การค้าแบบผูกขาดสมัยอยุธยาคืออะไร

การค้าแบบผูกขาดสมัยอยุธยาคืออะไร

              ลักษณะทำเลที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ ส่งผลให้อาณาจักรอยุธยามีพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตร

และการค้าขาย ซึ่งมีทั้งการค้าขายภายในและการค้าระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง โดยราชสํานักอยุธยาส่งเสริม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของอาณาจักร

อยุธยามีความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรือง

การค้าแบบผูกขาดสมัยอยุธยาคืออะไร

         การที่อาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน

ทําให้ดินบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ    การปลูกข้าว พืช 

สําคัญที่ปลูกกันมากรองลงมาได้แก่ พริกไทย ฝ้าย หมาก มะพร้าว ไม้ผลต่างๆ การเกษตร ของอาณาจักรอยุธยามี

วัตถุประสงค์เพื่อบริโภคภายในอาณาจักรเป็นสําคัญและมีลักษณะเป็นการเกษตร แบบพอยังชีพ ใช้เทคนิคการ

ผลิตแบบดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ โดยใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นสําคัญ และเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของ

ดินและน้ํา ทําให้มีผลผลิตทางการเกษตรเป็นจํานวนมาก ผลผลิต ที่เหลือจากการบริโภคภายในอาณาจักรอยุธยา

จะกลายเป็นสินค้าเกษตรที่ส่งไปขายยังดินแดนต่างๆ เช่น ขายหมากให้จีน อินเดีย และโปรตุเกส ขายฝ้ายและ

มะพร้าวให้ญี่ปุ่นและมะละกา ที่สําคัญคือข้าวขายให้มลายู มะละกา ชวา ลังกา จีน และญี่ปุ่น

การค้าแบบผูกขาดสมัยอยุธยาคืออะไร

            อาณาจักรอยุธยามีบทบาทสําคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าซึ่งได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่อาณาจักร

อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเหมาะสมกับการติดต่อค้าขายทั้งภายในอาณาจักร และการ

ค้ากับต่างชาติ ดังนี้

1.  การค้าขายภายในอาณาจักร 

            ด้วยสภาพที่ตั้งของอยุธยาอยู่บริเวณที่แม่น้ําสําคัญหลายสาย ไหลผ่าน จึงเป็นชุมทางการค้าที่พ่อค้าจากหัว

เมืองทางเหนือจะนําสินค้าของป่าลงมาแลกเปลี่ยนกับสินค้า จากต่างประเทศ โดยใช้เส้นทางทางน้ําติดต่อระหว่าง

แว่นแคว้นภายในต่างๆ เช่น สุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง ที่อยู่ทางเหนือ หัวเมืองทางตะวันตก เช่น ตะนาวศรี ทวาย 

และหัวเมืองพม่า หัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองโคราช พิมาย ไปจนถึงเมืองพระตะบองของเขมร ความ

สําคัญของการค้าทําให้ราชสํานักอยุธยา ส่งเสริมการค้าด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนออกกฎหมายควบคุมการค้าเพื่อ

ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว ดําเนินไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ตามประชาชนทั่วไปยังคงค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ที่ตนเองต้องการมากกว่า จะแสวงหากําไรและผลประโยชน์โดยตรง

            ศูนย์กลางการค้าภายในของกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่ ย่านหรือป่า ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตและ ขายสินค้า เช่น ย่าน

ป่าขนม และตลาดน้ําที่พ่อค้าแม่ค้าชาวพื้นเมืองนําสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน ส่วนตลาดบก จะมีทั้งสินค้าพื้นเมือง

และสินค้าที่นําเข้าจากต่างประเทศ   

            สินค้าพื้นเมืองที่ขายตามตลาดส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรม เช่น หม้อ เสื้อ เครื่องดนตรี ฟิก หมอน มุ้ง 

กระบุง ตะกร้า รวมทั้งอาหาร เช่น ขนมขบเคี้ยว ของแห้งต่างๆ

2.  การค้าระหว่างประเทศ

            อาณาจักรอยุธยามีชัยภูมิเหมาะสมกับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากเป็นเมืองท่าที่อยู่กึ่งกลางเส้นทาง

การเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย  ประกอบกับความเข้มแข็งทางการเมืองและนโยบายการค้าของ

ผู้นํา ทําให้เป็นศูนย์รวมของสินค้าจากเมืองท่าต่าง  ๆ  โดยเฉพาะของป่าซึ่งเป็นสินค้าต่างชาติต้องการด้วยปัจจัย

ต่าง ๆ นี้ส่งผลให้อาณาจักรอยุธยากลายเป็นเมืองท่า นาๆชาติ นำมาซึ่งผลนํามาซึ่งผลประโยชน์และความมั่งคั่ง

ทางเศรษฐกิจ  

            การค้าระหว่างประเทศนี้มีวิวัฒนาการตั้งแต่ก่อนสถาปนาอาณาจักรอยุธยา เมืองต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล

ทั้งบริเวณรอบอ่าวไทยและเมืองท่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเครือข่ายการค้าของจีน อินเดียและชาติ

