สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�ط�ҹ����ѵ���ʵ����⢷��

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�ط�ҹ����ѵ���ʵ����⢷�����ա˹���ʶҹ����ͧ����Ƿ���չѡ��ͧ�����������¹���������Ҵ��� ������ҧ�ҡ���ҡ�ҧ ...

��ӵ�������

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

��ӵ������� ��ʶҹ����ͧ����Ƿ���ʹ�����ա���˹�� �繹�ӵ�����ժ������§�����§���ҡ����ش����ҧ��ȵ��ѹ���ͧ� ...

�ԾԸ�ѳ���ѧ��š��⢷��

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�ԾԸ�ѳ���ѧ��š��⢷����ʶҹ����ͧ����Ƿ���ʹ�����ա���˹�� ����������dz���ͧ�͡��ҫ�� �����¾�� ��ҧ�ҡ���ͧ� ...

�ط�ҹ��觪ҵ�������˧

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�ط�ҹ��觪ҵ�������˧��ʶҹ����ͧ����Ƿ���ʹ�����ա���˹�� ��ͺ������鹷��ͧ����� ���ͧ��⢷�� ����ͺ�ҹ��ҹ �ҹ ...

�Ѵ�������

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�Ѵ���������ʶҹ����ͧ����Ƿ����ʹ����ҧ��� ������������ط�ҹ����ѵ���ʵ����⢷�� ���Ѵ�������Ż�Ẻ��� ���ҧ ...

�Ѵ��ժ��

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�Ѵ��ժ�����ա˹��ʶҹ����ͧ����Ƿ��س��Ҩ����ͧ��ѡ���� ���������ҧ�ҡ�Ѵ��о�� ��ǧ价ҧ��ȵ��ѹ�� 800 ���� ...

�Ѵ਴�������

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�Ѵ਴���������ʶҹ����ͧ����Ƿ���ʹ�����ա���˹��㹨ѧ��Ѵ��⢷�� ��˹�����ҳʶҹ����Ӥѭ�ͧ�ط�ҹ����ѵ� ...

�ط�ҹ��觪ҵ�����Ѫ�����

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�ط�ҹ��觪ҵ�����Ѫ����� ���ա˹��ʶҹ����ͧ����Ƿ��س��Ҩ����ͧ��ѡ���� ��� ���� ��Ҥ� ���¶֧��Ҥ���ǧ ��� ...

�Ѵ��Ҹҵ�

สวรรคโลกมีชื่อเสียงในเรื่องใด

�Ѵ��Ҹҵ� ��ʶҹ����ͧ����Ƿ���ʹ�����ա���˹��㹨ѧ��Ѵ��⢷�� ��������ҧ���ͧ ���Ѵ�˭� ����Ѵ�Ӥѭ�ͧ��ا� ...

ที่ราบลุ่มแม่น้ํายมและที่ลาดเชิงเขาพระศรี เขาใหญ่ และเขาพระบาท ถือเป็นพื้นที่ ที่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มแม่น้ําและที่ลาดเชิงเขา ทําให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และปราการธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู จึงส่งผลให้พบหลักฐานการใช้พื้นที่ในบริเวณนี้ของมนุษย์ ในอดีตเป็นจํานวนมาก

จากการสํารวจพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ขวานหินขัด ที่ตําบลท่าชัย อําเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงให้เห็นว่ามีการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ที่บริเวณคุ้งแม่น้ํายมหรือเมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองโบราณลุ่มน้ํายมคู่กับเมืองสุโขทัยมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 9 หรือก่อนสมัยสุโขทัย คือ

- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 9 พบหลักฐานประเภท เศษภาชนะดินเผาคุณภาพต่ำ เนื้อหยาบ เผาอุณหภูมิไม่สูงนัก

- สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์-สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 10-16 พบการฝังศพ โดยฝังร่วมกับเครื่องมือเหล็กและเครื่องประดับต่าง ๆ เป็นของอุทิศ เช่น ลูกปัดหินอาเกต ลูกปัดแก้ว แท่งดินเผาลายตาราง เป็นต้น ทั้งหมด 15 โครง

- วัฒนธรรมสมัยลพบุรี-ต้นสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 พบซากโบราณสถาน รูปสี่เหลี่ยม 2 หลัง ก่อด้วยอิฐ เปรียบเทียบกับผลการขุดค้นใกล้เคียงพบว่าเป็นชั้นดินในช่วง ที่วัฒนธรรมเขมรแพร่เข้ามา จากนั้นพัฒนาเป็นวัฒนธรรมของสมัยสุโขทัย-อยุธยา และวัฒนธรรมสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ตามลําดับ

หลักฐานจากการสํารวจและขุดค้นดังกล่าวสอดคล้องกับเอกสารโบราณ ไม่ว่าจะเป็น จดหมายเหตุของจีนในสมัยราชวงศ์ซุ้ง (พุทธศักราช 1503-1670) ที่กล่าวถึงแคว้น “เฉินเหลียง” ว่าอยู่เหนือดินแดนละโว้ขึ้นไป หรือในพงศาวดารโยนก (พุทธศตวรรษที่ 16) กล่าวถึง การอพยพคนลงมาทาง ใต้จนถึงดินแดน “เฉลียง”

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยสุโขทัย

จากชุมชนเมืองเชลียง ได้พัฒนากลายเป็นเมืองศรีสัชนาลัย เมืองที่มีความสําคัญ ดังที่ปรากฏ ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม พุทธศักราช 1912) กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนสถาปนาสุโขทัย เป็นราชธานีของเมืองศรีสัชนาลัย ใจความว่า “เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาว...ไปเมืองบางยาง ให้เอา…พลพ่อ ขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดพาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันและกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย”

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยสุโขทัย

จากชุมชนเมืองเชลียง ได้พัฒนากลายเป็นเมืองศรีสัชนาลัย เมืองที่มีความสําคัญ ดังที่ปรากฏ ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม พุทธศักราช 1912) กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนสถาปนาสุโขทัย เป็นราชธานีของเมืองศรีสัชนาลัย ใจความว่า “เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาว...ไปเมืองบางยาง ให้เอา…พลพ่อ ขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดพาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันและกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย”

ภายหลังจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อ พุทธศักราช 1793 เมืองศรีสัชนาลัย ได้กลายเป็นเมืองสําคัญอีกแห่งของสุโขทัย มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงที่สําคัญในสมัยสุโขทัย ข้อมูลในศิลาจารึกกล่าวถึงเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะเมืองที่มีศักดิ์เทียบเท่ากับเมืองสุโขทัย ดังที่ปรากฏการเรียกชื่อเมืองทั้งสองควบคู่กันว่า “ศรีสัชนาลัย สุโขทัย” ในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหง พุทธศักราช 1834) และในช่วงการครองราชย์ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงโปรดเกล้า ให้พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระราชโอรสเสด็จไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย

เมื่อพ่อขุนรามคําแหงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้ทรงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา ด้วยการก่อสร้างศาสนสถาน (ก่อพระธาตุ) ดังที่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว ในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหง) มีใจความว่า “…1209 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลาย เห็นกระทํา บูชาบําเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวันจึงเอาฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุสามเข้าจึ่งแล้ว...”

เหตุการณ์สําคัญที่เกี่ยวกับเมืองศรีสัชนาลัยในสมัยสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งคือ พระมหาอุปราช ผู้ปกครองเมืองศรีสัชนาลัยยกพลเข้ายึดอํานาจในกรุงสุโขทัยเมื่อปลายรัชกาลพระเจ้าลือไท จากนั้นทรง ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าลิไท ความในจารึกหลักที่  4 (ศิลาจารึกวัดป่า มะม่วง ภาษาเขมร พุทธศักราช 1904) ความว่า

“มหาศักราช 1269 ศกกุน พระบาทกมรเดงอัญฤาไทยราช ผู้เป็นพระราชนัดดาของ พระบาทกัมรเดงอัญศรีรามราช เสด็จนําพยุหเสนาทั้งหลาย ออกมาจากเมืองศรีสัชนาลัยมา รีบตบแต่งโยธา เดินอยู่นอกพระวิไสย ณ วันศุกร์ขึ้น 5 คำ่เดือน 7 เมื่อเสด็จมีพระราชบัณฑูร ให้ไพร่พลทั้งหลาย...เข้าระดม ฟันประตู ประหารศัตรูทั้งหลาย...บัดนั้น จึงเสด็จพระราชดําเนินเข้าเสวยราชย์ ไอสูรยาธิปัตย์ ในเมืองสุโขทัย แทนพระบิดา พระอัยกา...แล้วถวายพระนามว่า พระบาทกัมรเดงอัญ ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช...”

ในรัชสมัยของพระยาลิไท ถือเป็นยุคทองของแคว้นต่าง ๆ ของสุโขทัย หมายรวมถึง เมืองศรีสัชนาลัยด้วยเช่นกัน เห็นได้จากงานก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จํานวนมาก ครั้นเมื่อสิ้นรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยก็อ่อนกําลังลง บรรดาหัวเมืองของ สุโขทัยต่างมีฐานะเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยา โดยในระยะแรกยังคงมีเจ้าเมืองท้องถิ่นเดิม ปกครองดูแลอยู่

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยกรุงศรีอยุธยา

หลังจากกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอํานาจโดยเด็ดขาดในรัชสมัยของ พระบรมราชาธิราชเมื่อ พุทธศักราช 1921 กรุงศรีอยุธยาได้พยายามเข้าควบคุมบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ของกรุง สุโขทัย โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้วิธีการแก้ไขจัดวางระเบียบการปกครองแบบใหม่ ซึ่งบรรดา เจ้าเมืองหัวเมืองต่าง ๆ จะต้องขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาโดยตรง รวมทั้งกําจัดอํานาจของผู้ปกครองท้องถิ่นเดิม ทําให้เจ้าเมืองเหล่านั้นไม่พอใจคิดแข็งเมืองเอาใจออกห่างไปพึ่งพิงฝ่ายตรงข้ามมีอาณาจักรล้านนาไทย เป็นต้น

เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว ได้ตั้งเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีฝ่ายเหนือ และกําหนดให้เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองชั้นโท ซึ่งมีความสําคัญเป็นอย่างมากในฐานะเมืองหน้าด่านกันชน ระหว่างกรุงศรีอยุธยาและล้านนา แต่เนื่องจากเมืองศรีสัชนาลัยพยายามตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรี อยุธยาจึงทําให้เกิดเหตุการณ์สําคัญขึ้น ดังต่อไปนี้

ในปี พุทธศักราช 2003 เกิดเหตุการณ์พระยาเชลียงหันไปสวามิภักดิ์แก่ล้านนา พงศาวดารโยนก และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐบันทึกความไว้ตรงกันว่าในปีจุลศักราช 822 (พุทธศักราช 2003) เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยเอาใจออกห่างพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยายอมสวามิภักดิ์ ต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบันทึกไว้ว่า

“… ศักราช 822 มะโรงศก … ครั้งนั้นพระญาเชลียงคิดขบถพาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่ มหาราช” ส่วนพงศาวดารโยนกนั้นกล่าวเนื้อความโดยละเอียดไว้ว่า “ในปีจุลศักราช 822 นั้น กองทัพกรุงศรี อยุธยาขึ้นไปตีเมืองแพร่มีหมื่นด้งนครตั้งรับอยู่ เมื่อพระเจ้าติโลกราชเข้ามาช่วย กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ถอย กลับในครั้งนั้นพระเจ้าติโลกราชยกทัพตามกองทัพกรุงศรีอยุธยามาถึงเมืองเชลียง...พระยาเชลียงยอม สวามิภักดิ์ แล้วนําทัพพระเจ้าเชียงใหม่ไปตีเมืองฝาง ตั้งทัพอยู่เหนือเมืองเข้าปล้นเมืองสามวันมิได้ก็เลิกถอยคืน มาเมืองเชลียง … ”

ในปีต่อมาคือ จุลศักราช 832 พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้อีกว่า “…พระญา เชลียงนํามหาราชจะมาเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถมิได้เมืองแลจึงยกทัพเปร่อไปเอา เมืองกําแพงเพชร และเข้าปล้นเมืองถึง ๗ วันมิได้เมือง แลมหาราชก็เลิกทับคืนไปเชียงใหม่”

เหตุการณ์การยอมสวามิภักดิ์ของเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยหรือพระยาเชลียงต่อเมืองเชียงใหม่ ในครั้งนั้นอาจเป็นเพราะเหตุการณ์จําเป็นบังคับ เนื่องจากกองทัพพระเจ้าติโลกราชยกเข้ามาถึงเมืองแล้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวที่เมืองศรีสัชนาลัยต้องตกอยู่ในภายใต้การปกครองของล้านนาเป็นเวลานาน ชื่อของเมืองศรีสัชนาลัยจึงถูกเรียกในอีกชื่อว่า “เมืองเชียงชื่น” ดังที่ปรากฏในลิลิตยวนพ่าย

เมืองศรีสัชนาลัยจะขึ้นอยู่กับเมืองเชียงใหม่นานเท่าใดไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อสิ้น รัชกาลพระเจ้าติโลกราชแล้ว เมืองศรีสัชนาลัยได้ตั้งตัวเป็นอิสระและขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาดังเดิม ดังที่มีหลักฐาน ในพระไอยการตําแหน่งนายทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นั้นกําหนดให้เมืองศรีสัชนาลัยเป็นหัวเมืองชั้นโท มีเจ้าเมืองตําแหน่งออกญาเกสตรสงครามรามราชแสนญา - ธิบดีศรีสัชนาไลยอภัยพิรียบรากรมภาหุ พญาสวรรคโลก ถือเป็นการปรากฏชื่อเรียก “สวรรคโลก” เป็นครั้งแรก จากนั้นได้มีการปรับปรุงเมืองศรีสัชนาลัย โดยเฉพาะการก่อสร้างป้อมปราการ คูเมือง กําแพง เมืองให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น

เมืองศรีสัชนาลัย หรืออีกนามที่กรุงศรีอยุธยาเรียกว่าเมืองสวรรคโลกนั้น ในระยะแรกยังคงมี เจ้าเมืองท้องถิ่นปกครองสืบต่อมาระยะหนึ่ง และจากหลักฐานพระไอยการตําแหน่งนายทหารหัวเมืองดังกล่าว ข้างต้นได้กําหนดตําแหน่งเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยเพียงพระยา แต่เมื่อครั้งเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองพิชัยยกพล มาช่วยขุนพิเรนทรเทพกําจัดขุนวรวงศาธิราชแล้วได้รับบําเหน็จเป็นเจ้าพระยา

เหตุการณ์ที่สําคัญอีกครั้งของเมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลก คือ การก่อกบฏในรัชกาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มูลเหตุของการกบฏครั้งนั้น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ พระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ ดังนี้

“ฝ่ายพระยาพิชัยข้าหลวงเดิมแจ้งว่าสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าพระเจ้าหงสาวดี เป็นปรปักษ์ แก่กันก็คิดการกบฏครั้นแจ้งพระราชกําหนดก็มิได้ยกไปโดยเสด็จ จึงซ่องสุมชาวเมืองแล้วกวาดครอบครัว ของตัวและครัวชาวเมืองทั้งปวงซึ่งเข้าด้วยนั้นไป ณ เมืองสวรรคโลกแจ้งความทั้งปวงแก่พระยาสวรรคโลก ๆ ก็ลงใจด้วยคิดกันจะยกไปตีเอาเมืองพิษณุโลกแต่หลวงปลัดและยกขุนยกกระบัตร ขุนนรนายกไซร้มิได้ลงด้วย พระยาทั้งสองจึงให้คุมเอาหลวงปลัด ขุนยกกระบัตร ขุนนรนายกจําได้ไว้…”

การก่อกบฏของพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงปราบอย่างหนัก โดยเสด็จยกทัพไปบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง พระองค์ต้องใช้เวลาถึงสามวันจึงยกทัพ เข้าเมืองสวรรคโลกได้ เมื่อตีเมืองสวรรคโลกได้แล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสั่งให้มัดพระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย ตระเวนรอบทัพแล้วให้ฆ่าเสีย

หลังจากเหตุการณ์นั้นก็ไม่ปรากฏว่าเมืองศรีสัชนาลัยก่อกบฏแข็งเมืองต่อกรุงศรีอยุธยาอีก บทบาทความสําคัญของเมืองศรีสัชนาลัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นในลักษณะหัวเมืองที่ถูกเกณฑ์ให้ยกทัพ ไปช่วยในการสงครามหรือป้องกันหัวเมืองฝ่ายเหนือตลอดมา

