เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายเพศชาย

วัยหนุ่มสาวเป็นช่วงระยะหนึ่งของการเจริญเติบโต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายจากวัยเด็กไปสู่วัยเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจาก มีการทำงานของต่อมใต้สมองที่อยู่บริเวณฐานสมองสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นต่อมเพศ (อัณฑะและรังไข่) ผลที่เกิดตามมา คือ การสร้างฮอร์โมนเพศเพิ่มมากขึ้น เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์


การเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว

เพศชาย ขนาดอัณฑะจะโตขึ้น นมแตกพาน เสียงแหบห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัด มีกลิ่นตัว องคชาติมีขนาดโตขึ้น มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ

เพศหญิง พบมีเต้านมโตขึ้น มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ มีกลิ่นตัว มีตกขาว และตามด้วยการมีประจำเดือนในที่สุด หลังมีประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะสูงได้อีกโดยเฉลี่ย 7-8 ซม. เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ด้วย ในระยะท้ายของวัยนี้ อัตราการเจริญเติบโตจะลดน้อยลงตามลำดับ การเจริญเติบโตจะหยุดเมื่อมีการปิดเชื่อมของกระดูกบริเวณแขนและขา


ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย หมายถึงอะไร?

การที่เด็กหญิงเริ่มมีการพัฒนาของเต้านมก่อนอายุ 8 ปี หรือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 ปี ส่วนเพศชายมีขนาดอัณฑะโตหรือมีลักษณะอื่น ๆ เช่น เสียงแหบห้าว มีกลิ่นตัว ปรากฏให้เห็นก่อนอายุ 9 ปี พบในเพศหญิงได้บ่อยกว่าเพศชาย สาเหตุที่พบภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยได้บ่อยขึ้นส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่ได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ ซึ่งมีมากขึ้น ทำให้กังวลและพาเด็กมาพบแพทย์เร็วขึ้น


สาเหตุของภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าปัจจัยใดเป็นตัวควบคุมการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก่อนวัย แต่เชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม หากพ่อแม่มีประวัติเข้าวัยหนุ่มสาวเร็ว ลูกก็จะเป็นหนุ่มสาวเร็วด้วย นอกจากนี้ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการเข้าวัยหนุ่มสาวก่อนวัย ได้แก่ ภาวะโภชนาการ เด็กอ้วนมักจะเป็นหนุ่มสาวเร็ว การได้รับสารหรืออาหารที่ปนเปื้อนฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็นโดยการรับประทาน หรือทางอื่น ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งในหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้นในปัจจุบัน

ในเพศหญิงส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ พบเพียงมีการทำงานของต่อมใต้สมองเร็วขึ้น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่พบมีความผิดปกติ ต่างกับในเพศชาย โอกาสพบมีความผิดปกติ เช่น เนื้องอกของสมอง หรือเนื้องอกบริเวณอื่นๆ ได้บ่อยกว่า

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายเพศชาย


ผลกระทบของเด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

ไม่ว่าภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยจะเกิดจากสาเหตุใด แต่ผลกระทบซึ่งเกิดตามมาที่สำคัญคือ

  1. ฮอร์โมนเพศในปริมาณสูงกว่าเด็กปกติ ทำให้เด็กสูงกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้กระดูกปิดเร็วด้วยเช่นกัน สิ่งที่ตามมาคือ ระยะเวลาการเจริญเติบโตในวัยเด็กสั้นลงกว่าเด็กปกติ ทำให้เตี้ยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  2. ปัญหาทางด้านจิตใจ เนื่องจากเด็กที่เป็นสาวก่อนวัยจะมีร่างกายเหมือนเด็กสาววัยรุ่น แต่จิตใจยังเป็นเด็ก เด็กอาจจะรู้สึกอายเพื่อนหรือถูกล้อ บางรายอาจถูกล่วงเกินทางเพศและเกิดตั้งครรภ์ตั้งแต่วัยเด็กได้

วิธีการรักษาเด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

การรักษาภาวะเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยขึ้นกับสาเหตุ กรณีมีสาเหตุ เช่น เป็นเนื้องอกไม่ว่าบริเวณไหนต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องตามด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัดแล้วแต่กรณี ส่วนกรณีที่ตรวจไม่พบสาเหตุ การรักษาซึ่งได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน คือ การให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กลุ่ม Gonadotropin Releasing Hormone Analogue เพื่อชะลอการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ ทุก 1 หรือ 3 เดือน แล้วแต่ชนิดและการออกฤทธิ์ของยา ฮอร์โมนนี้จะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง มีผลทำให้ฮอร์โมนเพศจากต่อมเพศลดลง

ผลการรักษาภาวะเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยพบว่ายาสามารถยับยั้งการพัฒนาของลักษณะวัยหนุ่มสาวไม่ให้มากขึ้น ในรายที่หน้าอกไม่โตมาก่อนการรักษาอาจยุบลงเป็นปกติ แต่รายที่โตมากแล้วมักเพียงแค่นิ่มลง บางรายอาจพบมีประจำเดือนออกหลังฉีดยาประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากฮอร์โมนเพศลดลง หลังจากนั้นจะไม่มีอีก ส่วนรายที่เคยมีประจำเดือนแล้ว ก็อาจมีได้อีกแต่ก็จะหายไปและไม่มาอีก

จากรายงานส่วนใหญ่พบว่าส่วนสูงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ใกล้เคียง หรือเท่ากับส่วนสูงที่ควรจะเป็นตามพันธุกรรมมากกว่าเมื่อเทียบกับก่อนให้การรักษาและกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาเลย แต่จะได้ผลดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับอายุและอายุกระดูกขณะที่เริ่มให้การรักษา การรักษาจะได้ผลดีกว่าในรายที่ได้รับการรักษาเร็วหรือรักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ หลังหยุดยาเด็กจะมีการพัฒนาเข้าสู่วัยหนุ่มสาวตามปกติ จากรายงานต่างๆ พบว่ายานี้มีความปลอดภัยสูงอาการข้างเคียงพบได้น้อยมากและไม่รุนแรง

อ้างอิงข้อมูลจาก: สมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย

4.1 การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น

    วัยรุ่นแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่

    4.1.1 วัยแรกรุ่น (11-13 ปี) เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทุกระบบ วัยนี้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายซึ่งส่งผลกระทบไปยังจิตใจ ทำให้อารมหงุดหงิดและแปรปรวนง่าย

    4.1.2 วัยรุ่นตอนกลาง (14-16 ปี) เป็นช่วงที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของร่างกาย มีความคิดที่ลึกซึ้งในการหาเอกลักษณ์ของตนเอง

    4.1.3 วัยรุ่นตอนปลาย (17-19 ปี) เป็นช่วงที่สภาพทางร่างกายเปลี่ยนแปลงเติบโตโดยสมบูรณ์เต็มที่ และบรรลุนิติภาวะในเชิงกฎหมาย เป็นช่วงเวลาที่จะมีความผูกพันกับเพื่อนต่างเพศ

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายเพศชาย


4.2 การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น

    การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นใน 3 ด้าน ได้แก่

    4.2.1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

        1) ขนาดและความสูง เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะมีความกว้างของไหล่และสะโพกใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นผู้ชายจะมีการเจริญเติบโตของไหล่ ทำให้มีไหล่กว้าง ในขณะที่วัยรุ่นผู้หญิงมีการเจริญเติบโตของสะโพก ความสูง คอ แขน ขา การเจริญเติบโต หรือ การขยายขนาดของร่างกายในแต่ละส่วน อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน

        2) ไขมันและกล้ามเนื้อ เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีความหนาของไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังใกล้เคียงกัน จนกระทั่งอายุประมาณ 8 ปี ร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นชายจะมีกำลังของกล้ามเนื้อและพละกำลังของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ขาน่องและแขน สำหรับวัยรุ่นหญิงมีการเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อน้อยกว่า แต่จะมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังร้อยละ 25 ของน้ำหนัก โดยเฉพาะบริเวณเต้านมและสะโพก

        3) โครงสร้างใบหน้า วัยรุ่นชายช่วงกระดูกของจมูกจะโตขึ้นทำให้จมูกโด่ง เป็นสันกระดูกขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง กล่องเสียง ลำคอ และกระดูกอัลลอยด์ เจริญเติบโตเร็วกว่าวัยรุ่นหญิงอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้วัยรุ่นชายเสียงแตก

        4) ระดับฮอร์โมน ทั้งฮอร์โมนการเติบโต ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนทางเพศ จะมีผลโดยตรงต่อความเจริญเติบโตทางอารมณ์ การเรียนรู้ และอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโดยเฉพาะต่อมไขมันใต้ผิวหนังและต่อมเหงื่อจะทำหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสิวและกลิ่นตัว

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายเพศชาย

ต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายเพศชาย

ส่วนประกออบของสมอง

                        สมองประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

                (1) สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย เซรีบรัม(Cerebrum) ทาลามัส(thalamus) และไฮโพทาลามัส(hypothalamus)

 สมองส่วนหน้า  หน้าที่
 เซรีบรัม ทำหน้าที่ด้านความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น การรับรส การได้ยิน การดมกลิ่นและการทำงานของกล้ามเนื้อ
 ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออก ในแยกกระแสประสาทไปยังสมอง
 ไฮโพทาลามัส เป็นศูนย์ควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การทำงานพื้นฐานของร่างกาย ได้แก่ ความหิว ความดันโลหิต ความต้องการทางเพศ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อและการแสดงอารมณ์ความรู้สึก

            (2) สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัส

            (3) สมองส่วนท้าย ประกอบด้วยพอนส์ (pons) เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblonggata) และเซรีบรัม (cerebellum)

  สมองส่วนหน้า  หน้าที่
 พอนส์

ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยวอาหารการหลั่งน้ำลายการเคลื่อนไหวของใบหน้าและการควบคุมการหายใจ

 เมดัลลาออบลองกาตา

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นการหายใจความดันโลหิตการกลืนการจามการฝึกและการอาเจียน
 ซีรีเบลลัม หน้าที่การเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

            5) ระบบประสาท เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นระบบประสาททางเพศหญิงและเพศชายจะเจริญเติบโตต่อเนื่องจากวัยเด็ก จนโตเต็มที่เมื่ออายุ 18-20 ปี ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กับการรับรู้ความรู้สึก ความทรงจำ ความคิด อารมณ์ โครงสร้างของระบบประสาทแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทอัตโนมัติเส้นประสาทไขสันหลัง

            6) ระบบสืบพันธุ์ วัยรุ่นหญิงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เต้านมเริ่มขยายเมื่ออายุประมาณ 9-13 ปี ช่วงอายุ 11-13 ปี จะมีประจำเดือนแสดงให้เห็นว่ามดลูกและช่องคลอดเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ในระยะ 1-2 ปีแรก การมีประจำเดือนจะไม่สม่ำเสมอหรือขาดหาย และมีอาการปวดท้องน้อยเมื่อมีประจำเดือนแล้วความสูงจะส่งต่อไปในลักษณะที่ช้าลงและการเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 15-17 ปี

            การเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 10-13 ปี ระบบสืบพันธุ์จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและจะใช้เวลา 2-4 ปี จึงจะเจริญเติบโตเต็มที่ ในขณะที่รูปร่างภายนอกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าวัยรุ่นผู้หญิง

        4.2.2 การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้เกิดความวิตกกังวล หงุดหงิดไม่พอใจในรูปร่างที่เปลี่ยนไป กังวลในเรื่องความสวย ความหล่อ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทางเพศจะส่งผลทำให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์เพศบ่อยครั้ง

        4.2.3 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ วัยรุ่นจะเกิดความรู้สึกอยากที่จะถูกรักต้องการเอาใจใส่ แต่มักจะมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่ใช่การแสดงออกของพ่อแม่ที่ให้ความรักราวกับเด็กเล็กๆ อย่าทำในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดี อยากที่จะทำตัวห่างจากพ่อแม่ บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกสับสน ลังเลต้องการเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากลอง อยากเห็นสิ่งแปลกใหม่ ตื่นเต้น ท้าทายกับการที่กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