พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

หน้าแรก > คำชี้แจงพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯพ.ศ. 2554

       พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554

   มีเจตนารมณ์เพื่อวางมาตรการควบคุม กํากับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันเป็นกําลังสําคัญของชาติให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

   มีความปลอดภัยในการทํางานสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการนําเทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์สารเคมี และสารเคมีอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต การก่อสร้าง และบริการส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และ ก่อให้เกิดอันตรายจากการทํางาน

 จนถึงแก่บาดเจ็บ ทุพพลภาพ พิการ เสียชีวิต หรือเกิดโรคอันเนื่องจากการทํางาน ซึ่งนับวันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น และ
ทวีความรุนแรงขึ้น     

 ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีหลักการส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การคุ้มครองแรงงานทั่วไป และมีขอบเขตจํากัดไม่สามารถกําหนดกลไก และมาตรการบริหารงานความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  ทั้งนี้พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป

ประกอบด้วยบทบัญญัติ 8 หมวด 74 มาตรา ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย และเพื่อให้การตีความ

กฎหมายเป็นไปในแนวทางเดียวกันและถือปฏิบัติได้จึงได้จัดทําคําชี้แจงพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554

Visitors: 41,071

หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Chapter 2: Administration, management and implementation of safety, occupational health and environment at work

ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

Employer shall administrate, manage and implement the safety, occupational health and environment at work in compliance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations.

ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่จัดทำเอกสารหรือรายงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยเอกสารหรือรายงานนั้นต้องมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น

Employer shall have duties in preparing documents or reports as stipulated in the Ministerial Regulations. These documents or reports shall be checked or certified by individuals or juristic persons as stipulated in the Ministerial Regulations.

และลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น

Employees shall have duties in following the safety, occupational health and environment at work criteria in accordance with the standards stipulated in such Ministerial Regulations.

บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

Any individuals who intend to provide the services of measurement, inspection, test, certification, risk assessment, and training or consultation in order to promote the safety, occupational health and environment at work in accordance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 shall be registered with the Occupational Safety and Health Bureau, the Department of Labour Protection and Welfare.

นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

Any juristic persons who intend to provide the services of measurement, inspection, test, certification,risk assessment, and training or consultation in order to promote the safety, occupational health and environment at work in accordance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 shall be given a license from the Director-General.

ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

Employer shall provide the safety officers, personnel, organizations, or groups of persons in order to perform the safety issues within his or her enterprise in accordance with the criteria, methods and conditions stipulated in the Ministerial Regulations.

ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับ อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

If the employer assigns his or her employees to work in a working condition or environment that the employees may be exposed to life, physical, mental or health hazards, he or she shall inform his or her employees on the potential hazards due to such work and shall distribute all employees a work instruction before they start working or change their work or working location.

ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

Employer shall provide all managers, supervisors and employees the training on safety, occupationalhealth and environment at work so that they can administrate, manage and implement the safety,occupational health and environment at work safely.

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน

If the employer assigns his or her employees, changes their works and working location, or changes the machines or equipment that may cause the employees exposing to life, physical, mental and health hazards, he or she shall provide all employees the training before starting their work.

การฝึกอบรมดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

Above-mentioned training shall be in compliance with the criteria, methods and conditions as stipulated by the Director-General.

ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

Employer shall post the hazard warning signs and marks related to safety, occupational health and environment at work, including the statements indicating the employer’s and employee’s rights and duties stipulated by the Director-General, at easily visible locations within his or her enterprise.

ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

If any location consists of many enterprises, every employer of all enterprises within that location shall have duties in commonly implementing the safety, occupational health and environment at work issues in compliance with this Act.

ลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย

Employees who work in enterprises, including those who work in other enterprises that are not owned by their employers, shall follow the safety, occupational health and environment at work criteria applicable for such enterprises.

ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่นเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา 8 มาตรา 16 มาตรา 18 และมาตรา 22

Managers or supervisors shall have duties in supporting and cooperating with the employer and other personnel in order to perform in compliance with Section 8, 16, 18 and 22.

ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยโดยคำนึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ

Employees shall have duties in looking after their environment at work in accordance with the standards stipulated in the Ministerial Regulations based on Section 8 to ensure their life, physical, mental and health safety by taking into account the work conditions and responsible areas.

ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหาย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างานหรือผู้บริหาร แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

If the employees know any noncompliance or damages and cannot correct by themselves, they shall inform the safety officers, supervisors or managers who shall then inform their employer by a writtennotice without delay.

ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหายซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายจิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ต้องดำเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ กรณีไม่อาจดำเนินการได้ ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้างดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า

If the supervisors know any noncompliance or damages that may cause the employees exposing to life, physical, mental or health hazards, they shall prevent such hazards within their responsible or assigned scope as immediately as having known. If these hazards cannot be prevented, the supervisors shall inform the managers or employer for correction without delay.

ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

Employer shall provide and supervise his or her employees to wear the personal protective equipment in accordance with the standards as stipulated by the Director-General.

ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่และดูแลรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน

Employees shall have duties in wearing and maintaining the personal protective equipment so that they can be effectively used within the nature and conditions of work throughout the working period.

ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างเช่นเดียวกับนายจ้าง

Contractors and subcontractors in accordance with the labour protection law shall have duties in implementing the same safety, occupational health and environment at work issues as of the employees.

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ตราขึ้นเพราะวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.. 2554. มีเจตนารมณ์เพื่อวางมาตรการควบคุม กํากับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันเป็นกําลังสําคัญของชาติให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

พระราชบัญญัติ ความ ปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํา งาน พ ศ 2554 มี กี่ หมวด กี่ มาตรา

นอกเหนือจากส่วนนี้และบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว โครงสร้างของกฎหมายฉบับนี้จะประกอบด้วย 8 หมวด และมีมาตราทั้งหมด 74 มาตรา สาระสำคัญของส่วนนำจะเป็นเรื่องขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย และนิยามศัพท์ ส่วนบทเฉพาะกาล กำหนดให้ในระหว่างการเตรียมการต่าง ๆ ให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ ...

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีบทลงโทษสูงสุด คืออะไร

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ๑๐. หมวด ๘ บทกำหนดโทษ พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดบทลงโทษสูงสุดโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๘๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษต่ำสุด ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน พ.ศ. 2554 ให้ไว้ ณ วันที่ใด

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม .. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน