อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

        ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)

            เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือการออกแบบให้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ร่ำรวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ ตกแต่งด้วยการแกะสลักปิดทอง โบสถ์วิหารในกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกกรงเล็กๆแทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของการก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่างคือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน

อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงามอ่อนช้อยตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทั้งด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ  สามารถแบ่งได้เป็น 3ยุคคือ        ศิลปะอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อพ.ศ. 1893 จนถึงสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโนาถในพ.ศ.2031ลักษณะสถาปัตยกรเป็นแบบศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมร กับศิลปะอู่ทองนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดโดยมีลักษณะเลียนแบบเขมร

               ศิลปะอยุธยาตอนกลาง  สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2006 จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในพ.ศ. 2172 สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิผลมาจากศิลปะสุโขทัยนิยมเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัยแทนปรางค์แบบเขมร เช่น พระมหาสถูปสามองค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ 

              ศิลปะอยุธยาตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2172 จนสิ้นสมัยอยุธยาใน พ.ศ. 2310เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะเขมรเข้ามามีอิทธิพลอีกครั้ง เช่น ปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนารามปราสาทพระนครหลวง นอกจากนี้ยังนิยมสร้างพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยา

อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

 

อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

                ศิลปะแบบอยุธยาที่เกิดขึ้นเมื่ออาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔
ในช่วงเวลาอันยาวนานดังกล้าว อยุธยาได้สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะมากมายหลายแขนงเป็น
แบบแผนและเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จวบจนทุกวันนี้ ศิลปะอยุธยาสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

                ศิลปะอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๐๓๑) เป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับขนบประเพณีนิยมและวัฒนธรรม ของอณาจักรใกล้เคียง
                ศิลปะอยุธยาตอนกลาง  (พ.ศ. ๒๐๓๒ - ๒๑๗๒) เป็นศิลปะที่แสดงลักษณะเพาะที่เป็นรูปแบบของตนเอง
                ศิลปะอยุธยาตอนปลาย  (พ.ศ. ๒๑๗๓ - ๒๓๒๐) เป็นศิลปะที่แสดงลักษณะเฉพาะอย่างชัดเจน
                ผลงานศิลปะแบบอยุธยาส่วนมากเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธสาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ
                ด้านสถาปัตยกรรม มีทั้งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์และความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป

                - สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทะสาสนา ในสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางนิยมสร้างเจดีย์ทรงลังกา และมีการพัฒนาการสร้างเจดีย์ทรงกรวยสี่เหลี่ยมย่อมุม
ตรงเหลี่ยมทั้ง ๔ มุม ซึ่งเรียกว่า  เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง นับเป็นแบบอย่างเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยาที่มีอิทธิพล
ต่อการสร้างเจดีย์ในสมัยต่อมา นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหาร โบสถ์ โดยในสมัยอยุธยาตอนต้นจะนิยมก่อฐานของ
ตัวอาคาร เสา และฝาผนังด้วยอิฐอย่างมิดชิด ผนังอาคารเจาะเป็นช่องแคบๆ คล้ายซี่กรงหรือที่เรียกว่า ลูกฟัก ด้านใน
ก่ออิฐเป็นฐานชุกชี มีบัลลังก์ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาพระประธาน ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานอาคาร
นิยมทำเป็นรูปโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา มีการเจาะหน้าต่างที่ผนังอาคารมากขึ้น ตกแต่งประดับซุ้มประตูหน้าต่างอย่าง
ประณีตและใช้กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา 
                -สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระราชวังและพระตำหนักต่างๆ มีแบบแผน
ซึ่งได้รับอิทธิพลงความเชื่อจากเขมร เช่น พระที่นั่งนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ตำหนักพระนครหลวง
พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยถธยา เป็นต้น

อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

                               ^ พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงกรวยสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง
                                                          รูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะและโดดเด่นในสมัยอยุธยา

อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด
_____________________________________
อยุธยาตอนต้นสร้างสถูปเจดีย์แบบใด

*ขอขอบคุณรูปภาพจาก
http://btgsf1.fsanook.com/weblog/img/url/btgsf1.fsanook.com/album/files/jpg/227/1137285.jpg%3Br:width=415,height=415%3Bfile:49fd2e.jpg

แหล่งอ้างอิง: 

หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