บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก

บทเสภาตอนที่ ๔ มุ่งแสดงความคิดว่า ชาติจะดำรงอยู่ได้ เหล่าข้าราชการจะต้องให้ความร่วมมือกับองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้นำของประเทศ โดยคำนึงถึงหน้าที่ของตนเป็นใหญ่ มีความเคร่งครัดในระเบียบวินัย และต้องมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน เพราะ "ว่าทรงทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว  ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว" ที่สำคัญที่สุด คือต้องมีความสามัคคีปรองดอง "ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว"

กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่เด่นที่สุดของบทเสภาตอนนี้คือการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบประเทศชาติกับเรือใหญ่ที่แล่นไปในทะเล พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำประเทศเปรียบได้กับกัปตันเรือ และเหล่าข้าราชบริพารทั้งหลายเปรียบเสมือนกะลาสีเรือ การที่ทรงใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบเช่นนี้ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ องค์พระมหากษัตริย์และประเทศชาติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าข้าราชการเป็นส่วนสำคัญที่จะนำให้ "รัฐนาวา" อยู่รอดปลอดภัยได้โดยทรงใช้กลวิธีแสดงให้เห็นผลร้ายของการที่เหล่าราษฎร์เสวกขาดความสามัคคี และขาดวินัยเสียก่อน แล้วจากนั้นจึงทรงสั่งสอนอย่างตรงไปตรงมาว่า "ข้าราชบริพารควรประพฤติตนอย่างไร" ดังตัวอย่าง

แม้ลูกเรืออวดดีมีทิฐิ  และเริ่มริเฉโกยุ่งโยเส
เมื่อคลื่นลมแรงจัดซัดโซเซ เรือจะเหล่ระยำคว่ำไป
แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน
แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง
นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิต   จะต้องติดตันใจให้ขัดขวาง
จะยุ่งแล้วยุ่งเล่าไม่เข้าทาง  เรือก็คงอับปางกลางสาคร
ถึงเสวีที่เป็นข้าฝ่าพระบาท   ไม่ควรขาดความสมัครสโมสร
ในพระราชสำนักพระภูธร  เหมือนเรือแล่นสาครสมุทรไทย
เหล่าเสวกตกที่กะลาสี   ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่
รักษาตนเคร่งคงตรงวินัย  สมานใจจงรักพระจักรี

แหล่งอ้างอิง: http://www.st.ac.th/bhatips/tip49/samakki_saewog_m2_49.html

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การศึกษาเรื่อง บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา จะต้องจับใจความสำคัญ สรุปความ อธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน และยังต้องรู้ความเป็นมาและประวัติผู้แต่ง
บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมมา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการกล่าวถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะที่มีต่อบุคคลและต่อชาติบ้านเมืองบทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมมา กล่าวถึงการสมานสามัคคีในหมู่ราชเสวก ผู้สวามิภักดิ์ใต้เบื้องยุคลบาทให้มั่นคง ในความจงรักภักดี ซื่อตรง และขยันต่อการงาน   ให้รักษาเกียรติของข้าราชการอย่าให้เสื่อมเสีย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
ท 5.1  ม. 2/1 สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้น    
วัตถุประสงค์
 - นักเรียนอธิบายความเป็นมา บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก ได้
- นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญ สรุปความ และอธิบายรายละเอียดจากการอ่านเรื่อง บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก ได้    
- นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษาวรรณคดีไทย 
 

การวัดผลและประเมินผล

เกณฑ์การประเมิน ใบงาน  เรื่อง  บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา

บทเสภาสามัคคีเสวก

เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

บทเสภาสามัคคีเสวกและประวัติความเป็นมา

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

บทเสภาสามัคคีเสวก มีที่มาจากที่ในสมัยก่อน ทุกวันเสาร์ ข้าราชการในราชสำนักจะจัดงานเลี้ยงที่พระราชวังสนามจันทร์ซึ่งในงานเลี้ยง จะมีการแสดงเพื่อความบันเทิง และในครั้งที่เจ้าพระยาธรรมธิกรณาธิบดี หรือ หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง ก็ได้ทูลขอให้พระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคิดการละเล่นขึ้นมาอย่างหนึ่ง พระองค์จึงได้ผูกระบำสามัคคีเสวกขึ้น ซึ่งเป็นระบำที่ไม่มีบทร้อง มีเพียงดนตรีของวงพิณพาทย์บรรเลง โดยในระหว่างที่ให้วงพิณพาทย์พักเหนื่อย พระองค์ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภาขึ้นมาสำหรับขับร้องระหว่างตอน

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

ลักษณะคำประพันธ์

กลอนเสภาที่มีฉันทลักษณ์เหมือนกลอนสุภาพ

เรื่องย่อของบทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

บทเสภาสามัคคีเสวกมีด้วยกันทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่

1. กิจการแห่งพระนนที เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระนนทีว่าเป็นเทพเสวกที่ดี รับใช้พระอิศวรอย่างซื่อสัตย์

2. กรีนิรมิต เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา

3. วิศวกรรมา เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมเทพ ผู้ให้กำเนิดการก่อสร้างและช่างต่าง ๆ

4. สามัคคีเสวก เป็นบทกล่าวถึงความสามัคคีในหมู่ราชการ ให้มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ และขยันทำงาน

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

ตอนที่เราจะศึกษากันในวันนี้มีด้วยกัน 2 ตอน คือ วิศวกรรมาและสามัคคีเสวกค่ะ

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

บทวิศวกรรมา มีทั้งหมด 13 บท เป็นบทที่กล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพแห่งการสร้าง การช่าง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะ

บทประพันธ์เด่น

แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม

เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร

เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ

โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ

ถอดความ คนที่ไม่สนใจในศิลปะ เมื่อถึงเวลาที่เศร้าก็จะไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจไม่สามารถใช้ยาช่วยได้

อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์

เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า

ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา

เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

ถอดความ ชาติใดก็ตามที่ไม่มีช่างฝีมือด้านศิลปะ ก็เหมือนผู้หญิงที่ไม่มีเสน่ห์ ไม่สวย ใครเห็นก็รู้สึกไม่ชอบและพากันดูถูกได้ว่าเป็นเมืองที่ไร้ศิลปะ

สรุปแนวคิดในตอนวิศวกรรมา

เป็นบทที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานฝีมือและศิลปะว่ามีความสำคัญมาก เพราะศิลปะจะช่วยเยียวยาจิตใจ ให้ความเพลิดเพลิน บำรุงประเทศให้งดงาม และนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้คนไทยภาคภูมิใจและสนับสนุนงานศิลปะ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาฝีมือช่างไทยแล้วยังเป็นการพัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงเรื่องใด *

มีทั้งหมด 9 บท มุ่งเน้นที่จะสอนข้าราชการให้จงรักภักดีและทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

บทประพันธ์เด่น

ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น

ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว

ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว

ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี

ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท

ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี

เหมือนลูกเรืออยู่ในกลางหว่างวารี

จำต้องมีมิตรจิตรสนิทกัน

ถอดความ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนบิดาที่ควรเคารพ และสอนให้ข้าราชการนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนอีกด้วยว่าข้าราชการเหมือนลูกเรือกะลาสี เรือเปรียบเหมือนประเทศชาติ

แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย

ต้องมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน

คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน

นาวานั้นจึ่งจะรอดตลอดทะเล

ถอดความ ข้าราชการที่เหมือนลูกเรือ ต้องสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ และตั้งใจฟังกัปตันหรือก็คือพระมหากษัตริย์เพื่อพาประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยไปตลอดรอดฝั่งได้

แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง

นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน

แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย

เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง

ถอดความ สื่อถึงว่าหากลูกเรือหรือบรรดาข้าราชการแตกคอกัน แม้แต่พระมหากษัตริย์เองก็สู้ไม่ไหว และถ้าหากเกิดเรื่องไม่ดีก็อาจจะทำให้ประเทศเดือดร้อนได้

ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง

สามัคคีเป็นกำลังพลังศรี

ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี

ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

ถอดความ เป็นการสอนให้ข้าราชการไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง วางตัวเป็นกลาง และควรปรองดองกันในหมู่ราชการ สามัคคีกัน

สรุปแนวคิดที่ในตอนสามัคคีเสวก

เป็นบทที่มุ่งเน้นสอนข้าราชการเกี่ยวกับการทำงาน ความซื่อสัตย์ ให้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เคร่งครัดในระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีและสามัคคีปรองดองกัน

สิ่งที่ทำให้กลอนเสภาเรื่องนี้แตกต่างจากบทเสภาทั่วไป คือการอัดแน่นไปด้วยแนวคิดมากกว่าจะเล่าเรื่องราว เรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยความรู้และข้อคิดมากมายเลยค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น ก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้ม ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายตัวบทเด่น ๆ และยังมีคำศัพท์น่ารู้อีกมากมายเลยค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ตอน สามัคคีเสวก

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยใหม่ๆ ได้ใน nockacademy