การปรับแตรมีจุดประสงค์เพื่ออะไร

แตรรถยนต์ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ช่วยลดอุบัติเหตุได้ แต่ก็ยังมีคนที่มีความเชื่อว่าการใช้แตรรถยนต์บนท้องถนนเป็นสิ่งที่เสียมารยาท และไม่ควรทำ สมัยนี้ไม่รู้ว่าอากาศร้อนเกินไปหรือว่าอะไร คนจึงหัวร้อนกันง่ายสุดๆ เรามักจะเห็นข่าวตามทีวีกันเป็นประจำเกี่ยวกับการกระทบกระทั่งกันเพราะการใช้แตรรถยนต์ เรียกได้ว่าเกือบถึงขั้นลงไม้ลงมือกันเลยแหละ ลองตามจิ๊บไปดูกันเลยดีกว่าว่าเราจะใช้แตรรถยนต์อย่างไรให้ถูกวิธี

การปรับแตรมีจุดประสงค์เพื่ออะไร
การปรับแตรมีจุดประสงค์เพื่ออะไร

มารู้จักเสียงแตรรถยนต์กันก่อนเถอะ!

1. “ปื๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด” เสียงแตรรถยนต์ที่บีบแบบเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่องหลายครั้ง

การบีบแตรรถยนต์ในลักษณะกดเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่อง จะเป็นเหมือนการทักทาย Say Hi กัน เช่น เราจอดรถติดไฟแดง แล้วเจอเพื่อนจอดรถติดไฟแดงอยู่ข้างเราเหมือนกัน เราจึงบีบแตรแบบสั้นๆ ต่อเนื่องเพื่อทักทายอารมณ์ประมาณว่า “เห้ยแกรรรร ฉันอยู่นี่ มองฉันสิ”

2. “ปิ๊ด” เสียงบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ

การบีบแตรรถยนต์แบบสั้นๆ เบาๆ ส่วนใหญ่จะหมายถึงการบีบเตือน เพื่อให้คนรอบข้าง หรือรถคันอื่นระวัง เช่น เราขับรถมาแล้วมีสุนัขนอนขวางทาง เราก็จะบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ เพื่อเตือนสุนัขว่า “รถฉันมาแล้ว ถ้าไม่อยากโดนทับ หลีกทางเดี๋ยวนี้นะ”

3. “ปี๊ดดด” เสียงบีบแตรแบบยาว และมีเสียงดัง

เสียงแตรรถยนต์แบบนี้ให้ความรู้สึกเป็นการเตือนเช่นกัน แต่จะเป็นการส่งสัญญาณเตือนแบบมีอารมณ์มากกว่าข้อ 2 อารมณ์ประมาณว่า “คุณจะหยุดรถนานอะไรนักหนา มันไฟเขียวแล้วแกรรร มัวทำอะไรอยู่ รีบไปสักทีสิ!” สาเหตุที่ต้องส่งสัญญาณบีบแตรในลักษณะนี้ก็เพื่อเตือนให้เค้ารู้ตัว เพราะบางทีเค้าอาจจะเหม่อลอย หรือลืมอยู่ก็ได้

4. “ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด ปี๊ดดดดด” เสียงบีบแตรแบบดังๆ ยาวๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง

การบีบแตรแบบนี้ให้ความรู้สึกประมาณว่า “วันนี้ฉันรีบโว๊ยยยย มัวทำอะไรอยู่ เร็วๆ หน่อยสิ” ถือเป็นอาการหัวร้อนระดับ 1 ละกันเนาะ การบีบแตรในลักษณะนี้ถ้าหลีกเลี่ยงได้ไม่ควรทำเด็ดขาด ก็เพราะไอเสียงแตรแบบปี๊ดดดดดดดดยาวๆ ต่อเนื่องแบบนี้อ่ะแหละที่ทำให้คนวางมวยกัน

5. “ปี๊ดดดดดดดดดด” เสียงบีบแตรยาวแบบต่อเนื่อง

การบีบแตรรถด้วยเสียงปี๊ดดดดดดดด ถือเป็นอาการหัวร้อนขั้นสูงสุดเลยแหละ ให้ความรู้สึกว่าฉันไม่พอใจคุณอย่างรุนแรง โกรธมาก โมโหมาก! ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือนการตะโกนด่ากันต่อหน้าอ่ะ หากใครจะใช้สัญญาณแตรแบบนี้ ก็เตรียมเผื่อใจไว้ก่อนนิดนึงนะ เพราะอาจจะมีเรื่องมีราวได้ บอกได้คำเดียวว่าเกี้ยวกราดสุดๆ!

ใช้แตรรถยนต์อย่างไร ให้ถูกวิธี

1. ใช้เสียงแตรให้เหมาะสม โดยเสียงแตรต้องไม่ผ่านการดัดแปลง หากใช้เสียงแตรรถยนต์ที่ดังเกินไป อาจทำให้รถยนต์คันอื่นตกใจ ขวัญผวา จนเป็นเหตุนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

2. หากไม่อยากเกิดปัญหากระทบกระทั่งกัน ควรบีบแตรถยนต์ในลักษณะแบบสั้นๆ ไม่บีบแตรแบบดังและยาวเกินไป ก็ใจเขาใจเราอ่ะเนาะ ไม่มีใครชอบให้คนอื่นบีบแตรใส่เราหรอก

3. เวลาขับรถสวนทางกันผ่านโค้งหักศอก หรือบริเวณมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ที่สวนทางมาได้ ก็ให้ใช้สัญญาณแตรรถ เพื่อเป็นการบอกรถคันที่กำลังจะสวนทางมาว่ามีรถอยู่ตรงนี้นะ เค้าจะได้ระมัดระวังมากขึ้น

4. หากพบป้ายห้ามใช้แตรรถยนต์ หรือห้ามใช้เสียงในบริเวณดังกล่าว ผู้ขับขี่รถควรหลีกเลี่ยงการบีบแตรรถด้วย เช่น เขตพระราชฐาน หรือโรงพยาบาล

5. หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น เช่น โดนชิงทรัพย์ มีคนบาดเจ็บในรถยนต์ ผู้ขับขี่สามารถใช้สัญญาณแตรแบบเสียงดังและลากยาวได้ เพื่อขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

จะเห็นได้ว่าการใช้แตรรถยนต์ไม่ได้เป็นสิ่งที่เสียมารยาทเลยสักนิด เพราะถือเป็นสัญญาณเตือนที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ดี โดยผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ หากเราไม่ชอบให้ใครมาบีบแตรเสียงดังใส่เรา เราก็ไม่ควรไปบีบแตรเสียงดังใส่เค้าก่อน นิดๆ หน่อยๆ ก็ให้อภัยกันเหอะเนาะ พวกเราทุกคนจะได้ขับขี่บนท้องถนนกันอย่างปลอดภัยนะจิ๊บ

1) การบีบแตรแบบเบาและเสียงสั้น หมายถึง การทักทายกันบนท้องถนน เช่น “สวัสดียามเช้าอากาศสดใส ฉันกำลังจะไปทำงานแล้วนะ” การบีบแตรในลักษณะนี้ ค่อนข้างจะสุภาพและเป็นมิตร ใช้วิธีการบีบแตรเบาๆและสั้นๆ ผู้รับรู้ก็จะได้รู้สึกสบายหูไปด้วยนั้นเอง

2) การบีบแตรแบบเสียงสั้นสองครั้ง หมายถึง การบีบแตรในลักษณะนี้ เพื่อเป็นการเตือนให้อีกฝ่ายทราบถึงตำแหน่งรถของเรา เพื่อระมัดระวังและลดการเกิดอุบัติเหตุด้วยนั่นเอง

3) การบีบแตรแบบเสียงดังยาว หมายถึง เป็นการบีบแตรที่ผู้ฟังอาจจะตกใจไม่มากก็เล็กน้อย แต่ข้อดีของมันคือการเร่งอีกฝ่ายให้ตื่นตัว ไม่เหม่อลอย ให้ระมัดระวังว่ากำลังจะเกิดเหตุอันตราย และอาจจะเป็นการช่วยเตือนให้เค้าตื่นจากอาการหลับในได้อีกด้วย

4) การบีบแตรแบบเสียงดังยาวซ้ำกันสองครั้ง หมายถึง การแบบแตรแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะผู้ที่ได้ฟังนั้นจะสามารถรับรู้ได้ถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน การบีบแตรยาวๆซ้ำกันนั้นเป็นการเตือนว่ากำลังจะเกิดอุบัติเหตุแบบกะทันหัน ฉุกเฉิน นั้นเอง


หากพูดถึงแตรรถยนต์ หลายคนอาจจะใช้บ่อยหรือบางคนแทบจะไม่ได้ใช้เลย เพราะเกรงว่าจะทำให้ผู้อื่นรำคาญหรือไม่สุภาพ แต่การใช้แตรบนท้องถนนก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะช่วยลดอุบัติเหตุได้ แต่หากบีบแตรแบบไร้กาลเทศะก็มีโทษปรับได้เช่นกัน  วันนี้ เกร็ดความรู้กับ โตโยต้า ลีสซิ่ง มีข้อมูลมาฝากกัน


ตามข้อมูลพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ระบุไว้ว่า การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้ ซึ่งหากทำผิดมาตรา 14 วรรค 2 จะมีบทลงโทษตามมาตรา 150 (1) โดยมีโทษปรับ 500 บาท


บีบแตรรถแบบใดถึงจะไม่โดนปรับ
การบีบแตรควรใช้เพื่อเป็นการเตือนก่อนเกิดเหตุ  ไม่ควรใช้ในกรณีที่ยังบังคับรถอยู่ด้วย เพราะอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมพวงมาลัย รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการบีบแตรครั้งเดียวยาว ๆ เพราะทำให้เพื่อนร่วมทางตกใจ และสร้างรำคาญได้ อีกทั้งอาจทำให้เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับคู่กรณีตามมาได้ด้วย


นอกจากนี้ ก็ควรให้ความเคารพสถานที่มีป้ายงดใช้เสียงด้วย อาทิ วัด โรงพยาบาล โรงเรียน เขตพระราชฐาน  เพื่อไม่ให้เสียงสัญญาณแตรไปบกวนในเขตที่ติดตั้งป้ายเหล่านั้น ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษปรับตามมาตรา 148 ด้วย โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้นมารยาทในการใช้แตรรถจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้รถควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด


สถานการณ์แบบใดควรบีบแตร
•    ควรให้สัญญาณแตรเมื่อขับผ่านบริเวณทางโค้งหักศอก หรือทางโค้งที่มองไม่เห็นรถที่วิ่งสวน บริเวณที่มีมุมอับ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เมื่อขับรถแล้วเจอกรณีแบบนี้ให้บีบแตรเพื่อส่งสัญญาณได้เลย
•    ใช้สัญญาณแตรแบบจังหวะสั้นและเบา ๆ  เพื่อเป็นการให้สัญญาณเตือนแบบทั่วไป อย่างเช่นกรณีที่ต้องการเตือนรถคันหน้าที่กำลังถอยหลังมาใกล้ เป็นต้น
•    การใช้สัญญาณแตรค่อนข้างดังและยาว เป็นการให้สัญญาณแบบตั้งใจ เช่น เจอรถเปลี่ยนเลนเข้ามาในเลนเราแบบกะทันหัน โดยที่ไม่เปิดไฟเลี้ยว ก็สามารถบีบแตรได้ทันที เพื่อเตือนให้อีกฝ่ายรู้ตัวว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้


จะเห็นว่าแตรรถยนต์มีความสำคัญมาก และจำเป็นต้องใช้อย่างมีกติกามารยาทด้วย เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่ระมัดระวังของผู้ใช้รถใช้ถนน แต่หากใช้โดยไม่รู้จักกาลเทศะ นอกจากมีสิทธิ์ถูกจับปรับเพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายแล้ว ก็อาจจะมีเรื่องราวบานปลายบนท้องถนนกับคู่กรณีจนอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นได้เช่นกัน