กินอะไรป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

โรคที่มักจะมากับความชื้นที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือ “โรคเชื้อราในช่องคลอด” นั่นเอง ใครเคยเป็นโรคนี้จะเข้าใจ ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่ได้อันตรายอะไรมากมาย แต่สร้างความลำบาก เพราะมันจะทำให้เกิดอาการคันในบริเวณนั้นมาก จะเกาต่อหน้าคนอื่นก็ไม่ได้ บางคนก็ใช้วิธี ขยับอย่างกระมิดกระเมี้ยน หนักเข้าก็ต้องหาที่หลบหรือไม่ก็เข้าห้องน้ำกันไป

อาการที่พบบ่อยของโรคนี้จะมีอาการคัน แสบ ระคายเคืองช่องคลอด มีตกขาวเป็นก้อนคล้ายแป้งเปียก หรือมีผื่นบริเวณอวัยวะเพศ

ส่วนใหญ่แล้ว เชื้อราในช่องคลอดมักตอบสนองต่อยาได้ดี ใช้ยาเหน็บ หรือยากิน ก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่จะมีประมาณ 5% ของคนที่เป็นโรคนี้ ที่จะมีโรคกลับมาเป็นใหม่ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ

ในทางการแพทย์ หากเป็นเชื้อราในช่องคลอดซ้ำๆ มากกว่า 4ครั้ง/ปี จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง และใช้ยานานกว่าปกติด้วย

หากคุณเป็นผู้หญิงแล้วเคยมีปัญหาเรื่องอาการคันในที่ๆ ไม่อยากบอกใคร อาจเป็นอาการเริ่มต้นแรกๆ ของเชื้อราในช่องคลอดได้นะคะ โรคนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่มีอันตรายรุนแรง แต่ก็สามารถสร้างความรบกวนให้กับคุณผู้หญิงได้ วันนี้เรามีวิธีป้องกันที่จะช่วยให้คุณผู้หญิงไม่ต้องเสี่ยงกับโรคนี้มาบอกค่ะ

  • รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ตหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เพราะจะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด
  • เลือกสวมใส่กระโปรง กางเกง หรือกางเกงชั้นที่ไม่รัดแน่นมากเกินไป เลือกเนื้อผ้าที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการอับชื้น
  • ในช่วงมีประจำเดือนควรมีการเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่อ่อนๆ ล้างภายนอกเท่านั้นก็เพียงพอ
  • ควรทำความสะอาดจากช่องคลอดไปทางทวารหนัก เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนัก

การติดเชื้อราในช่องคลอดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ การป้องกันโรคจึงเป็นการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดของโรคนะคะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกสุขภาพสตรี
โทร. 0 2265 7777 

โปรดทราบ: ต้องมี JavaScript สำหรับเนื้อหานี้

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 0]

Facebook

Line

https://www.sexvibe.video/

กินอะไรป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

เรายึดมั่นในหลักการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลและติดตามผลการรักษาจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยของการอักเสบในช่องคลอด โดยผู้หญิง 3 ใน 4 คนเคยติดเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตและหลายคนติดเชื้ออย่างน้อยสองครั้ง ภาวะเชื้อราในช่องคลอดทำให้เกิดอาการบวม

คันและระคายเคือง รวมถึงมีตกขาวออกจากช่องคลอดได้

ภาวะเชื้อราในช่องคลอดไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อรา เชื้อราที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อ Candida Albicans รองลงมาคือเชื้อ Candida Grabata เพราะเป็นเชื้อที่สามารถยึดติดกับเซลล์บุช่องคลอดได้ดี

กินอะไรป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

อาการของภาวะเชื้อราในช่องคลอด

อาการของภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง บางคนอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆถึงแม้จะติดเชื้อก็ตาม อาการที่พบได้มีดังนี้

- คันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด

- มีอาการบวมบริเวณอวัยวะเพศ

- รู้สึกแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ

- มีผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ

- มีตกขาวเป็นสีขาวครีมข้น ไม่มีกลิ่น บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นน้ำได้เช่นกัน

- กรณีที่มีการติดเชื้อรา 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี จะจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “ภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อน” ซึ่งมักมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น  กำลังตั้งครรภ์, เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุม, มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำเพราะโรคบางชนิด เช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี, บ่อยครั้งมักจะเป็นเชื้อราสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ Candida Albicans

- กรณีติดเชื้อราในช่องคลอด 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี แพทย์อาจต้องให้ยาต้านเชื้อรานานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค นอกจากนี้การติดเชื้อราบ่อยครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ได้

กินอะไรป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยภาวะเชื้อราในช่องคลอด

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น เคยมีประวัติเกิดการติดเชื้อราหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ ตรวจภายในและตรวจดูความผิดปกติของลักษณะภายนอก หลังจากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา

- การใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งทำลายเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด

- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น จากการตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณ ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงหรือการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด

- โรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุม ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดมากขึ้น

- ระบบภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้รับการบำบัดด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

กินอะไรป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

-  เมื่อมีอาการตกขาว,คันช่องคลอด ควรพบแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่านั้นและต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างออกไป เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

- หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยามารักษาเอง

ป้องกันได้อย่างไร

- การปฏิบัติตัวตามหลักสุขอนามัยช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดได้

- รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สมดุล

- รับประทานโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่มีแลคโตบาซิลลัส ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่างในช่องคลอด

- สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินินหรือผ้าไหม รวมถึงสวมกางเกงและกางเกงชั้นในที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป

ทำยังไงไม่ให้เป็นเชื้อราในช่องคลอด

ป้องกันได้อย่างไร.
รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สมดุล.
รับประทานโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่มีแลคโตบาซิลลัส ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่างในช่องคลอด.
สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินินหรือผ้าไหม รวมถึงสวมกางเกงและกางเกงชั้นในที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป.

เป็นเชื้อราในช่องคลอดควรกินยาอะไร

โดยวิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอดให้หายขาดนั้น คุณสามารถใช้ยารักษาจากภายในที่มีตัวยาโคลไทรมาโซล หรือ ฟลูโคนาโซล ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ ได้แก่ ยาเม็ดรับประทาน ยาสอดเชื้อราในช่องคลอด (ยาสอดช่องคลอด) หรือ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยรักษาการติดเชื้อของคุณได้แต่ผู้ป่วยแต่ละคนจะเหมาะกับวิธีที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครีมทา ...

การติดเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไร

การอักเสบในช่องคลอดจากเชื้อราพบได้น้อยในเด็กหญิงก่อนมีวัยประจำเดือน และสตรีวัยหมดประจำเดือน ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนคือ ปริมาณไกลโคเจนในสารน้ำในช่องคลอดและความชื้น ดังนั้นภาวะนี้จึงพบได้มากในสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภูมิประเทศที่อาการร้อนและมีความชื้นสูง ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังพบบ่อยใน ...

เชื้อราในช่องคลอดเป็นยังไง

อาการของโรคเชื้อราในช่องคลอด มีอาการแสบร้อน โดยเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์หรือการปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ อาจมีลักษณะสีขาวข้นคล้ายนมบูด เป็นน้ำใส หรือขาวข้นจับตัวเป็นก้อน บริเวณปากช่องคลอดมีอาการบวม แดง เกิดผื่นแดงทั้งภายในและภายนอกช่องคลอด อาจเกิดการกระจายไปทั่วบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือต้นขา