ข้อใดคือชนิดของวรรณกรรมไทย

๒.  ข้อใดเป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะการแต่ง
              ก. วรรณกรรมร้อยแก้ว   วรรณกรรมประเภทร้อยกรอง
              ข. วรรณกรรมบริสุทธิ์  วรรณกรรมประยุกต์
              ค. วรรณกรรมมุขปาฐะ วรรณกรรมลายลักษณ์
              ง. วรรณคดีนิราศ  วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ์

๓. จดหมายเหตุ คืออะไร
              ก. เป็นการบันทึกซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์  เกี่ยวกับราชการหรือ
                    หน่วยงาน               ข. เป็นจดหมายที่มีความสำคัญต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
              ค. เป็นการบันทึกประจำวันอย่างสม่ำเสมอ โดยจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัย
                    บุคลิกภาพ
              ง. การบันทึกที่เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ โดยมักพูดถึงข้อดีและ  จุดเด่น เพื่อสร้าง
                    ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน

๔. ข้อใดเป็นลักษณะของโคลง
              ก. ไม่มีการกำหนดหรือบังคับฉันทลักษณ์ใดๆทั้งสิ้น
              ข. มักนิยมใช้แต่งกับบทสวด จึงให้ความรู้สึกว่าสูงส่งศักดิ์สิทธิ์ และมีแบบแผน
                    มีข้อบังคับจำนวนคำและสัมผัส  มีการ บังคับที่เพิ่มขึ้นในเรื่องของคำครุ ลหุ
                    (คำหนักเบา) 
              ค. มีลักษณะบังคับการกำหนดเอกโท ร้อยกรองเรียบเรียงอย่างเข้าคณะ และ
                    กำหนดสัมผัสโคลงมักมีลักษณะสูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์
              ง. ไม่มีข้อที่ถูกต้อง

๕. การแบ่งประเภทตามคุณค่าที่มุ่งให้กับผู้อ่านมีกี่ประเภท
              ก. ๑  ประเภท
              ข. ๒  ประเภท
              ค. ๓  ประเภท
              ง. ๔  ประเภท

๖. ข้อใดเป็นลิลิตสุภาพ
              ก. ลิลิตโองการแช่งน้ำ
              ข. ลิลิตยวนพ่าย
              ค. ลิลิตพระลอ
              ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

๗. กาพย์ห่อโคลงแตกต่างจากกลบทอย่างไร
              ก. กลบทสามารถใช้ได้กับบทร้อยกรองได้ทุกชนิดแต่โคลงใช้เพียง
                    การแต่งกลอนสี่สุภาพแต่งสลับกับกาพย์ยานี ๑๑
              ข. กลบทใช้เพียงการแต่งกลอนสี่สุภาพแต่งสลับกับกาพย์ยานี ๑๑
                    แต่กาพย์ห่อโคลงใช้ได้กับบทร้อยกรองได้ทุกชนิด
              ค. กลบทเป็นร้อยกรองประกอบมาจากร่ายและโคลง แต่กาพย์ห่อ
                    โคลงใช้ได้กับบทร้อยกรองได้ทุกชนิด
              ง. กลบทสามารถใช้ได้กับบทร้อยกรองได้ทุกชนิด แต่กาพย์ห่อโคลง
                    ใช้ได้กับร้อยกรองประกอบมาจากร่ายและโคลง

๘. ข้อใดไมใช่ประเภทของฉันท์
              ก. ฉันท์ ๑๙
              ข. ฉันท์ ๒๐
              ค. ฉันท์ ๒๑
              ง. ฉันท์ ๒๒

๙.  ข้อใดเป็นประเภทของร่าย
              ก. ร่ายย่น  ร่ายยืด  ร่ายใหม่  ร่ายย่อ
              ข. ร่ายสุภาพ   ร่ายดั้น  ร่ายยาว  ร่ายโบราณ
              ค. ร่ายย่น   ร่ายยืด   ร่ายดั้น 
              ง. ร่ายใหม่  ร่ายย่อ  ร่ายยาว

๑๐. ข้อใดเป็นการแบ่งลักษณะวรรณกรรมตามเนื้อเรื่อง
              ก. วรรณกรรมร้อยแก้ว  วรรณกรรมประเภทร้อยกรอง
              ข. วรรณกรรมบริสุทธิ์  วรรณกรรมประยุกต์
              ค. วรรณกรรมมุขปาฐะ  วรรณกรรมลายลักษณ์
              ง. วรรณคดีนิราศ  วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ

๑๑. ข้อใดไม่ใช่หนังสือวรรณคดี
              ก. วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย ของบุญเหลือ เทพสุวรรณ
              ข. วรรณกรรมไทย ของ กุหลาบ มัลลิกะมาส
              ค. วรรณคดีวิจารณ์ ของ กุหลาบ มัลลิกะมาส
              ง. ลัทธิมาร์กซ์และสังคมนิยม


๑๒.โคลงที่ปรากฎเป็นโคลงประเภทใด

                           พระสุริยทรงเดช         เสด็จฉาย
                     หาวหนพรายพรายเรือง    รุ่งเร้า
                     ปทุมิกรผายกลีบ               รสคลี่
                     เฉกพระพุทธเจ้าตรัส         เตือนโลก

              ก. มหานันททายี
              ข. โคลงสินธุมาลี
              ค. มหาสินธุมาลี
              ง. โคลงนันททายี

๑๓. ข้อใดเป็นฉันท์ที่ต่างจากพวก
              ก. สาลินีฉันท์
              ข. อุปชาติฉันท์
              ค. อุเปนทรวิเชียรฉันท์
              ง. สัทธราฉันท์

๑๔. วิธีการแสดงทัศนะเกี่ยวกับหนังสือ มีวิธีไหนบ้าง
              ก. การจัดประเภทหนังสือ และ การให้ราคาหนังสือ
              ข. การแนะนำหนังสือ และ การวิจารณ์หนังสือ
              ค. การรวบรวมข้อมูลหนังสือ และ การจัดหมวดหมู่หนังสือ
              ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

๑๕. วิธีการวิจารณ์หนังสือมีกี่ประเภท
              ก. ๑
              ข. ๒
              ค. ๓
              ง. ๔

๑๖. ระดับของการอ่านแบ่งเป็นกี่ระดับ
              ก. ๑
              ข. ๒
              ค. ๓
              ง. ๔

๑๗.  ข้อใดคือความหมายของการอ่าน
              ก. การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึง
                    การรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ
              ข. การถ่ายทอดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ลงเป็นวัตถุ
              ค. การใช้เสียงเป็นตัวแทนในการทอดหรือสื่อความหมาย
              ง. คือการรับสารและตีความหมายจากข้อความที่เป็นเสียง

๑๘. ข้อใดไม่ใช่วิธีอ่านหนังสือที่เหมาะสม
              ก. อ่านเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้า
              ข. อ่านเพื่อความบันเทิง
              ค. อ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ
              ง. อ่านเพื่อหาข้อบกพร่องของหนังสือ

๑๙. การพิจารณาวรรณกรรมร้อยกรองต้องอาศัยสิ่งใดบ้าง
              ก. รูปแบบของการประพันธ์ ธรรมเนียมนิยมในการแต่ง ความไพเราะ
                    สาระของเนื้อหา
              ข. รูปแบบของการประพันธ์ ความไพเราะ รูปแบบของรูปเล่ม รูปแบบ
                    ของการประพันธ์
              ค. ธรรมเนียมนิยมในการแต่ง รูปแบบของรูปเล่ม ความไพเราะ ขนาด
              ง. สาระของเนื้อหา รูปแบบของรูปเล่ม รูปแบบของการประพันธ์ ขนาด

๒๐.ฉันทลักษณ์ คือ อะไร
              ก. รูปแบบในการจัดพิมพ์วรรณกรรม
              ข. วิธีการลงโทษกวีที่ไม่ทำตามข้อบังคับ
              ค. เป็นกฎข้อบังคับในการประพันธ์ หากไม่ปฏิบัติถือ
              ง. ถูกทุกข้อ

๒๑. ข้อใดคือธรรมเนียมในการแต่ง
              ก. ธรรมเนียมนิยมในการแต่งวรรณกรรมร้อยกรองแต่ละประเภท
                    ธรรมเนียมในการขาย
              ข. ธรรมเนียมนิยมในการแต่งวรรณกรรมร้อยกรองแต่ละประเภท
                    ธรรมเนียมในการจัดรูปเล่ม
              ค. ธรรมเนียมนิยมในการแต่งและเลือกใช้คำประพันธ์ ธรรมเนียมใน
                    การจัดรูปเล่ม
              ง. ธรรมเนียมนิยมในการแต่งวรรณกรรมร้อยกรองแต่ละประเภท
                    ธรรมเนียมนิยมในการแต่งและเลือกใช้คำประพันธ์

๒๒. ธรรมเนียมในการแต่งวรรณกรรมประเภทนิทาน คือข้อใด
              ก. พิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ
              ข. เน้นการแสดงความตลกขบขัน
              ค. เน้นการพรรณนาที่แสดงให้เห็นภาพชัดเจน และใช้ภาษาที่มีความสละสลวย
              ง. มุ่งเน้นแสดงวิถีชีวิตของตัวละครและการดำเนินเรื่องที่รวบรัดเป็นสำคัญ
                    ไม่เน้นการพรรณนาความงามของตัวละคร สภาพแวดล้อมและบทตลกขบขัน


๒๓.             พระทนต์แดงดังแสงทับทิม
                       เพริศพริ้มเพราพักตร์คมขำ
                       ผิวพรรณผุดผ่องเพียงทองคำ
                       วิไลลักษณ์เลิศล้ำอำไพ
                                      (อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง)

     คำประพันธ์ขั้นต้นเป็นการพรรณนาประเภทใด
              ก. การพรรณนาชมความงาม
              ข. การพรรณนาบทอัศจรรย์
              ค. ถูกต้องทั้งข้อ ก และ ข
              ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

๒๔.                      เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้       ทุกเรือน
                     อกแผ่นดินดูเหมือน                 จักขว้ำ
                     บเห็นตะวันเดือน                      ดาวมืด มัวนา
                     แลแห่งใดเห็นน้ำ                      ย่อมน้ำตาคน
                                                              (ลิลิตพระลอ)
      บทประพันธ์ในข้างต้นมีลักษณะอย่างไร
              ก. ข้อความกินใจ
              ข. ข้อความชัดเจน
              ค. ข้อความแสดงความโกรธเกี้ยว
              ง. ข้อความแสดงความสุขใจ

๒๕. ข้อใดเป็นการแบ่งสาระของเนื้อหา
              ก. สาระด้านความคิด สาระด้านความงดงาม
              ข. สาระด้านความคิด  สาระด้านการบรรยาย
              ค. สาระด้านหลักฐานความเป็นจริง   สาระด้านความชัดเจน
              ง. สาระด้านความคิด สาระด้านหลักฐานความเป็นจริง

๒๖. ข้อใดเป็นรูปแบบความคิดในวรรณกรรมร้อยกรองปัจจุบัน
              ก. ความคิดที่แปลกใหม่ 
              ข. ความคิดลึกซึ้งคมคาย 
              ค. ความคิดที่ให้ประโยชน์ 
              ง. ถูกต้องทุกข้อ

๒๗. การพิจารณาวรรณกรรมร้อยแก้วต้องมีสิ่งใด
              ก. ความรู้เรื่องส่วนประกอบต่างๆของวรรณกรรมร้อยแก้วแต่ละประเภท
              ข. ความสามารถในการฟัง
              ค. ความสามารถในการแต่งวรรณกรรมร้อยแก้วอย่างรวดเร็ว
              ง. ความสามารถในการพูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำ

๒๘. สารัตถะของเรื่องคือข้อใดต่อไปนี้
              ก. สถานที่และเวลาที่เรื่องนั้นๆเกิดขึ้น จะเน้นเป็นสำคัญหรือไม่ก็ได้แล้วแต่
                    ลักษณะของเนื้อเรื่อง
              ข. ทัศนะหรือเจตนารมณ์ของผู้แต่งที่ต้องการสื่อสารมาถึงผู้อ่าน 
                    มักไม่แสดงออกมาตรงๆ
              ค. เป็นบุคคลที่ผู้แต่งสร้างขึ้นมาโดยตั้งชื่อ กำหนดรูปร่าง เพศ นิสัย
                    บุคลิกภาพ ความเป็นอยู่ ฯลฯ
              ง. การเขียนสารคดีที่ดีจะต้องใช้จินตนาการในการเขียนและเขียนด้วย
                    ภาษาที่ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพ

๒๙. สามารถพิจารณาตัวละครในนวนิยายเรื่องสั้น อย่างไร
              ก. ลักษณะนิสัยของตัวละคร      
              ข. บทสนทนาของตัวละคร
              ค. ชื่อของตัวละคร
              ง. ถูกทุกข้อ


๓๐. การประเมินคุณค่าวรรณกรรมควรพิจารณาจากสิ่งใด
              ก. เนื้อหาส่วนรวมที่ให้คุณประโยชน์แก่ผู้อ่าน
              ข. รายได้จากยอดขายหนังสือเล่มนั้นๆ
              ค. ความมีชื่อเสียงของผู้ประพันธ์
              ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง