การ หา แอ ม. พลิ จู ด ของคลื่น

คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่สามารถถ่ายทอดและโมเมนตัมโดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลาง เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก

                2) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คือ คลื่นที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น แสง คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์


1.2 การจำแนกคลื่นตามลักษณะการกำเนิดคลื่น แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

                1) คลื่นดล (pulse wave) คือ คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียว ทำให้เกิดคลื่นเพียงหนึ่งลูก อาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดคลื่น เช่น การโยนหินลงไปในน้ำ

                2) คลื่นต่อเนื่อง (continuous wave) คือ คลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดหลายครั้งติดต่อกัน ทำให้เกิด คลื่นหลายลูกติดต่อกัน โดยความถี่ของคลื่นที่เกิดขึ้นเท่ากับความถี่ของการรบกวนของแหล่งกำเนิดคลื่น เช่น คลื่นน้ำที่ เกิดจากการใช้มอเตอร์


1.3 การจำแนกคลื่นตามลักษณะการเคลื่อนที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 1) คลื่นตามยาว (longitudinal wave) คือ คลื่นที่อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับ ในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่ เช่น คลื่นเสียง คลื่นที่เกิดจากการอัดและขยายของสปริง


 2) คลื่นตามขวาง (transverse wave) คือ คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ ไปกลับในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางที่เคลื่นเคลื่อนที่เช่น คลื่นในเส้น เชือก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


2. ส่วนประกอบต่างๆ ของคลื่น


1) แอมพลิจูด คือ ระยะการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากแนวสมดุลไปยังสันคลื่น หรือท้องคลื่น (ระยะ A)


2) ยอดคลื่น หรือ สันคลื่น คือ ตำแหน่งบนสุดของคลื่นแต่ละลูก


3) ท้องคลื่น คือ ตำแหน่งล่างสุดของคลื่นแต่ละลูก


4) ความยาวคลื่น คือ ความยาวของคลื่น 1 ลูก เป็นระยะทางที่วัดจากเฟสถึงเฟสเดียวกันของคลื่นลูกถัดไป


6) คาบ (period , T) คือเวลาที่คลื่นใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 ลูกคลื่น มีหน่วยเป็น วินาที (s)


7) ความถี่ (frequency , f ) คือจํานวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลา เช่น ถ้าเกิด คลื่น 3 ลูกในเวลา 1 วินาที เช่นนี้เรียกได้ว่าความถี่คลื่นมีค่า 3 รอบต่อวินาที ความถี่ มีหน่วยเป็น รอบ/วินาที หรือ 1 /วินาที หรือสั้นๆ ว่า เฮิตรซ์  (Hz) เราอาจคํานวณหาค่าความถี่ได้จาก




8) อัตราเร็วคลื่น (wave speed , v ) คือระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เราสามารถคํานวณหาอัตราเร็วคลื่นได้จาก




9) เฟสของคลื่น (phase , Φ ) เป็นการบอกตำแหน่งบนหน้าคลื่นในรูปของมุมหน่วย องศาหรือเรเดียนสูตรใช้คํานวณเกี่ยวกบเฟสของคลื่น ได้แก่


10) เฟสตรงกัน คือจุดบนหน้าคลื่นซึ่งอยู่ห่างกันเท่ากับ n λ เมื่อ n = 1 , 2 , 3 , …


11) เฟสตรงกันข้าม คือจุดบนหน้าคลื่นซึ่งอยู่ห่างกัน ( n – 21) λ เมื่อ n = 1 , 2 , 3 , …


3. การซ้อนทับของคลื่น


หลักการซ้อนทับ ( principle of superposition ) กล่าวว่า เมื่อคลื่นตั้งแต่สองคลื่นมาพบกันแล้วเกิดการรวมกัน การกระจัดของคลื่นรวมจะมีค่าเท่ากับผลบวกการกระจัดของคลื่นแต่ละคลื่นที่มาพบกัน หลังจากที่คลื่นเคลื่อนผ่านพ้นกันแล้ว แต่ละคลื่นยังคงมีรูปร่างและทิศทางการเคลื่อนที่เหมือนเดิม



      รูปการซ้อนทับของคลื่นดลที่มีการกระจัดในทิศเดียวกัน    

   


รูปการซ้อนทับของคลื่นดลที่มีการกระจัดในทิศตรงข้ามกัน



4. สมบัติของคลื่น


คลื่นทุกชนิดจะมีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ


1) การสะท้อน (Reflection)              2) การหักเห (Refraction)

3) การแทรกสอด (lnterference)        4) การเลี้ยวเบน (Diffrection)


4.1 การสะท้อนของคลื่น

การสะท้อนของคลื่น เกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ถึงปลายสุดของเชือก หรือสปริงที่ตรึงไว้ คลื่นจะสะท้อนกลับมา แอมพลิจูดของคลื่นที่สะเท้อนกลับ มีทิศตรงข้ามกับแอมพลิจูดของคลื่นเดิม (เฟสตรงข้ามกับคลื่นเดิม)


รูปการสะท้อนของคลื่นวงกลม




รูปการสะท้อนของหน้าคลื่นที่เป็นเส้นตรง



1) สมบัติการสะท้อนของคลื่น มีดังนี้


    1.1) อัตราเร็วของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับอัตราเร็วของคลื่นตกกระทบเสมอ


    1.2) ความถี่ของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับความถี่ของคลื่นตกกระทบ


    1.3) ความยาวคลื่นของคลื่นสะท้อนเท่ากับความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบ


    1.4) ถ้าการสะท้อนไม่สูญเสียพลังงาน แอมพลิจูดของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับแอมพลิจูดของคลื่นตกกระทบ


2) กฏการสะท้อน

   

    2.1) มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน

    

    2.2) รังสีตกกระทบ เส้นปกติ และรังสีสะท้อนต้องอยู่บนระนาบเดียวกัน



รูปการสะท้อนของคลื่นต่อเนื่องเส้นตรงจากแผ่นกั้นผิวโค้งเว้า




รูปการสะท้อนของคลื่นต่อเนื่องวงกลมจากแผ่นกั้นผิวโค้งเว้า



4.2 การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก

หากเรานำเชือกเส้นหนึ่งมามัดติดเสา ปลายอีกข้างหนึ่งใช้มือดึงให้ตึงพอสมควร จากนั้น สะบัดให้เกิดคลื่นในเส้นเชือก คลื่นนี้จะเคลื่อนที่จากจุดที่ใช้มือสะบัดพุ่งเข้าหาต้นเสา และเมื่อคลื่นกระทบเสาแล้วจะสามารถสะท้อนย้อนกลับออกมาได้ด้วย สำหรับการสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือกนี้จะเป็นไปได้ 2 กรณี ได้แก่


1) ถ้าปลายเชือกมัดไว้แน่น คลื่นที่ออกมาจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับคลื่นที่เข้าไป นั่นคือคลื่นที่สะท้อนออกมาจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180


2) ถ้าปลายเชือกมัดไว้หลวมๆ ( จุดสะท้อนไม่คงที่ ) คลื่นที่สะท้อนออกมาจะมีลักษณะเหมือนคลื่นที่เข้าไป นั่นคือคลื่นที่สะท้อนออกมาจะมีเฟสเท่าเดิมหรือมีเฟสเปลี่ยนไป 0




4.3 การหักเห

เมื่อคลื่นผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ซึ่งมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน จะทำให้อัตราเร็ว ( v ) แอมพลิจูด (A) และความยาวคลื่น (λ) เปลี่ยนไป แต่ความถี่ ( f ) จะคงเดิม

ในกรณีที่คลื่นตกกระทบพุ่งเข้าตกตั้งฉากกับแนวรอยต่อตัวกลาง คลื่นที่ทะลุลงไปในตัวกลางที่ 2 จะมีแนวตั้งฉากกับแนวรอยต่อตัวกลางเช่นเดิม แต่หากคลื่นตกกระทบตกเอียงทำมุมกับแนวรอยต่อตัวกลาง คลื่นที่ทะลุลงไปในตัวกลางที่ 2 จะไม่ทะลุลงไปในแนวเส้นตรงเดิม แต่จะมีการเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิมดังรูป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าเกิดการหักเหของคลื่น


4.4 การหักเหของคลื่น

การหักเหของคลื่น คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราเร็วและความยาวคลื่นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านจากตัวกลางหนึ่ง ไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง


1) กฏการหักเห มีหลักว่า อัตราส่วนของค่า sine ของมุมในตัวกลางที่ 1 ต่อค่า sine ของมุมในตัวกลางที่ 2 จะมีค่าคงที่เสมอ เรียกอัตราส่วนนี้ว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 เทียบกับตัวกลางที่ 1’’



รูปหน้าคลื่นตกกระทบขนานกับรอยต่อ


รูปหน้าคลื่นตกกระทบไม่ตั้งฉากกับรอยต่อ


ข้อสังเกต:

1) คลื่นในน้าลึก อัตราเร็วคลื่น (v) จะมาก ความยาวคลื่น (λ) จะยาว มุม θ จะใหญ่

2) คลื่นในน้าตื้น อัตราเร็วคลื่น (v) จะน้อย ความยาวคลื่น (λ) จะสั้น มุม θ จะเล็ก


4.5 การแทรกสอดของคลื่น

การแทรกสอดของคลื่น คือ การรวมกันของคลื่นที่ส่งกันมาเป็นขบวนต่อเนื่อง




รูปการแทรกสอดของคลื่นน้าต่อเนื่อง 2 คลื่น


- บัพและปฏิบัพ

บัพ (node:N ) หมายถึง จุดที่คลื่นมาพบกันแล้วแทรกสอดกัน หักล้างหมดตลอดเวลา

ปฏิบัพ (antinode: A) หมายถึง จุดที่คลื่นมาพบกันแล้วแทรกสอดแบบเสริมกันตลอดเวลา




รูปการรวมกันของคลื่นแบบหักล้างและเเบบเสริม



4.6 การเลี้ยวเบนของคลื่น

การเลี้ยวเบนของคลื่น คือ ปรากฏการณ์ที่คลื่นสามารถแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวาง



รูปการเลี้ยวเบนของคลื่นจากช่องเปิดที่แคบมากๆ (d<<λ)



หลักการของฮอยเกนส์

มีหลักว่า แต่ละจุดบนหน้าคลื่นถือได้ว่าเป็นแหล่งกาเนิดใหม่ ซึ่งส่งคลื่นออกไปทุกทิศทางด้วยอัตราเร็วเท่ากับ อัตราเร็วของคลื่นเดิม






5. คลื่นนิ่ง

คือ การแทรกสอดของคลื่นเหมือนกัน 2 ขบวน เคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามโดยคลื่นทั้งสองจะต้องมีแอมพลิจูด เท่ากัน ความถี่เท่ากัน ความยาวคลื่นเท่ากัน และอัตราเร็วเท่ากัน




ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นของคลื่นนิ่ง ในเส้นเชือกที่ยาว L



ความถี่มูลฐาน คือ ความถี่ที่น้อยที่สุดที่ทาให้เกิดการสั่นพ้อง หรือคลื่นนิ่งในเส้นเชือกหรือฮาร์มอนิกที่หนึ่ง (n = 1)


ตัวอย่าง คลื่นรวมที่เกิดจากการแทรกสอดของคลื่น 2 ขบวนที่เกิดจากแหล่งกาเนิดอาพันธ์ ซึ่งมีแอมพลิจูดเท่ากันแต่ มีเฟสต่างกัน π เรเดียน จะมีลักษณะอย่างไร ถ้าเคลื่อนที่ไปทิศทางเดียวกัน



เหตุผล การรวมที่เกิดจากการแทรกสอดของคลื่นอาพันธ์ 2 ขบวน ที่มีแอมพลิจูดเท่ากัน แต่เฟสต่างกัน π เรเดียน และเคลื่อนที่ไปทางเดียวกันจะมีความถี่เท่าเดิม แต่แอมพลิจูดเป็นศูนย์ ดังรูป


สรุป

คลื่นส่งพลังงานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (แม้ว่าแต่ละส่วนของคลื่นเพียงแต่สั่นกลับไปกลับมา) ใน คลื่นตามขวาง (เช่น คลื่นน้าและคลื่นแสง) การสั่นตั้งฉากกับทิศทางของคลื่น ในคลื่นตามยาว (เช่น คลื่นเสียง) การสั่นไปในทิศทางเดียวกับคลื่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita