Data information มีอะไรบ้าง

สารสนเทศ คือ ข้อมูลชนิดหนึ่งที่ได้ผ่านกรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data manipulation) จนมีเนื้อหาและรูปแบบที่ตรงกับความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้

กรรมวิธีจัดการข้อมูล ได้แก่ การปรับเปลี่ยน การจัดรูปแบบใหม่ การกลั่นกรอง และการสรุป ดังนั้นสารสนเทศเป็นข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และอยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ได้ทันทีตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยในการตัดสินใจ สารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส หรือวีดิทัศน์ เป็นต้น

สรุปได้ว่าข้อมูลมีความแตกต่างจากสารสนเทศ คือ ข้อมูลเป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนสารสนเทศเป็นข้อมูลที่นำมาผ่านกรรมวิธีจัดการข้อมูลมาแล้ว ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้หรือนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ทันที ดังตัวอย่างแสดงข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล : นักเรียนในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งมีจำนวน 2,000 คน มีจำนวนครู 50 คน

สารสนเทศ : อัตรานักเรียนต่อครูในโรงเรียน = 2,000/50 = 40

จากตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสารสนเทศเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที เช่น ถ้าต้องการทราบว่า โรงเรียนใดที่มีจำนวนครูเพียงพอที่ดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่ากัน ก็สามารถทำได้โดยการหาค่าอัตราส่วนของนักเรียนต่อครูของแต่ละโรงเรียนมาเปรียบเทียบกัน ก็จะทราบว่าโรงเรียนใดที่มีจำนวนครูไม่เพียงพอ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน

ทั้งข้อมูลและสารสนเทศเป็นพื้นฐานของความรู้โดยข้อมูลถูกประมวลผลออกมาเป็นสารสนเทศ จากสารสนเทศนำไปสู่ความรู้ ดังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันได้ในรูปพีระมิดแสดงลำดับชั้นของความรู้

หรือ ระบบงานห้องสมุดโรงเรียน ข้อมูลที่ต้องจัดรวบรวมคือข้อมูลหนังสือในห้องสมุด ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ รหัสดิวอี้ สารบัญหนังสือ เป็นต้น ข้อมูลสมาชิกซึ่งก็คือครูและนักเรียน ข้อมูลโสตวัสดุ ข้อมูลการยืมคืนของสมาชิก  เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้ว ก็จะต้องมีการประมวลผลข้อมูล เช่นจัดเรียงรายการหนังสือตามชื่อ ตามเลขทะเบียนหนังสือ ตามผู้แต่ง เพื่อให้สะดวกในการค้นหา หรือจัดทำสถิติต่างๆ

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมาย และการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัดข้อมูล เป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลข ภาพ เสียง หรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริง และต่อเนื่อง ซึ่งตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งสารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย

โดยข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะรับรู้ข้อมูลทางตา ทางหู ทางมือ ทางจมูก และทางปาก

ชนิดของข้อมูล

1. ข้อมูลตัวเลข ประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ

2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น

3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพบุคคล ภาพสัตว์ต่าง ๆ

4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

ความสำคัญของข้อมูล 

ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก มนุษย์ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์มากมายทั้งในชีวิตประจำวัน และในการปฏิบัติงาน สำหรับในชีวิตประจำวันนั้น ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ทำให้เราทราบเรื่องราวความเป็นไปต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวการศึกษา และเราอาศัยข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการดำรงชีวิต เช่น ข่าวการเดินทาง เรือต่อรถ รถต่อเรือ ทำให้เราทราบว่าในเส้นทางดังกล่าวมีรถสายอะไรผ่าน หากจำเป็นต้องเดินทางนั่นเอง

ประโยชน์ของข้อมูล

1. ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จากโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนหรือเป็นความรู้เพิ่มเติม

2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้

3. ด้านการตัดสินใจ เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่นในแต่ละร้าน จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด

ทำความรู้จักกับ Data และ Information ที่หลายคนเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า Data กับ Information ต่างกันอย่างไร พร้อมกับยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้สามารถแยก Data กับ Information ได้ชัดเจน

หลายคนที่เพิ่งเริ่มหัดเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล การศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหลายคนที่เคยอ่านหนังสือหรือบทความมาหลายบทความอาจจะผ่านตากับคำว่า Data และ Information กันมาบ้าง

ซึ่งก็คงเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า “อ้าว Data แปลเป็นไทยว่าข้อมูลส่วน Information ก็แปลเป็นไทยว่าข้อมูลเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 คำมันแตกต่างกันอย่างไรหล่ะ?”

ดังนั้นวันนี้ DIGI จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Data และ Information ที่หลายคนเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า Data กับ Information ต่างกันอย่างไร พร้อมกับยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้สามารถแยก Data กับ Information ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ

Data vs Information ความเหมือนที่แตกต่างกัน

ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการเก็บบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยที่ข้อมูลสามารถอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข หรือจะเป็นสัญลักษณ์อะไรก็ได้ ข้อมูลที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดแค่กระบวนการบันทึกเท่านั้นโดยยังไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์หรือแปลงสภาพ ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19, ราคาน้ำมันในแต่ละวัน, จำนวนคนที่มาลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เป็นต้น

สารสนเทศ (Information) คือข้อมูลที่ผ่านการคิด วิเคราะห์ ตีความหมายแล้ว โดยคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเป็นข้อมูลเหมือนกับ Data แต่ในความเป็นจริงแล้ว Information ต้องผ่านกระบวนการอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความหมายและสามารถนำเอาค่าเหล่านั้นมาแปรผลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบใหม่
เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 คือ Data แต่เรานำเอาข้อมูลมาเข้ากระบวนการทางสถิติจะได้ออกมาว่าค่าเฉลี่ยของอายุผู้ติดเชื้อ Covid-19 สิ่งนี้จะเรียกว่า Information เพราะผ่านกระบวนการเรียบร้อยแล้ว หรือราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงในรอบเดือนอันนี้ก็จะนับเป็น Information เช่นกัน

เพราะผ่านกระบวนการทำให้เกิดความเข้าใจใหม่โดยกระบวนการแปลงข้อมูล (Processing) จะประกอบไปด้วย 7 รูปแบบได้แก่

  1. Calculation เป็นการนำเอา Data มาผ่านกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์เผื่อให้เกิดความหมายในรูปแบบใหม่
  2. Sorting เป็นการนำเอา Data มาเรียงลำดับอาจจะเป็นจากมากไปน้อยหรือน้อยไปมากก็ได้
  3. Retrieving เป็นการดึงข้อมูลมาใช้เพื่อเป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม เช่นการทราบข้อมูลที่อยู่ของคนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
  4. Merging เป็นการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ข้อมูล 2 ชุดขึ้นไปรวมกันเป็นข้อมูลชุดเดียว
  5. Summarizing เป็นการสรุปข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความกระชับและความเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น การหาค่าเฉลี่ย
  6. Reproducing เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลชุดเดิม
  7. Updating เป็นการปรับปรุงชุดข้อมูลเก่าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง Data และ Information

ที่มา : ตารางรายงาน COVID-19 ประจำวัน ข้อมูลประจำประเทศไทย

ตารางข้างต้นแสดงถึงข้อมูล (Data) ของผู้ติดเชื้อ Covid-19 ประจำวันของประเทศไทยซึ่งเป็นข้อมูลที่เก็บมาจากคนไข้โดยยังไม่ผ่านกระบวนการแปลงสภาพดังนั้นตารางข้างต้นจึงเรียกว่า Data

แต่หากเรานำเอาข้อมูลเหล่านี้มาผ่านกระบวนการเช่น ถ้าเรานำข้อมูลมาผ่านกระบวนการเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) ก็จะทราบว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยสุดอยู่ที่ 12 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากสุดอยู่ที่ 55 ปี ถ้าผ่านกระบวนการสรุปผลข้อมูลก็จะพบว่าผู้ป่วยมีจำนวนทั้งสิ้น 12 คนเป็นเพศชาย 4 คน เพศหญิง 8 คนโดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเรียกว่า Information

สรุป

การเข้าใจถึงความหมายความถูกต้องของทั้ง Data และ Information นั้นนอกจากจะช่วยให้คนที่กำลังเริ่มต้นจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนั้นสามารถจัดการกับ Data และ Information ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การทำงานกับข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็วและไม่เกิดความสับสนเวลาจะสื่อสารกับผู้อื่น รวมไปถึงทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเมื่อเวลาต้องการจะเลือกใช้งานว่ากระบวนการนี้ต้องเลือกใช้เป็น Data หรือ Information

Data and Information มีอะไรบ้าง

ความแตกต่างระหว่าง Data กับ Information มีอะไรบ้าง ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือตัวเลขดิบๆ ไม่ได้ให้ความหมายอะไร ส่วนสารสนเทศ คือ ชุดข้อมูลที่ผ่านการจัดการ กำกับบริบท หรือให้ความหมายมาแล้ว ช่วยให้ Insight บางอย่างกับผู้อ่านสารสนเทศได้

Data Information ทําหน้าที่อะไร

Data vs Information ความเหมือนที่แตกต่างกัน สารสนเทศ (Information) คือข้อมูลที่ผ่านการคิด วิเคราะห์ ตีความหมายแล้ว โดยคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเป็นข้อมูลเหมือนกับ Data แต่ในความเป็นจริงแล้ว Information ต้องผ่านกระบวนการอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความหมายและสามารถนำเอาค่าเหล่านั้นมาแปรผลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบใหม่

Data Information มีประโยชน์ด้านใดบ้าง

ประโยชน์ของข้อมูลและความสำคัญของการใช้ข้อมูล.
1. ช่วยให้องค์กรเข้าใจสถานการณ์และประสิทธิภาพการทำงาน ... .
2. ช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้ดีขึ้นและตรงกับความเป็นจริง ... .
3. ช่วยให้องค์กรรับมือและแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น ... .
4. ช่วยพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ... .
5. เข้าใจลูกค้ามากขึ้น สร้างประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจ.

ข้อมูล (Data) ที่กี่ประเภท อะไรบ้าง

Data คือ ข้อมูลที่บ่งบอกถึง ข่าวสาร หรือความเป็นจริงบางอย่าง อาจเป็นตัวเลข หรือเป็นตัวอักษร ที่ถูกเก็บไว้ในระบบสารสนเทศที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท 1. Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) 2. Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita