ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด

    ถึงแม้ว่าจะเป็นที่น่ายินดีที่เราได้มีโอกาสฟังดนตรีนานาชาตินานาชนิด แต่ถ้าดนตรีไทย ถูกทอดทิ้ง และไม่มีใครรู้จักคุณค่า ก็นับว่าเสียดายที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งไป ดังนั้น จึงควรที่คนไทยทุกคนจะได้ตระหนัก ถึงคุณค่าของ ดนตรีไทย และช่วยกันทะนุบำรุงส่งเสริม และรักษาไว้ เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป

            ��ǧ����� 3 ������ �����ǡѺ������ظ�� ��� ǧ���ҷ�� ǧ����� ���ǧ����ͧ��� ��������ͧ����բͧ�ҵԵ�ҧ� �����㹻���������ª�Դ �ѧ��ҡ�����¡�˹���âͧ�����ҡ�ѵ��������¹����� � �ç��С�س��ô����� ���Գ�ҷ���� �Գ�ҷ�����ѭ ������� ���� ����խǹ ��� ��Ѵ����¹�ѹ����� 2 ��͹�Ѻ 12 �ѹ � 㹧ҹ������������á��繵�

ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด
 

               เครื่องดุริยางค์ที่เล่นกับละคร เรียกกันเป็นสามัญว่า พิณพาทย์บ้าง ปี่พาทย์บ้าง อันที่จริงคำว่า "พิณพาทย์" กับ "ปี่พาทย์" ความหมายต่างกัน พิณพาทย์ หมายถึง เครื่องดนตรีอันเป็นเครื่องสายสำหรับดีดสี เพราะเดิมใช้พิณเป็นหลัก ส่วนปี่พาทย์นั้น หมายความว่าเครื่องดุริยางค์อันเป็นเครื่องตีเป่า (ใช้ปี่เป็นหลัก) เพราะฉะนั้นเครื่องที่ใช้ในการเล่นละครควรเรียกว่า "ปี่พาทย์"

ปี่พาทย์เครื่องห้า(เดิม)
              การผสมวงปี่พาทย์แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามที่กล่าวไว้ใน "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน" มิได้ระบุคนประจำเครื่อง นอกจากกล่าวถึงขุนไฉนยไพเราะห์ ซึ่งคงจะเป็นคนเป่าปี่ และที่ว่า "นายวงสี่คน" ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนั้น อาจหมายถึงคนบรรเลงประจำเครื่องอีก 4 คน ในวงปัญจดุริยางค์ คือ เครื่องห้าก็ได้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายถึงเครื่องบรรเลงไว้ว่า "ปี่พาทย์เครื่องห้าที่ไทยเราใช้กันมาแต่โบราณมาแต่เบญจดุริยางค์ แต่มีต่างกันเป็น 2 ชนิด เป็น "เครื่องอย่างเบา" ใช้เล่นละคอนกันในพื้นเมือง (เช่นพวกละคอนชาตรี) ชนิด 1 "เครื่องอย่างหนัก" สำหรับเล่นโขนชนิด 1 ปี่พาทย์ 2 ชนิดมี่กล่าวมานี้คนทำวงละ 5 คนเหมือนกัน แต่ใช้เครื่องต่างกัน
               - ปี่พาทย์เครื่องเบา วงหนึ่งมี: ปี่ เป็นเครื่องทำลำนำ 1 ทับ 2 กลอง 1 ฆ้องคู่เป็นเครื่องทำจังหวะ 1 ลักษณะตรงตำราเดิม ผิดกันแต่ใช้ทับแทนโทนใบ 1 เท่านั้น
               - ปี่พาทย์เครื่องหนัก นั้น วงหนึ่งมี: ปี่ 1 ระนาด 1 ฆ้องวง 1 กลอง 1 โทน (ตะโพน) 1 ใช้โทนเป็นเครื่องทำเพลง และจังหวะไปด้วยกัน ถ้าทำลำนำที่ไม่ใช่โทน ก็ให้คนโทนตีฉิ่งให้จังหวะ
               เหตุที่ผิดกันเช่นนี้ เห็นจะเป็นเพราะการเล่นละคอน มีขับร้อง และเจรจาสลับกับปี่พาทย์ ปี่พาทย์ไม่ต้องทำพักละช้านานเท่าใดนัก แต่การเล่นโขนต้องทำปี่พาทย์พักละนานๆ จึงต้องแก้ไขให้มีเครื่องทำลำนำมากขึ้น แต่การเล่นละคอนตั้งแต่เกิดมีละคอนในขึ้น เปลี่ยนมาใช้ปี่พาทย์เครื่องหนักอย่างโขน ปี่พาทย์ที่เล่นกันในราชธานี จึงใช้แต่ปี่พาทย์เครื่องหนักเป็นพื้น" ปี่พาทย์เครื่องหนัก ในสมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมี: ปี่ 1 เลา ระนาด 1 ราง ฆ้อง 1 วง ฉิ่งกับโทน 1 กลองใบ 1 รวมเป็น 5 ด้วยกัน แต่ปี่นั้นใช้ขนาดย่อม อย่างที่เรียกว่าปี่นอก กลองก็ใช้ขนาดย่อมอย่างเช่นเล่นหนังใหญ่ แก้ไขชั้นแรก คือ ทำปี่ และกลองให้เขื่องขึ้นสำหรับใช้กับเครื่องปี่พาทย์ที่เล่นในร่มเพื่อเล่นโขนหรือละคอนใน ปี่ที่มีขึ้นใหม่นี้เรียกว่า "ปี่ใน" ส่วนปี่ และกลองอย่างของเดิม คงใช้ในเครื่องปี่พาทย์เวลาทำกลางแจ้ง เช่นเล่นหนัง (ใหญ่) จึงเกิดปี่นอก ปี่ใน ขึ้นเป็น 2 อย่าง การแก้ไขที่กล่าวมานี้ จะแก้ไขแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาหรือมาแก้ไขในกรุงรัตนโกสินทร์ข้อนี้ไม่ทราบแน่"

ปี่พาทย์เครื่องห้า (ปรับปรุงต่อมา)
               สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายไว้ว่า "เมื่อในรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดทั้งละคอน และเสภา มีคำเล่ากันสืบมาว่า เมื่อก่อนรัชกาลที่ 2 ประเพณีที่จะส่งปี่พาทย์หามีไม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชดำริให้เสภาขับส่งปี่พาทย์ (อย่างเช่นมโหรี) ขึ้นเป็นปฐม ดังนี้ ที่เอาเปิงมางสองหน้าเข้าใช้ในเครื่องปี่พาทย์ก็คงเอาเข้าในคราวนี้นั่นเอง สำหรับตีรับเสภาเป็นเดิมมา ด้วยเสียงเบาเข้ากับขับร้องดีกว่าโทน (ตะโพน) ปี่พาทย์รับเสภาจึงใช้เปิงมางสองหน้ามาจนทุกวันนี้ การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงแก้ไขกระบวนเสภาเช่นว่า มาชวนให้คิดเห็นว่า บางทีปี่พาทย์ละคอนก็จะทรงแก้ไขให้เสียงปี่พาทย์เข้ากับละคอนดีขึ้น ถ้าเช่นนั้น ปี่ใน และกลองขนาดเขื่องกว่ากลองหนัง(ใหญ่) ที่ว่ามาแล้ว ก็เห็นจะเป็นของเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 2 แต่เครื่องปี่พาทย์ก็ยังเป็นเครื่องห้าต่อมา" กระแสพระราชดำริดังกล่าวนี้ อาจเป็นต้นเหตุที่ทรงนำเอาวิธีการรับร้องของมโหรีมาใช้กับวงปี่พาทย์ หรือเล่นปี่พาทย์รับร้องอาจมีมาก่อนทางหนึ่งแล้ว จึงทรงพระราชดำรินำมาใช้กับการขับเสภาอีกทางหนึ่งด้วย

เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า
          เป็นวงปี่พาทย์มีวิวัฒนาการ 3 สมัยด้วยกันคือ
- สมัยที่หนึ่ง สมัยสุโขทัย พบว่ามีเครื่องดนตรีดังนี้
         1. ปี่ใน
         2. ฆ้องวงใหญ่
         3. ตะโพน
         4. กลองทัด ( ลูกเดียว )
         5. ฉิ่ง                      

ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด

ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=32

- สมัยที่สอง   สมัยอยุธยาตอนปลาย  พบว่ามี " ระนาดเอก " เข้าร่วมด้วย          ดังนี้
         1.  ปี่ใน
         2.  ระนาดเอก
         3.  ฆ้องวงใหญ่
         4.  ตะโพน
         5.  กลองทัด  ( ลูกเดียว )
         6.  ฉิ่ง

ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด

ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=32

- สมัยที่สาม สมัยรัตนโกสิทร์ รัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเป็น ๒ ลูก เป็นคู่กัน ลูกหนึ่งมีเสียงต่ำ เรียกว่า " ตัวเมีย " อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า " ตัวผู้ " เรียกวงปี่พาทย์วงนี้ว่า " วงปี่พาทย์เครื่องห้า " ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
          1. ปี่ใน
          2. ระนาดเอก
          3. ฆ้องวงใหญ่
          4. ตะโพน
          5. กลองทัด ( ๒ ลูก )
          6. ฉิ่ง

ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด

ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=32

ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด
    
ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด

ระนาดเอกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยใด