วัสสการพราหมณ์เป็นคนเก่งอย่างไร

เรื่องวัสสการพราหมณ์เข้าเฝ้า (ตอน 1)

ข่าวหน้าใน

27 ส.ค. 2564 - 12:34 น.

เรื่องวัสสการพราหมณ์เข้าเฝ้า (ตอน 1) – วัสสการพราหมณ์กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า พระเจ้าอยู่หัวแห่งเมืองราชคฤห์ (อชาตศัตรู เวเทหิบุตร) ฝากถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้ววัสสการพราหมณ์ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แห่งมคธรัฐโจมตีแคว้นวัชชีอย่างไรก็ไม่สามารถจะตีแตกได้แคว้นวัชชีของกษัตริย์ลิจฉวีเข้มแข็งเหลือเกิน

พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสกับวัสสการพราหมณ์ ทรงหันไปตรัสกับพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากซึ่งนั่งถวายงานพัดอยู่ข้างๆ ตรัสถาม พระอานนท์ว่า เคยได้ยินไหมว่ากษัตริย์ลิจฉวีมีคุณสมบัติ 7 ประการอันเป็นทางทำให้มีแต่ความเจริญไม่มีเสื่อม ทรงถามทีละข้อๆ พระอานนท์กราบทูลว่า เคยได้ยิน

คุณสมบัติ 7 ประการ หรือ อปริหานิยธรรม 7 ประการที่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีประพฤติอยู่เป็นประจำได้นำมาลงไว้แล้ว

วัสสการพราหมณ์เป็นคนฉลาด พอได้ฟังอย่างนี้แล้วก็ได้คิดว่าที่พวกกษัตริย์ลิจฉวีเข้มแข็ง ข้าศึกศัตรูไม่สามารถเอาชนะได้เพราะมีความสมัครสมานสามัคคีกัน ทางเดียวที่จะตีแตกได้ ต้องหาทางทำลายความสามัคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี

ข้อนี้เป็นความฉลาดของวัสสการพราหมณ์เอง มิใช่พระพุทธเจ้าท่านชี้แนะแต่ประการใด จะหาว่าพระองค์ทรงบอกใบ้หรือชี้แนะให้กษัตริย์ สองเมืองรบรากันไม่ถูกต้องแน่นอนเพราะพระพุทธจริยาวัตรของพระองค์ทรงเต็มเปี่ยมด้วยมหากรุณามุ่งให้สรรพสัตว์รักใคร่ปรองดองกันฉันญาติพี่น้อง ส่วนใคร่ฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระองค์แล้วจะนำไปคิดไปใช้ในแง่ลบแง่เบียดเบียนคนอื่น เป็นความผิดของผู้นั้นเอง

หลังจากวัสสการพราหมณ์จากไปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วทรงแสดงอปริหานิยธรรม (หลักแห่งความไม่เสื่อม) สำหรับพระภิกษุไว้ 6 นัย ในที่นี้จะขอนำมาให้รับทราบไว้ 2 นัย คือ

ลองอ่าน มหาปรินิพพานสูตร จากพระไตรปิฎก สำหรับประชาชน (กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ พ.ศ.2548) อีกที

เริ่มเรื่องว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แคว้นมคธต้องการจะตีแคว้น วัชชี ส่งวัสสการพราหมณ์ไปเฝ้า เล่าความให้ทรงทราบ ให้พราหมณ์ฟังดูว่า จะทรงพยากรณ์อย่างไร

พระพุทธเจ้าตรัสถามพระอานนท์ ถึงธรรมะ 7 ประการที่ชาววัชชีประพฤติกัน อันจะหวังความเจริญได้โดยส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ว่าเคยฟังมาบ้างหรือเปล่า

พระอานนท์กราบทูลว่า เคยได้ฟังทีละข้อว่า...ชาววัชชีนั้น

1.จะหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2.จะพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจของชาววัชชี 3.จะไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ จะไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้วจะประพฤติปฏิบัติในวัชชีธรรมอันเป็นของเก่า

4.จะเคารพเชื่อฟังชาววัชชีผู้แก่เฒ่า 5.จะไม่ก้าวล่วงข่มเหงกุลสตรี กุลกุมารี 6.จะเคารพนับถือเจดีย์ของชาววัชชีทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยพลีกรรมอันเป็นธรรมที่ให้เคยทำ

7.จะจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม ในพระอรหันต์ของชาววัชชี จะตั้งใจว่าพระอรหันต์ที่ยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข

เมื่อพระอานนท์กราบทูลจบ พระพุทธเจ้าตรัสแก่วัสสการพราหมณ์ว่า “ตถาคต เคยตรัสแสดงวัชชีอปริหานิยธรรม 7 ประการณ์ ที่สารันทเจดีย์มาแล้ว”

วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็หวังความเจริญได้ ไม่มีเสื่อม จะกล่าวไยถึง 7 ข้อ พระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ควรทำการรบกับชาววัชชี เว้นไว้แต่ใช้วิธียุ หรือทำให้แตกกัน”

แล้ววัสสการพราหมณ์ก็กราบทูลลากลับ

ผมพิจารณาเนื้อหาพระไตรปิฎก ครั้งนี้จับกระแสได้ เรื่องการเมืองมาถึงพระพักตร์ โดยฐานะพระ อาศัยแคว้นมคธเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พุทธศาสนา จะไม่ทรงรับฟังเสียเลยก็ไม่ได้

แต่จะสนอง แนะนำให้นักการเมืองรบกันตรงๆก็ผิดสมณวิสัย ยิ่งไม่ได้อีก

ท่าทีของพระพุทธเจ้าทรงรักษาท่าทีมาก ทั้งยังทรงอาศัย ปัญหาการเมือง เรียกประชุมสงฆ์ ทรงสอนอปริหานิยธรรม ฉบับพระให้สงฆ์ฟังต่อ

การเมืองสมัยพุทธกาล มี 16 แคว้นมหาอำนาจ แคว้นมคธ ของพระเจ้าอชาตศัตรู เป็นแคว้นใหญ่แข่งบารมีกับแคว้นโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเล็งขยายอาณาเขตไปที่แคว้นวัชชี ที่อยู่ทางเหนือ

ทรงรอจนหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน จึงวางแผนยาว ส้องสุมกำลังตั้งเมืองใหม่จ่อแดนแคว้นวัชชี แล้ววางอุบายโบยตีวัสสการพราหมณ์ เข้าไปรับใช้แคว้นวัชชี เจ้าลิจฉวีหลงกล ถูกยุแหย่ให้แตกแยกกัน

สถานการณ์สุกงอม ทัพมคธยกประชิด ไม่มีกษัตริย์วัชชีองค์ใดออกมารบสู้เลย เพราะมัวแต่เกี่ยงกัน

แผนวัสสการพราหมณ์ เป็นพิชัยสงคราม บทสำคัญที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกครับ พ่อขุนเม็งราย เจ้าเชียงใหม่ เคยใช้ “ขุนฟ้า” ไปยุแหย่ หริภุญไชย จนยึดหริภุญไชยได้ ในเวลาไม่นาน

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย "โทษแห่งการแตกสามัคคี" ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ลักษณะเด่นของ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีที่มีความงดงาม ใช้ถ้อยคำอย่างละเมียดละไม โอ่อ่าอลังการในการใช้แบบแผนฉันทลักษณ์ของกาพย์และฉันท์เช่น การใช้สัททุลลวิกกีฬิต
ฉันท์แต่งบทไหว้ครู หรือการใช้มาลินีฉันท์  และสัทธราฉันท์แต่งบทขรึมขลัง  การใช้กาพย์และ
ฉันท์ลักษณะอื่นๆ  ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหา อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน่าหวาดกลัว เกรี้ยวกราด ตกใจ ผาดโผน  ลีลาอ่อนไหวโน้มน้ำใจ หรือเศร้าสังเวช  จนกล่าวได้ว่า เอกภาพของเนื้อหาและรูปแบบฉันทลักษณ์ในสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นแต่งได้ดียิ่ง  ควรเป้นแบบอย่างในการศึกษาเรียนรู้

หลักธรรมสำคัญของ สามัคคีเภทคำฉันท์ สะท้อนให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีกันระหว่างเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี  เป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียแคว้นวัชชีแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครองแคว้นมคธ  ทั้งที่แต่เดิมนั้น  กษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนตั้งมั่น อยู่ในธรรมที่เรียกว่า "อปริหานิยธรรม" คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว  ผู้ปฏิบัติจักไม่เป็นไปในทางเสื่อม อันได้แก่
๑.  เมื่อมีกิจใดเกิดขึ้น ก็ประชุมกันปรึกษาในกิจนั้น
๒.  เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันกระทำกิจอันควรทำ
๓.  ถือมั่นตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีอันดีอันชอบที่มีอยู่  ไม่เลิกถอน หรือดัดแปลงเสียใหม่
๔.  มีความเคารพยำเกรงผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่  ทั้งเชื่อถือกระทำตามถ้อยคำบัญชาและคำแนะนำสั่งสอนของผู้เป็นใหญ่นั้น
๕.  ไม่ประทุษร้ายข่มเหงบุตรและภริยาของกันและกันด้วยประการใดๆ
๖.  ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นต่อเจดียสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  และการกระทำพลีกรรมบวงสรวงก็กระทำตามควร
๗.  อำนวยความคุ้มครองป้องกันแก่พระอรหันต์  บรรดาที่มีอยู่ในแว่นแคว้นวัชชีให้เป็นสุขและปราศจากภัย

เนื้อเรื่องโดยย่อของ สามัคคีเภทคำฉันท์  มีว่า สมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไม่นานนัก  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงครองราชสมบัติที่นครราชคฤห์ แคว้นมคธ  พระองค์ทรงมีวัสสการพราหมณ์  ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาราชกิจทั่วไป  ขณะนั้นทรงปรารภจะแผ่พระราชอาณาเขตเข้าไปถึงแคว้นวัชชี  แต่กริ่งเกรงว่ามิอาจเอาชนะได้ด้วยการส่งกองทัพเข้ารุกราน  เนื่องจากบรรดากษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีสูง และการปกครองอาณาประชาราษฎ์รด้วยธรรม อันนำความเจริญเข้มแข็งมาสู่แว่นแคว้น  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหารือเรื่องนี้เป็นการ
เฉพาะกับวัสสการพราหมณ์  จึงเห็นแจ้งในอุบายจะเอาชนะด้วยปัญญาวันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการ พร้อมพรั่งด้วยเสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ เมื่อเสร็จวาระเรื่องอื่นๆ ลงแล้ว  จึงตรัสในเชิงหารือว่า หากพระองค์จะยกทัพไปปราบแคว้นวัชชีใครจะเห็นคัดค้านประการใด

วัสสการพราหมณ์ฉวยโอกาสเหมาะกับอุบายตนที่วางไว้ ก็กราบทูลท้วงว่าเห็นทีจะเอาชนะไม่ได้เลย  เพราะกษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนผูกพันเป็นกัลยาณมิตรอย่างมั่นคง มีความสามารถในการศึกและกล้าหาญ  อีกทั้งโลกจะติเตียน หากฝ่ายมคธจงใจประทุษร้ายรุกรานเมืองอื่น  ขอให้ยับยั้งการทำศึกเอาไว้เพื่อความสงบของประชาราษฎร์

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งแสดงพระอาการพิโรธหนัก  ถึงขั้นรับสั่งจะให้ประหารชีวิตเสีย  แต่ทรงเห็นว่าวัสสการพราหมณ์รับราชการมานาน  จึงลดโทษการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ครั้งนั้น  เพียงแค่ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีอย่างแสนสาหัสจนสลบไสล  ถูกโกนหัวประจานและ เนรเทศออกไปจากแคว้นมคธ

ข่าววัสสการพราหมณ์เดินทางไปถึงนครเวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ทราบไปถึงพระกรรณของหมู่กษัตริย์ลิจฉวี  จึงรับสั่งให้เจ้าพนักงานตีกลองสำคัญเรียกประชุมราชสภาว่า ควรจะขับไล่หรือเลี้ยงเอาไว้ดี  ในที่สุดที่ประชุมราชสภาลงมติให้นำเข้าเฝ้าเพื่อหยั่งท่าทีและฟังคารมก่อน

แต่หลังจากกษัตริย์ลิจฉวีทรงซักไซ้ไล่เลียงด้วยประการต่างๆ ก็หลงกลวัสสการพราหมณ์  ทรงรับไว้ทำราชการในตำแหน่งอำมาตย์ผู้พิจารณาพิพากษาคดีและตั้งเป็นครูฝึกสอนศิลปวิทยาแก่ ราชกุมารของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีด้วย  จากนั้นต่อมา  พราหมณ์เฒ่าก็ทำที่ปฎิบัติงานในหน้าที่อย่างดี ไม่มีสิ่งใดบกพร่อง จนหมู่กษัตริย์ลิจฉวีไว้วางพระทัย

แผนการทำลายความสามัคคีได้เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ใช้กลอุบายให้บรรดาราชโอรสกษัตริย์ลิจฉวีระแวงกัน  โดยแกล้งเชิญแต่ละองค์ไปพบเป็นการส่วนตัว  แล้วถามปัญหาธรรมดาที่รู้ๆ  กันอยู่  เมื่อองค์อื่นซักเรื่องราวว่าสนทนาอะไรกับอาจารย์บ้าง  แม้ราชกุมารองค์นั้นจะตอบความจริง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือ ก่อให้เกิดความระแวงและแตกร้าวในบรรดาราชกุมาร  กระทั่งลุกลามไปสู่กษัตริย์ลิจฉวี ผู้เป้นพระราชบิดาทุกองค์  ทำให้ความสามัคคีค่อยๆ เสื่อมลงจนกระทั่งไม่เข้าร่วมประชุมราชสภา  หรือได้ยินเสียงกลองก็ไม่สนใจประชุม  เมื่อมาถึงขั้นนี้
วัสสการพราหรณ์จึงลอบส่งข่าวไปให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชีได้เป็นผลสำเร็จ

สามัคคีเภทคำฉันท์ แต่งขึ้นเพื่อมุ่งสรรเสริญธรรมแห่งความสามัคคีเป็นแก่นของเรื่อง และหลักธรรมข้อนี้ไม่ล้าสมัย  สามารถยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่หมู่ชนที่มีความพร้อมเพรียงกันพัฒนาสังคม  หากนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

แก่นเรื่อง

1. โทษของการแตกสามัคคี
2. การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรู
3. การใช้วิจารณญานก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี
4. การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม


 วิเคราะห์ตัวละคร
วัสสการพราหมณ์กับกษัตริย์ลิจฉวี
วัสสการพราหมณ์เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินเรื่อง  เป็นผู้ออกอุบายวางแผนและดำเนินการยุยงจนเหล่ากษัตริย์แตกความสามัคคีทำให้อชาตศัตรูเข้าครอบครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ  วัสสการพราหมณ์เป็นพราหมณ์อาวุโสผู้มีความสามารถสติปัญญาดี  รอบรู้ศิลป์วิทยาการและมีวาทศิลป์เป็นที่ไว้วางใจจากฝ่ายศัตรูและสามารถโน้มน้าวเปลี่ยนความคิดของฝ่ายตรงข้ามให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้สำเร็จ บางทรรศนะอาจเห็นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นคนที่ขาดคุณธรรมใช้อุบายล่อลวงผู้อื่นเพื่อประโยชน์ฝ่ายตน  แต่อีกมุมหนึ่งวัสสการพราหมณ์มีคุณสมบัติที่น่ายกย่องกล่าวคือมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมืองเป็นอย่างมากยอมเสียสละความสุขส่วนตน  ยอมลำบากเจ็บตัว ยอมเสี่ยงไปอยู่ในหมู่ศัตรูต้องใช้ความอดทดสูงและรู้จักรักษาความลับได้ดีเพื่อให้อุบายสำเร็จ  ส่วนเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีขาดวิจารญาณ(ญาณพิจารณ์ตรอง) จนในที่สุดทำให้แตกความสามัคคีจนเป็นเหตุให้แคว้นวัชชีตกเป็นของแคว้นมคธ

วัสสการพราหมณ์คือ ตัวละครใน “สามัคคีเภทคำฉันท์” อันเป็นบทประพันธ์ของ ชิต บุรทัต กวีเอกในแผ่นดินรัชกาลที่ ๖

ชิต บุรทัต เชี่ยวชาญในเชิงฉันท์อย่างไร คงจะเห็นกันได้จากการร่ำพรรณนาถึงความงดงามของ กรุงราชคฤห์อันเป็นนครหลวงของพระเจ้าอาชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ เอาไว้ว่าดังนี้

“ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

บราลีพิลาศุภจรูญ นพศูลประภัศร

หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย”...

อันนับได้ว่างามนัก วัสสการพราหมณ์ ในคำฉันท์เรื่องนี้เป็นครูอาจารย์ผู้สอนศิลปะวิทยาอยู่ในแคว้นมคธ แต่ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นก็คือ เป็นนักการเมืองเจ้าเล่ห์ เป็น “บ่างช่างยุ” หรือว่า นักยุแยงตะแคงรั่วมือระดับปรมาจารย์

วัสสการพราหมณ์เข้าไปเป็น “ไส้ศึก” อยู่ในแว่นแคว้นวัชชีซึ่งปกครองโดยเหล่าบรรดากษัตริย์ ลิจฉวี และใช้ระยะเวลายุแหย่อยู่ไม่นานนัก เหล่าบรรดาผู้นำดังที่ว่านั้น ก็ถึงกาลแตกแยก

ก่อนหน้านี้วัสสการพราหมณ์ได้ยอมเจ็บตัวเล่นละครตบตา ยอมให้เจ้านายตนเฆี่ยนตี และโกน หัวขับไล่ให้ออกจากเมืองไป ดังที่ผู้ประพันธ์ได้บรรยายเอาไว้ว่า

“ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศะเส้นก็สั่นรัว

ทั้งร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไป

แลหลังก็หลั่งโล หิตโอ้เลอะลามไหล

พ่งผาดอนาถใจ ตละล้วนระรอยหวาย”...

และนี่ก็คือฝีมือในการแต่งฉันท์ที่เป็นหนึ่งของชิต บุรทัต สามัคคีเภทคำฉันท์

ไม่เพียงแต่งดงามด้วยภาษากวีเท่านั้น แต่เนื้อหาสาระนับว่า ยังเหมาะเป็นยิ่งด้วยสำหรับสังคมไทยยามนี้

เหตุก็เพราะความไม่สมานฉันท์ ไม่สามัคคีกัน โดยแท้ ที่นำมาซึ่งความวิบัติล่มจมของบ้านเมือง

ฟังว่า เหล่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวีอันเป็นผู้ปกครองแคว้นวัชชีทั้งปวงนั้น ได้เคยมีการปกครองใน ระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง

ก่อนที่วัสสการพราหมณ์จะเข้ามาทำให้สภาเกิดแตกแยก และเกิด หวั่นระแวงแคลงใจกันขึ้น ดังที่ผู้ประพันธ์ว่า

“สามัคคีธัมมะทำลาย มิตระภิทนะกระจาย

สรรพะเสื่อมหายน์ ก็เปนไป”...

สมดังชื่อเรื่องว่า สามัคคีเภท

สรุปแล้ว ทั้งสภาและบ้านเมืองประชาชนของแคว้นวัชชีก็ไม่มีอะไรเหลือ ด้วยฝีมือการยุแหย่ ของวัสสการพราหมณ์แต่ผู้เดียวโดยแท้

วัสสการพราหมณ์อยู่ในสำนักทำหน้าที่อะไร

วัสสการพราหมณ์มุ่งหน้าไปเมืองเวสาลีเพื่อขอเข้ารับราชการ ด้วยความเป็นผู้มี วาทศิลป์ รู้จักใช้เหตุผลโน้มน้าวใจ ทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีทรงหลงเชื่อ รับวัสสการ พราหมณ์ไว้ในราชสำนักให้ทำหน้าที่พิจารณาคดีความและถวายพระอักษรเหล่าพระกุมาร

วัสสการพราหมณ์ใช้อุบายอย่างไรในการตีแคว้นวัชชี

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีปุโรหิตที่ปรึกษาชื่อวัสสการพราหมณ์ เป็นผู้รอบรู้ศิลปศาสตร์และมีสติปัญญาเฉียบแหลม วัสสการพราหมณ์กราบทูลให้ทรงใช้อุบายในการตีแคว้นวัชชี โดยอาสาเป็นไส้ศึกไปยุ่งยงเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีให้ทรงแตกความสามัคคี

อุบายของวัสสการพราหมณ์ มีอะไรบ้าง

1. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ 2. ประชุมหรือเลิกประชุม และทํากิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้ 4. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่ บัญญัติไว้

วัสสการพราหมณ์เริ่มต้นใช้อุบายอย่างไร

แผนการทำลายความสามัคคีได้เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ ใช้กลอุบายให้บรรดาราชโอรสกษัตริย์ลิจฉวีระแวงกัน โดยแกล้งเชิญแต่ละองค์ไปพบเป็นการส่วนตัว แล้วถามปัญหาธรรมดาที่รู้ๆ กันอยู่ เมื่อองค์อื่นซักเรื่องราวว่าสนทนาอะไรกับอาจารย์บ้าง แม้ราชกุมารองค์นั้นจะตอบความจริง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือก่อให้เกิดความระแวงและแตกร้าวในบรรดาราชกุมาร ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita