รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

วันปิยมหาราช


วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 และบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
1. การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่ามีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมากและลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้วต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระราชหฤทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จแม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก

2. การปฏิรูประบบราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกันจากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

3. การสาธารณูปโภค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานและถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคมและส่งเสริมการเพาะปลูก การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลังต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 การไฟฟ้าพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2433 การไปรษณีย์โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลขซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

4. การเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จฯ

5. การศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

6. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์

รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

ความจำเป็นในการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซีย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีมูลเหตุจากหลายด้าน ทั้งด้านความมั่นคง ความสัมพันธ์ส่วนพระองค์และการนำวิทยาการของตะวันตกมาพัฒนาประเทศ โดยความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดในช่วงเวลานั้นคือความจำเป็นด้านความมั่นคงที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตยให้แก่มหาอำนาจตะวันตก 

จึงต้องทรงใช้ความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่ทรงได้วางรากฐานเอาไว้ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิช (Nikolas Aleksandrovich) แห่งจักรวรรดิรัสเซียมาช่วยลดกระแสกดดันของมหาอำนาจนักล่าอาณานิคม ส่วนความจำเป็นด้านการนำวิทยาการมาพัฒนาประเทศนั้นในกรณีของการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียเป็นผลที่เกิดขึ้นในภายหลัง

นั้นได้เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436 หรือ ค.ศ.1893) จากการที่สยามถูกอังกฤษและฝรั่งเศสกดดันให้สยามต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับมหาอำนาจเพื่อที่มหาอำนาจจะใช้เป็นเหตุผลที่จะสามารถยึดครองดินแดนของสยาม จากความกดดันดังกล่าวทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยนำรัสเซียเข้ามาคานอำนาจกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเริ่มต้นจากการใช้ความพยายามในการที่จะทำข้อตกลงว่าด้วยการค้ากับรัสเซียและการเชิญมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซียเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรสยาม ถึงแม้ว่าความพยายามแรกจะไม่ได้รับการตอบสนองและความพยายามที่สองก็ถูกขัดขวางทุกวิถีทางจากอังกฤษมหาอำนาจในภูมิภาค "ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในสยาม เมื่อรู้ว่าซาเรวิตช์จะมาเยือนกรุงเทพฯ ถึงกับปล่อยข่าวโคมลอยในหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีอหิวาตกโรคระบาดอยู่ที่นั่น เพื่อปลุกปั่นว่าไม่ปลอดภัยที่จะมากรุงเทพฯ"

การทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการต้อนรับพระราชอาคันตุกะอย่างสมพระเกียรติเพื่อให้ทรงซาบซึ้งในพระราชไมตรีนั้นก็ประสบความสำเร็จตามพระราชประสงค์ในระดับหนึ่ง ซึ่งนับเป็นความจำเป็นที่สยามพึงปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลานั้น และเป็นพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริงที่ทรงมีวิเทโศบายดังกล่าว ตามบทบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "เปนความยินดีที่เหนได้แน่ว่า พระราชทรัพย์และพระราชอุตสาหะที่ได้ออกไปในการรับซารวิตช์ไม่ขาดทุนเลย"

รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

จากรายงานของอา. แอ็ม วืยวอดเซฟ กงสุลใหญ่รัสเซียประจำสิงคโปร์ถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7-13 มีนาคม พ.ศ.1891 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1891  มีความตอนหนึ่งว่า (การเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส) 

"ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของชาวอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศอังกฤษพยายามที่จะให้อิทธิพลของประเทศอื่นๆ หมดไปจากภูมิภาคตะวันออก" 

และในรายงานถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการที่สยามขอทำสนธิสัญญาทางการค้ากับรัสเซียเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1891 นายอา.แอ็ม วืยวอดเซฟ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ทางรัฐบาลรัสเซียว่า 

"สยามเป็นฝ่ายที่จะได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงเพียงฝ่ายเดียว และการที่สยามต้องการทำสนธิสัญญาก็เพียงเพื่อให้มีผู้ปกป้องคุ้มครองเมื่อเกิดความจำเป็นเท่านั้น" 

และในรายงานลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1891 นายอา.แอ็ม วืยวอดเซฟ ได้กล่าวถึงภัยของการล่าอาณานิคมที่กำลังคุกคามสยามว่า 

"ในรายงานของข้าพเจ้าฉบับหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รายงานถึงสถานการณ์ในราชอาณาจักรสยาม ความสำเร็จของสยามที่เกิดจากการพัฒนาที่ถูกต้อง ความก้าวหน้าด้านการเงิน การคลังตลอดจนความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับบนเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งปวงขึ้นอยู่กับการรักษาสันติภาพ แต่สันติภาพดังกล่าวได้ถูกคุกคามจากฝ่ายฝรั่งเศสอย่างรุนแรง"

รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันเจตนารมณ์ของการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียคือบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงบันทึกไว้ในปี พ.ศ.2434 ความว่า

"มูลเหตุของการเดินทางครั้งนี้ก็มีเหตุผลทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญของการเสด็จฯ ซึ่งจะพลิกโฉมการเมืองของประเทศสยามไปสู่ 'ทิศทางใหม่' ที่มีรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนับจากนี้ไป"

เหตุผลต่อเนื่องซึ่งในทางปฏิบัติต้องดำเนินการเป็นเหตุผลหลักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้ในการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียคือเหตุผลด้านความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ โดยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นดังกล่าวได้เริ่มขึ้นจากการถวายการรับเสด็จการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติซึ่งทำให้เกิดความผูกพันทางพระราชหฤทัย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสจักรวรรดิรัสเซีย ก็ได้รับการถวายการตอนรับอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติเช่นกัน อีกทั้งยังได้กระชับความสัมพันธ์ส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เห็นได้จากพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถความว่า  สมเด็จพระพันปีหลวงของรัสเซีย (พระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิ) ทรงรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชบุตร และจากจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 บันทึกโดย พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ได้กล่าวถึงความมีพระราชหฤทัยที่ผูกพันของสองราชวงศ์ซึ่งได้ปราฏขึ้นอย่างชัดเจน

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทูลลาพระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิว่า     "...พอได้เวลาที่จะเสด็จฯ กลับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทูลลาเอมเปรสพระชนนี เอมเปรสพระชนนีทรงจุมพิตพระปรางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วพระราชทานพระปรางให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุมพิตและพระราชทานพรแสดงพระราชหฤทัยเมตตาอาลัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างว่าเป็นพระราชบุตร มิได้มีความรังเกียจอย่างใดเลย เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชทูลลา ก็ทรงจูบพระราชทานพรฉันว่าเป็นพระราชนัดดาอย่างสนิทเสร็จแล้ว ส่วนพระราชโอรสพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ เมื่อทูลลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงจุมพิตสั่งเสียเสมอด้วยพระญาติอันสนิท..."

ส่วนความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระจักรพรรดินั้นได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่การรับเสด็จที่ยิ่งใหญ่ การถวายพระเกียรติตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ในรัสเซีย นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่ทั้งสองพระองค์จะทรงลาจากกันได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของทั้งสองพระองค์ดังบันทึกของพระยาศรีสหเทพ ที่ว่า 

รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

"...ทั้งสองพระองค์ ทรงพระอาลัยในการที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินจากกัน โดยอาการที่ปรากฏเห็นได้ถนัดทั้งสองพระองค์ จึงได้ทรงประทับสั่งสนทนาอยู่อีกกึ่งชั่วโมง แล้วจำพระทัยต้องทูลลากัน ทรงกอดรัดจุมพิตและมีพระราชดำรัสสั่งเสียเป็นอเนกประการ สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงรัสเซียยังให้ชักธงเครื่องหมายถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสำราญในระยะทางอีกครั้งหนึ่ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นายเรือพระที่นั่งโปลาสะตาร์ชักธงขึ้นเสาหมายความตอบขอบพระราชหฤทัย..."

สำหรับเหตุผลในการเจริญพระราชไมตรีที่มาจากความต้องพัฒนาประเทศนั้นเกิดจากพระปรีชาญาณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงต้องการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงมีความจำเป็นที่สยามต้องรับศิลปวิทยาการจากประเทศที่ยอมรับกันว่ามีความเจริญแล้วมาสู่ประเทศ

จากจุดเริ่มต้นจากการที่ได้ว่าจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการในหน้าที่ต่างๆ เป็นการส่งนักเรียนไทยออกไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อให้กลับมาปฏิบัติราชการแทนชาวต่างประเทศ ดังที่ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "นักเรียนนอก" ว่า ประเทศไทยได้ "ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์"  ด้วยวิธีการส่งนักเรียนไทยออกไปศึกษาวิชาในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาล แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะ "นักเรียนนอก" ที่เกิดจากการลงทุนดังกล่าวในระหว่างเวลาประมาณ 70 ปี  ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 จนกระทั้งถึงสงครามแปซิฟิกจำนวนประมาณ 1,300 คน ได้เป็นกำลังสำคัญในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความทันสมัย ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการรักษาเอกราชและอธิปไตยของบ้านเมืองตลอดเวลาดังกล่าว สำหรับนักเรียนไทยที่ได้ไปศึกษาในประเทศรัสเซียในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นจากข้อมูลของ ดร.วิชิตวงศ์ ได้กล่าวไว้ว่ามี 20 คนโดยในปี ค.ศ.1898 ( พ.ศ.2441) ได้มีการส่งนักเรียนไทยรุ่นแรกเข้าไปเรียนในรัสเซีย นักเรียนไทยกลุ่มนี้คัดเลือกจากนักเรียนไทยในอังกฤษประกอบด้วยพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ และนักเรียนทุน นายพุ่ม สาคร อีกทั้งได้ส่งนายนกยูง วิเศษกุล (พระยาสุรินทราชา) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการส่งไปศึกษาวิชาครูในประเทศอังกฤษให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ รวมทั้งการถวายพระอักษรภาษาไทย ("เป็นผู้ใหญ่ดูแลการในพระองค์") ซึ่งก็ต้องศึกษาภาษารัสเซียด้วย 

และเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงเป็นพระราชโอรสซึ่งทรงฐานันดรศักดิ์ต่อไปจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังนั้นระหว่างที่ประทับอยู่ที่รัสเซียจึงต้องมีราชองครักษ์ประจำพระองค์ด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งให้ร้อยโทหลวงสุรยุทธโยธาหาร (ชื่น ภัคดีกุล) ให้ไปทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้สมรสกับสุภาพสตรีรัสเซียระหว่างทำหน้าที่และได้นำบุตรและภรรยากลับมาเมืองไทย.
------------
อ้างอิง: หอจดหมายเหตุการเมืองระหว่างประเทศ จักรวรรดิรัสเซีย หมวดญี่ปุ่น