การพูดอภิปรายมีลักษณะตรงกับข้อใด

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

    1. ความหมายของการอภิปราย

         คือ การที่บุคคลคณะหนึ่งซึ่งมีความรู้และความสนใจในด้านต่าง ๆ มาร่วมกันพูดเสนอความรู้ความคิดเห็นที่มีสารประโยชน์บนเวที และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นหรือซักถามในตอนท้าย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนกระทั่งหาข้อยุติ เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาหรือสรุปผลในเรื่องนั้นได้

    2. จุดมุ่งหมายของการอภิปราย

          1) เพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งได้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างมีเหตุผล

          2) เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาที่นำมาอภิปราย

          3) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และเหตุผลในเรื่องที่อภิปราย

          4) เพื่อหาข้อยุติ ข้อวินิจฉัยในเรื่องนั้น ๆ

          5) เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อเสนอแนะที่เกิดจากการอภิปรายสู่สาธารณชน

    3. ประเภทของการอภิปราย

          1) การอภิปรายเป็นคณะ ประกอบด้วยผู้คณะอภิปราย 2 – 5 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่อภิปราย                 

          2) การอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ ประกอบด้วยคณะผู้บรรยาย 2 – 5 คน มีผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคนพูดเฉพาะส่วนที่ได้รับมอบหมาย บรรยากาศเป็นวิชาจริงจังมากกว่า

          3) การอภิปรายซักถาม เป็นรูปแบบที่ปรับปรุงมาจากการอภิปรายเป็นคณะ ผู้อภิปรายมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นวิทยากร 2 – 4 คน อีกกลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทนผู้ฟัง 2 – 4 คน นั่งหันหน้าหากัน มีผู้ดำเนินการอภิปรายอยู่ตรงกลาง เมื่อเป็นการอภิปรายแล้ว เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้ฟัง และผู้ฟังซักถาม วิทยากรเป็นฝ่ายตอบ

          5) การเปิดอภิปรายทั่วไป เป็นการอภิปรายที่ผู้ฟังมีส่วนร่วมอภิปราย อาจเป็นการตั้งกระทู้ถามในเรื่องที่สงสัย กล่าวสนับสนุน กล่าวขัดแย้ง กล่าวประนีประนอม หรือตั้งข้อสังเกตแสดงความคิดเห็นได้ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการอภิปรายเสร็จสิ้น

    5. บทบาทผู้ดำเนินการอภิปราย

    ผู้นำการอภิปราย

          1) ประสานงาน นัดหมายผู้อภิปราย วางแผนล่วงหน้า แจ้งกำหนดการ จุดประสงค์ โครงเรื่อง เนื้อหา            

               วิธีอภิปราย สถานที่ เวลา และอื่น ๆ

          2) กล่าวนำการอภิปราย บอกสาเหตุที่นำเรื่องนี้มาอภิปราย ความหมายขอบเขตของเรื่องใช้เวลา

              เท่าใด รอบแรกผู้อภิปรายพูดคนละกี่นาที รอบสองกี่นาที ผู้ฟังมีเวลาซักถามกี่นาที ฯลฯ

          3) กล่าวแนะนำผู้ร่วมอภิปรายตามลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง ความสามารถ แนะนำตนเองเป็นคนสุดท้าย          

              บอกเฉพาะชื่อและนามสกุล

          4) กล่าวนำประเด็นที่จะอภิปรายเพื่อให้ผู้ฟังและผู้ร่วมอภิปรายเข้าใจตรงกัน

          5) เชิญผู้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น ผู้ดำเนินการอภิปรายบันทึกประเด็นสำคัญไว้สรุปและ

              เชื่อมโยงให้ผู้ร่วมอภิปรายคนถัดไปสามารถพูดต่อได้จนครบทุกคน

          6) ช่วยสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดการอภิปราย

          7) สรุปท้ายอภิปราย เชิญผู้ฟังซักถามกล่าวสรุป ขอบคุณและปิดอภิปราย

      ผู้ร่วมอภิปราย

          1) ศึกษาเรื่องและจุดมุ่งหมายในการอภิปราย

          2) ปรึกษาและวางแผนการอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้ร่วมอภิปราย

          3) เตรียมค้นคว้าข้อมูล เขียนโครงร่างการพูดล่วงหน้า

          4) เตรียมสื่อ โสตทัศนูปกรณ์ล่วงหน้า

          5) ใช้เวลาพูดให้เหมาะสม ตรงประเด็น ภาษาสุภาพ บรรยากาศเป็นมิตร แทรกอารมณ์ขัน

          6) ขณะที่ผู้อภิปรายอื่นพูดตั้งใจฟังตลอด เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหา

          7) หากจะแสดงความคิดขัดแย้งผู้อื่น ควรมีวาทศิลป์ที่สุภาพและมีเหตุผล

          8) ตอบคำถามอย่างกระตือรือร้น ได้สาระ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพูดอภิปรายได้
  2. วางแผนการพูดอภิปรายได้

การพูดอภิปราย

        การอภิปรายเป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนา แต่การอภิปรายแตกต่างกับการสนทนาในลักษณะสำคัญ คือ การอภิปรายมีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอน เช่น การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนการสนทนาโดยทั่วไปไม่ได้กำหนดเรื่องที่จะสนทนาไว้ก่อน และอาจเปลี่ยนเรื่องไปได้ต่างๆ สุดแต่เหตุการณ์

 การอภิปรายประกอบด้วย

๑) ผู้พูด ๒) ผู้ฟัง ๓) หัวข้อเรื่อง ๔) สถานที่

 แบบของการอภิปราย

        การอภิปรายมีหลายแบบ แบบที่นิยมกันทั่วไป คือการอภิปรายแบบธรรมดา และการอภิปรายเป็นคณะ

         1.การอภิปรายแบบธรรมดา เป็นการร่วมประชุมของกลุ่มบุคคลซึ่งไม่มากนัก โดยมีผู้หนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย เพื่อปรึกษาหารือหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยผู้เข้าร่วมประชุมคนใดจะอภิปรายก่อนหรือหลังก็ได้ มักใช้กับเรื่องทางวิชาการในชั้นเรียน การประชุมสัมนาหรือการประชุมของสโมสร สมาคมและหน่วยงานต่างๆ

         2.การอภิปรายเป็นคณะ เป็นการประชุมให้ความรู้หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในคณะผู้อภิปรายซึ่งจัดขึ้นโดยเฉพาะประมาณ ๕ คน และมีผู้หนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย ผู้เข้าร่วมประชุมนอกนั้นเป็นผู้ฟัง ผู้อภิปรายแต่ละคนได้รับมอบหมายให้พูดในเวลาต่างๆ กัน เป็นการพูดและซักถามระหว่างคณะผู้อภิปรายเพื่อผู้ฟังต่อหน้าผู้ฟัง แต่ไม่ได้พูดกับผู้ฟังโดยตรง แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามผู้อภิปรายคนใดคนหนึ่งได้ในตอนท้าย

 ความมุ่งหมายของการอภิปราย

        ๑. เพื่อเสนอปัญหาหรือเรื่องบางอย่าง

        ๒. ให้คนกลุ่มหนึ่งมาร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทรรศนะอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผลตามหลักประชาธิปไตย

        ๓. ผู้ร่วมอภิปรายเสนอข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ และแสวงหาข้อแก้ไขที่ดีที่สุด อาจมีความเห็นสอดคล้องกันหรือโต้แย้งกันก็ได้

        ๔. หาข้อยุติของปัญหาหรือเรื่องดังกล่าว

        ๕. ให้ข้อคิดและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

 ประเภทของการอภิปราย

        ๑. การอภิปรายกลุ่ม หมายถึง การอภิปรายที่บุคคลมาร่วมปรึกษาหารือกัน อาจมีจำนวน ๕-๑๐ คน หรือมากกว่านี้ก็ได้ ทุกคนมีส่วนในการพูด ผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง การอภิปรายแบบนี้จะไม่มีผู้ฟัง เพราะทุกคนเป็นทั้งผู้้พูดและผู้ฟังนั่นเอง

        ๒. การอภิปรายในที่ประชุม หมายถึง การอภิปรายที่กำหนดวัตถุประสงค์ไว้แน่นอนว่าทุกคนจะมาร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับหัวข้อยุติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การอภิปรายแบบนี้มีประธานในการอภิปราย ทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินการอภิปรายให้เป็นไปตามระเบียบวาระ และหลังจากที่สมาชิกมาร่วมประชุมอภิปรายกัน เสร็จสิ้นจนได้ข้อยุติ ก่อนเสนอข้อยุตินั้นสมาชิกจะต้องลงคะแนนเสียงกันก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นมติของที่ประชุมจริง บางครั้งอาจมีการคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ประมาณ ๓-๕ คน ร่วมอภิปรายเป็นคณะ ส่วนคนที่เหลือก็เป็นผู้ฟัง และหลังจากได้อภิปรายแล้วจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามข้อสงสัย เมื่อทุกคนเข้าใจกระจ่างดีแล้วจึงสรุปข้อยุติที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน ถือเป็นมติของที่ประชุม จากนั้นประธานก็กล่าวปิดอภิปรายได้

 หน้าที่ของผู้ดำเนินการอภิปราย

        การอภิปรายจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งหน้าที่ของ ผู้ดำเนินการอภิปราย ได้แก่

        ๑. กล่าวแนะนำผู้ร่วมอภิปรายให้ผู้ฟังรู้จักอย่างย่อๆ

        ๒. กล่าวชื่อเรื่องที่จะอภิปรายและกำหนดเวลาการอภิปราย

        ๓. เชิญผู้อภิปรายพูดให้ทั่วถึงกัน คอยรักษาเวลาการพูดให้อยู่ในกำหนด

        ๔. เข้าใจเรื่องที่จะอภิปรายอย่างดี ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการพูดไว้ล่วงหน้า

        ๕. ช่วยสรุปการพูดอภิปรายของแต่ละคนและเชื่อมโยงไปยังผู้อภิปรายแต่ละคน

        ๖. คอยเพิ่มเติมหรือสรุปเรื่องอภิปรายให้ผู้ฟังเข้าใจดียิ่งขึ้น

        ๗. คอยแจกคำถามของผู้ฟังให้ผู้อภิปราย

 ข้อควรปฏิบัติของผู้ดำเนินการอภิปราย

        การอภิปรายจะได้ผลเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้ดำเนินการอภิปรายควรถือหลักปฏิบัติดังนี้

        ๑. ติดตามคำพูดของผู้อภิปรายแต่ละคนอย่างใกล้ชิด โดยบันทึกสาระสำคัญไว้

        ๒. กล่าวซ้ำหรืออภิปรายประเด็นที่ผู้อภิปรายไว้ไม่ชัดเจน

        ๓. พยายามให้การอภิปรายดำเนินไปโดยราบรื่น ถ้าหากการอภิปรายมีทีท่าจะชะงักลงต้องกระตุ้นให้ดำเนินต่อไป

        ๔. พยายามให้โอกาสแก่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอภิปราย

        ๕. ควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในประเด็นที่กำหนด โดยเตือนผู้ที่อภิปรายนอกประเด็นอย่างสุภาพ

        ๖. กล่าวสรุปการอภิปราย

 หน้าที่ของผู้อภิปราย

        ๑. เข้าใจเนื้อเรื่องที่จะพูดเป็นอย่างดี เตรียมตัวมาอย่างดี เตรียมความรู้และความคิดเห็นตามหัวข้อเรื่องให้ละเอียดและทำความเข้าใจให้ชัดเจน

        ๒. เตรียมอุปกรณ์หรือสื่อต่าง ๆ ที่จะใช้ประกอบการพูดให้พร้อม

        ๓. ประชุมปรึกษาหารือกับคณะผู้อภิปราย แบ่งหัวข้อตามความถนัดของตน

        ๔. อภิปรายในประเด็น ปัญหา หรือเรื่องที่ผู้ดำเนินการอภิปรายกำหนดให้ โดยอภิปราย อยู่ในประเด็นปัญหา หรือเรื่องอย่างละเอียดชัดเจน ไม่นอกเรื่อง

        ๕. รักษาเวลาในการพูดให้เคร่งครัดเสมอและตรงต่อการนัดหมาย

        ๖. ใช้ภาษาพูดที่กะทัดรัด ชัดเจน

        ๗. รักษามรรยาทที่ดีในการพูด เช่น กิริยาท่าทาง สีหน้า และการควบคุมอารมณ์

        ๘.ผู้อภิปรายควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นพูดบ้าง ไม่พูดมากเสียคนเดียว

        ๙.เพิ่มเติมเนื้อเรื่องบางตอนหากเห็นว่าผู้อภิปรายยังพูดไม่สมบูรณ์

        ๑๐. คารวะผู้ฟัง เมื่อผู้ดำเนินการอภิปรายแนะนำตัวให้ผู้ฟังรู้จัก

 ข้อควรปฏิบัติของผู้ร่วมอภิปราย

        ผู้ร่วมอภิปรายควรปฏิบัติดังนี้

        ๑. เตรียมตัวที่จะพูดตามหัวข้ออภิปรายไว้ล่วงหน้า โดยศึกษาหาข้อมูลและเตรียมข้อคิดเห็นในเรื่องที่จะอภิปรายไว้ให้เพียงพอ

        ๒. พยายามพูดให้อยู่ภายในหัวข้อของการอภิปราย

        ๓. พยายามฟังและติดตามคำอภิปรายของผู้ร่วมอภิปราย

        ๔. พยายามพูดให้รวบรัดแต่ได้ใจความสมบูรณ์

        ๕. ต้องไม่ขัดจังหวะหรือท้วงติงผู้ที่กำลังอภิปราย

        ๖. ถึงแม้จะมีความเห็นแย้งกับผู้อื่น ก็ยินดีรับฟังและยอมรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น

        ๗. แสดงความสนใจในการอภิปราย

        ๘. พูดให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง

 ปัญหาหรือหัวข้อเรื่องที่จะนำมาอภิปราย

        ๑.ไม่ควรเน้นปัญหาที่กว้างเกินไปจนสรุปผลไม่ได้ หรือต้องใช้เวลายาวนาน

        ๒.ควรเป็นปัญหาที่มีสาระและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

        ๓.ควรเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ได้ประสบและเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆ

        ๔.ควรเป็นปัญหาที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจยากหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง

 หลักเกณฑ์สรุปการอภิปราย

        ผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่สรุปในตอนท้ายของการอภิปราย ควรปฏิบัติดังนี้

๑. กล่าวถึงจุดประสงค์ในการอภิปราย ๒. กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่มีผู้อภิปราย ๓. กล่าวถึงผลของการอภิปราย ๔. สรุปจากข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของผู้อภิปรายทุกคน ไม่สรุปตามความคิดเห็นของตนเอง

 มารยาทการพูดอภิปราย

        การพูดอภิปรายเป็นการสื่อสารที่เป็นการแสดงแนวคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน แสดงข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหา หาแนวทางหรือข้อยุติ เป็นสิ่งที่ใช้แทบทุกวงการ ดังนั้นจึงควรมีมารยาทการพูดดังต่อไปนี้

        ๑) วางแผนในการพูดให้แน่นอน พูดให้ถูกต้องชัดเจน เสียงดังพอควร

        ๒) พูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่น จริงจัง น่าเชื่อถือ ไม่พูดเชิงดูหมิ่นผู้ฟัง

        ๓) ไม่ต้องโอ้อวดตัวเอง ใช้ท่าทางประกอบการพูดเป็นธรรมชาติ ไม่มากเกินไป

        ๔) พูดด้วยใบหน้ายิ้มน้อยๆ นั่งหรือยืนตัวตรงสง่าผึ่งผายแต่ไม่วางท่าหยิ่ง

        ๕) พูดถึงสาเหตุการอภิปราย เพื่อให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการอภิปรายครั้งนี้

        ๖) ทำให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาในการพูดอภิปราย โดยเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ผ่านมา

        ๗) เมื่อเห็นผู้ฟังเครียด หรือเบื่อหน่ายในการฟังอาจใส่มุขตลกบ้างเล็กน้อย

        ๘) พูดให้ผู้ฟังเกิดสำนึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและเกิดความคิดริเริ่มที่ดี

        ๙) ใช้คำพูดเชิงจูงใจให้เห็นประโยชน์ของการพูดอภิปราย เพื่อการยอมรับและเต็มใจปฏิบัติตามเมื่อเกิดเป็นข้อยุติ

        ๑๐) ใช้ภาษาสุภาพ แต่งกายสุภาพ อาจตอบคำถามโดยยกย่องว่าเป็นคำถามที่ดีก่อนตอบให้ตรงประเด็น และแสดงความปรารถนาดีต่อผู้ฟังทุกคน

ข้อใดเป็นลักษณะของการอภิปราย

การอภิปรายเป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนา แต่การอภิปรายแตกต่างกับการสนทนาในลักษณะสำคัญ คือ การอภิปรายมีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอน เช่น การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนการสนทนาโดยทั่วไปไม่ได้กำหนดเรื่องที่จะสนทนาไว้ก่อน และอาจเปลี่ยนเรื่องไปได้ต่างๆ สุดแต่เหตุการณ์

"หัวข้อเรื่อง" ในการอภิปราย ควรมีลักษณะอย่างไร

ปัญหาหรือหัวข้อเรื่องที่จะนามาอภิปราย ๑. ไม่ควรเน้นปัญหาที่กว้างเกินไปจนสรุปผลไม่ได้ หรือต้องใช้เวลา ยาวนาน ๒. ควรเป็นปัญหาที่มีสาระและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ๓. ควรเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ได้ประสบและเป็นปัญหาที่พบได้ บ่อยๆ ๔. ควรเป็นปัญหาที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจยากหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง

ข้อใดเป็นลักษณะของการโต้วาทีที่ดี

ลักษณะสำคัญ ของการโต้วาที 1. เป็นการเสนอเหตุผ ลหรือแนวความคิดของตนเอง 2. เป็น การหักล้างเหตุผ ลหรือแนวความคิดของฝ่า ยตรงข้าม 3. เป็นการพูดที่ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบอย่า งมาก 4. เป็นการพูดที่อาจออกท่า ออกทางประกอบมาก Page 11 5. เป็นการพูดที่ต้องมีความพร้อมอย่า งมาก เพราะต้องเตรียมคำพูดให้ขบขัน สุภ าพ แหลมคมและกระชับ จุด ...

ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการพูดอภิปราย

๑. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์อย่างมีเหตุผล ๒. เพื่อหาข้อสรุป ข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และนาไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ๓. เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้หรือความก้าวหน้าทางวิชาการใหม่ ให้ประจักษ์แก่มหาชน ๔. เพื่อให้ผู้อภิปรายและผู้ร่วมอภิปรายเข้าใจหลักการในการปฏิบัติร่วมกัน