การใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมควรทำอย่างไร

อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ใหญ่คือ

ข้อที่ 1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

1.1 ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย
(1) ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
(2) ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
(3) ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
(4) เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
(5) ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติดต่อ

1.2 ด้านช่องทางการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นในช่วงเวลาที่มีการใช้บริการบนระบบเครือข่ายจำนวนมาก
(1) ไม่ควรเข้าเว็บสตรีมมิ่งเช่น YouTube
(2) ไม่ควรโหลดบิททอเร้นท์ (Bit Torrent)
(3) ไม่ควรเล่นเกมส์ออนไลน์

1.3 ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย
(1) เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
(2) เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
(3) ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

1.4 ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้
(1) ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
(2) ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
(3) ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
(4) หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
(5) ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
(6) ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่

1.5 ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ
(1) ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
(2) ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น

ข้อที่ 2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย

อินเทอร์เน็ตเหมือนดั่งโลกที่ไร้พรมแดน เราสื่อสารกันได้โดยที่ไม่ต้องเห็นหน้า ทำให้คนที่อยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้กัน และสามารถค้นคว้าทุกอย่างได้เพียงปลายนิ้ว จึงไม่แปลกเลยที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากกับคนทุกเพศ ทุกวัย ในสังคมไทยปัจจุบันซึ่งกำลังมุ่งสู่สังคมแบบดิจิทัลกล่าวคือ เราสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยี ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน และผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเข้าสู่สังคมดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมใช้เล่นโซเชียลมีเดียด้วยแล้ว ย่อมทำให้พฤติกรรมของเยาวชนในยุคนี้เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนที่เล่นของเล่น ออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ ข้างนอกซะส่วนใหญ่ ตอนนี้เด็ก ๆ อาจจะอยากจับไอแพด เล่นโทรศัพท์เพื่อคุยกับเล่นกับเพื่อนในไลน์ หรือเฟซบุ๊กมากกว่าแต่ก่อน

การใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมควรทำอย่างไร

ขอบคุณภาพจาก tirachardz

แม้ว่าบางทีเด็ก ๆ สมัยนี้อาจจะใช้เทคโนโลยีหรือเล่นอินเทอร์เน็ตเก่งกว่าผู้ใหญ่ แต่ในแง่ประสบการณ์นั้นยังถือว่าน้อยกว่า ทำให้บางครั้งอาจมีความเสี่ยงจากการเล่นอินเทอร์เน็ตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การชอปปิ้งออนไลน์มากจนเกินไป การติดเกมออนไลน์ การถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น จนก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ซึ่งมีงานวิจัยของ The University of Leeds มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ ที่ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,319 คน ที่มีช่วงอายุระหว่าง 16 - 51 ปี พบว่าโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์อย่างมากกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ติดอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป วันนี้เราเลยนำวิธีการสอนให้ลูกรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตมาฝากคุณพ่อ คุณแม่เพื่อนำไปปรับใช้ในการปลูกฝังให้ลูกรู้เท่าทันวิธีการใช้โซเชียลมีเดีย และเทคโนโลยีต่าง ๆ ว่าเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย และจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต

การใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมควรทำอย่างไร

ขอบคุณภาพจาก tirachardz

1.จำกัดเวลาที่ใช้ในการเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม ในเด็กเล็ก ๆ พ่อแม่ควรจำกัดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตของลูก โดยควรทำข้อตกลงกับลูกว่าให้เล่นวันละกี่ชั่วโมง พร้อมอธิบายเหตุผลกับลูกว่าที่จำกัดชั่วโมงการเล่นเพราะอะไร เช่น เล่นนานจะสายตาเสีย หรือทำการบ้านไม่เสร็จ เป็นต้น ตรงจุดนี้ถ้าลูกทำได้จะช่วยปลูกฝังให้เขามีระเบียบวินัย และรักษาสมดุลระหว่างชีวิตจริง และโลกออนไลน์ได้

2.ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต ทุกวันนี้มีมิจฉาชีพอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากมาย พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกระวังการอัพข้อมูลส่วนตัวลงในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน การเช็คอินว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน ที่อยู่ เบอร์โทรต่าง ๆ หรือการใช้ Wi-Fi สาธารณะกรอกข้อมูลส่วนตัว เพราะอาจทำให้มิจฉาชีพเข้ามาแฮ็กข้อมูลไปหาประโยชน์ได้ ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรศึกษา และให้ความรู้กับลูกในเรื่องนี้เพื่อเตรียมพร้อม และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

3. ก่อนโพสต์ และแชร์ควรไตร่ตรองให้ดีก่อน พ่อแม่ควรแนะนำถึงการโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น ให้ระวังคำหยาบ การกลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying) รวมถึงควรแนะนำให้ลูกระมัดระวังการแชร์ข้อมูลบนโซเชียล เนื่องจาก ถ้าแชร์ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ข้อมูลลามก อนาจาร อาจมีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรู้เรื่องพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ หรือลักษณะของข้อความที่เข้าข่าย Cyberbullying กับลูกคร่าว ๆ ด้วย

4.สอนลูกว่าไม่ควรบอก Username และ Password แก่ผู้อื่น เนื่องจาก Username และ Password จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของเราได้ พ่อแม่จึงควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรบอกข้อมูลเหล่านี้กับผู้อื่น และไม่ควรล็อกบัญชีโซเชียลมีเดียทิ้งไว้ในคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน และคอมที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจมีคนนำข้อมูลของเราไปทำเรื่องเสียหาย หรือใช้หลอกลวงผู้อื่นได้

5.สอนลูกเกี่ยวกับภัยบนอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ทุกวันนี้เราไม่รู้เลยว่าเมื่อเข้าไปในอินเทอร์เน็ตแล้วลูกจะเจอกับเนื้อหาแบบไหนบ้าง พ่อแม่จึงควรสอนให้ลูกรู้จักภัยอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น เช่น การโดนโกงเงินจากการชอปปิงออนไลน์ การโดนกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying) การโดนล่อลวงไปกระทำมิดีมิร้าย และโดยเฉพาะเว็บพนันออนไลน์ที่มักเด้งขึ้นมาให้เรากดเข้าไปเล่น พ่อแม่ต้องระวังให้มากเนื่องจากเด็กเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง อาจจะกดเข้าไปเล่นจนติดได้ 

6.ตรวจเช็คค่าใช้จ่ายในการเล่นอินเทอร์เน็ต  พ่อแม่ควรหมั่นเช็คค่าใช้จ่ายในการเล่นอินเทอร์เน็ตของลูกอยู่เสมอ เพราะลูกอาจจะเอาไปซื้อของออนไลน์ หรือเติมเกมโดยไม่ได้บอกทำให้เสียทรัพย์สินไปมากมาย ตรงจุดนี้พ่อแม่ต้องระมัดระวัง และคอยตรวจสอบการผูกบัตรเครดิตทิ้งไว้ หรือบัญชี Internet Banking ไว้ในโทรศัพท์ลูกด้วย เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังทำให้เด็ก ๆ ติดเป็นนิสัยซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริการจัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของตัวเองในอนาคต

การใช้อินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันเข้ามามีอิทธิพลต่อเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นพ่อแม่จึงควรรู้วิธีที่จะรับมือกับลูก และสอนให้ลูกรู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ เพื่อแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดกับเด็กจากการใช้อินเทอร์อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในอนาคตต่อไป 

การใช้อินเตอร์เน็ตที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร

วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย.
1. เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ ... .
2. เปิดการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของคุณไว้ ... .
3. เลือกเว็บเบราเซอร์ที่ปลอดภัย ... .
4. ตรวจสอบว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคุณมีความปลอดภัย ... .
5. ระวังสิ่งที่คุณดาวน์โหลด.

การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไรยกตัวอย่างน้อย 3 ข้อ

ข้อตกลงในการใช้งานอินเตอร์เน็ต.
ใช้ภาษาที่สุภาพและเหมาะสม 1.1 ไม่ใช้คำหยาบ ล้อเลียน หรือด่าทอผู้อื่น 1.2 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามพจนานุกรมและเหมาะสมกับคู่สนทนา.
ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม 2.1 ไม่เปิดเผยข้อมูลเท็จที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ... .
เคารพสิทธิและข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น.

การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งานควรปฏิบัติอย่างไร

* ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น * ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้

ข้อปฏิบัติของนักเรียนเมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คือข้อใด

ข้อปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ตและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ไม่ควรสร้างข้อความเท็จและส่งให้ผู้อื่น ควรสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้จักกาลเทศะ และไม่ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย ซึ่งบริการบนอินเทอร์เน็ตเป็นของส่วนรวม ทุกคนควรปฏิบัติในการเข้าใช้บริการให้ถูกต้องและเหมาะสม