เจ้าบ้าน กับ เจ้าของ บ้าน ต่าง กัน อย่างไร

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน สิทธิและหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของ บ้าน ต่าง กัน อย่างไร

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมีเจ้าบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้บ้านบางกอกจะมาไขข้อสงสัยนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านต่อกันได้เลย

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของ บ้าน ต่าง กัน อย่างไร

เจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อใน โฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะ จำหน่าย จ่ายโอน ในที่ดินและบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้งยังมีอำนาจที่จะแต่งตั้งใครก็ตามมาเป็นเจ้าบ้านหลังนั้น เพื่อให้เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลภายในบ้านได้อีกด้วย

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของ บ้าน ต่าง กัน อย่างไร

เจ้าบ้าน คือ คนที่มีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในบ้านหลังนั้น ซึ่งครอบครองนี้อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นๆก็ได้ และหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ ได้กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้

- มีคนเกิดในบ้าน

- มีคนตายในบ้าน

- มีคนย้ายออก — ย้ายเข้ามาบ้านหลังนั้น

- มีสิ่งปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อถอน

- ขอเลขที่บ้าน

- เมื่อมีการรื้อถอนบ้าน

โดยที่เกือบทุกกิจกรรมจะต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นายทะเบียน ภายในระยะเวลา 15 วันหลังจากที่มีการกระทำการทำอันใดไปแล้ว ยกเว้นเสียแต่หากมีคนเสียชีวิต จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา 24 ชม. หากไม่แจ้งถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของ บ้าน ต่าง กัน อย่างไร

จะเห็นได้ว่าเจ้าบ้านมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเหตุการต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านหลังที่ตนเป็นเจ้าบ้านเกือบทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านก็จะไม่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในการทำธุรกรรมซื้อขายใดๆทั้งสิ้น นอกเสียจากเจ้าบ้านจะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าของบ้านผู้มีชื่ออยู่ในหนังสือกรรมสิทธิ์ หรือโฉนดที่ดินนั้น

ทำไมเป็นเจ้าของบ้านหลายหลังได้ แต่เป็นเจ้าบ้านเองทุกหลังไม่ได้

กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ที่มีบ้านมากกว่า 1 หลัง แต่ไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านเองได้ทุกหลังนั้นเพราะในทะเบียนราษฎร์ ได้กำหนดไว้แล้วว่า 1 บุคคลสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว ส่วนบ้านที่เหลือ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลการย้ายเข้าย้ายออกของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้นๆ

เชื่อว่าหลายท่านคงเข้าใจและเห็นความสำคัญ กับคำว่า “เจ้าบ้าน” กันมาขึ้นแล้ว วันนี้บ้านบางกอกขอลาไปก่อน ขอบคุณที่ติดตามบทความของเรา ครั้งหน้าจะมีบทความเรื่องอะไรนั้น โปรดติตตามกันได้ที่ https://www.bangkokassets.com แล้วพบกันในบทความหน้า…สวัสดีครับ

ขอบคุณบทความจาก
www.dotproperty.co.th

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนเริ่มอาจสงสัยความหมายของคำว่า "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้าน นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูเหมือนบางคนอาจจะเข้าใจผิดกับอำนาจกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 ได้อธิบายบทบาทของทั้ง 2 คำไว้ว่า

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของ บ้าน ต่าง กัน อย่างไร

เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านกับเจ้าของบ้านแตกต่างกันอย่างไร?

เจ้าบ้าน 

ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือ ในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยในกรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้านหรือไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน

เจ้าของบ้าน 

เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ปล่อยเช่า ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย

หน้าที่ของเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง?
เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่าเจ้าบ้านแล้ว มารู้บทบาทสิ่งที่คนเป็นเจ้าบ้านต้องทำ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้

1. แจ้งคนเกิดในบ้าน
2. แจ้งคนตายในบ้าน
3. แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
4. สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
5. ขอเลขที่บ้าน

โดยการแจ้งเกิด ย้ายเข้า-ออก สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน และขอเลขที่บ้าน ต้องแจ้งภายใน 15 วัน ส่วนการแจ้งตายต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ และถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องเสียค่าปรับ 1,000 บาท

ทั้งนี้ หากเจ้าบ้านมีกิจธุระไม่สามารถมาแจ้งด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกภายในบ้านเข้ามาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะระบุว่าบุคคลอันได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้าน

ข้อแนะนำ : ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้านสำหรับมือใหม่

ใครเป็นผู้มีสิทธิ คัดชื่อคนในทะเบียนบ้านออก?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า กรรมสิทธิ์ของชื่อเจ้าบ้านอันถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้านนั้น จะสามารถทำกิจการใด ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นคัดชื่อ เข้า ออก ทั้งการอยู่เอง หรือเช่า จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่จะไม่มีสิทธิครอบครองบ้าน

ดังนั้นหากวันดีคืนดีเกิดไม่พอใจสมาชิกในบ้าน แล้วต้องการไล่ออกจากบ้าน พร้อมคัดชื่อออก กรณีนี้เจ้าบ้านไม่มีสิทธิทำได้ ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น

  วันดีคืนดี เจ้าบ้านหายตัวหรือตายไป กรรมสิทธิ์เป็นของใคร?
หากเกิดเหตุการณ์เจ้าบ้านที่ปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ได้เกิดหายตัวหรือตายไปจนระยะเวลาล่วงเลยไปกว่า 180 วัน สามารถไปแจ้งสำนักงานเขตเพื่อแก้ไข โดยสามารถคัดชื่อเจ้าบ้านไปทะเบียนกลางได้ พร้อมคัดชื่อเจ้าบ้านใหม่ จากความเห็นชอบของสมาชิกในบ้าน

ข้อแนะนำ : เจ้าของบ้าน กับ เจ้าของที่ดิน ชื่อไม่ตรงกัน สรุปบ้านเป็นของใคร?

ที่มา : กรรมสิทธิ์เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน ไม่มีอำนาจเต็ม พึงรู้ไว้!