หน้าที่ของสมาชิกไซเตส (cites) คือข้อใด

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora-CITES) หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่าไซเตส เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมไม่ให้การค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ เป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๑๘ ตลอดระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา ไซเตสนับเป็นอนุสัญญาด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่านานาชาติที่ถูกพูดถึง และมีประสิทธิภาพมากที่สุดฉบับหนึ่ง โดยมีการให้ความคุ้มครองแก่สัตว์และพืชแล้วกว่า ๓ หมื่นชนิด ตั้งแต่เสือโคร่ง ช้างป่า ไปจนถึงไม้มะฮอกกานีและกล้วยไม้ ด้วยการกำหนดรายชื่อสัตว์และพืชเหล่านี้ในบัญชีของไซเตส

กลไกสำคัญของอนุสัญญาไซเตสคือการกำหนดให้ประเทศภาคีจะต้องมีมาตรการภายในที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ โดยจะต้องมีการควบคุมการนำเข้า ส่งออก หรือส่งผ่านตัวอย่างชนิดพันธุ์ที่ระบุไว้ในบัญชีของไซเตส และมีบทลงโทษผู้กระทำการฝ่าฝืน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาไซเตส และเข้าเป็นภาคีสมาชิกลำดับที่ ๗๘ เมื่อปี ๒๕๒๖ ปัจจุบันอนุสัญญาไซเตสมีภาคีสมาชิกกว่า ๑๖๐ ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศลาวเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ ๑๖๕ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ส่งผลให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้เข้าร่วมเป็นภาคีต่ออนุสัญญาฉบับนี้อย่างสมบูรณ์

การประชุมอนุสัญญาไซเตส CoP-13 ที่กรุงเทพฯ มีความหมายอย่างไร การประชุมประเทศภาคีของอนุสัญญาไซเตส (Conference of the Parties) จะจัดให้มีขึ้นทุก ๒ หรือ ๓ ปี เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้มีโอกาสประชุมเพื่อพิจารณาเนื้อหาสาระ และเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในอนุสัญญาตามรายละเอียดที่มีผู้เสนอขอให้พิจารณา ประเทศสมาชิกมีสิทธิ์ออกเสียงได้เท่าเทียมกัน โดยข้อเสนอที่จะได้รับการยอมรับให้มีการแก้ไขจะต้องได้เสียงรับรองไม่น้อยกว่าสองในสาม นอกจากภาคีสมาชิกกว่า ๑๖๐ ประเทศจะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมแล้ว ที่ประชุมยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมและเสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

การประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสครั้งที่ ๑๓ (CoP-13) จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติครั้งใหญ่เกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านการอนุรักษ์ฉบับนี้ เป็นที่แน่นอนว่าในช่วงเวลาดังกล่าว วงการอนุรักษ์ธรรมชาติทั่วโลกจะพุ่งความสนใจมาที่สถานการณ์การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในภูมิภาคนี้เป็นพิเศษ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาค ที่จะได้แสดงออกถึงความตั้งใจในการแก้วิกฤตปัญหาการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายอย่างจริงจัง

หัวข้อซึ่งเป็นที่สนใจของวงการอนุรักษ์สัตว์ป่าทั่วโลกเป็นพิเศษในครั้งนี้คือ การพิจารณาห้ามไม่ให้มีการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศบางชนิดอย่างเด็ดขาดเช่น โลมาอิรวดี (นำเสนอโดยประเทศไทย) ฉลามขาว (นำเสนอโดยมาดากัสการ์และออสเตรเลีย) นกกระตั้วหงอนเหลือง (Sulphur-crested Cockatoo นำเสนอโดยอินโดนีเซีย) นกแก้วแอมะซอนท้ายทอยม่วง (Lilac-crowned Amazon Parrot นำเสนอโดยเม็กซิโก) สิงโตแอฟริกา (นำเสนอโดยเคนยา) และการควบคุมการค้าปลานกแก้วหัวโหนก (นำเสนอโดยฟิจิ ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา) รวมไปถึงการพิจารณาเรื่องการควบคุมตลาดค้างาช้างภายในประเทศ และการอนุรักษ์กวางไซกา

