แรงงานต่างด้าวห้ามทำงานอะไรบ้าง

แรงงานต่างด้าวห้ามทำงานอะไรบ้าง

11 ก.พ. รู้จัก 12 อาชีพที่คนต่างด้าวทำงานได้ ก่อนตัดสินใจจ้างแรงงาน

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากมองว่าจ่ายค่าแรงถูกกว่า ได้แรงงานที่มีความขยันขันแข็งมากกว่า และมีบางอาชีพที่แรงงานไทยไม่ต้องการทำ เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานขนของ เป็นต้น แม้ว่าแรงงานต่างด้าวจะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่างเหมือนกับคนไทย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ เพราะมีงานบางประเภทที่คนต่างด้าวทำได้ไม่ผิดกฎหมาย และงานที่แรงงานต่างด้าวห้ามทำโดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการรักษาโอกาสในการทำงานและวิชาชีพของคนไทย

แรงงานต่างด้าวทำอาชีพอะไรได้บ้าง

นายจ้างอาจมีความกังวลว่ากฎหมายจะจำกัดอาชีพสำหรับคนต่างด้าวจนไม่สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานที่ตนต้องการได้ แต่ความจริงแล้วอาชีพที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ในปี 2562 มีความหลากหลาย โดยยังคงยึดตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวปี 2560 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานได้ทั้งหมด 3 แบบ รวม 12 อาชีพ ดังนี้

แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่ 

  • กรรมกร

แบบมีเงื่อนไข คือ คนต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เท่าที่จำเป็น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ ได้แก่

  • กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา ควบคุมดูแลฟาร์ม
  • ก่ออิฐ ช่างไม้ หรือก่อสร้างอื่น
  • ทำที่นอน ผ้าห่มนวม
  • ทำมีด
  • ทำรองเท้า
  • ทำหมวก
  • ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
  • ปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา

แบบมีเงื่อนไข ตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งคนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทยก่อนขอรับใบอนุญาตทำงาน 3 อาชีพ ได้แก่ 

  • บัญชี ควบคุม ตรวจสอบ ปฏิบัติงานหรือให้บริการทางบัญชี
    ยกเว้นตรวจสอบภายใน เป็นครั้งคราว งานตามข้อตกลงหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพัน โดยที่สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ให้การรับรองคุณสมบัติ
  • วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
    ยกเว้นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวกับการให้บริการวิศวกรรมข้ามแดน หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรรม
  • งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ

ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน

แรงงานต่างด้าวห้ามทำอาชีพอะไรบ้าง

อาชีพสงวนที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดมี 28 อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นงานฝีมือและวิชาชีพที่คนไทยได้สืบทอดต่อกันมาจนมีความเชี่ยวชาญ แสดงถึงอัตลักษณ์และภูมิปัญญาไทย เช่น แกะสลักไม้ ทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก ทำบาตร ทำพระพุทธรูป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาชีพที่เราเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น คนขับรถ ช่างตัดผม รวมไปถึงการขายของหน้าร้าน โดยคนต่างด้าวสามารถทำงานในร้านเสริมสวยหรือร้านทำเล็บได้ ในกรณีที่เป็นคนปัดกวาดเช็ดถูภายในร้าน และล้างมือล้างเท้าให้กับลูกค้า แต่ห้ามตัดผม สระผม ตัดเล็บ และทาเล็บเด็ดขาด ส่วนงานในร้านขายของ ทำได้แค่เสิร์ฟและช่วยขายของ ห้ามเก็บหรือทอนเงิน ขณะทำงานต้องมีนายจ้างอยู่ด้วย แต่สามารถเฝ้าร้านแทนนายจ้างได้ชั่วคราว 

หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างไร

กระทรวงแรงงานมีมาตรการจัดการกับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบอาชีพที่คนต่างด้าวทำไม่ได้อย่างเข้มงวดในปี 2562 ที่ผ่านมา ตามข่าวระบุว่าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 – 19 มิถุนายน 2562 ได้มีการดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไปแล้วมากกว่า 6,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมาร์ รองลงมาเป็นลาว กัมพูชา และอื่น ๆ

แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อมีใบอนุญาตทำงานและทำงานตรงกับที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น โดยงานที่ทำจะต้องไม่เป็นอาชีพสงวนที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้

  • นายจ้าง: ถูกปรับ 10,000-100,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน ถ้าพบว่าทำผิดครั้งที่สองจะถูกปรับ 50,000-200,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นระยะเวลา 3 ปี
  • ลูกจ้าง: ถูกปรับ 5,000-50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศ

แม้ว่าจะมีการกำหนดอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้และอาชีพสงวนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ก็มีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้ หรือทราบแต่คิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทั้งที่ความจริงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากนายจ้างต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายและช่วยให้นายจ้างได้แรงงานที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ นายจ้างสามารถยื่นขอแรงงานต่างด้าว MOU ด้วยตนเอง หรือถ้าอยากประหยัดเวลาและลดขั้นตอนการเตรียมเอกสารที่ยุ่งยาก สามารถให้บริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการแทนได้ เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์และมีความเข้าใจเรื่องแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างดี พร้อมให้บริการที่แตกต่าง เพราะเราดูแลนายจ้างและแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียม สนใจติดต่อ 02-018-8688