ต่อมพาราไทรอยด์เกิดจากอะไร

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นก้อนที่ต่อมไทรอยด์

     ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ เมื่อผิดปกติจะโตขึ้น และ เห็นเป็นก้อน บางครั้งก็เห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้ง ก็โตเป็นลักษณะหลายๆ ก้อนติดกัน แต่ที่สำคัญคือ ก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์ จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลง เวลาเรากลืนน้ำลาย

                                                        
                                                         

ต่อมพาราไทรอยด์เกิดจากอะไร

ไทรอยด์เป็นพิษ และไม่เป็นพิษ

    
ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้น จะมีโรคอยู่ 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่เป็นพิษ และ ไม่เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะ หรือ โรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ มีการทำงานมากเกินไป เกิดการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย อาการที่พบคือ ใจสั่น หงุดหงิด ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย กินจุแต่น้ำหนักไม่เพิ่มหรือกลับผอมลง บางคนมีผิวหนังค่อนข้างชื้น บางคนมีอาการท้องเสีย ส่วนบางคนก็ตาโปนออก ฯลฯ ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ไม่เป็นพิษ จะไม่มีอาการดังกล่าว พบแต่ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นเท่านั้น
 
มีความเข้าใจผิดและสับสนเสมอ ระหว่าง ไทรอยด์เป็นพิษกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ไทรอยด์เป็นพิษไม่ใช่มะเร็ง และมักจะพบว่าคนที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษไม่ค่อยเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์

ก้อนที่ไทรอยด์ เป็นโรคอะไรได้บ้าง

    
ความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยกว่ากลุ่มอื่น คือ มีก้อนที่เจริญผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์เพียงก้อนเดียว ซึ่งเป็นโรคต่างๆ ได้หลายชนิด และหนึ่งในนั้น มีมะเร็งของต่อมไทรอยด์รวมอยู่ด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์จะต้องให้การวินิจฉัย แยกโรค เพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 ผู้ป่วยที่มี ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพียงก้อนเดียว อาจเป็นโรคต่างๆ ได้ดังนี้

1. 
เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ (thyroid adenoma) พบได้ประมาณร้อยละ 20-30
2. 
เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษร่วมด้วย (toxic adenoma) เป็นเนื้องอกที่สามารถผลิตฮอร์โมน (ปกติ thyroid adenoma จะไม่ผลิตฮอร์โมน) พบได้ไม่บ่อย
3. 
มะเร็งของต่อมไทรอยด์ (thyroid carcinoma) พบได้ร้อยละ 10-15 ในระยะเริ่มต้นจะเป็นก้อนเดี่ยว  ขนาดเล็ก และ โตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายเป็นก้อนหลายก้อนในเนื้อต่อมไทรอยด์ หรือ แพร่กระจายไปที่อื่น เช่นที่ต่อมน้ำเหลือง หรือ ที่กระดูก ฯลฯ
4. 
คอพอก หรือ คอหอยพอก (nodular goiter) ร้อยละ 50 - 60 ของก้อนเดี่ยวที่ต่อมไทรอยด์ มีความผิดปกติอยู่ในกลุ่มของคอหอยพอก ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะตรวจพบลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะพบการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์ เป็นก้อนหลายก้อน หรือ โตที่คอทั้ง 2 ข้างได้ 

                                                        

ต่อมพาราไทรอยด์เกิดจากอะไร

หากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งจะมีอาการอย่างไร

    
มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ จนกลายเป็นเนื้อร้าย สาเหตุของมะเร็งต่อมไทรอยด์ยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ซึ่งมะเร็งไทรอยด์มักจะเริ่มเป็นก้อนเฉยๆ ที่บริเวณต่อมไทรอยด์(ด้านหน้าลำคอ) ต่อมาก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตมากขึ้น อาจมีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเกิดเป็นก้อนขึ้นที่ด้านข้างลำคอ (ต่อมน้ำเหลือง) หรือมีก้อนตามตัวที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ศีรษะ ซี่โครง สะโพก ฯลฯ บางคนอาจมีอาการเสียงแหบ หรือก้อนใหญ่ขึ้นจนหายใจไม่สะดวกรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือไม่มะเร็งต่อมไทรอยด์ เมื่อเป็นน้อยๆ มักไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ นอกจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ดังนั้น เมื่อพบก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ที่เคลื่อนขึ้น-ลง ตามการกลืนน้ำลาย ควรพบแพทย์ แพทย์จะทำการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเซลล์จากต่อมไทรอยด์มาตรวจ (fine needle aspiration) ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ วิธีนี้มีความแม่นยำ ประมาณ 80% แต่หากการเจาะเซลล์เพื่อตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง ก็อาจเป็นเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ หรือ คอหอยพอกได้ ในกรณีดังกล่าว แพทย์มักจะให้ยาเพื่อรักษาโรคคอหอยพอก และ นัดมาตรวจซ้ำ ในกรณีที่เป็นคอพอก ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะมีขนาดเล็กลง และ หายได้ในที่สุด แต่หากก้อนนั้นไม่หาย ก็ควรจะคิดถึงโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอก หรือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ในกรณีนี้ แพทย์มักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

1. เนื้องอกของต่อมไทรอยด์(nodules)ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง
2. ต่อมไทรอยด์โตและมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
3. ก้อนที่ไทรอยด์กดหลอดลม 4. มีเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์หลังจากการฉายแสงรังสีที่หน้า

การรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถทำได้  2 วิธีคือ

1. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยวิธีปกติ วิธีนี้ แพทย์จะลงแผลตามแนวนอนบริเวณกลางลำคอ และเข้าไปตัดต่อมไทรอยด์ในข้างที่มีก้อนออก หรืออาจตัดออกทั้ง 2 ข้าง ในกรณีพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็ง

                                                        

ต่อมพาราไทรอยด์เกิดจากอะไร

                                                        

                                                             รูปแผลเป็นจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด

2. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้อง โดยการลงแผลขนาดเล็กบริเวณรักแร้ หรือบริเวณแผ่นอก แล้วสอดกล้องและเครื่องมือ เพื่อเข้าไปผ่าตัดต่อมไทรอยด์ข้างที่มีก้อนออก วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถซ่อนบาดแผลไว้ในบริเวณใต้ร่มผ้า แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำในผู้ที่มีก้อนใหญ่มากๆ หรือจะไม่พิจารณาการผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์

                                                            

                                                    รูปแผลเป็นจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องจะมีแผลเป็นแค่บริเวณรักแร้ 

 
การรักษาหลังผ่าตัดไทรอยด์ จะเป็นแบบใด ขึ้นอยู่กับผลของการพิสูจน์ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา

  • หากเป็นเนื้อไทรอยด์โตธรรมดา (Goitre) แพทย์อาจให้ติดตามการรักษา หรือให้รับประทานฮอร์โมนไทรอยด์หลังผ่าตัดประมาณ 6 เดือน
  • หากเป็นถุงน้ำที่ต่อมไทรอยด์ ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ เพิ่มเติม
  • หากเป็นเนื้องอกชนิดไทรอยด์ไม่ร้าย ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ เพิ่มเติม แพทย์อาจนัดมาทำการตรวจเป็นระยะ
  • หากเป็นเนื้องอกของไทรอยด์ชนิดร้าย ขึ้นอยู่กับลักษณะและชนิดของเนื้องอก บางชนิดใช้วิธีติดตามการรักษา บางชนิดจำเป็นต้องทำการผ่าตัดครั้งที่สองเพื่อตัดต่อมไทรอยด์ออกให้หมด บางชนิดจำเป็นต้องกลืนน้ำแร่หลังทำการผ่าตัดด้วย
     

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการผ่าตัดไทรอยด์

1. ผ่าตัดไทรอยด์แล้วจะไม่มีเสียงจริงหรือ?

      ปกติต่อมไทรอยด์จะวางอยู่บนเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงเหนือหลอดลมอย่างแนบชิดมากๆ การผ่าตัดไทรอยด์มีโอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาททั้งสองข้างได้ โดยมีโอกาส 1-5% แล้วแต่ขนาดก้อน ยิ่งก้อนใหญ่มากเท่าไหร่หรือก้อนอักเสบมากๆโอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาทก็จะมากขึ้นเท่านั้น การผ่าตัดแบบเปิดและการส่องกล้องโอกาสการบาดเจ็บแทบจะไม่ต่างกันในปัจจุบัน ถ้าบาดเจ็บเส้นประสาทที่ว่านี้ จะทำให้เสียงแหบแห้งลงไปไม่เหมือนปกติ (ไม่ใช่ไม่มีเสียงเลย) เสียงอาจจะแหบชั่วคราว (3-6 เดือน ถ้าบาดเจ็บบางส่วนหรือแค่ช้ำๆ) หรือถาวรเลยก็ได้(ในกรณีที่ตัดขาด 2 ท่อน) แต่ในขณะผ่าตัด ศัลยแพทย์จะพยายามเก็บรักษาเส้นประสาทเส้นนี้อย่างดีที่สุด ระมัดระวังไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ เว้นแต่เหตุสุดวิสัยจริงๆที่อาจจะบาดเจ็บได้


2. ผ่าตัดแบบเปิดกับการผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ต่างกันอย่างไร
?

      ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องเมื่อเทียบกับแบบเปิดที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ จะไม่มีแผลเป็นที่คอ ทั้งนี้ลงแผลผ่าตัดที่ไหนก็จะมีแผลเป็นที่นั่น เช่น ผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางรักแร้ ก็จะมีแผลเป็นที่แนวพับของรักแร้เป็นต้น ผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหัวนม ก็จะมีแผลเป็นตรงรอยต่อระหว่างหัวนมกับผิวหนัง และผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางปาก แผลจะถูกซ่อนไว้ในร่องระหวางฟันล่างกับริมฝีปากล่าง ทำให้ไม่มีแผลเป็น 100% ที่ผิวหนังนั่นเอง นอกจากนั้น การผ่าตัดส่องกล้องจะฟื้นตัวเร็วกว่าและเจ็บน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด



3. ผ่าตัดไทรอยด์เสร็จแล้วมีอาการชา และต้องกินแคลเซียม
?ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิตพาราไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อระดับแคมเซียมในกระแสเลือด ต่อมพาราไทรอยด์วางอยู่ชิดกับต่อมไทรอยด์ ข้างละ 2 ต่อม ทั้ง 2 ข้าง ในการผ่าตัดไทรอยด์ข้างใดข้างหนึ่งมักจะไม่เกิดปัญหานี้เนื่องจากอีกข้างยังมีต่อมพาราไทรอยด์อยู่นั่นเอง ปัญหามักจะเกิดกับคนที่จะต้องได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้างออกไป ซึ่งอาจจะตัดเอาพาราไทรอยด์ออกไปด้วยก็ได้ ทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ เกิดอาการชาตามมา ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดจะพยายามเก็บรักษาต่อมพาราไทรอยด์ทั้ง 4 ต่อมไว้ อีกกรณีหนึ่งคือ เก็บต่อมพาราไทรอยด์ไว้ได้ แต่เนื่องจากขณะผ่าตัดทำการเลาะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงต่อมพาราไทรอยด์ อาจเกิดการขาดเลือดชั่วคราว ทำให้ต่อมทำงานได้ไม่เต็มที่ชั่วคราว เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็กลับมาทำงานปกติ

4. ผ่าตัดไทรอยด์ออกไปแล้วต้องทานยาต่อหรือไม่?

           ถ้าผ่าตัดเพียงแค่ข้างเดียวออกไป ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาฮอร์โมนต่อ เนื่องจากเหลือต่อมไทรอยด์ไว้เพียงแค่ข้างเดียวก็สามารถทำงานได้ปกติ (จริงๆเหลือปริมาณไทรอยด์แค่ 4 กรัม ก็สามารถทำงานได้) แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องตัดออกหมดทั้งสองข้าง คนไข้จำเป็นต้องรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมนเม็ดเล็กๆสีขาว ตลอดไป

5. ก้อนไทรอยด์ที่คอใหญ่ขนาดไหนถึงจะผ่าตัดส่องกล้องไม่ได้

?

            สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องทางรักแร้ ขนาดไทรอยด์ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ไม่เกิน 6-7 ซม. และทำได้เพียงข้างเดียว ถ้ามีก้อน 2 ข้าง ก็ต้องเข้าทางรักแร้ทั้งสองข้าง และผ่าตัดได้ทั้งสองข้าง พึงระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งขนาดใหญ่มากเท่าใด การผ่าตัดก็จะยาก และโอกาสผ่าตัดส่องกล้องสำเร็จก็จะน้อยตามไปด้วย

6. ไทรอยด์เป็นพิษ ผ่าตัดได้ไหม

?

      สำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันแนะนำให้เริ่มรักษาจากการรับประทานยาไปก่อนเป็นเวลา 2 ปี จะพิจารณาผ่าตัดก็ต่อเมื่อ -รับประทานยาไปแล้วมากกว่า 2 ปี ระดับฮอร์โมนยังสูงอยู่ -มีภาวะตาโปนหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ -แพ้ยาหรือไม่สามารถทนต่อการทานยาที่รักษาได้ เป็นต้น

7. ผ่าตัดไทรอยด์แล้วกลับบ้านได้เลยหรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าไหร่
?

           หลังผ่าตัด

ไทรอยผ่านกล้องเสร็จรียบร้อยจะนอนพักฟื้นใน รพ.ประมาณ 3 วัน จึงจะให้กลับบ้าน

 ค่าใช้จ่าย ในการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องประมาณ 200,000  บาท

                                                        

ต่อมพาราไทรอยด์เกิดจากอะไร

                                                                                        แผลผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องผ่านทางรักแร้

8. ก่อนและหลังผ่าตัดต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง?

     ก่อนผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่มีอาหารที่ต้องงดแต่อย่างใด ยกเว้น งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือดและอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา .เนื่องจากมักจะทำให้เลือดออกง่าย ก่อนการผ่าตัดพยายามหลีกเลี่ยงที่ชุมชนที่เสี่ยงต่อการติดหวัดเนื่องจากจะไม่สามารถดมยาสลบได้ หลังผ่าตัดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก พยายามอย่าขากเสลดแรง หรือไอแรงๆ หรือตะโกนเสียงดัง เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ง่าย ส่วนการปฏิบัติตัวอื่นสามารถทำได้ตามปกติ

 เนื่องจากมักจะทำให้เลือดออกง่าย ก่อนการผ่าตัดพยายามอย่าเป็นหวัดเนื่องจากจะไม่สามารถดมยาสลบได้ หลังผ่าตัดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก พยายามอย่าขากเสลดแรง หรือไอแรงๆ หรือตะโกนเสียงดัง เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ง่าย ส่วนการปฏิบัติตัวอื่นสามารถทำได้ตามปกติ

พว.วนิดา  วิปุลานุสาสน์
หัวหน้าศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่