#PR
‘AstraZeneca’ หากพูดชื่อนี้ขึ้นมาเชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักในฐานะผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแรกๆ ที่คนไทยมีโอกาสได้รับ หากแต่ในความเป็นจริง AstraZeneca เป็นมากกว่านั้น เพราะ AstraZeneca คร่ำหวอดในวงการยาและการดูแลสุขภาพของไทยมากว่า 40 ปีแล้ว จากการมุ่งมั่นนำวิทยาศาสตร์มาต่อยอดและพัฒนาเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน ชุมชนและโลก
วันนี้ The MATTER เลยอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกเรื่องราวบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ที่ดูแลสุขภาพคนไทยมากกว่าแค่วัคซีนป้องกันโควิด-19
.
AstraZeneca เริ่มต้นธุรกิจในไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 แรกเริ่มคือ Astra AB บริษัทยาเก่าแก่ของสวีเดนก่อนควบรวมกับบริษัทยาของอังกฤษอย่าง Zeneca Group ในปีพ.ศ. 2542 กลายมาเป็น AstraZeneca ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน
.
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องสุขภาพมากขึ้น หลายคนรู้จัก AstraZeneca ในบทบาทของผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิดแต่สิ่งที่ AstraZeneca มุ่งมั่นทำมาตลอดคือผู้นำในการดูแล 4 กลุ่มโรคหลัก ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ไต และเมแทบอลิซึม (CardioVascular, Renal, and Metabolic หรือ CVRM) กลุ่มโรคมะเร็ง (Oncology) กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน และภูมิคุ้มกันบำบัด (Respiratory, Immunology, Vaccines and Immune Therapies หรือ RIVIT) ซึ่งครอบคลุมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) และกลุ่มโรคหายาก (Rare Diseases)
พร้อมทั้งยังสร้างความตระหนักรู้เพื่อป้องกันกลุ่มโรคนี้ ยิ่งสำหรับในประเทศไทยที่โรค NCDs คือปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งด้วยแล้ว AstraZeneca เล็งเห็นและให้ความสำคัญไม่แพ้กัน หากไม่นับรวมวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์ของ AstraZeneca มากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละปี
.
ในช่วงปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้เห็นข่าวผ่านตามาบ้างว่า AstraZeneca ได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากกว่า 3 พันล้านโดสให้กว่า 180 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์การผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ AstraZeneca ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก โดยได้ผลิตและส่งมอบวัคซีนเพื่อช่วยยับยั้งการระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
นอกเหนือจากบทบาทบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดูแลสุขภาพคนไทยมากว่า 40 ปีและภาพของผู้ผลิตวัคซีนที่เราคุ้นเคย AstraZeneca ยังพยายามขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขในประเทศไทยด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนสร้างโครงการเพื่อดูแลสุขภาพคนไทยออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- Hug Your Heart: โครงการให้ความรู้แนะนำป้องกันปัญหาและรักษาสุขภาพหัวใจให้ประชาชน
- คุยเรื่องไตไขความจริง: โครงการไขข้อข้องใจ และสร้างความเข้าใจเรื่องไตให้กับทุกคน
- ตรวจไวสู้ภัยมะเร็งปอด: โครงการที่นำนวัตกรรม Artificial Intelligence (AI) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น
- SEARCH: โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจากระดับอัลบูมินในปัสสาวะ เพื่อเพิ่มคุณภาพการป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต
- Healthy Lung: โครงการส่งเสริมบุคลากรการแพทย์ให้ได้เพิ่มพูนทักษะ และองค์ความรู้ที่ทันสมัยในการดูแลรักษาโรคหืด
- Young Health Programme: โครงการปลูกฝังความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแก่เยาวชนให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และปัญหาสุขภาพ
.
ปัจจุบัน AstraZeneca ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ ในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดได้เปิดตัวแคมเปญอย่าง “Making Health Happen” ที่ยังคงทำตามปรัชญาในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ในการนำวิทยาศาสตร์มาต่อยอดและพัฒนา เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชน ชุมชน และโลกอย่างยั่งยืน ดังนี้
ประชาชน (People) – ค้นคว้า คิดค้นนวัตกรรมยาและโซลูชันต่างๆ ที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย
ชุมชน (Society) – ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพของประชาชน พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงนวัตกรรมและบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น
โลก (Planet) – ดำเนินโครงการด้านความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ (Ambition Zero Carbon) ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตลงให้ได้ 98% ภายในปี 2569
.
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จัก AstraZeneca มากขึ้นว่า ไม่ได้เป็นเพียงบริษัทผลิตวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเท่านั้น แต่ยังเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่มุ่งมั่นพัฒนายาและนวัตกรรมเพื่อรักษา และยกระดับการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนให้กับคนไทย ชุมชนและโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างแท้จริง
.
#AstraZeneca #AstraZenecaThailand #MakingHealthHappen #WhatScienceCanDo

 

Superstar

เพลง Superstar ของ The Carpenters ไต่สูงสุดอันดับ 2 บนชาร์ตบิลบอร์ด 16 ตุลาคม 1971

เมื่อตอนสัมภาษณ์ในปี 2002 Richard Carpenter ยังมีความทรงจำอันแม่นยำเกี่ยวกับการฟังเพลง Superstar ครั้งแรกได้ เขากลับบ้านหลังจากอัดเพลงเสร็จในคืนวันหนึ่ง พอถึงบ้านก็เปิดทีวีดูรายการ The Tonight Show มีพิธีกรคือ Johnny Carson กำลังแนะนำแขกรับเชิญ Bette Midler ให้ขับร้องเพลง Superstar และเพลงนี้เตะหูเขาในทันที เหตุใดเพลงนี้ถึงต้องมนต์เขา ในเมื่อเพลงฉบับดั้งเดิม ดูจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกรุ๊ปปี้ (พวกคลั่งไคล้ศิลปิน) และดูจะเข้าข่ายลามกอนาจาร ดูไม่เข้ากับตาหวาน ๆ ของ Karen Carpenter เลย
.
เพลง Superstar ร้องครั้งแรกโดย Delaney & Bonnie บันทึกเสียงในปี 1969 เดิมใช้ชื่อเพลงว่า Groupie (Superstar) ต่อมา Rita Coolidge เอาเพลงนี้ไปเล่นในคอนเสิร์ตของ Joe Cocker ในปี 1970 จน Bette Midler ในวัยสาวเอาไปร้องในรายการตามที่บอกไป Richard รีบเสนอเพลงให้ Karen โดยทันที แต่เธอก็คัดค้าน นั่นทำให้พี่ชายคนนี้ตกใจ “มีไม่กี่เพลงที่เธอจะตั้งคำถามขึ้นมา โดยปกติแล้วรสนิยมเราจะเหมือนกัน ผมคิดว่าเธอต้องบ้าไปแล้วแน่ ๆ ผมก็เลยรบเร้าเธอ และให้ฟังเวอร์ชั่นที่ผมเรียบเรียงใหม่”
.
Karen บอกว่า เธอเคยฟังเวอร์ชั่นของ Rita Coolidge มาก่อนแล้ว แต่เธอก็ไม่ได้สนใจอะไรในเพลงนี้ เธอเล่าว่า “ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง เพลงนี้ไม่โดนใจฉันในตอนแรก แล้ว Richard ก็มองมาที่ตัวฉันเหมือนฉันมี 3 หัวอะไรแบบนั้น พอฉันได้ฟังเพลงที่เขาเรียบเรียงเสร็จ ฉันก็ชอบเพลงนี้เลย และนี่ก็เป็นหนึ่งในเพลงโปรดของฉันด้วย”
.
จากเวอร์ชั่นเดิมที่ดูอนาจารเกินไปในตอนนั้น Richard ได้เปลี่ยนเนื้อให้เหมาะกับภาพลักษณ์ของวง อย่างท่อน "And I can hardly wait to be with you again" (ทนไม่ไหวที่จะอยู่กับเธออีกครั้ง) เปลี่ยนมาจาก "And I can hardly wait to sleep with you again" (ทนไม่ไหวที่จะนอนกับเธออีกครั้ง) พอตอนอัดเสียง Karen ร้องแค่เทคเดียวเท่านั้น โดยอ่านเนื้อร้องที่แก้แล้วจากกระดาษเช็ดปากที่ Richard จดให้
.
เวอร์ชั่นของ The Carpenters ยังเพิ่มเติมความเหงาอ้างว้างอย่างจับใจ และให้ความรู้สึกถึงการสูญเสีย การร้องของ Karen ยังได้รับคำชมและเป็นมาตรฐานของวงตราบจนปัจจุบัน ว่าเสียงของเธอนั้นช่างปวดร้าวและให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ จากบทสัมภาษณ์ในปี 1972 ที่ถามเธอว่าทำไมเธอถึงสามารถเข้าถึงอารมณ์เพลงได้ขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่เธอไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เธอตอบว่า "ฉันเห็นพวกกรุ๊ปปี้มาก่อน ฉันรู้สึกได้ถึงความเหงาของพวกเธอ ถึงแม้ว่าพวกเธอจะไม่ได้แสดงออกก็ตาม ฉันไม่ได้เข้าใจความรู้สึกจริง ๆ หรอก แต่ฉันพยายามเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น" และนี่ก็เป็นหนึ่งในสามเพลงที่เธอร้องยากที่สุด ในการเข้าถึงอารมณ์ อีก 2 เพลงคือ Rainy Days and Mondays กับ I Need to Be in Love
.
เวอร์ชั่นนี้ก็เป็นเวอร์ชั่นที่ฮิตที่สุด จนในปี 2003 Ruben Studdard ผู้ชนะจาก American Idol ได้ตัดซิงเกิ้ลคู่ Flying Without Wings/Superstar เข้าชาร์ตได้สูงสุดอันดับ 2 เช่นกัน โดยเป็นการร้องในรูปแบบอาร์แอนด์บีในแบบเวอร์ชั่นของ Luther Vandross ที่เคยร้องไว้ในปี 1983
.
อ้างอิง Yesterday Once More: The Carpenters Reader โดย Randy L. Schmidt

ที่มา FB. เพลงเก่าเล่าเรื่อง
.
ดูเอ็มวี https://www.youtube.com/watch?v=SJmmaIGiGBg

 

POLICY: กระทรวงทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังผลักดันการตั้ง “กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” เพื่อดูแล ศึกษา และรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม
.
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 นายวราวุธ ศิลปาชา รมว.ทส. เปิดเผย ณ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า การตั้งกรมใหม่นี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเป็นการตอกย้ำต่อนานาอารยประเทศถึงความเป็นผู้นำของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเน้นย้ำ กรมฯ ใหม่นี้ เป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของหน่วยงานให้มีความชัดเจน รองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เพื่อให้การดำเนินงานของกระทรวงฯ เกิดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่กระทบต่ออัตรากำลังในภาพรวม และงบประมาณของประเทศชาติ
.
โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบคำชี้แจงประกอบการขอปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... และเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ กพร. ทส. นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 7 ธันวาคม 2565 เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ก่อนปีใหม่นี้ โดยคาดหวังให้ กรมฯ ที่มีการปรับเปลี่ยนขึ้นใหม่ พร้อมขับเคลื่อนงานได้ในวันที่ 1 เมษายน 2566
.
ด้าน Facebook ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา ได้ชวนร่วมทำความรู้จักกรมฯน้องใหม่ “กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” หรือ “กรม Climate Change” ดังนี้
.
กรม Climate Change จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแล ศึกษา และรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันมี 26 ประเทศทั่วโลกที่มีกรมดังกล่าว ดังนี้

Australia, China, Korea, Pakistan, Bangladesh, Qatar, United Arab Emirates, Jordan, Vietnam, Singapore, Brunei, Cambodia, Indonesia, Lao, Malaysia, France, Germany, Denmark, Sweden, Switzerland, Ireland, Turkey, Kenya, Nigeria, United States, Micronesia
.
โดยภารกิจหลักและหน้าที่ของหน่วยงานคือ
- จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และลดก๊าซเรือนกระจก
- ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ดำเนินการ และเสนอแนะแนวทางตามพันธกรณีของอนุสัยญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งองค์กรในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- วิจัย พัฒนา ถ่ายทอด และส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม
.
อนึ่งประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย
- ลดก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2030
- เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050
- ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065
- ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริม BCG
- ผลิตรถยนต์ที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ภายในปี 2030
- เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า 50% ในปี 2050
- สนับสนุนเทคโนโลยีดูดกลับก๊าซ CO2 (CCS) ก่อนปี 2040
- ส่งเสริมวัสดุทดแทนในอุตสาหรรมปูนซีเมนต์-ทำความเย็น
- นำร่องวิธีปลูกข้าวทางเลือกปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทเป็น 55% ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี 2037
- จัดทำแนวทางและกลไกบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
.
ที่มา

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=697602871729380&id=100044390201006&mibextid=qC1gEa

 

LIFE: กรมอุทยานฯ เผยที่ประชุม CITES CoP19 ไม่เห็นด้วยการปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดไทย หลังประเทศไทยโดยกรมประมง ได้เสนอขอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดไทย (Siamese crocodile) จากบัญชี 1 เป็นบัญชี 2 โดยที่ประชุมกังวลในประเด็นประชากรจระเข้ในธรรมชาติมีจำนวนน้อยมากและอยู่อย่างกระจัดกระจาย
.
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 นายประเสริฐ สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่าการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) ได้เข้าสู่สัปดาห์ที่สอง โดยภาคี 145 ประเทศ จาก 184 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม หลังได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 25 พฤศจิกายน 2565 ณ ปานามา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงปานามา ซิตี้ สาธารณรัฐปานามา
.
การประชุมในครั้งนี้ประเทศไทย โดย กรมประมง ได้เสนอขอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดไทย (Siamese crocodile) จากบัญชี 1 เป็นบัญชี 2 ซึ่งข้อเสนอนี้ไม่ได้ผ่านการรับรองของที่ประชุม ทั้งนี้ มี 27 ประเทศให้การสนับสนุน เช่น จีน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อเมริกาใต้ ซิบบับเว มี 76 ประเทศที่ไม่เห็นด้วย เช่น สหภาพยุโรป อังกฤษ อเมริกา อินโดนีเซีย และ 20 ประเทศงดออกเสียง เช่น ญี่ปุ่น มัลดีฟ เนปาล UAE เนื่องจากภาคีที่ไม่เห็นด้วย มีข้อห่วงกังวลในประเด็นประชากรจระเข้ในธรรมชาติมีจำนวนน้อยมากและอยู่อย่างกระจัดกระจาย ซึ่งยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางชีววิทยาสำหรับชนิดพันธุ์ในบัญชี 1 ถึงแม้ไทยจะสามารถเพาะเลี้ยงจระเข้ในฟาร์มได้มากกว่า 1.2 ล้านตัวก็ตาม
.
ทั้งนี้ ภายหลังจากการโหวต ประเทศไทยได้ขอให้สำนักเลขาธิการไซเตสตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อแนะนำแก่ไทยในการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานที่จะสนับสนุนให้สามารถปรับลดบัญชีลงมาเป็นบัญชี 2 ได้ในอนาคต หรือแนวทางอื่นในการสนับสนุนการค้าจระเข้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
.
การประชุมในครั้งนี้ประเทศไทย โดย กรมประมง ได้เสนอขอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดไทย (Siamese crocodile) จากบัญชี 1 เป็นบัญชี 2 ข้อเสนอนี้ไม่ได้ผ่านการรับรองของที่ประชุม ทั้งนี้ มี 27 ประเทศให้การสนับสนุน เช่น จีน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อเมริกาใต้ ซิบบับเว มี 76 ประเทศที่ไม่เห็นด้วย เช่น สหภาพยุโรป อังกฤษ อเมริกา อินโดนีเซีย และ 20 ประเทศงดออกเสียง เช่น ญี่ปุ่น มัลดีฟ เนปาล UAE เนื่องจากภาคีที่ไม่เห็นด้วย มีข้อห่วงกังวลในประเด็นประชากรจระเข้ในธรรมชาติมีจำนวนน้อยมากและอยู่อย่างกระจัดกระจาย ซึ่งยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางชีววิทยาสำหรับชนิดพันธุ์ในบัญชี 1 ถึงแม้ไทยจะสามารถเพาะเลี้ยงจระเข้ในฟาร์มได้มากกว่า 1.2 ล้านตัวก็ตาม
.
สำหรับจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย หรือจระเข้สยาม (Siamese crocodile) เป็นจระเข้ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในธรรมชาติ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม กาลีมันตัน ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3–4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20–48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว
.
ปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ปัจจุบันเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก ด้วยภัยคุกคามต่าง ๆ อย่าง การทำลายแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ และการล่า พบเพียง 3 แห่ง คือ บริเวณห้วยน้ำเย็น อุทยานฯปางสีดา บริเวณคลองชมพู ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก และบริเวณต้นน้ำเพชรบุรี แก่งกระจาน จ.เพชรุรี
.
สถานะในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ห้ามการค้า เพราะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติในธรรมชาติ ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ
.
อนึ่ง ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาไซเตสควบคุม (CITES species) จะระบุไว้ใน บัญชีหมายเลข 1 2 และ 3 (Apendices) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

บัญชี 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย
ตัวอย่างชนิดพันธุ์ในบัญชี 1 เช่น ช้างเอเชีย เสือโคร่ง ลิงอุรังอุตัง จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม เต่ามะเฟือง ปลายี่สกไทย เป็นต้น

บัญชี 2 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ใกล้สูญพันธุ์ สามารถค้าได้แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของชนิดพันธุ์ ทั้งนี้ ชนิดพันธุ์ในบัญชี 2 ยังครอบคลุมถึงชนิดพันธุ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน (look-alike) ด้วย โดยประเทศส่งออกจะต้องออกใบอนุญาตส่งออกเพื่อรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้ง จะไม่กระทบต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ ตัวอย่างชนิดพันุธุ์ในบัญชี 2 เช่น ลิ่น อีเห็นลายพาด นกขุนทอง เต่านา งูเหลือม เป็นต้น

บัญชี 3 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของภาคีใดภาคีหนึ่งอยู่แล้ว และต้องการขอความร่วมมือจากภาคีอื่นๆ ช่วยควบคุมการค้าด้วย ตัวอย่างชนิดพันธุ์ในบัญชี 3 เช่น ควายป่า (เนปาล) นกกระทาดงปักษ์ใต้ (มาเลเซีย) เต่าอัลลิเกเตอร์ (สหรัฐอเมริกา) หอยเป๋าฮื้อแอฟริกาใต้ (แอฟริกาใต้) เป็นต้น
.
ที่มา

http://news.dnp.go.th/news/21123

https://www.iucnredlist.org/species/5671/3048087

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4901665376628537&id=1523107561151019&mibextid=qC1gEa

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4675318549263222&id=1523107561151019&mibextid=qC1gEa