อาหรับอยู่ก่อนแล้วโดยระบบการค้าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 พ่อค้า ต่างชาติจะไม่เดินทางไกลไปยังแหล่งสินค้า

โดยตรงเหมือนแต่ก่อนซึ่งพ่อค้าตามเมืองท่าต่างๆ ใน แต่ละภูมิภาคจะรับส่งสินค้าเป็นทอดๆ ไป    

            เมื่อกรุงศรีอยุธยาสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 ราชสํานักอยุธยาประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์

หรือเจ้านาย หรือขุนนางร่วมกับชาวจีนได้ทําการค้าเรือสําเภากับจีน อินเดีย ลังกา ญี่ปุ่น คาบสมุทร และหมู่เกาะ

ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในพุทธศตวรรษที่ 21 การค้า ระหว่างประเทศขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะ

ได้ติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตก โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรก  (พ.ศ. 2054)  ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย หลังจากนั้นมี

สเปน  (พ.ศ. 2141)  ฮอลันดา      (พ.ศ. 2147)  อังกฤษ (พ.ศ. 2155)   และฝรั่งเศส (พ.ศ. 2216)  ตามลําดับ 

                กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สําคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเหตุผลที่

สําคัญ 2 ประการ คือ

        เป็นแหล่งรวมของสินค้าประเภทของป่า 

             เช่น หนังกวาง ไม้ฝาง ครั้ง กํายาน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ดีบุก ตะกั่ว จากดินแดนตอนในภูมิภาคเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดระหว่าง   ประเทศ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษ

ที่ 23 ต้องการเป็นอย่างมาก 

        เป็นศูนย์กลางของการค้าส่งผ่าน  

            อาณาจักรอยุธยามีบทบาทสําคัญในการช่วยกระจายสินค้า จากจีนเข้าสู่ดินแดนตอนในของเอเชียตะวัน

ออกเฉียงใต้ รวมทั้งการส่งสินค้าจากจีนไปยังชายฝั่มหาสมุทร อินเดีย ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางในการ

รวบรวมสินค้าจากดินแดนตอนในและจากแถบชายฝั่งทะเล มหาสมุทรอินเดีย เพื่อส่งต่อไปขายให้แก่จีนและญี่ปุ่น

            บันทึกของชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาได้สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ทางการ

ค้านานาชาติ เช่น ฮอลันดาใช้อยุธยาเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าประเภทของป่า และสินค้าเกษตร เช่น หนังกวาง ไม้

ฝาง ไม้กฤษณา หนังปลากระเบน ดินประสิว คราม หมาก ตะกั่ว ดีบุก กระวาน ขี้ผึ้ง เพื่อนำไปขายยังตลาดญี่ปุ่น 

และนําสินค้าประเภทเงิน ทองแดง เหล็ก กระสุน อาวุธผ้าชนิดต่างๆ เครื่องแก้ว และสินค้าฟุ่มเฟือย เข้ามาแลก

เปลี่ยน ส่วนพ่อค้าอินเดียจะซื้อสินค้าจากอาณาจักรอยุธยาหลายชนิด เช่น ไม้ฝาง หนังสัตว์ ดีบุก งาช้าง และช้าง 

และนําผ้าชนิดต่างๆ รวมทั้งอัญมณีมาขายที่กรุงศรีอยุธยา

      ลักษณะการค้าของอาณาจักรอยุธยา การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นการค้า กึ่งผูกขาด

เป็นการค้าสําเภากับชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าที่ดําเนินการ โดยพระมหากษัตริย์ 

เจ้านาย และขุนนาง แต่สามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรและพ่อค้าชาติอื่นที่อยู่ใน กรุงศรีอยุธยาได้โดยตรง ต่อมา

เมื่อค้าขายกับชาติตะวันตกสินค้าที่นํามาขายคืออาวุธปืน ซึ่งถือเป็น สินค้าต้องห้ามส่วนสินค้าที่ชาวต่างชาติต้องการ

ส่วนใหญ่เป็นสินค้าของป่า ทําให้มีการจัดตั้งพระคลังสินค้า เพื่อทําหน้าที่อํานวยความสะดวกทางการค้าโดยรวบ

รวมสินค้าเหล่านี้ส่งต่อให้พ่อค้าต่างชาติ ซึ่งทํากําไรให้แก่พระคลังสินค้าอย่างมหาศาลเมื่อการค้าขยายตัวและทวี

ความสําคัญขึ้นทําให้เกิดการผูกขาดทาง การค้า สันนิษฐานว่าน่าจะเข้มงวดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ราชสํานักได้ผูกขาดสินค้า หลายชนิด มีการออกกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับการค้า และจัดระบบการค้าแบบผูก

ขาดให้เป็นระเบียบ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพระองค์ทรงหาวิธีเพิ่มรายได้แผ่นดินโดยเพิ่มประเภทสินค้า

ผูกขาดเช่นผ้าแพร เครื่องลายคราม โดยพระคลังสินค้า ซึ่งเดิมผูกขาดการจําหน่ายสินค้าประเภทอาวุธและดินปืน

ของ พ่อค้าตะวันตกที่ต้องขายให้ราชสํานักเท่านั้น ต่อมาขยายขอบเขตไปถึงสินค้าต่างแดนชนิดอื่นๆ ด้วย โดยออก

กฎหมายเกี่ยวกับสินค้าต้องห้ามซึ่งเป็นสินค้าที่ราชสํานักโดยพระคลังสินค้าจะเป็นผู้ผูกขาดซื้อขาย แต่ผู้เดียว หรือ

จะต้องซื้อจากพระคลังสินค้าเท่านั้น สินค้าต้องห้ามที่เป็นสินค้านําเข้า เช่น ปืนไฟ กระสุนดินดํา และกํามะถัน 

สินค้าออก เช่น ดีบุก ตะกั่ว ดินประสิว นอแรด งาช้างไม้กฤษณา ไม้จันทน์ ไม้หอม และไม้ฝาง

        กรมท่า เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการค้าของอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กรมท่าขวา ซึ่งจะควบคุมการ

ค้ากับชาติตะวันตก เช่น อังกฤษ ชวา กรมท่าซ้ายจะควบคุมดูแลการค้ากับจีนและฮอลันดา หน้าที่หลักของกรมท่า 

คือ การผูกขาดสินค้า กําหนดชนิดของสินค้ต้องห้ามและเก็บค่าธรรมเนียมการค้าการค้าต่างประเทศของอาณาจักร

อยุธยาถือเป็นพื้นฐานสําคัญของเศรษฐกิจซึ่งทําให้ราชสํานักอยุธยา มีรายได้จํานวนมาก และนําความมั่งคั่งมาสู่

อาณาจักร

        การจัดเก็บรายได้ของอาณาจักร 

                อาณาจักรอยุธยามีแหล่งรายได้ทั้งการค้าเรือสําเภา และการค้าโดยพระคลังสินค้าซึ่งเป็นการค้าผูกขาด

รายได้จากการเก็บภาษีจากสินค้าต่างประเทศ รวมทั้งเครื่องราชบรรณาการที่เมืองขึ้นต่างๆ ส่งให้ราชสํานัก และ

รายได้ที่เรียกเก็บจากราษฎร

ภาษีอากรที่จัดเก็บเป็นรายได้ของอาณาจักร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ


จังกอบ คือ การเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าของราษฎร โดยเก็บชักส่วน

สินค้าไว้ในอัตรา 10 ชัก 1 หรือเก็บตามขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าเช่นเรือสินค้าเก็บภาษี ตามความกว้างของ

ปากเรือตามอัตราที่กําหนด เรียกภาษีปากเรือ โดยจะมีการตั้งด่านขนอนตามริมน้ำ รอบกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้เจ้า

พนักงานตรวจและจัดเก็บจังกอบเรือและจังกอบสินค้าที่ผ่านเข้าออก


ส่วย คือ สิ่งของหรือเงินตราที่ไพร่หลวงส่งให้ทางราชการแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน ถ้าจ่ายเป็น เงินเรียกว่า ค่า

ราชการ ถ้าส่งเป็นสิ่งของเรียกว่า ส่วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งของที่มีอยู่มากในท้องถิ่น และราชการสามารถนําไป

เป็นสินค้าได้ เช่น ส่วยดีบุก ส่วยมูลค้างคาว ส่วยไม้ฝาง


อากร เป็นภาษีที่ชักส่วนจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทํามาหากินได้จากการประกอบกิจการต่างๆ เช่น อากรค่านา

ที่เรียกว่า หางข้าว ซึ่งจะเป็นเสบียงอาหารสําหรับกองทัพอากรสวนเรียกเก็บจากผู้ที่ ทําสวนโดยคิดตามประเภท

และจํานวนต้นไม้แต่ละชนิด นอกจากนี้ยังมาจากการขอสิทธิหรือสัมปทาน จากทางราชการ เช่น การขุดแร่ การ

เก็บของป่า การต้มกลั่นสุรา เรียกว่า อากรสุรา การอนุญาต ให้จับสัตว์น้ำเรียกว่า อากรค่าน้ำ


ฤชา เป็นค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บจากราษฎร เมื่อราษฎร ไปติดต่อทางราชการตาม ระเบียบกฎหมาย เช่น

ค่าธรรมเนียมในการพิจารณาพิพากษาคดีความและค่าธรรมเนียมในการออก เอกสารบางอย่างให้ หรือเรียกอีก

ชื่อหนึ่งว่า เงินพินัยหลวง ค่าออกโฉนดที่ดิน

        รายจ่ายของอาณาจักร 

                รายจ่ายของอาณาจักรมีหลายด้าน เช่น การทําสงครามเพื่อการป้องกัน อาณาเขต หรือขยายอํานาจ

ทางการเมือง ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวค่อนข้างสูงมาก ค่าใช้จ่ายในการปูนบําเหน็จ ให้ขุนนางและไพร่พลเมืองที่ทํา