การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

คำนำ

     กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) โดยมีผลบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงให้มีการออกแบบเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

     เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตพลังงานในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอปฏิรูปจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เห็นควรเร่งผลักดันให้มีการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้พิจารณาร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขร่างกฎกระทรวงเพื่อให้มีผลบังคับใช้ โดยเห็นชอบร่วมกันที่จะให้มีการบังคับใช้กับอาคารที่มีความพร้อมก่อน และทยอยบังคับใช้กับอาคารทั้ง 9 ประเภท ภายใน 3 ปี (พ.ศ. 2563) โดยปีที่ 1 บังคับกับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง ขนาดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ปีที่ 2 บังคับกับอาคารทั้ง 9 ประเภท ขนาดตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และปีที่ 3 บังคับกับอาคารทั้ง 9 ประเภท ขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

     คู่มือฉบับนี้ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ให้กับหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                        กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กระทรวงพลังงาน
พฤศจิกายน 2560

1. เหตุผลและความจำเป็น

     กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ตามมาตรา 19 แห่ง
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) โดยมีผลบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ให้มีการออกแบบให้ระบบต่าง ๆ ของอาคารเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายกับอาคาร 9 ประเภท ประกอบด้วย

     (1) อาคารสำนักงาน
     (2) สถานศึกษา
     (3) โรงมโหรสพ
     (4) ห้างสรรพสินค้า
     (5) อาคารชุมนุมคน
     (6) อาคารสถานบริการ
     (7) สถานพยาบาล
     (8) อาคารชุด
     (9) โรงแรม

     ต้องออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน โดยดำเนินการประหยัดพลังงานตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบด้วยการออกแบบอาคารที่สามารถกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

     ในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่ากฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้เสมือนกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งจะส่งผลให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรืออาคารเดิมที่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมส่วนของอาคารที่มีขนาดพื้นที่และประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจะต้องได้รับการออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับแก้ไข

     นอกจากนี้ ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้รับรองว่าอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลงได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของผู้ออกแบบอาคารเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่า อาคารดังกล่าวได้ออกแบบให้มีการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามกฎหมาย และเมื่อได้มีการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จก่อนยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้รับรองว่าอาคารได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอีกครั้งหนึ่งด้วย

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

ความเชื่อมโยงระหว่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2550) และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

     

เพื่อให้การตรวจรับรองแบบอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ต้องกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงพลังงานต่อไป

2. มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย       กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 กำหนดหลักเกณฑ์และสาระสำคัญไว้ดังนี้

     มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคาร ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่

     (1) ระบบกรอบอาคาร: ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Overall thermal transfer value, OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (Roof thermal transfer value, RTTV) ในส่วนที่มีการปรับอากาศในแต่ละประเภทอาคาร ต้องมีค่าไม่เกินที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
     (2) ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง: การใช้ไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคาร โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถ ต้องให้ได้ระดับความส่องสว่างสำหรับงานแต่ละประเภทอย่างเพียงพอ และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้นกำหนด ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ส่องสว่างภายในอาคารต้องใช้กำลังไฟฟ้าในแต่ละประเภทของอาคารมีค่าไม่เกินที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
     (3) ระบบปรับอากาศ: ประเภทและขนาดต่าง ๆ ของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งภายในอาคาร ต้องมีค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็น และค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็น เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็น และค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็นของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งใช้งานในอาคาร พ.ศ. 2552
     (4) อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน: อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ติดตั้งภายในอาคาร ต้องมีค่าประสิทธิภาพขั้นต่ำและ
ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
     (5) การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร: การขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวงกำหนด
ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเรื่องระบบกรอบอาคาร เรื่องระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และเรื่องระบบปรับอากาศ  
ให้พิจารณาตามเกณฑ์การพิจารณาการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร เกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ต้องมีค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารดังกล่าวต่ำกว่าค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารอ้างอิงที่มีพื้นที่การใช้งาน ทิศทาง และพื้นที่ของกรอบอาคารแต่ละด้านเป็นเช่นเดียวกับอาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลง และมีค่าของระบบกรอบอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและระบบปรับอากาศ เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละระบบ
     (6) การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร: เมื่อมีการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาคาร ให้ยกเว้นการนับรวมการใช้ไฟฟ้าบางส่วนในอาคารในกรณีที่ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคารมีการออกแบบเพื่อใช้แสงธรรมชาติเพื่อการส่องสว่างภายในอาคารในพื้นที่ตามแนวกรอบอาคาร ให้ถือเสมือนว่าไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่ตามแนวกรอบอาคารนั้น โดยการออกแบบดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
          1. ต้องแสดงอย่างชัดเจนว่า มีการออกแบบสวิตช์ที่สามารถเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ใช้กับพื้นที่ตามแนวกรอบอาคาร โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างต้องมีระยะห่างจากกรอบอาคารไม่เกิน 1.5 เท่าของความสูงของหน้าต่างในพื้นที่นั้น และ
          2. กระจกหน้าต่างตามแนวกรอบอาคารตามข้อ 1. ต้องมีค่าประสิทธิผลของสัมประสิทธิ์การบังแดด (Effective shading coefficient) ไม่น้อยกว่า 0.3 และอัตราส่วนการส่งผ่านแสงต่อความร้อน (Light to solar gain) มากกว่า 1.0 และต้องมีพื้นที่กระจกหน้าต่างตามแนวกรอบอาคารตามข้อ 1. ต้องไม่น้อยกว่าพื้นที่ผนังทึบ

          ทั้งนี้ อาคารที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในอาคาร สามารถนำค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปหักออกจากค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคาร

     เกณฑ์การผ่านการตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ให้พิจารณาจากเกณฑ์การออกแบบ โดยแบ่งการผ่านเกณฑ์เป็น 2 ทางเลือก โดยพิจารณาจากทางเลือกที่ 1 คือ การผ่านเกณฑ์ทุกระบบ หากผลการตรวจประเมินผ่านทุกรายระบบ ได้แก่ ระบบกรอบอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ ก็จะถือว่าอาคารนี้ผ่านเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน แต่ถ้าหากมีบางส่วนไม่ผ่านเกณฑ์รายระบบใดระบบหนึ่ง ให้พิจารณาทางเลือกที่ 2 คือการผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารต่อปี โดยนำค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารที่ออกแบบมาเปรียบเทียบกับค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารอ้างอิงตามกฎกระทรวง โดยถ้ามีค่าต่ำกว่าจึงถือว่าเป็นการผ่านเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานเช่นกัน

     ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 นั้น หากในอาคารมีการใช้อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องผ่านข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนด้วย

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

การผ่านเกณฑ์การออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

แนวทางการปรับแก้ไขเกณฑ์กฎกระทรวงฯ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการศึกษา
ความเหมาะสมในการปรับเกณฑ์กฎกระทรวงที่ได้ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2552 ที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยมีแนวทางการปรับแก้ไขเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต ดังนี้

     1. การบังคับใช้มีแนวโน้มจะทยอยบังคับใช้กับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป) ก่อน แล้วจึงใช้กับอาคารขนาดใหญ่ (มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป)

     2. แนวโน้มการปรับปรุงเกณฑ์การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร และเหตุผลในการปรับปรุง ดังนี้

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

3. ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย

     กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรและดำเนินการฝึกอบรมให้กับบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา เพื่อให้บุคลากรที่ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสามารถทำหน้าที่
ผู้ตรวจรับรองการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายได้ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้เสมือน
กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในอนาคตอันใกล้นี้

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจรับรองการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

(ร่าง) คุณสมบัติของผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน (รอประกาศใช้)

     (1) มีสัญชาติไทย
     (2) ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก 
     (3) ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรหรือสถาปนิก
     (4) เป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรมในหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ตามที่
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประกาศกำหนด

4. ขั้นตอนการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

     ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระบวนการตรวจรับรองแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคาร และเพื่อขออนุญาตใช้อาคารที่ก่อสร้าง/ดัดแปลงแล้วเสร็จมีดังนี้
     1. เจ้าของอาคาร
     2. ผู้ออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร ทำหน้าที่ออกแบบอาคารให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน
     3. ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายฯ โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนด
     4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

     ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประเมินแบบอาคารตามเกณฑ์กฎกระทรวงฯ ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่

  • ข้อมูลทั่วไปที่ใช้ในการติดต่อประสานงาน

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

  • ข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าอาคารเข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ หรือไม่

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

  • ข้อมูลประกอบการตรวจประเมินแบบอาคาร

ข้อมูลเกี่ยวกับแบบก่อสร้าง

ประเภทแบบ
รายละเอียด
แบบสถาปัตยกรรม ผังบริเวณ/ทิศของอาคาร
  ผังพื้นทุกชั้น และหลังคา
  รูปด้าน 4 ด้าน
 
รูปตัด
  แบบขยายประตู หน้าต่าง
แบบวิศวกรรมโครงการ ผังโครงสร้าง
 
ขนาดหน้าตัดโครงสร้างที่จำเป็น
แบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ผังแสดงดวงโคม สวิตซ์
แบบระบบปรับอากาศ ผังแสดงการจัดวางเครื่องปรับอากาศ
 
Diagram ระบบปรับอากาศ (แบบรวมศูนย์)
แบบอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ใช้น้ำมัน/แก๊ส
เป็นเชื้อเพลิง หรือเครื่องทำน้ำร้อนชนิดฮีตปั๊ม (ถ้ามี)
ชนิดของอุปกรณ์ทำน้ำร้อน
ประสิทธิภาพของอุปกรณ์
แบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (ถ้ามี) ประสิทธิภาพรวมของระบบ
 
พื้นที่ ทิศ มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
รายการประกอบแบบสถาปัตยกรรม 
รายละเอียดวัสดุกรอบอาคารและสีของวัสดุ
รายการประกอบแบบวิศวกรรมงานระบบไฟฟ้า/
ชนิด/Wattของหลอดและบัลลาสต์
ปรับอากาศ
ชนิด/Watt เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ประกอบ
รายละเอียดประมาณการค่าก่อสร้าง (ถ้ามี) งบประมาณค่าก่อสร้าง
 
รายการราคาค่าก่อสร้าง (BOQ)

     ซึ่งนอกจากเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตในการก่อสร้างตามปกติแล้ว ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

     1) ผลประเมินการใช้พลังงานที่ได้จากโปรแกรม BEC หรือโปรแกรมที่น่าเชื่อถืออื่น ตามรายละเอียดที่ได้ของแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/รายละเอียดที่ได้ก่อสร้างอาคารจริง (As-built drawing)
     2) หนังสือรับรองคุณสมบัติผู้ตรวจรับรองฯที่ออกโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม 

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง
 

ตัวอย่างผลการประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้โปรแกรม BEC

5. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร และการยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร

     ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้เสมือนกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะส่งผลให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรืออาคารเดิมที่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมส่วนของอาคารที่มีขนาดพื้นที่และประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจะต้องออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับใหม่ ซึ่งขั้นตอนการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 2 ขั้นตอน ได้แก่

     (1) ขั้นตอนของการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารก่อนการเริ่มการก่อสร้างจริง

     (2) เมื่อการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จ

      โดยในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นผู้รับรองว่าอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลงได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน  พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของผู้ออกแบบอาคารเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่า อาคารดังกล่าวได้ออกแบบให้มีการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามกฎหมาย และเมื่อได้มีการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จก่อนยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นผู้รับรองว่าอาคารได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอีกครั้งหนึ่งด้วย

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนและกระบวนการในการขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร

เอกสารประกอบการการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
ก่อนการเริ่มการก่อสร้างจริง
 


เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในปัจจุบัน



เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในอนาคตเมื่อกฎกระทรวง
กำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข
จะมีผลบังคับใช้

1. คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ  ข.1)
ใช้เอกสารเช่นเดียวกับเอกสารที่ต้องใช้ในปัจจุบัน โดยจะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมได้แก่
2. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
1. หนังสือรับรองว่าอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลงได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ของผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 1 ชุด
3. รายการคำนวณ (กรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ
หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)
จำนวน 1 ชุด

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขออนุญาต
(กรณีบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต และกรณีหลายคนให้ใช้ทุกคน)
พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตรารับรองความถูกต้อง)
จำนวน 1 ชุด

 
5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำขออนุญาต
(กรณีบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต และกรณีหลายคนให้ใช้ทุกคน)
พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตรารับรองความถูกต้อง)
จำนวน 1 ชุด

 
6. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
ผู้ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน พร้อมสำเนาหรือ
ภาพถ่ายบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจ
ลงชื่อแทนนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)
จำนวน 1 ชุด

 
7. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของผู้ขออนุญาต
(หนังสือมอบอำนาจ) พร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน
และทะเบียนบ้าน (กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นขออนุญาตแทน)
จำนวน 1 ชุด

 
8. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/
ส.ค.
1 เลขที่ (ขนาดเท่าต้นฉบับ และต้องครบถ้วน
ตามแผนผังบริเวณ หรือที่ระบุไว้ในคำขออนุญาต)
จำนวน 1 ชุด

 
9. หนังสือรับรองให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน พร้อมสำเนา
หรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านละบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน
และพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองในเอกสาร
(กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด

 
10. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลเจ้าของที่ดิน
ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน พร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน
และทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
(กรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด

 
11. หนังสือรับรองของผู้ออกแบบอาคาร หรือผู้ออกแบบ
และคำนวณอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหรือวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งเวียนชื่อ
ตามมาตรา
49 ทวิ (กรณีที่อาคารมีลักษณะขนาด
อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ
วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี) จำนวน 1 ชุด

 
12. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน
(แบบ น.
4) ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม หรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งเวียนชื่อตามมาตรา
49 ทวิ (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี และผู้ขออนุญาตระบุชื่อมาในคำขออนุญาตด้วย) พร้อมทั้งสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบวิชาขีพฯ
ที่ยังไม่สิ้นอายุ จำนวน 1 ชุด

 
13. หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร (แบบ ผมร.
1)
 

เอกสารประกอบการยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร 


เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในปัจจุบัน

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในอนาคตเมื่อกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้

1.หนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 32 วรรคสอง และมาตรา 39 ทวิ (แบบ กทม. 4)

ใช้เอกสารเช่นเดียวกับเอกสารที่ต้องใช้ในปัจจุบัน โดยจะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมได้แก่
2. ฉบับจริง จำนวน 1 ชุด

1. หนังสือรับรองว่าอาคารได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน จาก
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์rลังงาน 
จำนวน 1 ชุด

3. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
ดัดแปลงอาคาร (แบบ อ.
1) หรือสำเนาใบอนุญาต
เคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ อ.
2)  หรือสำเนาใบรับหนังสือ
แจ้งความประสงค์จะก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร
หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา
39 ทวิ
(แบบ กทม.
6) พร้อมสำเนาหนังสือรับทราบแบบแปลน
ไม่ขัดข้องฯ จำนวน
1 ชุด
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ได้รับใบอนุญาต (กรณีบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต และหาก
ผู้ได้รับใบอนุญาต
มีหลายคนให้ใช้ทุกคน) พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือ
ประทับตรารับรองความถูกต้อง) จำนวน
1 ชุด
 
5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ได้รับใบอนุญาต
(กรณีบุคคล เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต และหากผู้ได้รับ
ใบอนุญาตมีหลายคนให้ใช้ทุกคน) พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตรารับรองความถูกต้อง)
จำนวน
1 ชุด
 
6. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
ผู้ยื่นคำขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกินหกเดือนพร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต) จำนวน
1 ชุด
 
7. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของผู้ขออนุญาต
(หนังสือมอบอำนาจ) พร้อมสำเนาหรือภาพถ่าย
บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน (กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นขออนุญาตแทน) จำนวน
1 ชุด
 
8. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
ลดระดับคันหินทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ  (กรณีอาคารมีที่จอดรถยนต์ กลับรถยนต์ และทางเข้าออกของรถยนต์ ที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตตัดคันหินทางเท้าลดระดับคันหินทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ)
จำนวน
1 ชุด
 
9. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสืออนุญาตระบายน้ำทิ้ง
หรือเชื่อมท่อระบายน้ำ (กรณีอาคารมีการระบายน้ำสู่ท่อ
ระบายน้ำสาธารณะ) จำนวน
1 ชุด

 

การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง
 

การอนุรักษ์พลังงานในอาคารมีอะไรบ้าง

กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารตามมาตรา 17 ได้แก่ การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร 2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคารที่อยู่ระดับที่เหมาะสม 3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้นๆ

การอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน มี อะไร บ้าง

การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน.
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิง.
2. การป้องกันการสูญเสียพลังงาน.
3. การนำพลังงานที่เหลือจากการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่.
4. การเปลี่ยนไปใช้พลังงานอีกประเภทหนึ่ง.
5. การปรับปรุงการใช้ไฟฟ้าด้วยวิธีปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วงความต้องการใช้.

การอนุรักษ์พลังงาน มีอะไรบ้าง

มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.
ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง.
ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน.
หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี.

กิจกรรมที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานตามมาตรา 7 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

มาตรา 7 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การปรับปรุงประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิง (2) การป้องกันการสูญเสียพลังงาน (3) การนำพลังงานที่เหลือจากการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่