่งที่คุณยอมรับไง เพราะนั่นคือส่วนหนึ่งของการปีนเอเวอร์เรสต์

เมื่อออกนอกยานอวกาศ

Photo: WIKIMEDIA COMMONS

ฝังศพบนดาวอังคาร การเดินทาง-ความเสี่ยงที่คุ้มค่า?

มีคำกล่าวของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้บริหารสูงสุด และผู้ก่อตั้ง Tesla Motors รวมไปถึงเจ้าของโปรเจกต์ SpaceX กับแนวคิดพาคนไปเที่ยวดาวอังคารที่ว่า “หากคุณคิดจะไปดาวอังคาร ก็จงเตรียมตัวตายไว้ด้วย”

ก็นั่นสินะ หากมีคนตายบนดาวอังคารจริงๆ แล้วเราควรจัดการกับศพเขาอย่างไรดีล่ะ?

คริส แฮดฟิลด์ กล่าวว่า “หากเพื่อนนักอวกาศของคุณเสียชีวิตบนดาวอังคาร ผมขอแนะนำให้คุณเลือกฝังเขาแทนที่จะพาเขากลับบ้าน”

ที่แฮดฟิลด์กล่าวเช่นนั้นแล้วฟังดูเข้าท่า คงเป็นเพราะความเป็นห่วงเรื่องการนำเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาจากศพกลับมายังโลก เพราะแม้แต่ยานที่จะใช้ในการสำรวจดาวอังคารยังถูกทำความสะอาดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนออกปฏิบัติภารกิจเพื่อป้องกันการคุกคามของจุลินทรีย์จากโลกกับดาวดวงใหม่

แน่นอนว่าทุกๆ การเดินทางย่อมมีความเสี่ยงเสมอ เช่นกันกับการเดินทางไปยังนอกโลก ซึ่งตัวนักบินเองก็พร้อมจะแบกรับความเสี่ยงเหล่านั้นไว้เช่นกัน

เทอร์รี เวิร์ตส์ บอกว่ามันคือการเดินทางที่คุ้มค่าต่อการเสี่ยง (การสำรวจอวกาศ) และพวกเขาก็เลือกที่จะเผชิญหน้ากับอันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างมีสติที่สุด

เช่นเดียวกับนักอวกาศ ไมก์ มัสซิมิโน (Mike Massimino) ที่กล่าวว่า “ผมคิดว่ามันคุ้มที่จะเสี่ยงนะ การเดินทางสำรวจมักจะพรากชีวิตเราไปเสมอ และผมมั่นใจว่ามันก็คงจะเป็นเช่นนั้น”

ทุกๆ ปีจะมีนักปีนเขาจำนวนกว่า 800 คน ที่พยายามพิชิตยอดเขา และย่อมมีคนพลาดเสียชีวิตเสมอ แต่ไม่ว่าจะมีคนเสียชีวิตไปกี่คน ปีถัดมาก็จะมีผู้กล้ารายใหม่อีกกว่า 800 คน ซึ่งพร้อมจะพิชิตยอดเขาดังกล่าว ที่เป็นเช่นนั้นเพราะมนุษย์ต้องการจะเป็นที่หนึ่งเสมอ พวกเขาต้องการเป็น ‘คนแรก’ เป็น ‘ที่สุด’ กับการเป็นผู้ค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ แม้ความทะเยอทะยานดังกล่าวจะต้องแลกด้วยราคาของความเสี่ยงที่สูงลิบลิ่วแค่ไหน

พอล โวล์ป นักชีวจริยธรรมกล่าวว่า “หากคุณปีนเขาเอเวอร์เรสต์ คุณย่อมรู้ดีว่าถ้าคุณตาย ร่างไร้วิญญาณของคุณก็จะถูกทิ้งไว้ที่นั่น แต่มันก็เป็นสิ่งที่คุณยอมรับไง เพราะนั่นคือส่วนหนึ่งของการปีนเอเวอร์เรสต์”

ไม่ว่าในอนาคต นาซาจะมีมาตรการในการจัดการกับนักบินอวกาศที่เสียชีวิตเช่นไร กระบวนการจัดการศพด้วยการแช่แข็งและเทคโนโลยีจากสวีเดนจะใช้ได้จริงหรือไม่? แต่มนุษย์อวกาศเหล่านั้นก็คงเลือกแล้วที่จะสละชีวิตของตนเพื่อความก้าวหน้า การค้นพบครั้งสำคัญ และหนทางในการอยู่รอดของมนุษย์รุ่นต่อไป