การใช้ภาษาในข้อใดเป็น ประโยชน์ ต่อผู้อื่น

การใช้ภาษาในข้อใดเป็น ประโยชน์ ต่อผู้อื่น

ความหมายของการพูด

                 การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์  เป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้  ความคิด            ความรู้สึก  หรือความต้องการของผู้พูดไปยังผู้ฟัง  โดยใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  และอากัปกิริยา  จนเป็นที่เข้าใจกันได้

                  การพูดที่ดี  คือ  การใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  รวมทั้งกิริยาอาการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามจรรยามารยาท ประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิด  ความรู้  ความรู้สึก  ความต้องการ  ทัศนคติ  และ   ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ฟังได้รับรู้และก่อให้เกิดการตอบสนองตรงตามที่ผู้พูดต้องการ

                  การพูดจึงเป็นการสื่อสารสองทาง  คือ  มีทั้งผู้พูดและผู้ฟัง  การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  “ศาสตร์” หมายถึง การพูดจะต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ที่ใช้สอน  ถ่ายทอด  ปฏิบัติ  ฝึกฝน  เช่นเดียวกับหลักวิชาแขนงอื่นๆ   ส่วน “ศิลป์”  หมายถึง  การพูดเป็นเรื่องของความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล   นอกจากนี้การพูดยังจัดเป็นทักษะและวิชาชีพอีกประการหนึ่ง  ซึ่งสามารถขยายความได้ดังนี้

                       - ที่ว่าเป็นศาสตร์  เพราะ  เป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์  มีทฤษฎีให้เรียนรู้และถ่ายทอดกันได้  เช่น  หลักเกณฑ์การออกเสียงจัดเป็นสัทศาสตร์    การแสดงกิริยาอาการจัดเป็นจริยศาสตร์ และการติดต่อสื่อสารจัดเป็นสังคมศาสตร์ เป็นต้น

                        -  ที่ว่าเป็นศิลป์  เพราะ  ต้องนำหลักเกณฑ์ไปปฏิบัติให้เกิดความไพเราะสวยงาม  เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ฟัง  การศึกษาแต่หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีเพียงอย่างเดียวจึงไม่  สามารถที่จะช่วยให้ผู้ศึกษาวิชาการพูดได้รับประโยชน์จากการพูดมากเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องนำไปปฏิบัติ  โดยเพิ่มเทคนิคและกลวิธีต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ

                     -  ที่ว่าเป็นทักษะ  เพราะ  การพูดต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญจึงจะใช้ประโยชน์ได้ดี  ยิ่งชำนาญมากเท่าใดก็ยิ่งพูดดีขึ้นเท่านั้น  ถึงแม้ว่าจะเรียนรู้ทฤษฎีและมีศิลปะในการพูดเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว  แต่ถ้าขาดการฝึกฝนก็จะเอาดีไม่ได้  ตรงกับสุภาษิตที่กล่าวว่า  “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น  สิบตาเห็นไม่เท่kมือคลำ  และสิบมือคลำไม่เท่าทำเอง

                       -  ที่ว่าเป็นวิชาชีพ  เพราะ  ทุกๆ อาชีพใช้ภาษาพูดเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสาร  ถ้าพูดดีเป็นศรีสง่าตนเอง  ประกอบอาชีพใดๆ ก็มีแต่ความเจริญก้าวหน้า   แต่ถ้าพูดไม่ดีจะมีแต่ความเสื่อมและเกิดอันตรายแก่ตนเองเช่นกัน    ดังสุภาษิตที่กล่าวว่า  “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก

ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ

  1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่ 

หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย

การทักทายปราศรัย  ลักษณะการทักทายปราศรัยที่ดีดังนี้ 

กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ

                แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร

ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ

 การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว

                การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุด    คือ  การสนทนา    

                 คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     

2. การพูดในกลุ่ม     

                การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้

  •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง

  • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย

  • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   

  • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม

  • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี

  • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย 


วิดีโอ YouTube