ญาณ กับ ปัญญา ต่างกันอย่างไร

ปัญญาที่เห็นแจ้ง ปัญญาที่เห็นอย่างวิเศษ ปัญญาที่เห็นโดยประการต่างๆ หมายถึง ความสมบรูณ์ของปัญญาซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการอบรมสติปัฏฐาน ได้แก่ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ที่เห็นแจ้งสภาพธรรมโดยประการต่างๆ คือเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้งความเกิดดับของนามธรรมรูปธรรม เห็นนามธรรมรูปธรรมโดยความเป็นภัย เห็นโดยความเป็นโทษ เห็นโดยความเป็นผู้ใคร่ที่จะพ้นจากสังขาร ฯลฯ

วิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น คือ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของนามธรรมและรูปธรรมที่ละอารมณ์ โดยสภาพความเป็นอนัตตา

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความเป็นปัจจัยของนามธรรมและรูปธรรม คือ รู้ชัดว่านามรูปแต่ละอย่างมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิด

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อของนามธรรม รูปธรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นโทษของการเกิดดับได้ไม่ชัดเจน

๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง การเกิดดับของนามธรรมรูปธรรมอย่างละเอียด เป็นวิปัสสนาที่มีกำลังเห็นโทษของการเกิดดับของสภาพธรรมได้ยิ่งขึ้น

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความดับทำลายของนามรูป โดยไม่ใฝ่ใจถึงการเกิด

๖. ภยตุปัฎฐานญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นความเป็นภัยในสังขารทั้งหลาย

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งรูป โดยเห็นความเป็นโทษ ในสังขารทั้งหลาย

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นทุกข์โทษภัย จนเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยความที่ใคร่ จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวง

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป เป็นเหตุที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากสังขารธรรม

๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูปที่คมกล้ายิ่งขึ้น จนเกิดความมัธยัสถ์ วางเฉยในสังขารธรรมทั้งปวง

๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาในอนุโลมชวนะ ๓ ขณะในมัคควิถี (บริกรรม อุปจาร อนุโลม) คล้อยตามเพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาในโคตรภูชวนะ กระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์ ข่มเสียซึ่งโคตรปุถุชนเพื่อถึงอริยโคตร เป็นอาวัชชนแก่มรรคญาณ

๑๔. มรรคญาณ ปัญญาในมัคคจิตซึ่งเป็นโลกุตระ สำเร็จกิจ ทำลายกิเลส ดับวัฏฏทุกข์ ปิดประตูอบาย ๔ เป็นขณะที่ถึงพร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

๑๕. ผลญาณ ปัญญาในผลจิตที่เกิดต่อกัน ๒–๓ ขณะ เสวย วิมุตติสุขอันปราศจากกิเลสซึ่งอริยมัคค์ประหารแล้ว

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในปัจจเวกขณวิถีอันเป็นโลกียะ พิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่รวม ๕ วาระ สำหรับพระอรหันต์ไม่มีกิเลสที่เหลืออยู่ให้พิจารณา จึงมีปัจจเวกขณวิถีเพียง ๔ วาระ ปัจจเวกขณวิถีของพระอริยบุคคลทั้งหมดจึงมี ๑๙ วาระ

การฝึกสมถกรรมฐาน จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนวิปัสสนากรรมฐานหรือไม่ ผมเองก็อยู่ในขั้นจินตามยปัญญากับสุตมยปัญญา โดยอาศัยวิธีเหล่านั้น ทำให้ผมรู้สึกว่า จิตที่จะมีสภาพรู้ญาณต่างๆ นั้น จิตต้องไว มีกำลัง และผ่องใสมาก เพื่อประกอบกับการน้อมปัจจัยเพื่อระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเวลาที่รู้สึกว่ามีสติระลึกรู้สภาพต่างๆ บ้าง จะรู้สึกว่าประกอบด้วยสมาธิมากกว่าขณะทั่วไปด้วย สมาธิที่เป็นองค์มรรคต้องมีกำลังขนาดใหน ถึงเป็นองค์ของมรรคต้องเจริญหรือไม่ จากการศึกษาวิชาการกล่าวว่า จิตทุกดวงมีสมาธิเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วสมาธิในสมถกรรมฐาน กับสมาธิเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงนั้นต่างกันอย่างไร

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง ญาณสัมปยุต และ ญาณวิปปยุต และเหตุที่ทำให้เกิดญาณสัมปยุตธรรม และ ญาณวิปปยุตธรรม ญาณสัมปยุต ๑.)...

Posted by พระอภิธัมมัตถสังคหะ on Friday, January 19, 2018

          หลักให้พิจารณาอยู่กับฐานกาย เมื่อจิตว่างตั้งมั่น จะเกิดปัญญาญาณ ให้เห็นเองครับ อย่าส่งจิตออกนอก ปล่อยใจไหลไปพิจารณาสิ่งใดๆ หรือสิ่งอื่น ให้แค่ รู้ แล้วกลับมาอยู่กับฐานกาย แค่รู้แล้วกลับมาอยู่กับฐานกาย เพราะถ้ามัวไปพิจารณารู้ไหลไปกับรู้เพราะคิดว่าจะเจริญปัญญาสิ่งที่ได้จะเป็นปัญญาความคิด แต่เมื่อไหร่ที่ เราแค่รู้แล้วกลับมาอยู่กับฐานกายแล้วเมื่อไหร่ที่ใจเราตั้งมั่นว่างๆ จะเกิดปัญญาญาณจากใจ เกิดที่ใจ ไม่ใช่หัวสมอง ถ้ารู้สึกว่าใช้สมองคิดอยู่ อันนั้นไม่ใช่แล้ว ใจไม่ว่างแล้ว ปัญญาญาณไม่เกิดนะ พิจารณาตรงนี้ดีๆ แล้วปฏิบัติตรงนี้ให้ข้าม เพราะผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติมามากๆแล้ว มาติดอยู่ตรงนี้กันมากๆครับ

เคยอ่านเจอว่า ญาณเกิดขึ้นเพราะมีปัญญา มีปัญญาเกิดขึ้นเพราะมีญาณ ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะว่า เวลาที่เข้าสมาธิถึงจุด ๆ หนึ่งที่เราเห็นขึ้นมา ตรงนั้นเราเข้าใจว่านั่นเป็นปัญญา พออ่านเจอตรงนี้ ค่อนข้างจะสับสนกับคำว่า ญาณกับปัญญาค่ะ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

ปัญญามีอยู่ ๓ ประเภท

๑. สุตมยปัญญา คือสิ่งที่เราเรียนรู้มาทั้งหมด และจดจำ ระลึกได้เมื่อต้องการ

๒. จินตามยปัญญา ตอนที่เราวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย เราพิจารณาเนือง ๆ จนได้ความเข้าใจ

๓. ภาวนามยปัญญา จะเป็นญาณ ญาณหมายถึงเราเห็นแจ้งของจริงตรง ๆ พอพูดสังขารก็เห็นสังขารธาตุ เช่น รูปธาตุ อรูปธาตุ เป็นต้น พอพูดเวทนาก็เห็นเวทนาธาตุ เช่น สุขธาตุ ทุกขธาตุ เป็นต้น พอพิจารณาวิญญาณก็เห็นวิญญาณธาตุจริง ๆ พิจารณานิโรธก็เห็นนิพพานธาตุจริง ๆ นั่นคือเห็น ทั้งหมดนี้เป็นปัญญา

ปัญญาในชั้นของจินตามยปัญญามันจะถักสานความเข้าใจ แต่มันไม่เห็น ญาณที่ไม่มีปัญญามันจะเห็นแต่อาจจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าเป็นญาณด้วยเป็นปัญญาด้วย มันจะทั้งเห็นทั้งเข้าใจแจ่มแจ้ง เรียกว่าความแจ่มแจ้ง

ญาณที่ไม่เข้าใจก็อย่างเช่น เวลาเราปฏิบัติใหม่ ๆ จิตเริ่มรวมเป็นสมาธิแล้ว เห็นแต่ไม่รู้มันคืออะไร เสร็จแล้วก็ค่อย ๆ กระดึ๊บ ๆ มาถามครูบาอาจารย์ว่าหนูเห็นอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร คือมันเห็นแต่มันไม่เข้าใจ เพราะขาดปัญญา แต่ถ้าสมาธิเราดีมากจะมีปัญญาด้วย พอญาณเห็นปั๊บ มันเห็นแจ่มเข้าใจแจ้งเลย เรียกว่าปัญญาญาณ ปัญญาในญาณจะทะลุปรุโปร่ง ไร้ข้อสงสัยโดยสิ้นเชิง ต่างกับจินตามยปัญญามาก ที่เข้าใจไปก็สงสัยไป ยังไม่แน่ใจ แต่ปัญญาในญาณบริบูรณ์จะปราศจากความกังขา และรู้ได้มากกว่าจินตามยปัญญาอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
 

ถามต่อ

ถ้าได้ญาณใหม่ ๆ มันจะไม่ค่อยชัดเจน เหมือนเราต้องพัฒนา เช่น ตอนแรก ๆ อาจขมุกขมัว พอสภาวะมันได้ไปเรื่อย ๆ มันจะชัดเจนขึ้น หรือว่าคมขึ้นอย่างนี้หรือเปล่าคะ

อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ

ส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนั้น ตอนเห็นใหม่ ๆ พอฌาน ๑ ก็เริ่มเห็นแล้วหล่ะ แต่มันจะยังไม่ผ่องใส ไม่ชัด ยังมีความสงสัย ญาณที่ชัดเจนแน่นอนที่สุดคือฌาน ๔ ดังนั้น ตั้งแต่ฌาน ๑ ถึงฌาน ๔ มันก็จะเห็นและเข้าใจแจ่มแจ้งต่างกัน ตาม value ตามคุณภาพของฌาน

วิธีการทำอย่างไร

ถ้าเราเห็นแล้วมันไม่ชัด เห็นแล้วมันไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ปล่อยวางเลย ไม่ต้องสนใจ ถือว่ามันเป็นนิมิตหนึ่ง ถึงแม้มันจะเป็นญาณ แต่คุณภาพมันยังไม่เพียงพอที่จะเอาไปใช้ ก็ปล่อยวางเลย

ปล่อยวางแล้วอย่างไร

ก็ให้ focus เข้าไปข้างใน ความผ่องใส ความแจ่มแจ้งจะขึ้นอยู่กับสภาวะจิตของเรา ก็เข้าไปสู่จิตที่สะอาดกว่า บริสุทธิ์กว่า เราจะเห็นชัดขึ้น ยิ่งสติหมดจดจนกระทั่งถึงฌาน ๔ มันไร้ข้อสงสัย ญาณตรงนั้นแหละที่พระพุทธเจ้าให้ใช้เป็นหลัก