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยกรุงธนบุรี

ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเสด็จฯปราบกบฏพระเจ้าฝาง (เรือน) ได้ชัยชนะแล้ว จึงเสด็จพระราชดําเนินไปเมืองสวรรคโลก กระทําการสมโภชพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน และเมื่อครั้นรวบรวมบ้านเมืองเป็นปีกแผ่นแล้วทรงโปรดให้ตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นใหม่ อีกครั้งในปี พุทธศักราช 2313 แต่เมืองสวรรคโลกถูกทิ้งร้างไป เมื่อกองทัพอะแซหวุ่นกี้เข้ายึดเมือง

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงอธิบายความเกี่ยวกับทําเนียบหัวเมืองที่ขึ้นตรงต่อ กรุงเทพฯ แต่ก่อนมาว่ากําหนดเป็น 4 ชั้น เรียกว่าเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี และเมืองจัตวา เมืองศรีสัชนาลัย หรือสวรรคโลก ซึ่งมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโทในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้รับการยกขึ้น เป็นเมืองชั้นโทของกรุงรัตนโกสินทร์เช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองสําคัญ อยู่หน้าด่าน และการที่ได้รับยกขึ้นเป็นเมืองโทนั้นสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้อีก ประการหนึ่งว่า เพื่อกํากับเมืองเอกคือเมืองพิษณุโลกไม่ให้แผ่อํานาจใหญ่โตเกินกว่าสมควรไปด้วย

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงโปรดให้ตั้งเมืองสวรรคโลก (เมืองศรีสัชนาลัย) และสุโขทัยขึ้นอีก แต่บ้านเมืองมีสภาพ ทรุดโทรมมาก จึงได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองสวรรคโลกไปตั้งที่วังไม้ขรซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเก่าลงไปทางทิศใต้

เรื่องราวของการย้ายที่ตั้งเมืองครั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงบันทึกไว้ ในจดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลกเมื่อ พุทธศักราช 2444 ความว่า

“…เหตุที่ย้ายครั้งนี้ได้ความพระยาสวรรคโลกบอกว่า พระยาสวรรคโลกที่ชื่อนาคบ้านอยู่วัง ไม้ขร ได้เป็นพญาขึ้นว่าราชการอยู่ที่บ้านวังไม้ขร จึงเป็นเมือง...”

หลังจากย้ายที่ตั้งเมืองสวรรคโลกไปตั้งที่วังไม้ขรแล้วนั้น เมืองเก่าที่ศรีสัชนาลัยยังคงมี ชาวเมืองอาศัยต่อไปตามเดิม การที่หน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายปกครองโยกย้ายไปตั้งอยู่ ณ บริเวณเมืองใหม่ กลับเป็นผลดี ทําให้โบราณสถานบรรดาสิ่งก่อสร้างมาแต่เดิมยังคงสภาพอยู่ได้

ต่อมาเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองแผนใหม่ ให้การบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงขึ้นอยู่ กับกระทรวงมหาดไทย และให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมืองสวรรคโลกได้ถูกรวมเข้ากับบรรดาหัวเมืองเหนืออื่น ๆ คือ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย และเมืองสุโขทัย รวม 5 เมืองเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก

ในปี พุทธศักราช 2459 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขการเรียกชื่อเมืองซึ่งเดิมเรียกว่า เมืองบ้างจังหวัดบ้าง ให้เป็นระเบียบเดียวกัน คือให้เปลี่ยนคําว่าเมืองเป็นจังหวัดให้หมด เมืองสวรรคโลก จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดสวรรคโลก ขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลกตามเดิม

เมื่อมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ใน พุทธศักราช 2476 จังหวัดสวรรคโลกก็ยังคงมีฐานะ เป็นจังหวัดต่อมา

จนกระทั่งปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดสวรรคโลกเป็น จังหวัดสุโขทัย เมืองสวรรคโลกและเมืองศรีสัชนาลัยเดิมนั้น ถูกกําหนดให้มีฐานะเป็นอําเภอสวรรคโลก และอําเภอศรีสัชนาลัยขึ้นอยู่กับจังหวัดสุโขทัยแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

ประวัติและความเป็นมาของงานโบราณคดีและการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์

พุทธศักราช 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ วางแผนและออกแบบการก่อสร้าง โดยให้หล่อ จําลององค์พระแบบพระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อครั้งเดือนพฤษภาคม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ขึ้นมาตรวจแก้พระพุทธรูป และได้ตรวจโบราณสถานในเขตเมืองสวรรคโลก ได้แก่ เตาทุเรียง วัดช้างล้อม วัดสุวรรณคีรีบรรพต วัดพนมเพลิง วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสมเด็จเจ้าพระยา (วัดนางพญา) และวัดพระปรางค์ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง) โดยทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก”

พุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดํารงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัยเพื่อสํารวจโบราณสถาน

พุทธศักราช 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพเสด็จไปตรวจโบราณ สถานที่เมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และได้ออกหนังสืออนุญาตให้นายเบี้ยว พานิชกิจทําการซื้อขาย โบราณวัตถุได้

“…เหตุที่ย้ายครั้งนี้ได้ความพระยาสวรรคโลกบอกว่า พระยาสวรรคโลกที่ชื่อนาคบ้านอยู่วัง ไม้ขร ได้เป็นพญาขึ้นว่าราชการอยู่ที่บ้านวังไม้ขร จึงเป็นเมือง…”

หลังจากย้ายที่ตั้งเมืองสวรรคโลกไปตั้งที่วังไม้ขรแล้วนั้น เมืองเก่าที่ศรีสัชนาลัยยังคงมี ชาวเมืองอาศัยต่อไปตามเดิม การที่หน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายปกครองโยกย้ายไปตั้งอยู่ ณ บริเวณเมืองใหม่ กลับเป็นผลดี ทําให้โบราณสถานบรรดาสิ่งก่อสร้างมาแต่เดิมยังคงสภาพอยู่ได้

ต่อมาเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองแผนใหม่ ให้การบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงขึ้นอยู่ กับกระทรวงมหาดไทย และให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมืองสวรรคโลกได้ถูกรวมเข้ากับบรรดาหัวเมืองเหนืออื่น ๆ คือ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย และเมืองสุโขทัย รวม ๕ เมืองเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก

ในปี พุทธศักราช 2459 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขการเรียกชื่อเมืองซึ่งเดิมเรียกว่า เมืองบ้างจังหวัดบ้าง ให้เป็นระเบียบเดียวกัน คือให้เปลี่ยนคําว่าเมืองเป็นจังหวัดให้หมด เมืองสวรรคโลก จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดสวรรคโลก ขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลกตามเดิม

เมื่อมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ใน พุทธศักราช 2476 จังหวัดสวรรคโลกก็ยังคงมีฐานะ เป็นจังหวัดต่อมา

จนกระทั่งปี พุทธศักราช 2482 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดสวรรคโลกเป็น จังหวัดสุโขทัย เมืองสวรรคโลกและเมืองศรีสัชนาลัยเดิมนั้น ถูกกําหนดให้มีฐานะเป็นอําเภอสวรรคโลก และอําเภอศรีสัชนาลัยขึ้นอยู่กับจังหวัดสุโขทัยแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

ประวัติและความเป็นมาของงานโบราณคดีและการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์

พุทธศักราช 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ วางแผนและออกแบบการก่อสร้าง โดยให้หล่อ จําลององค์พระแบบพระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อครั้งเดือนพฤษภาคม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ขึ้นมาตรวจแก้พระพุทธรูป และได้ตรวจโบราณสถานในเขตเมืองสวรรคโลก ได้แก่ เตาทุเรียง วัดช้างล้อม วัดสุวรรณคีรีบรรพต วัดพนมเพลิง วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสมเด็จเจ้าพระยา (วัดนางพญา) และวัดพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง) โดยทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก”

พุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดํารงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัยเพื่อสํารวจโบราณสถาน

พุทธศักราช 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพเสด็จไปตรวจโบราณ สถานที่เมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และได้ออกหนังสืออนุญาตให้นายเบี้ยว พานิชกิจทําการซื้อขาย โบราณวัตถุได้

พุทธศักราช 2485 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานจํานวน 34 แห่ง เช่น วัดช้างล้อม, วัดชมชื่น, วัดเจ้าจันทร์, วัดเจดีย์เจ็ดแถว, วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่และวัดราหู เป็นต้น โดยปัจจุบันโบราณสถานทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

พุทธศักราช 2499 กรมศิลปากรดําเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานในเมืองโบราณศรีสัชนาลัย

พุทธศักราช 2500 กรมศิลปากรเริ่มดําเนินการบํารุงรักษาโบราณสถานภายในกําแพง เมืองศรีสัชนาลัยด้วยการถากถางวัชพืชออกจากโบราณสถานและตรวจลักลอบขุดค้นภายในกําแพงเมือง และนอกกําแพงเมือง

พุทธศักราช 2514 กรมศิลปากรขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานภายในเมืองโบราณศรีสัชนาลัย จนแล้วเสร็จจํานวน ๑๔ แห่ง เช่น วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้วอุทยาน น้อยและวัดนางพญา เป็นต้น

พุทธศักราช 2525 กรมศิลปากรได้จัดทําโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยจัดอยู่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พุทธศักราช 2525-2529)

พุทธศักราช 2531 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย พื้นที่ 28,217 ไร่ ในเขตการปกครอง ตําบลศรีสัชนาลัย ตําบลหนองอ้อ ตําบลท่าชัย ตําบลสารจิต อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

กรมศิลปากรจัดทําแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นแผนการดําเนินงาน ในระยะยาว 7 ปี ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2533 – พุทธศักราช 2539

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2533

พุทธศักราช 2534 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกจากองค์การ UNESCO ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

พุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรจัดทําแผนแม่บทอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแผนการดําเนินงานในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2550-พุทธศักราช 2559

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช 2533

พุทธศักราช 2534 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกจากองค์การ UNESCO ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

พุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรจัดทําแผนแม่บทอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแผนการดําเนินงานในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2550-พุทธศักราช 2559

ศรีสัชนาลัย เมืองมรดกโลก

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย พร้อมด้วย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยาน ประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 15 เมื่อปี พุทธศักราช 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกําหนดและหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ด้วยหลักเกณฑ์ข้อที่ 1 และ ข้อที่ 3 ดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 1: เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทําขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาดอันฉลาด

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3: เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าสาบสูญไปแล้ว

เมืองสวรรคโลกชื่อเดิมว่าอะไร

เมืองสวรรคโลกเดิมตั้งอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานี มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงในนาม “เมืองศรีสัชนาลัย” ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 1994 พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ได้ยกทัพมายึดเมืองศรีสัชนาลัย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “เมืองเชียงชื่น” ต่อมา พ.ศ. ...

สวรรคโลก จ อะไร

จังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดหนึ่งของไทยในอดีต แต่ในปัจจุบันคือ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสวรรคโลก จังหวัด พ.ศ. 2329 – 2482.

เมืองสวรรคโลก มี งาน หัตถกรรม ที่ ขึ้น ชื่อ คือ อะไร

2. แหล่งเตาศรีสัชนาลัย (เมืองสวรรคโลกเก่า) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบเตาเผาเป็นจำนวนมาก เครื่องสังคโลกที่ได้จากเตานี้จะเป็นงานที่มีความประณีต ทั้งในแง่ของรูปร่าง การตกแต่ง และมีคุณภาพสูงกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแหล่งเตาเผานี้มีมากมายหลายประเภทด้วยกัน เช่น ประเภทเครื่องเคลือบเขียวหรือเซลาดอน ประเภทเคลือบขาว ประเภท ...

สวรรคโลก มีอะไรบ้าง

โครงการเกษตรอินทรีย์ สนามบินสุโขทัย.
สถานีรถไฟสวรรคโลก.
เดินเล่นชิวๆ ย่านบ้านเก่าตึกโบราณ.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก.
ศาลหลักเมืองสวรรคโลก.
โรงพักเก่า.
ที่ว่าการอำเภอสวรรคโลกเก่า.
โรงเรียนอนันตนารี.