อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ความเค้นและความเครียด

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ความเค้นคือแรงที่เกิดขึ้นภายในเนื้อวัตถุซึ่งเป็นการตอบสนองต่อแรงภายนอก P ที่มากระทำ ดูรูปที่ 1. ถ้าวัตถุรับแรงภายนอกจากผิวด้านบนแล้ว จะเกิดแรงตอบสนองขึ้นภายในเนื้อวัตถุเพื่อพยายามรักษารูปทรงดั้งเดิมของวัตถุไว้ แรงตอบสนองนี่เรียกว่าแรงภายใน และแรงภายในหารด้วยพื้นที่หน้าตัดของวัตถุ (ยกตัวอย่างเช่น เสา) เรียกว่า ความเค้น ซึ่งมีหน่วยเป็นพาสคาล (Pa, Pascal) หรือนิวตันต่อตารางเมตร (N/m²) เมื่อพื้นที่หน้าตัดของเสาเป็น A (m²) และแรงภายนอกเป็น P(N, Newton) เนื่องจาก แรงภายนอก = แรงภายใน ดังนั้น ความเค้นσ คือ:

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด


อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

เมื่อแท่งวัตถุถูกดึงจะเกิดการยืดตัวขนาด ΔL และความยาวจะเปลี่ยนไปเป็น L (ความยาวเดิม) + ΔL (ความยาวที่เปลี่ยนไป) สัดส่วนของความยาวที่เปลี่ยนไปΔL ต่อความยาวเดิม L เรียกว่า ความเครียด ซึ่งนิยามในรูป ε1:
อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ความเครียดในทิศทางดึงหรืออัดตามแนวแรงภายนอกเรียกว่า ความเครียดตามยาว และเนื่องจากความเครียดเป็นสัดส่วนของการยืดหรือหดตัวต่อความยาวเดิมจึงเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย โดยปกติแล้วสัดส่วนนี้มีค่าน้อยมากดังนั้นจึงนิยมใช้งานค่าความเครียดในรูป “μm/m”


แท่งวัตถุที่ถูกดึงจะมีขนาดพื้นที่หน้าตัดลดลงขณะที่ยืดตัวออก กำหนดให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม d₀ มีขนาดลดลงΔd ดังนั้นความเครียดในทิศทางเส้นผ่านศูนย์กลางคือ:

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ความเครียดในทิศทางตั้งฉากกับแรงภายนอกเรียกว่า ความเครียดตามขวาง วัสดุแต่ละชนิดมีสัดส่วนระหว่างความเครียดตามขวางกับความเครียดตามยาวเป็นค่าที่แน่นอนค่าหนึ่งซึ่งในวัสดุส่วนใหญ่มีค่าประมาณ 0.3 สัดส่วนนี้เรียกว่า สัดส่วนปัวซอง ซึ่งนิยามด้วยν :
อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด


สำหรับวัสดุหลายชนิด ได้มีการทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและความเค้นไว้เรียบร้อยแล้ว เช่นรูปที่ 3 เป็นเส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดของเหล็กกล้า เส้นกราฟในส่วนที่ความเค้นและความเครียดสัมพัธ์กันแบบเป็นเชิงเส้นเรียกว่าขีดจำกัดความเป็นเชิงเส้น ซึ่งพฤติกรรมช่วงนี้จะเป็นไปตามกฎของฮุก

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ค่าคงที่ของความสัมพันธ์เชิงเส้น E ระหว่างความเค้นและความเครียดตามสมการด้านบนเรียกว่าโมดูลัสความยืดหยุ่นหรือโมดูลัสของยัง ซึ่งมีค่าแตกต่างกันไปในวัสดุแต่ละชนิด
จากที่กล่าวแล้วตอนต้นว่า สามารถทราบความเค้นได้จากการวัดความเครียดที่เกิดขึ้นจากแรงภายนอก ซึ่งความเค้นนี้ไม่สามารถวัดค่าได้โดยตรง
อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ความดันและแรงดัน

      แรงดัน (Force) คือ แรงหรือน้ำหนักทั้งหมดที่กดลงบนพื้นที่ทั้งหมด

      ความดัน (Pressure) คือ แรงดันบนพื้นที่ 1 ตารางหน่วย

      ความดันของของไหล คือ อัตราส่วนของแรงที่กระทำต่อวัตถุต่อหน่วยพื้นที่ที่สัมผัสกับของไหล

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ภาพที่ 1 แรงดันของบรรยากาศที่กระทำต่อวัตถุทุกทิศทุกทาง

ที่มา: กัญญา  เกื้อกูล

             

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
    

ภาพที่ 2 แสดงแรงดันของของเหลว
ที่มา : https://sites.google.com/site/physickwamronkhonglai/khwam-rxn/khxnghil

สมมติ บนพื้นที่ A ตร.ม. มีแรงดัน F นิวตัน

         ดังนั้น บนพื้นที่ 1 ตร.ม. มีแรงดัน F/A  นิวตัน

         แต่แรงดันบน 1 หน่วยพื้นที่เรียกว่า ความดัน

สูตรความสัมพันธ์ 

                       P=F/A   

          เมื่อ   P  คือ ความดัน มีหน่วยเป็น N/m2 หรือพาสคัล (pascal:Pa) 
                   F  คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ (นิวตัน) 
                   A  คือ พื้นที่ (ตารางเมตร) และเป็นพื้นที่ราบ (Flat area)

         ระบบ SI ปาสคาล (Pascal)  =  นิวตันต่อตารางเมตร
          ทางอุตุนิยมวิทยา  1 บาร์ (Bar)  =  105 ปาสคาล
                              1 บรรยากาศ (Atmosphere)  =  1.01 บาร์
                                                                         =  1.01 x 105 ปาสคาล

ความดันในของเหลวจะแปรผันตรงกับความลึกและความหนาแน่นของของเหลว

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
 

ภาพที่ 3 แสดงความดันของของเหลว
ที่มา : https://sites.google.com/site/physickwamronkhonglai/khwam-rxn/khxnghil

หากเราพิจารณาของเหลวที่มีความหนาแน่นอยู่นิ่งในภาชนะเปิดสู่บรรยากาศ

          W เป็นน้ำหนักของของเหลวบนพื้นที่ A (หน้าตัดของทรงกระบอก) ดังนั้น  

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

         ให้ความดันบรรยากาศ คือ Po  เนื่องจากของเหลวอยู่ในสมดุล ดังนั้นที่ก้นแก้ว

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

         จะได้  สูตรความดันสัมบูรณ์      

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

          เมื่อ          P     คือ ผลรวมของความดันบรรยากาศกับความดันเกจ  เรียกว่า "ความดันสัมบูรณ์"  (Absolute pressure)

                         P0       คือ ความดันที่ผิวของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศ 

                       

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
      เป็นความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวที่ระดับความลึก h เรียกว่า " ความดันเกจ "

จากสูตร สรุปได้ว่า ความดันในของเหลวชนิดเดียวกันที่ระดับความลึกเดียวกันมีค่าเท่ากันโดยรูปทรงของภาชนะไม่มีผลต่อความดัน

การจำแนกชนิดของความดัน

          1. ความดันบรรยากาศ ( Atmospheric Pressure : Po ) คือ ความดันที่เกิดจากบรรยากาศที่ทับถมอยู่เหนือจุดที่พิจารณา มีค่าเท่ากับน้ำหนักของอากาศในชั้นบรรยากาศที่ทับถมอยู่เหนือพื้นที่ 1 ตารางหน่วยซึ่ง ความดันบรรยากาศปกติ ที่ระดับน้ำทะเล คือ 1 บรรยากาศ ( 1 atm)

              Po = 1.01235 X 105 N/m2

          2. ความดันเกจ ( Gauge Pressure : Pg ) คือ ความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวเพียงอย่างเดียว

                                                                        

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

          3. ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure : P) คือ ผลรวมของความดันบรรยากาศกับความดันเกจรวม

                                                                        

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ลักษณะของความดันของของเหลว

          1. ทุกๆ จุดในของเหลวจะมีแรงดันจากทุกทิศทาง

          2. ความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึกเเละความหนาเเน่นของของเหลว โดยไม่ขึ้นกับปริมาตรของของเหลว

          3. ภาชนะที่มีของเหลวบรรจุอยู่จะได้รับแรงดันจากของเหลวกระทำต่อผนังภาชนะใน แนวตั้งฉากกับผนังภาชนะ เช่น สังเกตน้ำที่พุ่งออกมาจากรอยรั่วของถังน้ำ แสดงถึงว่าจะต้องมีแรงดันของน้ำกระทำต่อพื้นที่ด้านข้างถัง และแรงดันนี้จะดันให้น้ำพุ่งออกมาตามรอยรั่วได้

          4. ภายใต้สภาพแรงดึงดูดของโลก ความดันของของเหลว ณ ตำแหน่งใด ๆ ขึ้นกับความลึกของตำแหน่งนั้น วัดจากผิวของของเหลวและความหนาแน่นของของเหลว ตามสมการ

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
 

แรงดันที่กระทำต่อก้นภาชนะ
          ภาชนะที่บรรจุของเหลว จะมีแรงดันเนื่องจากของเหลวกระทำในทิศตั้งฉากกับพื้นที่ผิวภาชนะที่ของเหลวสัมผัส โดยขนาดของแรงดันหาได้จากผลคูณของความดันของของเหลวกับพื้นที่ที่ของเหลวสัมผัส            ( F = PA ) แต่เนื่องจากความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึก ดังนั้นความดันที่กระทำกับก้นภาชนะจะเป็นความดันสัมบูรณ์

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ภาพที่ 4 แสดงภาชนะบรรจุน้ำ 3 ขนาดที่มีความสูงเท่ากัน
ที่มา : http://drvandgrengchemicalliquid.tripod.com/pressure2.htm

          จากรูปความดันที่ของเหลวกดก้นภาชนะทั้ง 3 รูปมีค่าเท่ากัน  

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
  (h เท่ากัน) และแรงดันที่ของเหลวกดก้นภาชนะทั้ง 3 รูปมีค่าเท่ากัน F = PA =   
อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
     (A เท่ากัน)

แรงดันที่กระทำต่อผนังภาชนะ
          เนื่องจากความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึก ดังนั้นความดันที่กระทำกับผนังภาชนะจะเป็นความดันเฉลี่ยระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของของเหลว

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

          ในกรณีการหาแรงดันน้ำที่กระทำต่อผนังภาชนะ จะหมายถึงแรงดันเนื่องจากความดันเกจ ไม่คิดผลของแรงดันบรรยากาศ แต่ถ้าหาแรงดันที่กระทำต่อผนังภาชนะ จะหมายถึงแรงดันเนื่องจากความดันสัมบูรณ์ ต้องคิดรวมความดันบรรยากาศด้วย

เครื่องมือวัดความดันของของเหลว
         
1. มานอมิเตอร์ ( Manometer ) เป็นเครื่องมือวัดความดันของของไหล ประกอบด้วยหลอดแก้วรูปตัวยู ( U tube ) มีของเหลวบรรจุอยู่ภายใน ปลายข้างหนึ่งปิด ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะต่อกับภาชนะบรรจุของไหลที่ต้องการวัดความดันและการรู้ความแตกต่างของระดับของเหลวในหลดแก้วรูปตัวยูทั้งสองข้างจะทำให้สามารถหาความดันของของไหลได้

หลักการคำนวณ
              ให้เปรียบเทียบระดับความสูงของของเหลวในหลอดทั้งสองข้าง
“ที่ระดับความสูงเดียวกันความดันจะมีค่าเท่ากัน”

                    PA = PB

                  

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
 

ภาพที่ 6 มานอมิเตอร์ ( Manometer )
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=9968&Itemid=11

          2. บารอมิเตอร์ปรอท ( Mercury Barometer ) สร้างตามหลักของ เทอร์รีเชลลี (Toricelli) โดยนำหลอดแก้วปลายเปิดข้างหนึ่ง ปลายปิดข้างหนึ่ง ทำให้เป็นสุญญากาศแล้วคว่ำด้านปลายเปิดของหลอดแก้วลงไปในอ่างปรอท เมื่อหลอดแก้วอยู่ในแนวดิ่งอากาศภายนอกจะดันปรอทให้เข้าสู่หลอดแก้ว พบว่าเมื่อความดันปกติ ความสูง h ของปรอทเท่ากับ 760มิลลิเมตร แสดงว่า Po = 760 mmHg = 76 cmHg = 1 atm

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ภาพที่ 7  บารอมิเตอร์ปรอท
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=9968&Itemid=11

แหล่งที่มา

ช่วง  ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3  ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

Return to contents


 กฎของปาสคาลและเครื่องอัดไฮโดรลิก

          กฎของปาสคาลใช้อธิบายเกี่ยวกับการส่งต่อความดันในของไหล มีหลักการว่า “ถ้าเพิ่มความดันให้กับของไหล ที่บรรจุในภาชนะปิด ณ จุดใด ความดัน นั้นจะส่งกระจายกันต่อไปทำให้ทุก ๆ ส่วนของของไหลได้รับความดันที่เพิ่มขึ้น (Increased Pressure)  เท่ากันหมด”

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 1 เครื่องอัดไฮโดรลิก
ที่มา: https://indyteacher.wordpress.com/หน่วยการเรียนรู้/unit2/กฎของพาสคาล/

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 2 ภาชนะใบหนึ่งใส่ของเหลวเต็มแล้วออกแรงกระทำ
ที่มา: กัญญา  เกื้อกูล

จากรูปเป็นภาชนะใบหนึ่งใส่ของเหลว เช่นน้ำไว้เต็ม , มีแรงดัน F1 , F2 , F3 และ F4  ที่ลูกสูบ A, B, C, D ตามลำดับ

          เมื่อเราออกแรงดันเพิ่มขึ้น F1 ให้กับลูกสูบที่มีพื้นที่หน้าตัด A จะเกิดความที่เพิ่มขึ้นเป็น F1/A มีผลทำให้เกิด ความดันเพิ่มขึ้นที่ลูกสูบ B,C  และ D เป็น F2/B, F3/C  และ F4/D ซึ่งจะมีค่าเท่ากันหมดถ้าภาชนะนี้ตั้งในแนวดิ่ง ลูกสูบต่าง ๆ อาจไม่อยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น

          - ของเหลวที่ดันลูกสูบในระดับเดียวกัน ย่อมมีความดันเท่ากัน

          - ความดันที่เพิ่มขึ้น แก่ลูกสูบทุกตัวเท่ากัน ตามกฎ Pascal  แม้ว่าจะไม่เป็นระดับเดียวกัน

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 3 หลอดรูปตัวยูขาโตไม่เท่ากันภายในบรรจุของไหล
ที่มา: กัญญา  เกื้อกูล

จากรูปที่ 3  เป็นหลอดรูปตัวยูขาโตไม่เท่ากัน ภายในบรรจุของไหลที่ขาทั้งสองมีลูกสูบปิดสนิท ขาข้างเล็กมีพื้นที่หน้าตัด a  ส่วนขาข้างใหญ่มีพื้นที่หน้าตัด A  เมื่อออกแรงกด F ที่ลูกสูบเล็ก (ลูกสูบกด, ลูกสูบอัด) ทำให้ลูกสูบใหญ่ (ลูกสูบยก, ลูกสูบขยาย) สามารถยกน้ำหนัก W ได้  ซึ่งเป็นหลักการทำงานของเครื่องกลผ่อนแรงที่รู้จักกันทั่วไป คือ เครื่องอัดไฮดรอลิก (hydraulic press) จากกฎของพาสคาล

          ความดันที่ใส่เพิ่มเข้าไป = ความดันที่ได้รับ

                                   P ที่ a = P ที่ A

                                       F/a = W/A

                             หรือ W/F  = A/a                                                                          …..(1)

          จากสมการที่ (1)  เมื่อ A > a ดังนั้น W > F  แสดงว่าออกแรงกดน้อยได้แรงยกมาก ซึ่งเป็นหลักการเครื่องกลผ่อนแรง

         จาก (1)  W/F   เรียกว่า  การได้เปรียบเชิงกลทางปฏิบัติ

         A/a เรียกว่า การได้เปรียบเชิงกลทางทฤษฎี (theoretical mechanical advantage)

         จาก (1)  W/F = A/a     เมื่อไม่มีแรงเสียดทานภายนอกมากระทำ

        ถ้ามีแรงเสียดทานภายนอกมากระทำ ค่าของ W จะได้น้อยกว่าที่ควรจะได้ดังนั้น W/F < A/a

ประสิทธิภาพของเครื่องกล (Eff)

          Eff = (งานที่ได้ /งานที่ให้) x100

   หรือ Eff = (M.A. ทางปฏิบัติ /M.A. ทางทฤษฎี) x 100

   หรือ Eff =  (แรงที่ได้จริง/ แรงที่ควรได้) x 100

ตัวอย่างที่ 1 ของเหลวชนิดหนึ่งอยู่ในภาชนะที่มิดชิด เมื่อเพิ่มความดันแก่ของเหลว จะได้ผลตามข้อใด

          1. ทุกจุดในของเหลวมีความดันเพิ่มขึ้นเท่ากัน

          2. ปริมาตรของเหลวเท่าเดิม

          3. แรงกระทำต่อภาชนะเพิ่มขึ้น

          4. ถูกทุกข้อ

เฉลยข้อที่ถูกต้อง คือข้อ 4 เพราะจากกฎของ Pascal เมื่อให้ความดันเพิ่มขึ้น,แก่ผิวของของไหล ความดันจะกระจายออกไป จนทำให้ผิวของเหลวมีความดันที่เพิ่มขึ้นเท่ากันหมด

ตัวอย่างที่ 2 จากกฎของปาสคาลนำมาสร้างเครื่องอัดไฮดรอลิก จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

           A. เมื่อออกแรงกดลูกสูบข้างหนึ่ง, ลูกสูบอีกข้างหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นแสดงว่าเราสามารถส่งแรงดันผ่านของเหลวได้

           B. ขณะลูกสูบสมดุลวัตถุพอดียกขึ้น ความดันของของเหลวที่กระทำต่อลูกสูบทั้งสองมีค่าเท่ากัน

          C. แรงที่กดลงบนลูกสูบอัด และลูกสูบยกเท่ากัน

เราอาจสรุปหลักการได้ตามข้อใด

          1. ข้อ A, B, C ถูกต้อง 2. ข้อ A, B ถูกต้อง  

          3. ข้อ B, C ถูกต้อง     4. ข้อ A,  C ถูกต้อง  

เฉลยข้อ 4 ถูกต้อง เพราะจากกฎของปาสคาล ถ้าเพิ่มความดันให้กับของไหล ที่บรรจุในภาชนะปิด ณ จุดใด ความดัน นั้นจะส่งกระจายกันต่อไปทำให้ทุก ๆ ส่วนของของไหลได้รับความดันที่เพิ่มขึ้น (Increased Pressure)  เท่ากันหมด

ตัวอย่างที่ 3 เครื่องอัดไฮดรอลิกที่มีคานโยกจะผ่อนแรงมากเมื่อใด

          1. ระยะก้านสูบอัดถึงจุดหมุนยาวกว่าระยะจุดหมุนถึงปลายคานโยก

          2. ระยะก้านสูบอัดถึงจุดหมุนเท่ากับระยะจุดหมุนถึงปลายคานโยก

          3. ระยะก้านสูบอัดถึงจุดหมุนสั้นกว่า ระยะจุดหมุนถึงปลายคานโยกมาก ๆ

          4. ใช้ก้านสูบอัดเป็นจุดหมุนออกแรงกดปลายคาน

เฉลยข้อที่ถูกต้องคือ ข้อ 3 เพราะ แขนของแรงพยายามยาวจะผ่อนแรงมาก 

ตัวอย่างที่ 4 เครื่องอัดบรามาห์เครื่องหนึ่งมีพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบใหญ่เป็น 5  เท่าของลูกสูบเล็ก ในการใช้ยกของหนัก 1000  นิวตัน ต้องออกแรงที่ลูกสูบเล็กกี่นิวตัน

เฉลย จาก F/a = W/A

              F/W = a/A

         F/1000 = 1/5

                  F = 200  นิวตัน

ตอบ แรงที่ลูกสูบเล็ก = 200  นิวตัน

ตัวอย่างที่ 5 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกฎของปาสคาล

           1. ความดันที่กระทำที่จุดใด ๆ ในของเหลว ณ ระดับความลึกเดียวกันจะมีค่าเท่ากันหมด

           2. ความดันของของเหลวที่กระทำเมื่ออยู่ในภาชนะที่ปิด จะมีทิศทางตั้งฉากกับผนังด้านในของวัตถุเสมอ

          3. ความดันที่กระทำต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของของเหลวในภาชนะปิด จะส่งผ่านไปยังทุกทิศทุกทางโดยมีการเปลี่ยนแปลงตามความหนาแน่นของของเหลว

         4. เมื่อมีความดันที่เพิ่มขึ้นกระทำต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของของเหลวหรือของไหลในภาชนะปิด, ความดันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผ่านไปยังทุก ๆ ส่วนของของเหลวหรือของไหลรวมทั้งผนังของภาชนะที่บรรจุโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

เฉลยข้อที่ถูกต้องคือ ข้อ 4               

ตัวอย่างที่ 6 พื้นที่หน้าตัดขวางของลูกสูบเล็กในเครื่องอัดบรามาห์ เท่ากับ 6 ตารางเซนติเมตร และลูกสูบใหญ่เท่ากับ 600 ตารางเซนติเมตร การได้เปรียบเชิงกลของคานคือที่สำหรับโยกขึ้นลงเท่ากับ 4 ถ้าออกแรงโยกที่คานถือ 500  นิวตัน ลูกสูบใหญ่จะยกน้ำหนักเท่าใด

เฉลย สิ่งที่โจทย์กำหนดให้ คานโยกผ่อน 4 เท่า

             Fรูปเล็ก  = 4 x 500 = 2000 นิวตัน

  จากสมการ F/a = W/a

             2000/6 = W/600

                    W = 2x 105 นิวตัน

ตอบ ลูกสูบใหญ่จะยกน้ำหนัก = 2x 105 นิวตัน

แหล่งที่มา

นิรันดร์  สุวรัตน์. (2551). ฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.

ช่วง  ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3  ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

Fluid Mechanics for Students. (มมป.)  กฎของปาสคาล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,  https://indyteacher.wordpress.com/หน่วยการเรียนรู้/unit2/กฎของพาสคาล/

Return to contents


 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
 

รูปที่ 1 การวัดปริมาตรของวัตถุจากปริมาตรของเหลวที่ล้นออกมา
ที่มา : https://www.blockdit.com/articles/5d90d88ed9718d0cbf9214cb

          หลักการของอาร์คิมิดีส (Archimedes' principle) ตั้งชื่อตามอาร์คิมิดีสแห่งซีราคิวส์ ผู้ค้นพบกฎนี้เป็นคนแรก ซึ่งเป็นกฎเกี่ยวกับแรงลอยตัวและการแทนที่ โดยกล่าวว่า เมื่อนำวัตถุลงไปแทนที่ของเหลวจะมีแรงต้านเท่ากับน้ำหนักของของเหลวปริมาตรเท่าส่วนจม จากหลักการนี้ทำให้เข้าใจในหลักการหลายอย่าง เช่น เรือเหล็กทำไมจึงลอยน้ำ ของเหลวต่างชนิดกันมีความหนาแน่นต่างกัน อาร์คีมีดีสชี้ให้เห็นถึงเรื่องความหนาแน่นและนำมาเทียบกับน้ำเรียกว่าความถ่วงจำเพาะ จากหลักการนี้ทำให้อาร์ดีมีดีสสามารถพิสูจน์มงกุฎทองคำ ที่ช่างทำมงกุฎหลอมสิ่งเจือปนลงไปในเนื้อทอง อาร์คีมีดีสหาวิธีวัดปริมาตรมงกุฎทองคำได้ด้วยการเอาไปแทนที่น้ำ และปล่อยให้น้ำล้นออกมา สาระสำคัญของหลักการของอาร์คีมีดิส

  1. ปริมาตรของเหลวที่ถูกแทนที่ จะเท่ากับปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมลงในของเหลว
  2. น้ำหนักของวัตถุที่่ชั่งในของเหลว จะมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในอากาศ เนื่องจากแรงพยุงของของเหลวมีมากกว่าแรงพยุงของอากาศ
  3. น้ำหนักของวัตถุที่หายไปในของเหลว จะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกวัตถุแทนที่ ซึ่งคำนวณได้จากผลต่างของน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในอากาศกับน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในของเหลว
  4. น้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ จะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุส่วนที่จม

แรงลอยตัว (Buoyancy)

            แรงลอยตัว คือ แรงพยุงของของเหลวและแก๊สที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลวและแก๊สนั้น ทำให้วัตถุลอยอยู่ได้ โดยในชีวิตประจำวันเราจะพบว่าวัตถุบางชนิดลอยอยู่ในน้ำได้ เพราะแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าเพียงพอที่จะต้านน้ำหนักของวัตถุ ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ แต่สำหรับวัตถุบางชนิดที่จมลงในน้ำ แสดงว่าแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ

สมการที่ใช้ในการคำนวณหาขนาดของแรงลอยตัวเป็นดังนี้

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

เมื่อ   

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
   คือ ความหนาแน่นของของเหลว มีหน่วยเป็น กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (kg/m3 )

               V          คือ ปริมาตรของของเหลวที่ถูกแทนที่ มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (m 3 )

               G          คือ ขนาดความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที2 (m/s2 )

                FB       คือ ขนาดของแรงพยุง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)

ตัวอย่างที่ 1 วัตถุหนึ่งเมื่อแขวนบนเครื่องชั่งสปริงในอากาศอ่านค่าน้ำหนักได้ 28.6 นิวตัน แต่เมื่อนำวัตถุ นี้ที่แขวนบนเครื่องชั่งสปริงไปจุ่มลงในน้ำจนจมทั้งก้อนอ่านค่าน้ำหนักได้ 25.8 นิวตัน วัตถุนี้มีปริมาตรเท่าใด (กำหนดให้ ความหนาแน่นของน้ำ = 1x103 kg/m3 และ ค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก(g) = 10 m/s2 )

วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในอากาศ = 28.6 N

          น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในน้ำ = 26.7 N

                       จาก แรงพยุง (FB ) = น้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในอากาศ – น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในน้ำ

                  แทนค่า แรงพยุง (FB ) = 28.6 – 25.8 = 2.8 N

                       จาก

                       แทนค่า

                                             

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

                                             2.8 = (1x103) V(10)

                                               V = 2.8 x 10-4 m3

ตอบ วัตถุนี้มีปริมาตรเท่ากับ 2.8 x 10-4 ลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น แรงพยุงหรือแรงลอยตัวที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตร เท่ากับปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมอยู่ในของเหลว จึงสามารถสรุปได้ว่า

          1. วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าความหนาแน่นของเหลว วัตถุจะจมในของเหลวนั้น

          2. วัตถุที่มีความหนาแน่นเท่ากับความหนาแน่นของเหลว วัตถุจะลอยในของเหลวปริ่มเสมอกับ ผิวของเหลวนั้น

          3. วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของเหลว วัตถุจะลอยในของเหลวโดยมี บางส่วนจมอยู่ในของเหลวและมีบางส่วนลอยอยู่เหนือของเหลวนั้น

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 2 แสดงการลอยของวัตถุในของเหลวแต่ละชนิด

          ความหนาแน่นของวัตถุ (Density) คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของวัตถุต่อปริมาตรของวัตถุ เขียนแทน ด้วยสัญลักษณ์ “   

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
   ” เรียกว่า Rho โดยความหนาแน่นจะมีหน่วยเป็น กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (g/cm3 ) หรือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3 ) สำหรับหน่วยในระบบ S.I. เราจึงสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

                           ความหนาแน่นของวัตถุ =  มวลของวัตถุ/ปริมาตรของวัตถุ

                                                              

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

              เมื่อ    

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
= ความหนาแน่นของวัตถุ มีหน่วยเป็น g/cm3 หรือ kg/m3

                              m       = มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็น g หรือ kg

                              V       = ปริมาตรของวัตถุ มีหน่วยเป็น cm 3 หรือ m 3

          ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) หรือความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density) ของสารใด ๆ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสารนั้นกับความหนาแน่นของสารอ้างอิง ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้ความหนาแน่นของสารอ้างอิงเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ที่มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ  1x103  กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น การหาความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่นสัมพัทธ์ของตะกั่ว

ตัวอย่างที่ 1 บอลลูนสำหรับนำนักท่องเที่ยวขึ้นชมทิวทัศน์โดยรอบวนอุทยานแห่งหนึ่ง ซึ่งภายในบอลลูน บรรจุแก๊สฮีเลียมที่มีปริมาตร 600 ลูกบาศก์เมตร และมีมวล 108 กิโลกรัม ค่าความหนาแน่นของแก๊สฮีเลียมที่ บรรจุอยู่ในบอลลูนมีค่าเท่าใด

วิธีทำ

โจทย์กำหนด ปริมาตรของแก๊สฮีเลียม (V) = 600 m2 ; มวลของแก๊สฮีเลียม (m) = 108 kg

จากสมการแทนค่า                   

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

                                               

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
 

ตอบ ความหนาแน่นของแก๊สฮีเลียมมีค่าเท่ากับ 0.18 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

          เมื่อพิจารณาการจมและการลอยของวัตถุใด ๆ ที่อยู่ในของเหลว ขึ้นอยู่กับค่าความหนาแน่นของวัตถุกับ ค่าความหนาแน่นของของเหลวนั้น ถ้าวัตถุใดจมน้ำ แสดงว่า วัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าความหนาแน่นของน้ำ แต่ถ้าวัตถุนั้นลอยน้ำได้ แสดงว่า วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ หากต้องการให้วัตถุที่ มีค่าความหนาแน่นมากกว่าค่าความหนาแน่นของน้ำสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ วัตถุเพื่อให้วัตถุมีปริมาตรเพิ่มมากขึ้น จนมีค่าความหนาแน่นน้อยกว่าค่าความหนาแน่นของน้ำ เช่น เหล็กที่มีความ หนาแน่น 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งมากกว่าความหนาแน่นของน้ำเหล็กจึงจมน้ำ แต่เมื่อนำเหล็กมาทำ เป็นเรือเหล็กจะสามารถลอยน้ำได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเราทำให้เรือเหล็กมีปริมาตรเพิ่มขึ้นขณะที่มวลของเหล็ก ยังคงเท่าเดิม จึงส่งผลให้ความหนาแน่นของเรือเหล็กน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ

แหล่งที่มา

ช่วง  ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3  ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

โลกต้องจารึก. (มมป.). หลักการของอาร์คิมิดีส. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,  https://www.blockdit.com/articles/5d90d88ed9718d0cbf9214cb

Return to contents


 ความตึงผิว

          จากการที่เราศึกษาเรื่องแรงดันของของเหลว พบว่าของเหลวจะมีแรงดันกระทำในทิศตั้งฉากกับผิวสัมผัสของภาชนะ  ส่วนที่ผิวหน้าของของเหลวเมื่อสัมผัสกับวัตถุอื่น ก็จะเกิดแรงกระทำเหมือนกัน สังเกตได้จากการนำวัตถุที่เป็นของแข็ง เช่น เข็มเย็บผ้า ใบมีดโกน ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำหลายเท่าไปวางบนผิวน้ำ ปรากฏว่าเข็มและใบมีดโกนสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่เมื่อกดเข็มหรือใบมีดโกนให้จมลงใต้ผิวน้ำ ก็จะจมลงทันทีหรือการที่แมลงตัวเล็ก ๆ สามารถยืนหรือวิ่งไปมาบนผิวน้ำได้ ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า ที่ผิวน้ำหรือของเหลวใด ๆ จะต้องมีแรงชนิดหนึ่งที่พยายามยึดผิวของเหลวไว้ ซึ่งเรียกแรงนี้ว่า แรงตึงผิว

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ภาพที่ 1 แมลงเดินอยู่บนผิวน้ำ
ที่มา: https://pixabay.com / Free-Photos

          ถ้าเราจะศึกษาลักษณะของแรงตึงผิว ทำได้โดยนำเส้นลวดเส้นเล็ก ๆ มาดัดให้เป็นรูปห่วงวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แล้วจุ่มโครงลวดนี้ลงในน้ำสบู่ เมื่อดึงลวดขึ้นจากน้ำสบู่จะเห็นฟิล์มของน้ำสบู่ติดอยู่กับโครงลวด นำด้ายเส้นเล็ก ๆ มาผูกเป็นห่วงแล้วค่อย ๆ วางห่วงด้ายลงบนฟิล์มน้ำสบู่ จากนั้นใช้วัสดุปลายแหลมจิ้ม ฟิล์มน้ำสบู่ที่อยู่ภายในห่วงด้ายให้ทะลุ ผลปรากฏว่า ห่วงด้ายมีรูปร่างเป็นวงกลม การที่เป็นเช่นนี้ แสดงว่าแรงตึงผิวของฟิล์มน้ำสบู่ มีทิศขนานกับระนาบของฟิล์มและตั้งฉากกับห่วงเส้นด้าย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แรงตึงผิวของของเหลวมีทิศขนานกับผิวของของเหลว และตั้งฉากกับเส้นขอบที่ของเหลวสัมผัส

          เราสามารถศึกษา วัดแรงตึงผิวของของเหลวจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ชุดการทดลองวัดแรงตึงผิวของของเหลว โดยจัดอุปกรณ์การทดลองดังนี้

          1. จัดคานของชุดทดลองให้สมดุลอยู่ในแนวระดับแล้วค่อย ๆ เติมน้ำให้แตะด้านล่างของห่วงกลมพอดี

          2. เพิ่มแหวนโลหะลงที่แขวนน้ำหนักจนกระทั่งห่วงวงกลมหลุดจากผิวน้ำพอดี

          3. คำนวณหาแรงซึ่งเป็นแรงที่ใช้ดึงห่วงวงกลมให้หลุดจากผิวน้ำพอดี ซึ่งแรงนี้มีขนาดเท่ากับแรงตึงผิวของน้ำนั่นเองโดยให้หลักของโมเมนต์ เมื่อรู้ mg, x, y

          4. วัดความยาวของเส้นรอบวงของห่วงวงกลมเป็น l คำนวณหาอัตราส่วนระหว่างแรงที่ใช้ดึงกับสองเท่าของความยาวของเส้นรอบวงของห่วงวงกลมหรือ F/2l

          5. เปลี่ยนขนาดห่วงวงกลมอีก 2-3 ขนาด แล้วทำการทดลองซ้ำ แล้วหาค่า F/2l

          6. เปลี่ยนน้ำเป็นของเหลวอื่น ๆ แล้วทำการทดลองซ้ำ ข้อ 1-5

          จากการทดลองจะเห็นว่า เมื่อดึงห่วงวงกลมให้หลุดจากผิวของของเหลวจะพบว่าแรงที่ต้านไม่ให้ห่วงวงกลมหลุดจากผิวของเหลว จะอยู่บริเวณของของเหลว ก่อนที่ห่วงวงกลมจะหลุดจากผิว  ห่วงวงกลมจะดึงผิวของของเหลวขึ้นมาสองผิวคือ ผิวด้านใน และผิวด้านนอกของห่วง ดังนั้น ผิวของของเหลวที่ขาดออกจากกัน จึงมีสองผิว

          จากการศึกษา พบว่า อัตราส่วนระหว่างแรงที่ใช้ดึงห่วงวงกลมกับสองเท่าของความยาวของเส้นรอบวงของห่วงวงกลมสำหรับของเหลวชนิดเดียวกัน อัตราส่วนดังกล่าวจะมีค่าเท่ากัน และจะมีค่าต่างกัน เมื่อเป็นของเหลวต่างชนิดกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สำหรับของเหลวหนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างแรงตึงผิวของของเหลวกับความยาวของเส้นผิวของของเหลวที่ขาดมีค่าคงตัว เรียกค่าคงตัวนี้ว่า ความตึงผิว (Surface tension)  ของของเหลว

ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับความตึงผิว

          เมื่อนำเส้นลวดเล็ก ๆ มาดัดให้เป็นโครงลวดรูปตัวยูและมีเส้นลวดเล็ก ๆ อีกเส้นหนึ่งวางพาด จากนั้นนำโครงลวดจุ่มลงในน้ำสบู่ เมื่อยกโครงลวดขึ้นจะมีฟิล์มน้ำสบู่ติดขึ้นมาจากนั้นดึงเส้นลวดตรงให้เคลื่อนที่ออกไปตามโครงลวดอย่างช้า ๆ พบว่า ฟิล์มน้ำสบู่จะยืดขยายออก

          ถ้าออกแรงดึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุด เส้นลวดตรงจะหลุดจากฟิล์มน้ำสบู่ เมื่อพิจารณาขณะที่เส้นลวดพอดีหลุดจากฟิล์มน้ำสบู่ เมื่อเส้นลวดตรงเลื่อนไปเป็นระยะทำให้ผิวของฟิล์มน้ำสบู่มีพื้นที่เพิ่มขึ้น     ดังนั้น  ความตึงผิวของของเหลวเท่ากับอัตราส่วนระหว่างงานต่อพื้นที่ผิวของเหลวที่เพิ่มขึ้น

หน่วยของความตึงผิวจึงอาจเป็น จูลต่อตารางเมตร

          ค่าความตึงผิวของของเหลวแต่ละชนิดจะมีค่าไม่เท่ากัน สำหรับของเหลวชนิดหนึ่ง ค่าความตึงผิวจะเปลี่ยนไปเมื่อมีสารมาเจือปน เช่น น้ำเกลือ น้ำสบู่ จะมีความตึงผิวน้อยกว่าน้ำ และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นความตึงผิวของของเหลวจะลดลง

          ดังนั้น สารทั้งหลายประกอบด้วยโมเลกุล เมื่อนำของเหลวบรรจุในภาชนะจะเกิด แรงระหว่างโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วยกัน 2 แบบ คือแรงระหว่างโมเลกุลของของเหลวด้วยกัน ซึ่งเป็นโมเลกุลของสารชนิดเดียวกัน เรียกแรงนี้ว่า แรงเชื่อมแน่น (cohesive force)  และแรงระหว่างโมเลกุลของของเหลวกับโมเลกุลของภาชนะซึ่งเป็นแรงระหว่างโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน เรียกแรงนี้ว่า แรงยึดติด (adhesive force)

          เมื่อเราเทน้ำและปรอทลงในหลอดทดลองแยกกัน เมื่อของเหลวทั้งสองหยุดนิ่ง  แรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโมเลกุลของหลอดแก้วมากกว่าแรงเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง จึงมีผลทำให้ผิวน้ำที่สัมผัสกับผนังหลอดโค้งขึ้น แต่แรงเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของปรอทมากกว่าแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของปรอทกับแก้ว จึงทำให้ผิวปรอทที่สัมผัสกับผนังหลอดโค้งลงและโมเลกุลของปรอทถูกดึงห่างออกจากผนัง ดังนั้นปรอทจึงไม่เปียกผนังของหลอด

          ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความตึงผิวที่พบได้อีกเช่นการที่จุ่มหลอดแก้วรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า หลอดรูเล็ก (capillary tube) ซึ่งปลายเปิดทั้งสองข้างลงในของเหลว เช่น น้ำและปรอท พบว่า ระดับน้ำในหลอดแก้วสูงกว่าน้ำภายนอกหลอดแก้ว ส่วนระดับปรอทในหลอดแก้วจะต่ำกว่าระดับปรอทภายนอกหลอด

แหล่งที่มา

นิรันดร์  สุวรัตน์. (2551). ฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.

ช่วง  ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3  ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

Kaitoon. (2560).  ความตึงผิว. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,   https://dog-vs-cat.com/7-animals-that-can-walk-on-water-8-2-2019

Return to contents


          จากการศึกษาสมบัติของของเหลวพบว่า เมื่อใช้ช้อนคนของเหลวชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ น้ำเชื่อม น้ำมัน หรือนมข้นหวาน ปรากฏว่าการคนในของเหลวแต่ละชนิดจะต้องใช้แรงคนไม่เท่ากันเป็นเพราะสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลวที่เรียกว่า ความหนืด (viscosity) โดยของเหลวที่มีความหนืดมากจะมีแรงต้าน การเคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลวนั้นมาก แรงต้านการเคลื่อนที่อันเนื่องมาจากความหนืดของของเหลวนี้ เรียกว่า แรงหนืด (viscous force)

 

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

ภาพที่ 1 ความหนืดของน้ำผึ้ง
ที่มา: https://pixabay.com , stevepb

วิธีการเปรียบเทียบความหนืดของของเหลว

          1. ถ้าเรานำของเหลวใส่หลอดหยด แล้วลองหยดดู จะพบว่าของเหลวที่มีความหนืดน้อยจะหยดเร็ว ส่วนของเหลวที่มีความหนืดมากจะหยดช้า

          2. พิจารณาจากการคนของเหลว ถ้าของเหลวมีความหนืดมากจะคนยาก หรือรู้สึกมีแรงต้านจากการคนของเหลวมากแต่ถ้าของเหลวมีความหนืดน้อยจะคนง่ายหรือรู้สึกมีแรงต้านจากของเหลวน้อย

          3. บรรจุของเหลวในหลอดฉีด แล้วออกแรงบีบ จะพบว่าของเหลวที่มีความหนืดน้อยจะพุ่งไปได้ไกลกว่าของเหลวที่มีความหนืดมาก

          4. พิจารณาการปล่อยวัตถุเล็ก ๆ ให้ตกในของเหลว ถ้าของเหลวมีความหนืดน้อยวัตถุจะตกเร็ว แต่ถ้าของเหลวมีความหนืดมาก วัตถุจะตกช้า

          ขณะวัตถุเคลื่อนที่ในของเหลว จะมีแรงกระทำต่อวัตถุ 3 แรงด้วยกัน คือ

          1. น้ำหนักของวัตถุ (mg) ซึ่งมีค่าคงที่เสมอ

          2. แรงดันของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ บางครั้งเรียกแรงลอยตัว ซึ่งมีค่าคงที่

          3. แรงหนืด เป็นแรงต้านการเคลื่อนที่ของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ

          ในช่วง A ไป B วัตถุเคลื่อนลงด้วยความเร่ง (a)

                    จาก 

                    mg – Fหนืด – Fดัน = ma     

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
                  ….. (1)

           ในช่วง B ไป  C วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ซึ่งเรียกว่าความเร็วปลาย (terminal velocity)

                    จาก 

                    mg – Fหนืด – Fดัน = 0         

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
                 ….. (2)

                     จาก (1)   Fหนืด = mg – Fดัน – ma                      .…. (3)

                     จาก (2) Fหนืด =  mg – Fดัน                                .…. (4)

          ดังนั้น จาก (3), (4)  Fหนืด  จะมีค่าต่างกัน โดยในช่วง B ไป C วัตถุตกลงมาด้วยความเร็วสูงสุด Fหนืด      มีค่ามากกว่าในช่วง A ไป  B ซึ่งมีความเร็วไม่มากนัก  จึงพอสรุปได้ว่า แรงหนืดของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ในของเหลวจะขึ้นอยู่กับขนาดของความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ

 กฎของสโตกส์

          เมื่อปล่อยวัตถุทรงกลมตันให้เคลื่อนที่ในของเหลวความหนืด (viscosity) ของของไหลจะทำให้เกิดแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงนี้เรียกว่า แรงหนืด (viscous force) จากการศึกษาของสโตกส์ (Sir George Stokes)  พบว่าแรงหนืดแปรผันตรงกับความเร็วของวัตถุทรงกลมและมีค่าตามสมการต่อไปนี้

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

          เมื่อ F  คือ แรงหนืด มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)

                r   คือ รัศมีของวัตถุทรงกลมตัน มีหน่วยเป็น เมตร (m)

                v   คือ ความเร็วของวัตถุทรงกลมตัน มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s)

           

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
   คือ สัมประสิทธิ์ความหนืดของของไหล มีหน่วยเป็น นิวตัน.วินาที/เมตร2 (N.s/m2)

          ค่าความหนืดของของไหลบางชนิด ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

สารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น

          กลีเซอรอล                  มีความหนืดเท่ากับ 1412 x 10-3  N.s/m2

          น้ำมันลินซีด                มีความหนืดเท่ากับ 986 x 10-3  N.s/m2

          น้ำมันมะกอก               มีความหนืดเท่ากับ 84 x 10-3  N.s/m2

          กรดซัลฟิวริก               มีความหนืดเท่ากับ 22 x 10-3  N.s/m2

          เอทิลแอลกอฮอล์           มีความหนืดเท่ากับ 1.192 x 10-3  N.s/m2

          น้ำ                           มีความหนืดเท่ากับ 1.005 x 10-3  N.s/m2

          เบนซิน                      มีความหนืดเท่ากับ 0.649 x 10-3  N.s/m2

          น้ำมันละหุ่ง                 มีความหนืดเท่ากับ 0.234 x 10-3  N.s/m2

สารที่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น

          ออกซิเจน                   มีความหนืดเท่ากับ 20.9 x 10-6  N.s/m2

          ฮีเลียม                      มีความหนืดเท่ากับ 18.9 x 10-6  N.s/m2

          อากาศ                     มีความหนืดเท่ากับ 18.08  x 10-6  N.s/m2

          คาร์บอนมอนอกไซด์       มีความหนืดเท่ากับ 18.4 x 10-6  N.s/m2

          คาร์บอนไดออกไซด์       มีความหนืดเท่ากับ 16.0 x 10-6  N.s/m2

          คลอรีน                      มีความหนืดเท่ากับ 14.7 x 10-6  N.s/m2

          มีเทน                        มีความหนืดเท่ากับ 12.0 x 10-6  N.s/m2

          ไฮโดรเจน                   มีความหนืดเท่ากับ 9.5 x 10-6  N.s/m2

ตารางที่ 1 ความหนืดของของไหลกับอุณหภูมิต่าง ๆ

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
 

          จากตารางจะพบว่าความหนืดของแก๊สเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นและความหนืดของของเหลวจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น

สรุปเกี่ยวกับความหนืด

          1. แรงหนืดขึ้นกับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ในของไหล และขึ้นกับสัมประสิทธิ์ความหนืด

          2. ของเหลวความหนืดสูงจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าความหนืดต่ำ

          3. สำหรับของเหลว ความหนืดจะมากถ้าอุณหภูมิต่ำ และความหนืดจะน้อยถ้าอุณหภูมิสูง

          4. สำหรับอากาศ ความหนืดจะมากถ้าอุณหภูมิต่ำ และความหนืดจะน้อยถ้าอุณหภูมิสูง

          5. สำหรับอากาศ ความหนืดจะมากถ้าอุณหภูมิสูง และความหนืดจะน้อยถ้าอุณหภูมิต่ำ

          6. ความหนืดของหล่อลื่นบอกได้ด้วยตัวเลข SAE (เอสเออี) ความหนืดมาก ตัวเลข SAE มาก, ความหนืดน้อย ตัวเลข SAE น้อย

ตัวอย่างที่ 1 เมื่อหยดน้ำหมึกลงในของเหลวชนิดหนึ่ง ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้หยดน้ำหมึกมีรูปร่างเป็นทรงกลม จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

          A. ความดันของของเหลวมีค่าไม่มากนัก

          B. อุณหภูมิสูง แรงดึงผิวจึงมีค่ามาก

          C. แรงดึงผิวช่วยยึดผิวของของเหลวไว้

          D. ของเหลวมีความหนาแน่นมาก

ข้อใดถูกต้อง

          1. ข้อ A เท่านั้น     2. ข้อ A, C เท่านั้น

          3. ข้อ B, C เท่านั้น 4. ข้อ C, D  เท่านั้น

เฉลย ข้อที่ถูกต้อง คือข้อ 4

ตัวอย่างที่ 2 เมื่อทดลองหย่อนลูกกลมโลหะเล็ก ๆ ก้อนหนึ่งลงในของเหลวต่างชนิดกัน จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง

          1. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะในของเหลวทุกชนิดมีค่าเท่ากันหมด

          2. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะในของเหลวที่มีความหนืดสูงมีค่าน้อย

          3. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะแปรผันตรงกับความหนืดของของเหลว

          4. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะในของเหลวที่มีความหนืดสูงมีค่ามาก

เฉลย ข้อที่ถูกต้องคือข้อ 2

แหล่งที่มา

คณาจารย์แม็ค. (2551). ฟิสิกส์ ม.5. กรุงเทพฯ:แม็ค.

นิรันดร์  สุวรัตน์. (2551). ฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.

A2B Food. (2560).  ความหนืด. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,  จาก http://a2bfood.com/author/admin/

Return to contents


หลักของแบร์นูลลี กล่าวถึงของไหลในอุดมคติ มีข้อกำหนดดังนี้คือ

          1. ของไหลมีการไหลอย่างสม่ำเสมอ ทุกอนุภาคเมื่อเคลื่อนที่ผ่านจุดเดียวกัน จะมีความเร็วเท่ากันเมื่อเคลื่อนที่ผ่านจุดต่างกันจะมีความเร็วเท่ากันหรือต่างกันก็ได้

          2. อนุภาคของของไหลเคลื่อนที่โดยไม่หมุน

          3. ของไหลเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีแรงต้านเนื่องจากความหนืด

          4. ของไหลไม่สามารถอัดได้ ไม่ว่าจะไหลผ่านบริเวณใดความหนาแน่นไม่เปลี่ยนแปลง

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 1 เครื่องมือ เวนจูรี
ที่มา: http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/Fluid/fluiddynamic.htm

          ของไหลอุดมคติ เป็นของไหลที่อัดตัวไม่ได้และไม่มีความหนืด มีการไหลสม่ำเสมอ อนุภาคของของไหลแต่ละอนุภาคจะมีเส้นทางการไหลที่แน่นอน ไม่ตัดกัน เรียกว่า สายกระแส (streamline)

          ในของไหลที่ไหลอย่างสม่ำเสมอ อนุภาคหนึ่ง ๆ ของของไหลจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางเดินเส้นหนึ่งเรียกว่า เส้นกระแส (streamline) โดยความเร็วของอนุภาคที่ตำแหน่งต่าง ๆ มีทิศในแนวเส้นสัมผัส               ณ ตำแหน่ง ดังรูป (a) และเส้นกระแสของอนุภาคแต่ละเส้นจะไม่ตัดกัน ถ้าเส้นกระแสจำนวนหนึ่งอยู่เรียงกันเป็นมัด ดังรูป (b) จะเรียกมัดของเส้นกระแสนี้ว่า หลอดการไหล (tube of flow) หลอดการไหลนี้จึงเปรียบเสมือนท่อที่มีของไหลไหลเข้าทางปลายข้างหนึ่งและไหลออกอีกข้างหนึ่ง

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 2 แสดงการไหลในหลอดการไหล
ที่มา: http://theerachot.yolasite.com/

สมการความต่อเนื่อง (The equation of continuity)

          สมการความต่อเนื่องเป็นสมการที่ใช้ศึกษาการไหลของของไหลภายในท่อ การไหลของของไหลในท่อที่มีขนาดสม่ำเสมอไหลจากปลาย [2] ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A2 ไปยังปลาย [1] ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A1 ดังรูป

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 3 แสดงการไหลอย่างต่อเนื่องของของไหล
ที่มา: http://theerachot.yolasite.com/

                      m1=m2

       

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

จะได้ว่า    A1V1  =   A2V2

แต่        , t  เท่ากัน Av คือ อัตราการไหล หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อวินาที      

พลังงานรวมของของเหลว และทฤษฎีบทของเบอร์นูลลี

          การเคลื่อนที่ของของไหลพิจารณาได้จากพลังงานต่าง ๆ ของของไหลนั้น การพิจารณาเกี่ยวกับพลังงานของวัตถุไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ในสภาวะเช่นใด อาจมีพลังงานหลายอย่างแต่ผลบวกของพลังงานเหล่านี้จะมีค่าคงตัวเสมอ

          1. พลังงานศักย์ ถ้าของเหลวอยู่สูงจากระดับสมมติอันหนึ่ง

             พลังงานศักย์ = mgh

             พลังงานศักย์ต่อมวลสารของของเหลว = mgh/m = gh

          2. พลังงานความดัน เราสามารถหาค่าพลังงานนี้โดยการพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของ พลังงานศักย์มาเป็นพลังงานชนิดนี้

             ความดันของของเหลว  = (ความหนาแน่น)(ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง)(ความสูง)

          3. พลังงานจลน์ ถ้าของเหลวเคลื่อนที่อยู่ด้วยความเร็ว พลังงานจลน์ของมวลสาร = 1/2 mv2

ดังนั้น พลังงานจลน์ต่อมวลสาร = (1/2mv2)/m = v2/2

ตัวอย่าง 1 เม็ดเลือดไหลด้วยอัตราเร็ว 8 เซนติเมตรต่อวินาที ในเส้นเลือดใหญ่มีรัศมี 0.6เซนติเมตร ไปสู่เส้นเลือดขนาดเล็กลง และมีรัศมี 0.3 เซนติเมตร อัตราเร็วของเม็ดเลือดในเส้นเลือดเล็กเป็นกี่เซนติเมตรต่อวินาที

วิธีทำ                                      จาก Av = ค่าคงตัว
                                         จะได้ A1v1 = A2v2

        (22/7)(0.6 cm)(0.6 cm)(8 cm/s) = (22/7)(0.3 cm)(0.3 cm)v2
                                                     v2 = 32 cm/s
        ตอบ อัตราเร็วของเม็ดเลือดในเส้นเลือดเล็กเป็น 32 เซนติเมตรต่อวินาที

สมการของแบร์นูลลี
        พิจารณาหลอดการไหลที่มีระดับต่างกัน และมีพื้นที่หน้าตัดไม่เท่ากัน

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

รูปที่ 4 หลอดการไหลที่มีระดับต่างกัน
ที่มา : http://theerachot.yolasite.com/

          แรงดันที่ท่อด้านล่าง  แรงดันที่ท่อด้านบน  และแรงโน้มถ่วง แรงทั้งหมดจะทำให้เกิดงานเนื่องจากของไหล  จากทฤษฎีของงาน – พลังงานงานทั้งหมดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของของไหลส่วนเล็ก ๆ ที่พิจารณา  จะมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของมวลที่เคลื่อนที่

                    F1d1 – F2d2 –mg(h2 – h1) = 1/2mv22 -1/2mv12

จากนิยามของความดันและความหนาแน่น

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

เมื่อปริมาตรของไหลส่วนที่เคลื่อนที่ในท่อล่างกับท่อบนมีค่าเท่ากัน

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด

สมการที่ได้เรียกว่าสมการแบร์นูลลี  นั่นคือ

                          

อัตราส่วน ระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัด ของวัสดุที่ ถูกแรงกระทำ หมาย ถึง ปริมาณ ใด
              =        ค่าคงที่

ตัวอย่างที่ 2 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักการของแบร์นูลลี

          1. ของไหลเคลื่อนที่โดยไม่มีการหมุน

          2. ของไหลมีการเคลื่อนที่โดยไม่มีแรงต้านในของไหล

          3. ของไหลเคลื่อนที่โดยมีความหนาแน่นคงตัว

          4. ของไหลมีความดันเพิ่มขึ้นเมื่อมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้น

เฉลย ข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อ 4

ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลต่อไปนี้

          A. อัตราการไหลของน้ำจะเพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่หน้าตัดของหลอดการไหลลดลง

          B. เมื่อพื้นที่หน้าตัดของหลอดการไหลเพิ่มขึ้นความดันของของไหลจะลดลง

          C. ความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านท่อที่มีขนาดเล็กลงจะเร็วขึ้น

          D. สมการความต่อเนื่องบอกให้ทราบถึงอัตราของมวลที่ไหล

ข้อใดที่ถูกต้อง

          1. ข้อ A, B, C และ D    2. ข้อ A, B และ C

          3. ข้อ A และ C             4. ข้อ C และ D 

เฉลยข้อที่ถูกต้องคือข้อ 4

ตัวอย่างที่ 4 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง

          1. พื้นที่หน้าตัดของท่อลดลง อัตราเร็วของไหลเพิ่มขึ้น ความดันในของไหลลดลง

          2. พื้นที่หน้าตัดของท่อลดลง อัตราเร็วของไหลลดลง ความดันในของไหลลดลง

          3. พื้นที่หน้าตัดของท่อเพิ่มขึ้น อัตราเร็วของไหลลดลง ความดันในของไหลลดลง

          4. พื้นที่หน้าตัดของท่อเพิ่มขึ้น อัตราเร็วของไหลเพิ่มขึ้น ความดันในของไหลลดลง

เฉลยข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อ 1

ตัวอย่างที่ 5 จากการไหลของของไหลในอุดมคติและหลักการของแบร์นูลลี พบว่าถ้าที่บริเวณใดมีอัตราเร็วของของไหลเพิ่มขึ้น แสดงว่า

          A. พื้นที่บริเวณนั้นมีขนาดเล็กลง B. พื้นที่บริเวณนั้นมีขนาดเพิ่มขึ้น

          C. ความดันของของไหลลดลง   D. ความดันของของไหลเพิ่มขึ้น

คำกล่าวที่ถูกต้องคือข้อใด

          1. ข้อ A และ C          2. ข้อ A และ D

          3. ข้อ B และ C          4. ข้อ B และ D 

เฉลยข้อที่ 1

แหล่งที่มา

ช่วง  ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3  ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (มมป.). พลศาสตร์ของไหล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,   http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/Fluid/fluiddynamic.htm

Return to contents

อัตราส่วนระหว่างแรงดึงกับพื้นที่หน้าตัดของวัสดุท่ีถูกแรง กระทา หมายถึงปริมาณใด

ความเค้น (tensile stress: อ่านว่า ซิกมา) คือ อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำต่อวัตถุกับพื้นที่หน้าตัด

อัตราส่วนระหว่างแรงเค้นกับพื้นที่หน้าตัดของเส้นลวดตรงกับข้อใด

2. ความเค้นตามยาว หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงเค้นกับพื้นที่หน้าตัดของเส้นลวด 3. ความเครียดตามยาว หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความยาวที่เปลี่ยนไปกับความยาวเริ่มต้น

อัตราส่วนระหว่างความยาวที่เปลี่ยนไปกับความยาวเดิม คือข้อใด

ความเครียด (ε) คือ อัตราส่วนระหว่างความยาวที่เปลี่ยนไป (ΔL) กับความยาวเดิม (L0) สูตรคือ ค่ามอดูลัสของยัง (Y) คือ ค่าคงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของวัสดุที่จะคงที่เสมอในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยืดหยุ่น โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด

ข้อใดคือความหมายของสภาพพลาสติก

สภาพพลาสติก, สมบัติของวัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อแรงหยุดกระทำ วัสดุนั้นจะเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างถาวร โดยผิววัสดุไม่มีการฉีกขาดหรือแตกหัก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]