การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

1.ประโยชน์และความสำคัญของการซ่อมแซม ดัดแปลงเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

1.1ประหยัดรายจ่ายและทรัพยากรของตนเองและครอบครัว

1.2ยืดอายุการใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

1.3ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

1.4ส่งเสริมความมีน้ำใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน

1.5สร้างเสริมความอดทนความมีระเบียบวินัยในการทำงานให้กับสมาชิกในครอบครัว

2.หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

2.1เลือกวิธีให้เหมาะสมกับรอยชำรุดและรูปแบบที่ต้องการดัดแปลง

2.2ออกแบบดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้

2.3เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับรอยชำรุดและแบบที่ต้องการดัดแปลง

2.4เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมก่อนปฏิบัติ

2.5คำนึงถึงความคุ้มค่าของเวลาแรงงานและทรัพยากรที่เสียไปกับการซ่อมแซมและดัดแปลง

3.เครื่องมือในการดัดแปลงซ่อมแซมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

3.1กรรไกร

กรรไกรเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในการตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างน้อยควรมีไว้ประมาณ 2 เล่มไว้สำหรับตัดกระดาษและตัดผ้า

3.2เข็มจักรเข็มมือและเข็มหมุด

เข็มที่ใช้เย็บมือมีหลายขนาดควรเลือกใช้ดังนี้คือเบอร์ 7ใช้เย็บผ้าหนาและใช้ติด

กระดุมเบอร์ 8ใช้งานทั่วไปเบอร์ 9ใช้งานการฝีมือเช่นถักไหมและสอยบาง ๆ

3.3สายวัด

สายวัดตัวที่ดีต้องไม่หด ไม่ยืด มีมาตราส่วนเป็นนิ้วและเซนติเมตรชัดเจนปลายสาย

วัดหุ้มด้วยโลหะเมื่อเลิกใช้แล้วควรม้วนเก็บให้เรียบร้อย

3.4วัสดุสำหรับทำเครื่องหมายบนผ้า

เช่นดินสอดำชอล์กเขียนผ้าใช้สำหรับสร้างแบบลากเส้นหรือทำเครื่องหมายต่าง ๆ

บนเนื้อผ้า

3.5ที่เลาะผ้า

ใช้เลาะเส้นด้ายที่เป็นรอยเย็บ เพื่อแก้ไขการเย็บใหม่

3.6ลูกกลิ้งชนิดฟันเลื่อย

ใช้กลิ้งกระดาษกดรอยให้สีกระดาษติดผ้าชนิดปลายแหลมและคมใช้กลิ้งให้ทะลุผ้า

3.7กระดาษกดรอย

เป็นกระดาษสีที่อาบด้วยเทียนไข ใช้กดแบบลงบนผ้า ควรใช้สีใกล้เคียงกับสีของผ้า

กระดาษกดรอยสีขาวซักทำความสะอาดได้ง่ายกว่าสีอื่น ๆ

3.8ด้าย

มีให้เลือกหลากหลายเช่นขาวดำน้ำเงินและแดงฯลฯ

3.9จักร

เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าดัดแปลงและซ่อมแซมเครื่องแต่งกายสามารถทำได้

รวดเร็วสะดวกประณีตช่วยทุ่นแรงและเวลา
การเนา
การเนาเป็นวิธีการเบื้องต้นของการเย็บผ้าก่อนที่จะสอย
หรือเย็บตะเข็บอื่น ๆ เพื่อยึดผ้าให้ติดกันชั่วคราว และเป็นเครื่องหมาย
สำหรับการเย็บในขั้นตอนต่อไป ทำให้เย็บได้ง่าย เมื่อเย็บผ้าเสร็จแล้ว
ก็จะเลาะด้ายที่เนาออก
วิธีการเนาให้แทงเข็มขั้นลงธรรมดาตามแนวผ้าที่ต้องการเย็บ
ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ตะเข็บเนาเท่า ลักษณะฝีเข็มจะเท่ากันตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยแต่ละฝีเข็มจะถี่และห่างสลับกันประมาณ ¼ นิ้ว
หรือ ½ นิ้ว
1.2ตะเข็บเนาไม่เท่า ลักษณะฝีเข็มจะถี่และห่างสลับกัน
โดยฝีเข็มห่างอยู่ด้านหน้าและมีความยาวประมาณ ¼ นิ้ว
ฝีเข็มถี่อยู่ด้านหลัง ซึ่งมีความยาวประมาณ ½ นิ้ว
ฝีเข็มห่างช่วยให้เห็นแนวยาวที่ง่ายต่อการเย็บ
ส่วนฝีเข็มถี่จะช่วยตรึงผ้าให้แน่น

2.การด้น
การด้นเป็นตะเข็บที่คงทนมีระยะฝีเข็มถี่สามารถใช้แทนตะเข็บที่เย็บได้
มี 2 แบบ คือ
ด้นตะลุย เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ด้นปล่อย มีลักษณะฝีเข็มเหมือน
กับตะเข็บเนาเท่าแต่มีระยะถี่กว่าประมาณ 5 ฝีเข็มต่อ 1 นิ้ว
สำหรับ ผ้าบางหรือผ้าที่ค่อนข้างนิ่มสามารถแทงเข็มขึ้นลง 3 – 4 ครั้ง
ติดต่อกันถึงค่อยดึงเข็มขึ้นครั้งหนึ่ง เหมาะสำหรับการเย็บตกแต่ง
หรือทำจีบรูด
การด้นอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ด้นถอยหลัง ลักษณะฝีเข็มเหมือน
ตะเข็บที่เย็บด้วยจักร มักจะใช้เย็บตะเข็บข้างเนื่องจากมีความทนทาน
ในการเย็บ เมื่อแทงเข็มลงบนผ้าแล้วให้เข็มแทงขึ้นด้านตรงข้าม
กับมือที่จับเข็ม ดึงด้ายให้ตึงแล้วแทงเข็มย้อนกลับมาที่จุดกึ่งกลาง
ระหว่างฝีเข็มเดิม หรือตรงรอยฝีเข็มเดิม

3.การสอย
การสอยจะทำให้มองไม่เห็นด้ายปรากฏภายนอกเด่นชัดจึงมักใช้
ในการเย็บปกเสื้อ สาบเสื้อ ขอบกระโปรงและกางเกง
หรือสอยริมผ้าเพื่อกันลุ่ย เช่น ชายกระโปรง ชายเสื้อ ขากางเกง เป็นต้น
การสอยมีทั้ง สอยซ่อนด้าย ซึ่งนิยมใช้เย็บผ้าพับริม
เช่น ชายเสื้อ ชายกระโปรง ขากางเกง ก่อนจึงลงมือเย็บ
จะต้องพับริมผ้าให้เรียบแล้วเนาตรึงไว้ อาจนำไปรีดทับ
เพื่อให้ผ้าคงรูปยิ่งขึ้น จากนั้นจึงลงมือเย็บ โดยแทงเข็มสอดเข้าไป
ในรอยพับของผ้าประมาณ ¼ หรือ 1/8 นิ้ว แล้วแทงเข็มออกมา
จากรอยพับ ให้ปลายเข็มเกี่ยวที่ผ้าด้านนอกประมาณ 2 เส้นใยของผ้า
ดึงด้ายให้ตึงพอประมาณ แล้วแทงสอดเข้าไปให้รอยพับของผ้าใหม่
ทำเช่นนี้จนสุดริมผ้า

ข้อควรระวังคือ ในขณะที่เย็บไม่ควรดึงด้ายตึงจนเกินไป
เพราะจะทำให้ขอบผ้าย่น และหมั่นดึงขอบผ้าที่เย็บแล้วให้ตึงอยู่เสมอ

3.1 สอยพันริม ให้สอยเพื่อยึดขอบผ้าที่พับให้ติดกับผืนผ้าด้านหลัง
เป็นการสอยที่ไม่ซ่อน
ด้ายด้านหลัง ในการเย็บเมื่อพับริมผ้าเรียบร้อยแล้ว
ใช้เข็มแทงขึ้นเหนือขอบผ้าเล็กน้อย ดึงด้ายให้ตึงแล้ว
แทงเข็มลงใต้ขอบผ้าประมาณ 2 เส้นด้าย ให้อยู่ในแนวเฉียงเล็กน้อย
ต่อด้วยแทงเข็มเฉียงขึ้นที่เหนือขอบผ้าให้เท่ากับรอยเดิม
เย็บเช่นนี้ต่อไปจนเสร็จ

3.2 สอยสลับฟันปลา นิยมใช้เย็บตะเข็บที่ขอบแขนเสื้อ
เป็นการสอยอย่างหลวม ๆ แต่สามารถยึดผ้าได้ดี
ด้านนอกจะเห็นเป็นจุดด้ายเล็ก ๆ เรียงกันส่วนด้านในจะเป็นเส้นด้าย
เย็บไขว้กัน ด้านล่างของรอยพับจะเย็บไขว้แบบซ้ายทับขวา
ส่วนด้านที่อยู่บนขอบผ้าจะไขว้แบบขวาทับซ้าย

สิ่งใดควรคำนึงถึงอันดับแรกก่อนซ่อมแซมเสื้อผ้า

5. คำนึงถึงความคุ้มค่า สิ่งสำคัญที่ควรจะนำมาพิจารณาก่อนที่จะซ่อมแซมหรือดัดแปลงเสื้อผ้า คือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าชิ้นนั้น ๆ คุ้มค่ากับเวลา เงิน แรงงาน ที่ต้องเสียไปหรือไม่ ถ้านำเสื้อผ้าที่ซ่อมแล้วไปใส่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกใช้ ก็ไม่คุ้มค่า แต่ถ้านำไปใส่อีกนานนับปีถือว่าเป็นการคุ้มค่า นอกจากนี้ ...

ข้อใดคือประโยชน์ของการซ่อมแซมเสื้อผ้า

1. ประหยัดรายจ่ายและทรัพยากรของตนเองและครอบครัว 2. ยืดอายุการใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย 3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4. ส่งเสริมความมีน้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว 5. เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน 6. สร้างเสริมความอดทนความมีระเบียบวินัยในการทางานให้กับสมาชิกในครอบครัว

การซ่อมแซมเสื้อผ้าหมายถึงอะไร

เครื่องมือและอุปกรณ์สาหรับงานซ่อมแซมเสื้อผ้า วิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้า Page 3 ความหมายของการซ่อมแซมเสื้อผ้า การซ่อมแซมเสื้อผ้า หมายถึง การทาให้เสื้อผ้าที่ชารุดกลับมา มีสภาพที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด สามารถ นากลับมาสวมใส่ได้ต่อไป

ข้อควรคำนึงในการดัดแปลงและตกแต่งเสื้อผ้ามีอะไรบ้าง

๑. ออกแบบ ดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้ ๒. เลือกวิธีปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับรูปแบบงานที่ต้องการดัดแปลง ๓. เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับแบบที่ต้องการดัดแปลง ๔. เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมก่อนปฏิบัติงาน