หน่วยงานประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานคือหน่วยงานใด


  • เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องจัดให้มีคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน รวมทั้งกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานโดยจัดทำเป็นเอก...


  • ในกรณีที่เป็นการนำวิธีการจัดการพลังงานตามกฎกระทรวงนี้มาใช้เป็นครั้งแรกให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น (Energy Management Matri...


  • ในการจัดทำนโยบายอนุรักษ์พลังงานเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมอาจตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยจัดทำนโยบายอนุรักษ์พลังงานก็ได้นโยบายอนุรักษ์พลังงานต้องแสดงเจตจำนงและความมุ่งมั่นใน...


  • ให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมจัดให้มีการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน โดยการตรวจสอบและประเมินการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด...


  • เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องจัดให้มีการกำหนดเป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงานของพลังงานที่ประสงค์จะให้ลดลงโดยกำหนดเป็นร้อยละของปริมาณพลังงานที่ใช้เดิมหรือกำหนดระดับของ...


  • เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องควบคุมดูแลให้มีการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมตรวจสอบ และวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมา...


  • เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงานรวมถึงการทบทวนวิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานตามช่วงเวลาที่กำหนดอย่...


  • เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงานรวมถึงการทบทวนวิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานตามช่วงเวลาที่กำหนดอย่างเห...

หน่วยงานประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานคือหน่วยงานใด

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน                

ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน : รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสาน และเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาพส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 : รับผิดชอบ กำกับดูแลส่งเสริม และช่วยเหลือให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมได้ปฎิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

วิสัยทัศน์"เป็นองค์กรฐานความรู้ (Knowledge Base) และศูนย์กลางในการผลักดันพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน"พันธกิจ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ทั้งด้านการบริโภคภายในและการส่งออก รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน เพื่อเศรษฐกิจมั่นคง สังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน

ภารกิจ / วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสาน เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงการต่างๆ / แผนการดำเนินงาน

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก               โครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาดเล็ก เป็นการสร้างเขื่อนขนาดเล็กหรือฝายทดน้ำกั้นลำน้ำ ที่จะพัฒนา โดยการผันน้ำจากฝายทดน้ำ หรือเขื่อนไปยังโรงไฟฟ้า ด้วยระบบส่งน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 200 กิโลวัตต์ขึ้นไป กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก มาตั้งแต่ปี 2507 จนถึงปัจจุบัน ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รวม 25 แห่งซึ่งได้โอนไปอยู่ภายใต้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3 แห่ง อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ พพ. 22 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 43.318 เมกะวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า เฉลี่ยปีละ 80 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 24 ล้านลิตรต่อปี เทียบเท่านำมันดิบ 17.02 ktoe เฉพาะปีงบประมาณ 2548 เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของ พพ. สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้รวมทั้งสิ้น 97.25 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยมีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 114.785 ล้าน ปัจจุบันมีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ 1. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล เป็นโครงการเนื่องในพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตกิ่ง อ.คิชฌกูฏ และ อ.มะขาม จ.จันทบุรี มีขนาดกำลังผลิตรวม 9.8 เมกกะวัตต์ เมื่อแล้วเสร็จสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 28.16 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง 2. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน ตั้งอยู่ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน มีกำลังผลิตรวม 10 เมกกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 54.62 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง 3. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแม่กะไน ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยปู อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มีกำลังผลิตรวม 0.89 เมกกะวัตต์ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 2.041 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้าน           พพ.ได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านโยดำเนินการในรูปแบบความร่วมมือกับราษฎร จน๔งปัจจุบันมีจำนวนโครงการไฟฟ้าพลัลน้ำระดับหมู่บ้านที่ยังสามารถเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่จำนวน 39 โครงการ มีกำลังผลิตรวม 1,155 กิโลวัตต์จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จำนวน 3,779 ครัวเรือน สำหรับปีงบประมาณ 2548 มีการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 3 โครงการ คือโครงการบ้านห้วยหมากลาง จ.แม่ฮ่องสอน มีขนาดกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และโครงการบ้านสามหมื่นทุ่ง จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์ และในปีงบประมาณ 2549 มีโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างจำนวน 2 โครงการ คือโครงการบ้านมะโอโค๊ะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และโครงการแม่น้ำดะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนแม่จัน แหล่งน้ำพุร้อนแม่จัน ตั้งอยู่ที่ จ.เชียงราย อยู่ในพื้นที่บ้านโป่งน้ำร้อนที่ตำแหน่งพิกัด 839-254 ตามแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ระวางหมายเลข 4949II ตำแหน่งดังกล่าวห่างจาก อ.แม่จันเป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1089: แม่อาย-แม่จัน วัตถุประสงค์โครงการ 1) ได้ฐานข้อมูลแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพแม่จัน จ.เชียงราย 2) เพื่อพัฒนาใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ที่มีอยู่ในพื้นที่ใน ลักษณะโครงการเอนกประสงค์ 3) เพื่อเป็นการเพิ่มงาน เพิ่มมูลค่าผลผลิต และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น 4) เพื่อชี้นำการลงทุนการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานความร้อนใต้ภิภพในพื้นที่อื่นของประเทศโครงการ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล 1. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำปิงตอนล่างได้ในระยะยาว 2. เพื่อใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันในลุ่มน้ำเมย ลุ่มน้ำสาละวินและลุ่มน้ำเจ้าพระยาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มความมั่นคงของปริมาณน้ำต้นทุนและการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 3. พัฒนาโครงการแหล่งน้ำท้องถิ่น ซึ่งให้ประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำเมย และลุ่มน้ำสาขา เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นและการใช้น้ำในลุ่มน้ำ 4. เสริมความมั่นคงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล 5. ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่เกษตรกรรม และการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน 6. สามารถพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมลุ่มน้ำปิงตอนล่างท้ายอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ในเขตจังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ 7. ผลประโยชน์ด้านเกษตรเพิ่มขึ้นในโครงการเจ้าพระยา 8. เสริมความมั่นคงในการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและอุตสาหกรรม รวมทั้งลดการใช้น้ำบาดาลและเพิ่มปริมาณน้ำบาดาล 9. ประโยชน์ในการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการเดินเรือ การผลักดันน้ำเค็ม การรักษาคุณภาพน้ำ โดยปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมดังกล่าวจะมีความมั่นคงและไม่เกิดภาวะวิกฤตดังเช่นในปี 2536-2537 และปี 2542โครงการนำร่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จากข้อมูลการใช้พลังงานปี พ.ศ. 2547 พบว่าภาคอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 36 ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรม มีการพัฒนาไปสู่การผลิตที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พพ.จึงได้นำมาตรการทางภาษีมาช่วยกระตุ้นเพื่อให้เกิดการปรับปรุงการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจ่ายคืนภาษีของรายได้ส่วนที่เกิดจากผลประหยัดจากการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ผู้มีสิทธิได้รับการสนับสนุน เจ้าของสถานประกอบการประเภทโรงงานและอาคารเอกชน ซึ่งมีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการที่เข้าข่ายการขอรับสิทธิประโยชน์ 1. ต้องลดการใช้พลังงานเดิมหรือทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้า 2. ในกรณีที่มีผลให้การผลิตมีการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตลดลง หรือมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นโครงการศึกษาการจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เป็นโครงการศึกษาและกำหนดระดับการใช้พลังงานสำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นประสิทธิภาพสูงและจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยข้อกำหนดอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงรวมทั้งจัดทำแนวทางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขวิธีการให้การส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ผลิต ผู้จำหน่าย พร้อมทั้งรายละเอียดในการดำเนินงานเพื่อรองรับการประกาศใช้กฎกระทรวงเพื่อช่วยในการผลักดันให้เกิดการผลิต และการจำหน่ายเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงกันอย่างแพร่หลายและจริงจังในท้องตลาดซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถลดการใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องทำนำอุ่นไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-35โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้บุคลากรทุกคนในโรงงาน/อาคารเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานด้วยตนเอง โดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของโรงงาน/อาคารเนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย ลงทุนน้อยมีระยะเวลาคืนทุนสั้น และเกิดผลประหยัดด้านพลังงานที่เป็นรูปธรรม ระหว่างดำเนินโครงการหรือภายหลังจบโครงการ อีกทั้งยังสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน และอาคารเป็นจำนวนมาก ในปีงบประมาณ 2547 มีโรงงานควมคุม 50 แห่ง อาคารควบคุม 50 แห่ง และ SMEs อีก 30 แห่ง เข้าร่วมโครงการและจดสัมมนาอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษากับที่อนุรักษ์พลังงานของอาคาร/โรงงาน2-3 ครั้ง และมีผลอนุรักษ์พลังงานแล้ว ประมาณ 1.0 Ktoeโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุรักษ์พลังงาน และบ้านอยู่สบายประหยัดพลังงาน บ้านเอื้ออาทรอนุรักษ์พลังงาน พพ.ได้ดำเนินการร่วมกับการเคหะแห่งชาติในโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ 1 ในส่วนของการเพิ่มมาตรการประหยัดพลังงานโดยไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมหากมีแต่มาตรการเพิ่ม/เปลี่ยน อุปกรณ์บางอย่างเพื่อความเหมาะสมในการอนุรักษ์พลังงาน ในระยะที่ 2 โครงการบ้านเอื้ออาทร มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม การปรับเปลี่ยนได้คำนึงถึงการประหยัดพลังงาน ความคุ้มค่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฎิบัติและประโยชน์แก่ผู้อยู่อาศัยสูงสุดได้ศึกษาจากอาคารทั้งหมด 6 ประเภท บ้านเดี่ยว 2 ชั้น บ้านแฝด 2 ชั้น บ้านแถว(ทาวเฮ้าส์) 2 ชั้น และอาคารชุด 5 ชั้น โดยมีมาตรการในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร มาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคม และมาตรการปรับปรุงระบบสุขาภิบาล บ้านอยู่สบายประหยัดพลังงาน พพ.ได้ออกแบบบ้านอยู่สบายประหยัดพลังงาน เป็นโครงการออกแบบบ้านต้นแบบสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและ ปานกลาง หรือหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งจะประกอบบ้าน 3 รูปแบบ เป็นการออกแบบบ้านที่คำนึงถึงความสบายในการอยู่อาศัย มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับบ้านทั่วไปในขนาดเดียวกันประมาณ 15-20 % บ้านอยู่สบายประหยัดพลังงานทั้ง 3 รูปแบบ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 5,000-9,350/ปี/หลังโครงการจัดทำแผนปฎิบัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย เป็นโครงการศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมผลข้อมูล เพื่อนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาแผนการปฎิบัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และมีความยั่งยืนในระยะยาว ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนในบ้านที่อยู่อาศัย มี 3 ประการคือ การออกแบบบ้านที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโครงการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ พพ. ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทุกภาคของประเทศที่อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่ไม่มีฟฟ้าใช้สามารถมีไฟฟ้าใช้ในการดำรงชีพ พพ.ได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปี 2547 จำนวน 677 แห่ง มีขนาดการผลิต 2,301,606 กิโลวัตต์โครงการผลิตถ่านหินเป็นพลังงานทดแทน ในรอบปี 2547 โครงการผลิตถ่านหินเป็นพลังงานทดแทนภายใต้การกำกับดูแลของ พพ. 3 เหมือง มีปริมาณการผลิตรวม 893,536.92 ตัน มียอดการจำหน่ายรวม 1,006,065.69 ตัน และ พพ. ได้รับรายได้จากการชำระค่าผลประโยชน์จากการผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากเหมืองคู่สัญญา โดยได้นำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน รวม 26,584,197.45 บาท โดยจำแนกเป็น 1.เหมืองบ้านปู อ.ลี้ จ.ลำพูน ดำเนินการโดย บ. บ้านปู จำกัด มหาชน) มีปริมาณการผลิตรวม 157,064 ตัน มีปริมาณการจำหน่ายรวม 132,702.10 ตัน เกิดรายได้จากการชำระค่าผลประโยชน์ตามสัญญา รวม 7,981,098.04 บาท 2. เหมืองบ้านป่าคา อ.ลี้ จ.ลำพูน ดำเนิเการโดย บ. ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) มีปริมาณการผลิตรวม 546,581 ตัน มีปริมาณการจำหน่ายรวม 679,305.11 ตัน เกิดรายได้จากการชำระค่าผลประโยชน์ตามสัญญา รวม 17,963,055.23 บาท 3. เหมืองเชียงม่วน แหล่งบ้านสระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ดำเนินการโดย บ.เหมืองเชียงม่วนจำกัด มีปริมาณการผลิตรวม 189,891.92 ตัน มีปริมาณการจำหน่ายรวม 194,085.48 ตัน เกิดรายได้จากการชำระค่าผลประโยชน์ตามสัญญา รวม 640,044.18 บาทโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน พพ.และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานไดร่วมศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบเทคโนโลยีที่ในการผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยหลายรูปแบบ และได้ดำเนินการทดลองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รูปแบบที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำและสามารถแข่งขันได้ตามกลไกตลาด โดยจะได้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและปุ๋ยอินทรีย์ กระทรวงพลังงานจึงร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จัดทำ "โครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน " โดยเป็นโครงการนำร่องในบางเขตของกรุงเทพมหานคร และบางจังหวัดของประเทศ ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส โดยจะใช้รูปแบบต่างๆ ซึ่งได้มีการศึกษาเปรียบเทียบไว้แล้วและจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพร้อมที่จะลงทุนในโครงการฯ และปรับปรุงศึกษารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดภาระและปัญหาการกำจัดขยะของประเทศไทย สำหรับไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการฯ การรับซื้อไฟฟ้าจเป็นไปตามกลไกตลาด นอกจากนี้ยังสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สำหรับโครงการนี้ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบและไดมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2547งานความร่วมมือกับต่างประเทศ องค์การพลังงานโลก (World Energy Council : WEC) องค์การพลังงานโลก เป็นองค์การที่สนับสนุนให้เกิดการศึกษาเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งพลังงาน การผลิตพลังงาน การใช้พลังงานให้มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางเศรฐกิจ การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และศีลธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกประเทศทั่โลก ผลการดำเนินงานของ พพ. ที่ดำเนินงานในฐานะผู้แทนไทยในคณะกรรมการองค์การพลังงานโลกของประเทศไทย ในปี 2547 มีดังนี้ 1) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการบริหารองค์การพลังงานโลกประจำปี 2547 (WEC EA 2004) ระหว่างวันที่ 1-5 กันยายน 2547 และการประชุมใหญ่องค์การพลังงานโลก ครั้งที่ 19 ระหว่าง วันที่ 5-9 กันยายน 2547 ณ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติงานขององค์การฯ ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการกำหนดนโยบาย และร่วมพิจารณา Work Program เพื่อจัดเตรียมแผนงานการศึกษาด้านพลังงาน 2) เผยแพร่เอกสารรายงานและบทความด้านพลังงาน ซึ่งองค์การฯได้ดำเนินการศึกษาเสร็จสมบูรณ์ และนำเสนอในการประชุม WEC Congress แล้ว เพื่อให้สมาชิกฯ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ องค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างชาติ (International Commission on Large Dams : ICOLD ) องค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างชาติเป็นองค์การที่สนับสนุนในการปรับปรุง วางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ดำเนินงาน และบำรุงรักษาเขื่อนขนาดใหญ่ โดยพิจารณาตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องด้านวิชาการ เศรษฐกิจ งบประมาณ สิ่งแวดล้อม และสังคม ผลการดำเนินงานของ พพ. ที่ดำเนินงานในฐานะผู้แทนไทยในคณะกรรมการองค์เขื่อนใหญ่ของประเทศไทย ในปี 2547 มีดังนี้ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการบริหารองค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างชาติ ประจำปี 2547 ครั้งที่ 72 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 16-21 พฤษภาคม 2547 เพื่อร่วมรับทราบผลการปฎิบัติงาน และการรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการด้านเทคนิค (Technical Committee) และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (Special Committee) ร่วมพิจารณาแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานด้านการศึกษา การสำรวจ การทดลอง การบริหารการเงินและทรัพย์สินขององค์การฯ ในปีที่ผ่านมา องค์การซีเกร์ (International Council on Large Electric System : CIGRE) องค์การซีเกร์ เป็นองค์การที่พัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลด้านการวางแผน การปฎิบัติการระบบไฟฟ้า ออกแบบ การก่อสร้าง การบำรุงรักษา และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ผลการดำเนินงานของ พพ. ที่ดำเนินงานในฐานะ ผู้แทนไทยของคณะกรรมการซีเกร์ คือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการให้แก่คณะกรรมการสมาชิกประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการสมาชิก ในการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ CIGRE Session 2004 ณ ประเทศฝรั่งเศส ความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asia Nations : ASEAN) ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเชีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน (ASEAN on Energy Cooperation) เป้นหนึ่งในกิจกรรมความร่วมมือที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งการดำเนินงานระหว่างประเทศสมาชิกแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย - ACOPE : ASEAN Council on Petroleum - HAPUA : Heads of Power Utilities/Autorities - AFOC : ASEAN Forum on Coal - AEBF : ASEAN Energy Business Forum - RE-SSN : REnewable Energy Sub-sector Network - EE&C - SSN : Energy Efficiency and conservation Sub-sector Network โครงการสนับสนุนประสิทธิภาพไทย-เยอรมันหรือ TG-ENEP ได้ให้ความช่วยเหลือสำหรับดำเนินการต่อในการติดตั้งระบบการจัดหาข้อมูลเพื่อการออกแบบศูนย์บริการสารสนเทศด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย (TEE-IS) ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงเป็นแหล่งรวม การให้บริการ ด้านข้อมูลในเรื่อง ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ เพื่อให้คำปรึกษาแก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มเจ้าของกิจการ กลุ่มผู้บริหาร ตลอดจน กลุ่มพนักงานเทคนิคของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานของโครงการศูนย์บริการสารสนเทศด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย ผ่านสื่อต่างๆ ให้เป็นที่เข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมาย 2. เพื่อให้บริการข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยและครบวงจรแก่กลุ่มนักวิจัย ที่ปรึกษา วิศวกร เจ้าของกิจการและผู้ผลิต รวมถึงการเพิ่มเติมการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานทั้งภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรม และสถาบันศึกษา เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อติดตามและประเมินผลบริการข้อมูลโครงการศูนย์บริการสารสนเทศด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีระบบและปรับปรุงพัฒนาการบริการข้อมูลต่อไปในอนาคต 4. เพื่อจัดทำ รวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลทางด้านประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย โดยเฉพาะข้อมูลภายในประเทศและสิ่งที่ได้ตีพิมพ์ อย่างเป็นทางการ เพื่อนำปสร้างฐานข้อมูลพลังงาน ซึ่งนำไปสู่การให้บริการข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่าย