ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร

HIGHLIGHTS

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ 1️⃣ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป 2️⃣ มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ 3️⃣ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

สำหรับใคร : สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

การให้ความคุ้มครอง : 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน : ลูกจ้างซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบของผู้ประกันตน : เงินสมทบ คือ 5% ของฐานเงินเดือน (สูงสุด 750 บาท/เดือน)

ฐานเงินที่ไว้คำนวน คือ เงินเดือนจริงที่ได้รับหรือ 15,000 โดยดูว่าจำนวนใดน้อยกว่า

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ

สำหรับใคร : ผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก

การให้ความคุ้มครอง : 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การส่งเงินสมทบ :

  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน
  • คิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

สำหรับใคร : ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระทุกอาชีพ

การให้ความคุ้มครอง : 3-4-5 กรณี (ขึ้นอยู่กับทางเลือกในการสมทบ)

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • อายุ15 ปีเป็นต้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (ผู้ที่มีอายุ 60-65 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2563)
  • ทำงานแบบไม่มีนายจ้าง
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง

สรุปง่าย ๆ ให้เข้าใจ คือ ประกันสังคมมาตรา 39 เหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำหรือเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน เมื่อออกจากงานแล้วยังต้องการคงสภาพความคุ้มครองประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประกันสังคมมาตรา 40 เหมาะกับผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบที่ไม่เคยทำประกันสังคมมาก่อนและต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ...

ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 คืออะไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ คุณสมบัติในการสมัคร อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

สิทธิ ประกัน สังคม มาตรา 33 39 40 ต่าง กัน อย่างไร

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คืออะไร

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม ซึ่งนำส่งเงินสมทบเท่ากับ 432 บาท/เดือน โดยไม่ขาดการส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 9 เดือน