Strategic Planning มีลักษณะสําคัญอย่างไร

การวางแผนกลยุทธ์ คือ แนวคิดอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับการวางแผนทางธุรกิจ จากการใช้กลยุทธ์ต่างๆ นำมาแก้ไขปัญหา ในปัจจุบันสภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราฉะนั้นขั้นตอนกำหนดวิธีดำเนินงานให้เกิดความชัดเจนเป็นเรื่องยากลำบาก จึงกำหนดยุทธวิธีในการทำงานแทน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นมากกว่า

โดยการวางแผนกลยุทธ์ จะเริ่มจากขั้นตอนวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอก-ภายใน เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ขององค์กร ไปในทิศทางเดียวกัน ต้องมีจุดยืนที่เหมาะสม ต้องมีวัตถุประสงค์ขององค์กรร่วมกัน โดยขั้นตอนวางแผนกลยุทธ์ต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ มีวิสัยทัศน์ , เน้นความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการมองภาพรวมขององค์กร เป็นต้น

เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์ คือ กระบวนการตัดสินใจเพื่อขั้นตอนดำเนินงานขององค์กร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ แม้จะต้องเผชิญกับสภาวะอันไม่แน่นอน การวางแผนกลยุทธ์จะต้องประกอบด้วย ขั้นตอนศึกษาข้อมูลเบื้องต้น , นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการจัดวางทิศทางขององค์กร หลังจากนั้นจึงค่อยกำหนดกลยุทธ์ว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามทิศทางที่กำหนดไว้

ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ที่มีต่อองค์กร

  • ช่วยทำให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เท่าทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับการศึกษา รวมทั้งการวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน
  • คือ รูปแบบวางแผน ซึ่งช่วยทำให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และรับผิดชอบต่อทั้งความสำเร็จ รวมทั้งความล้มเหลวของตัวเองมากขึ้น เนื่องจากการวางแผนกลยุทธ์ จัดเป็นการวางแผนขององค์กร ซึ่งต้องกระทำตามที่กำหนดทุกขั้นตอน
  • เป็นรูปแบบของการวางแผน ที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจได้อย่างผสมกลมเกลียวกัน อันเป็นกระแสหลักสำหรับการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสอดคล้อง กับสิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ออกระเบียบกำหนด ให้หน่วยงานภาคทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางาน ไปสู่มิติใหม่ของการปฏิรูปขั้นตอนทำงานต่างๆ
  • เป็นหนึ่งในเงื่อนไข ที่จัดทำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน โดยทางสำนักงบประมาณได้กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัด จัดทำงานด้านงบประมาณ โดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนที่เห็นอย่างเด่นชัดลงไปให้หน่วยงานนั้นๆ
  • เป็นการวางแผนที่ให้ความสำคัญกับการกำหนดกลยุทธ์ เป็นหัวใจหลัก ซึ่งได้มาจากการคิดวิเคราะห์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ผูกอยู่กับปัญหาเก่าในอดีต ไม่นำข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร รวมทั้งงบประมาณมาเป็นข้ออ้างอีกต่อไป

สรุป การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนงานที่ท้าทายความสามารถ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการวางแผนซึ่งช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ได้ด้วยตัวเอง จัดเป็นการวางแผนพัฒนาอันยั่งยืน

ทุก ๆ องค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นมาจากการวางแผนกลยุทธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การวางแผนในด้านดังกล่าวจึงนับเป็นแนวทางในการสร้างวิสัยทัศน์ และตัวกำหนดทิศทางขององค์กรทุกแห่งว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่จะช่วยบ่งบอกผลลัพธ์ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น หากองค์กรไหนขาดแผนด้านกลยุทธ์นอกจากจะไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการทำงานและการบริหารแล้ว ยังส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาวด้วย

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ การเมือง โรคระบาด สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ไม่ใช่การวางแผนแบบสมมุติขึ้นมาแต่ไม่สามารถทำได้จริง เพราะการทำแบบนั้นก็เท่ากับไม่ได้ผลลัพธ์ใด ๆ จึงสรุปได้คร่าว ๆ ว่าความสำคัญของการมีแผนด้านกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร จะช่วยพัฒนาศักยภาพและสร้างการเติบโตอย่างเป็นขั้นตอน มีรูปธรรมชัดเจน และทุกคนดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เพื่อผลลัพธ์ให้เกิดในทิศทางเดียวกัน

รู้จักฟีเจอร์ของเรา สมัครสมาชิก

ทำไมต้องมีกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการวางแผน

เป็นคำถามที่น่าสนใจเพื่อช่วยไขความสงสัยและวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเหตุผลที่การวางแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องทำในทุกองค์กร แยกออกได้ดังนี้

1. มีจุดมุ่งหมายชัดเจน ทุกคนเข้าใจและทำตามอย่างเป็นขั้นตอน

เหตุผลแรกเชื่อว่าช่วยสร้างความกระจ่างได้อย่างดี การมีแผนกลยุทธ์จะช่วยให้ทุก ๆ คนในองค์กรสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามความคาดหวัง ตรงนี้ย่อมส่งผลถึงการเติบโตและก้าวไปถึงความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าเอาไว้

2. สร้างการปรับตัวทางธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์

โลกยุคใหม่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี จะช่วยให้องค์กรรู้เท่าทันถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น อันส่งผลสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที การบริหารต่าง ๆ ง่ายขึ้น ตัวอย่างง่าย ๆ ของการปรับตัว เช่น เปลี่ยนจากการขายหน้าร้านอย่างเดียวมาเน้นขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น หากองค์กรไหนมีแผนตรงนี้ไว้แต่แรก เริ่มวางระบบชัดเจน การทำงานของพนักงานก็จะง่ายขึ้น และปรับตัวตามยุคสมัย ยอดขายไม่มีตก

3. แต่ละฝ่ายทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม

การมีแผนด้านกลยุทธ์ที่ดียังช่วยให้การทำงานของแต่ละฝ่ายสามารถสร้างประสิทธิภาพที่องค์กรต้องการได้อีกด้วย เพราะทุก ๆ คนจะรู้ดีว่าเป้าหมายของตนเองคืออะไร ควรทำอย่างไรเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด การวางแผนนี้ยังถือเป็นวิธีเชื่อมโยงและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของการทำงานในแต่ละฝ่ายเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน สร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับทุก ๆ คนในองค์กร เกิดความรักใคร สามัคคี

4. สามารถวัดและประเมินผลได้ชัดเจน

เมื่อมีการวางแผนตามขั้นตอนต่าง ๆ เรียบร้อย ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนลงมือทำ และการวัด ประเมินผลที่ออกมาว่าตรงตามมาตรฐานเพียงใด ซึ่งถือเป็นอีกเหตุผลที่จะช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง หากผลลัพธ์ที่ออกมายังไม่เป็นตามเป้าก็ต้องหาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ว่าเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ปรับปรุงลักษณะไหนเพื่อให้กลายเป็นผลตามที่ตั้งเป้า เรียกว่าสามารถมองเห็นจุดบกพร่องขององค์กรและแก้ไขได้ตรงจุดที่สุด

กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ มีอะไรบ้าง

มาถึงขั้นตอนสร้างกระบวนการกลยุทธ์ที่ถูกต้องควรทำอย่างไรและมีอะไรบ้าง หลัก ๆ แล้วตอบ 3 คำถามนี้ให้ได้

  • ปัจจุบันองค์กรอยู่ในจุดใด?
  • อนาคตข้างหน้าต้องการก้าวไปถึงขั้นไหน?
  • ขั้นตอนที่จะก้าวไปทำอย่างไร?

ซึ่งทั้ง 3 ข้อ จะมีกระบวนการที่ชัดเจนและช่วยเป็นแนวทางดี ๆ สำหรับการวางแผนกลยุทธ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการวิเคราะห์ SWOT Analysis การรู้จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในธุรกิจ จะทำให้เข้าใจว่าตอนนี้องค์กรอยู่ในจุดใดกันแน่แล้วมองเห็นอนาคตอย่างไร โดยแยกความหมายดังนี้

  • S = Strength จุดแข็ง คือ ความโดดเด่นที่สุดที่องค์กรสามารถทำได้ เช่น การมีราคาสินค้าถูกกว่าคู่แข่ง
  • W = Weakness จุดอ่อน คือ จุดด้อยที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและต้องพยายามหาวิธีแก้ไขให้รวดเร็วที่สุด
  • O = Opportunities โอกาส คือ โอกาสจากภายนอกองค์กรที่จะช่วยสร้างความสำเร็จได้ เช่น การสนับสนุนจากรัฐบาล
  • T = Threat อุปสรรค สิ่งขัดขวางที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ไม่สามารถควบคุมด้วยตนเองได้ เช่น โรคระบาด

ขณะที่ในส่วนของกระบวนการด้านการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดขั้นตอนที่ถูกต้องจะแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย

1. การกำหนดวิสัยทัศน์ – เป็นการวางแนวทางความน่าจะเป็นของธุรกิจหรือโปรเจคนั้น ๆ ว่าจะให้ออกมาในทิศทางใด เพื่อให้ทุก ๆ คนยึดมั่นเป็นแนวทางและปฏิบัติตามให้เกิดผลออกมาดีที่สุด

2. การกำหนดพันธกิจ – หรือบางคนจะเรียกว่าภารกิจก็ได้ เป็นการกำหนดถึงสิ่งที่จะกระทำให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ว่าควรทำอย่างใดก่อน-หลัง

3. การกำหนดจุดมุ่งหมายให้เกิดการพัฒนา – เป็นการสร้างเป้าหมายของการวางแผนกลยุทธ์ว่าสรุปแล้วเมื่อทำสำเร็จผลจะต้องออกมาในลักษณะใด

4. การกำหนดยุทธศาสตร์ – การกำหนดวิธีที่จะทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้

5. การกำหนดแนวทางพัฒนา – คล้ายการกำหนดแผนสำรองหรือแนวทางที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคตหากมีข้อผิดพลาด หรือทำตามแผนแรกยังไม่ได้ผลตามคาดหวัง

นี่คือเรื่องราวของการวางแผนกลยุทธ์อันถือเป็นอีกความสำคัญในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เมื่อปั้นการตลาดจนร้านค้าขายดีแบบสุดปังแล้ว ต้องเสริมด้วยบริการจาก Fillgoods เสริมธุรกิจโตอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบหลังร้านครอบคลุม ครบวงจร สะดวก ใช้งานง่าย ได้ผลลัพธ์ตรงใจ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita