หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

หัวหน้าแบบไหน…..ที่ลูกน้องไม่ชอบ

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

หัวหน้าแบบไหน…..ที่ลูกน้องไม่ชอบ
        “หัวหน้า” คำนี้เป็นคำที่มีความหมายมากไม่ว่าจะเป็นในการเรียน หลายคนก็เคยเป็น “หัวหน้าห้อง”ในการเล่นกีฬา หรือดนตรี หลายคนก็เคยเป็น “หัวหน้าทีม”ในการทำงาน เมื่อเราทำงานเรามักเริ่มจากบทบาทของ “ลูกน้อง”แต่เมื่อถึงจุดนึง เมื่อความรู้ ประสบการณ์และได้รับโอกาส เราก็จะเติบโตขึ้นเป็น “หัวหน้างาน” 
        “Leadership” หรือความเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่พูดง่าย แต่ทำไม่ง่ายหลายคนเป็นหัวหน้าที่ลูกน้อง รัก เคารพ และทุกคนอยากทำงานด้วยแต่หลายคนกลับเป็นหัวหน้าที่……ลูกน้องไม่ชอบ ไม่อยากทำงานด้วยเชื่อมั้ย? หัวหน้าบางคนไม่รู้ตัว ว่าทำไมลูกน้องถึงไม่อยากทำงานด้วย
        Key Solutions Training ขอยกตัวอย่าง หัวหน้า 5 แบบที่ลูกน้องไม่ชอบ1 คิดว่าตัวเองถูกเสมอ ไม่ฟังใคร2 โตแต่ตำแหน่ง วิธีคิดแบบเด็ก3 เอาแต่สั่ง สั่งและสั่งอย่างเดียว4 บ้าอำนาจและตำแหน่งที่เป็นอยู่5 เหยีบย่ำ ซ้ำเติมเมื่อลูกน้องทำผิด มาเจาะลึกกันหน่อย

        1 คิดว่าตัวเองถูกเสมอ ไม่ฟังใครหัวหน้าแบบนี้ ยึดติดกับ ego ของตัวเองมากจนเกินไปเมื่อคุณเอาแต่ “สั่ง” แต่ไม่ “ฟัง” คุณจะไม่รู้อะไรเพิ่มเลยคุณจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะลูกน้องก็จะไม่พูด ไม่เสนออะไรเพราะเสนอไป คุณก็ไม่ฟัง เสนอไป คุณก็คิดว่าตัวเองถูก ลูกน้องผิด
        2 โตแต่ตำแหน่ง วิธีคิดแบบเด็กหัวหน้าแบบนี้ ลูกน้องไม่เชื่อถือ ไม่เชื่อฟังเขารู้สึกว่า คุณ……นำเขาไม่ได้ คุณ…..ไม่มีความสามารถพอคุณจะทำงานแบบวุ่นวาย เพราะคุณไม่สามารถคุมลูกน้องของคุณได้ไม่สามารถทำตามนโยบาย และเป้าหมายที่วางไว้ได้ เพราะเขาไม่ฟังคุณ
        3 เอาแต่สั่ง สั่งและสั่งอย่างเดียวหัวหน้าแบบนี้ เป็นหัวหน้าแบบล้าสมัย โบราณมากๆกระจายงานไม่เป็น ตัวเองต้องบริหารจัดการเองทุกอย่างปัญหาจะมารวมอยู่ที่ตัวคุณเองทั้งหมด ลูกน้องก็รอรับคำสั่งเมื่อคุณสั่ง งานอาจจะสำเร็จ แต่ถ้าคุณไม่สั่ง ไม่มีใครทำแน่นอน
        4 บ้าอำนาจและตำแหน่งที่เป็นอยู่หัวหน้าแบบนี้ เป็นคนไม่เข้าใจชีวิตคุณได้ตำแหน่ง มันคือ บทบาทสมมุติอำนาจและตำแหน่งที่มี วันนึงมันก็เปลี่ยนได้ลูกน้องจะเชื่อฟังคุณเมื่ออยู่ตรงหน้า แต่จะนินทาคุณลับหลัง
        5 เหยีบย่ำ ซ้ำเติมเมื่อลูกน้องทำผิดขอร้องนะ อย่าเป็นหัวหน้าแบบนี้นะครับ คำว่า “ลูกน้อง” คือ เขาเป็นเหมือน “ลูก” เป็นเหมือน “น้อง”เราต้องสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้กำลังใจและให้โอกาสคน


        ไม่ว่าตอนนี้คุณจะเป็น “หัวหน้า” หรือเป็น “ลูกน้อง”คำว่า “ใจเขา ใจเรา” สำคัญมากที่สุด ตอนเป็นลูกน้อง เรายังอยากมีหัวหน้าที่ดีตอนเป็นหัวหน้า เราก็ควรเป็นหัวหน้าที่ดี
“Leadership Skills ” หรือทักษะความเป็นผู้นำเป็นส่ิงที่เราต้องพัฒนาทักษะหัวหน้างานที่ดี นอกจาก “เก่งงาน” แล้ว คุณจะต้อง “เก่งคน” ด้วยทักษะเหล่านี้เมื่อเราพัฒนา เราจะทำมันได้ดีขึ้น เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

เพราะการทำงานคืออีกสังคมที่เราจะต้องอยู่ไปอย่างน้อยก็ตลอดชีวิต ดังนั้นการปฏิบัติตัวให้คนในที่ทำงานเข้าใจ และทำงานด้วยกันอย่างสงบสุขนั้นจึงเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ควรจะมีสกิลพื้นฐานเหล่านี้ติดตัวไว้ ยิ่งในวันที่เราเติบโตไปเป็นหัวหน้าคน การปฏิบัติตัวก็จะยิ่งต้องทำตัวให้น่ารักขึ้นเพื่อนที่การทำงานจะได้ราบรื่น ลูกน้องรัก

วิธีการปฏิบัติเป็นหัวหน้าที่ดีแต่ละคนก็มีเทคนิคที่ต่างกัน แต่วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวเป็นหัวหน้าที่ดีในแบบที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไรดี

ลงมือทำให้เห็น

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

การลงมือทำให้ทุกคนเห็นนั้น เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดกว่าการไปบอกใครว่า นี่ๆ ทำแบบนี้สิแล้วจะดี แต่ความเป็นจริงแล้ว คนที่เป็นหัวหน้านี่แหละทำตามให้เห็นไปเลยถ้าอยากจะให้ลูกน้องทำอะไรง่ายกว่า

ใจดีแต่ไม่ตามใจ

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

ทุกคนล้วนชอบคนที่ใจดีทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานในระดับไหน แต่ความใจดีนั้นไม่ได้หมายถึงการยอมตามใจลูกน้องไปซะทุกอย่าง น้องบอกทำแบบนี้ได้ไหม เราบอกได้เลยๆ อย่างเดียวเพียงเพราะกลัวว่าน้องจะเสียใจ

ซึ่งจริงๆ แล้วบางอย่างอาจจะไม่ดีต่องานเท่าไหน การทำแบบนี้ลูกน้องอาจจะรัก แต่เจ้านายจะมองว่าเราเป็นหัวหน้าที่ไม่สามารถบอกน้องๆ ได้ว่าอันไหนควรทำ อันไหนไม่ควร

มีเหตุมีผล

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

หัวหน้าที่ไม่มีใครชอบเลยคือหัวหน้าที่ยึดความคิดเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ ใครพูดอะไร หรือเสนอไอเดียอะไรมา ถ้าหัวหน้ารู้สึกว่าไม่คุ้นเคย ไม่เข้าใจ จะค้านทันทีทั้งที่ยังไม่เคยได้ศึกษาหรือฟังคำอธิบายเพราะยึดชุดความคิดของตัวเองเป็นหลัก

หัวหน้าแบบนี้จะทำให้ลูกน้องไม่ยอมเข้าหา ไม่กล้าคุยด้วย และไม่กล้าเสนอไอเดียอะไรใหม่ๆ เลย ท้ายที่สุดแล้วงานก็ออกมาแย่

เป็นกลางกับทุกคน

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

ความเป็นกลางในที่ทำงานนั้นหมายถึงการให้ความสนใจกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกับ ไม่ลำเอียงไปทางคนใดคนหนึ่ง หรือในทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจอะไรก็ตาม ควรเอาความเป็นกลางเป็นที่ตั้ง อย่าเอาความสนิทเป็นที่ตั้ง เพราะถ้าคนเป็นหัวหน้าเอียงไปทางคนใดคนหนึ่ง ปัญหาจะตามมา แต่ถ้าเราเป็นกลางในทุกเรื่องปัญหานี้จะไม่เกิด

ควบคุมอารมณ์เป็น

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

การคุมอารมณ์คือคุณสมบัติพื้นฐานของหัวหน้าที่ดี เพราะไม่มีลูกน้องคนไหนที่อยากจะเจอหัวหน้าที่คุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ คนที่ทำงานด้วยจะกดดันมากๆ และแทบจะไม่อยากเจอหน้าเลยล่ะ หรือหากคุณเป็นหัวหน้าแล้วลูกน้องทำผิดจริงๆ อย่าใส่อารมณ์กับลูกน้องแต่คุยด้วยเหตุผลว่าเราอยากจะได้อะไร ไม่ใช่มาถึงใส่เต็มที่เลย ลูกน้องหนีแน่นอน เข้าใจไหม ปั๊ดโธ่!

ไม่ตำหนิใครต่อหน้าคนอื่น

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

เวลาที่เราจะตำหนิใครจริงๆ สิ่งที่หัวหน้าที่มีสติควรทำคือตำหนิกันแค่สองคนในที่ที่ไม่ใครรับรู้ เพราะการตำหนิใครต่อหน้าที่ประชุมหรือคนเยอะนั้นไม่ได้ทำให้เขารู้สึกผิด แต่มันทำให้เขารู้สึกอายมากกว่า และจะไม่เคารพคุณด้วยเพราะทำแบบนี้เหมือนไม่เคารพกัน

ชมต่อหน้าทุกคน

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

หากลูกน้องของคุณทำดี สิ่งที่หัวหน้าควรทำคืนชื่นชมต่อหน้าคนอื่น เพื่อให้เขารู้สึกได้ภูมิใจในงานที่ทำ ยิ่งได้รับคำชมจากหัวหน้ากำลังใจก็มาเต็มเพราะเขารู้ว่าสิ่งที่ทำไปอย่างตั้งใจไม่เสียเปล่า หัวหน้ารับรู้ และทุกคนก็รับรู้

ปกป้องลูกน้อง

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

หน้าที่ของหัวหน้าที่ถูกต้องคือต้องพร้อมที่จะกางปีกปกป้องน้องๆ ทุกคนแม้ในวันที่เขาทำผิด ก็ต้องรู้ว่าควรจะทำอย่างไรให้ลูกน้องไม่รู้สึกว่าตัวเองโดนถีบตกน้ำคนเดียว แต่เราควรจะไปปกป้องลูกน้อง ส่วนผิดถูกอย่างไรเดี๋ยวไปแก้ไขกันที่หลัง

หัวหน้าก็ผิดได้

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

คนเป็นหัวหน้าต้องไม่ผิดพลาด แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสพลาด เมื่อพลาดแล้วหัวหน้าก็ต้องแสดงให้น้องๆ ได้เห็นว่าหัวหน้ามีการจัดการความผิดนั้นอย่างไร ซึ่งน้องๆ จะจดจำสิ่งที่เราทำแล้วจำไว้เป็นแบบอย่าง

คิดก่อนจะพูด

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

ก่อนจะพูดหรือแนะนำอะไรก็ตาม หัวหน้าที่ดีจะคิดก่อนแล้วค่อยเสนอความคิดเห็นหรือคำแนะนำออกไป ที่หัวหน้าควรคิดก่อนพูดก็เพราะสถานภาพเราคือผู้นำทีม การที่เรานำทีมไปโดยไม่คิดผลลัพธ์ก็ออกมาไม่ดีแน่นอน

ไม่เอาลูกน้องไปนินทา

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

การเอาเรื่องของลูกน้องไปเล่าในเชิงนินทานั้นไม่ใช่สิ่งที่หัวหน้าควรจะทำ เพราะจะทำให้ความรู้สึกเคารพในตัวหัวหน้าลดลงทันทีหากวันหนึ่งลูกน้องทราบเรื่อง อย่าหูเบา และปากไวคิดว่าการนินทาเป็นเรื่องสนุก

ไม่เอาเปรียบ

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

ลูกน้องทำงานหนักแค่ไหน หัวหน้าก็ควรที่จะทำงานหนักไปด้วยกัน อย่าปล่อยให้ลูกน้องทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ ขณะที่ตัวเองสนุกสนานกับการทำในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับงานเพราะคิดว่าลูกน้องมีไว้ให้สั่งงาน

ให้คำปรึกษาได้

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

การให้คำปรึกษาแก่ลูกน้องเป็นสิ่งหนึ่งที่หัวหน้าต้องมีศิลปะเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ถ้าน้องถามอย่างตั้งใจ ก็ควรให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง อย่าให้คำปรึกษาแบบขอไปทีเหมือนกับว่าธุระไม่ใช่ เพราะหากทำแบบนี้บ่อยๆ อนาคตน้องๆ จะไม่เปิดอกคุยกับคุณเลยแม้จะเป็นเรื่องงานก็ตาม

อย่าเอาหน้า

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

ในวันที่งานประสบความสำเร็จ หัวหน้าต้องยืนอยู่แถวหลัง แล้วให้ลูกน้องที่เป็นเจ้าของงานนั้นได้รับความดีความชอบไป อย่าดึงซีนเด่นกว่าคนทำงานเพราะคนที่เหนื่อยกับการทำงานควรได้รับผลตอบแทนมากกว่าหัวหน้า ตรงกันข้าม หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น หัวหน้าที่ดีต้องออกหน้ารับแทนลูกน้อง

พร้อมให้ความช่วยเหลือ

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

อย่าคิดว่าให้งานลูกน้องรับผิดชอบไปแล้ว หัวหน้าจะลอยตัวนั่งรอน้องเอางานมาส่งเฉยๆ แต่หัวหน้าควรจะพร้อมให้ความช่วยเหลือน้องๆ หากมีปัญหาไม่ควรปล่อยให้ลูกน้องลุยงานอย่างโดดเเดี่ยว เมื่อติดปัญหาหาทางออกไม่ได้งานก็อาจจะเสีย

ให้โอกาส

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

การให้โอกาสคนเป็นสิ่งที่หัวหน้าควรจะทำ และควรจะรู้ว่าใครเหมาะที่จะได้รับโอกาสนั้น ซึ่งการให้โอกาสนั้นเป็นสิ่งที่คนทำงานทุกคนอยากได้จากหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นโอกาสเล็ก หรือโอกาสใหญ่ก็ตาม เพราะมันแสดงให้เห็นว่า หัวหน้ามองเห็นศักยภาพของตัวเขา

เคารพเวลาส่วนตัว

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

นอกเวลางาน ไม่ใช่เวลาที่หัวหน้าจะคุยงานกับลูกน้อง หากเป็นงานด่วนจริงๆ หัวหน้าควรจะรับเรื่องเอาไว้ก่อน แล้วค่อยไปจัดการกันในเวลา ควรเข้าใจว่าวันหยุดหรือช่วงเวลาพักผ่อนของทุกคนมีค่า อย่าคิดว่า…มันเป็นเรื่องงาน ลูกน้องคุยได้เขาต้องพร้อมจะแก้ไขให้เราสิ

ตั้งใจฟัง

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

หัวหน้ามีหน้าที่ในการรับฟังความคิดเห็นของน้องทุกคน เพราะถ้าเขาไม่ปรึกษาหัวหน้า ก็ไม่รู้แล้วว่าจะไปปรึกษาใครต่อ และไม่ใช่แค่รับฟังอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องฟังอย่างตั้งใจเพื่อให้รู้ถึงสิ่งที่น้องต้องการด้วย เพื่อจะได้ช่วยน้องได้ถูกต้อง

รับปากต้องทำให้ได้ 

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารับปากไปแล้วสิ่งที่หัวหน้าต้องทำคือจดจำให้ได้ว่าเคยสัญญาอะไรกับลูกน้องไว้แล้วต้องทำให้ได้ อย่าพูดไปส่งๆ ว่าเดี๋ยวจัดการให้นะ เดี๋ยวทำให้ เดี๋ยวตามให้ แล้วก็ปล่อยให้น้องๆ รอความหวัง สุดท้ายพอน้องทวงถามก็บอกว่าลืม ซึ่งไมใช่เรื่องดีเลย

เป็นหัวหน้าแค่ในเวลางาน

หัวหน้างานแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ

ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม พอเลิกงานแล้ว ถอดหัวโขนที่เป็นหัวหน้าทิ้งซะ ลูกน้องที่เห็นก็ไม่ใช่ลูกน้อง แต่เป็นพี่เป็นน้องกัน

ลูกน้องอยากได้อะไรจากหัวหน้า

1. สิ่งที่คาดหวังและเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ... .
2. การยอมรับและชื่นชม ... .
3. การสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ ... .
4. ความก้าวหน้าในอาชีพ ... .
5. ความเชื่อมั่นและไว้ใจ ... .
6. ความรับผิดชอบ ... .
7. ความเคารพจากหัวหน้า ... .
8. ความภูมิใจในงานที่ทำ.

หัวหน้าที่ดีควรปฏิบัติตัวต่อลูกน้องอย่างไร

เคารพเวลาส่วนตัว นอกเวลางาน ไม่ใช่เวลาที่หัวหน้าจะคุยงานกับลูกน้อง หากเป็นงานด่วนจริงๆ หัวหน้าควรจะรับเรื่องเอาไว้ก่อน แล้วค่อยไปจัดการกันในเวลา ควรเข้าใจว่าวันหยุดหรือช่วงเวลาพักผ่อนของทุกคนมีค่า อย่าคิดว่า… มันเป็นเรื่องงาน ลูกน้องคุยได้เขาต้องพร้อมจะแก้ไขให้เราสิ

ลูกน้องควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ลูกน้องแบบไหน ได้ใจหัวหน้า.
ทัศนคติดี คิดบวก ... .
Strong! ... .
เรียนรู้ไว ใส่ใจในงานที่ได้รับมอบหมาย ... .
มีความคิดสร้างสรรค์ ... .
มีความรับผิดชอบ ... .
รู้จักการทำงานเป็นทีม ... .
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ.

ลูกน้องแบบไหนดี

ลูกน้องแบบไหนโดนใจนายจ้าง.
1. มีทัศนคติเชิงบวก ... .
2. ตั้งใจทำงาน ... .
3. ขยัน อดทน มีวินัย ... .
5. ประสบการณ์แน่น ทักษะล้น ... .
7. มีความซื่อสัตย์ ... .
9. ตรงต่อเวลา ... .
10. ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี ... .
12. มีความคิดสร้างสรรค์.