หนังสือ จดหมายเหตุ มี ชื่อ เรียก อีก อย่าง หนึ่ง ว่า อย่างไร

จดหมายเหตุ คืออะไร
จดหมายเหตุ(Archives) ตามหลักวิชาการสากลของการ
ดำเนินงานจดหมายเหตุมีความหมายคือ เอกสารฉบับ
(Original) ซึ้งสิ้นกระแสการปฎิบัติงานของส่วนราชการหรือ
สถาบันเอกชนที่ผ่านการวินิจฉัยว่ามีคุณค่าสมควรเก็บรักษา
ไว้ตลอดไปเอกสารสำคัญนี้ เรียกว่า  เอกสารจดหมายเหตุ
(Archives Materials) (กรมศิลปากร, 2542)

จดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน
ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฎิบัติงาน
และยังหมายรวมถึงหนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไปรายงานหรือ
บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (พจนานุกรมราชบัณฑิตย
สถาน, 2542)

เอกสารจดหมายเหตุ คืออะไร
เอกสารจดหมายเหตุคือเอกสารทุกชนิดที่สิ้นกระแสอายุการ
ใช้งานแล้วโดยจะมีอายุประมาณ 20-30 ปีย้อนหลังและจำเป็น
ที่จะต้องเก็บตลอดไป  ไม่สามารถทำลายได้พร้อมทั้งมีความ
สำคัญต่อประวัติพัฒนาการของหน่วยงานนั้น ๆ  ซึ่งเอกสาร
จดหมายเหตุสามารถจำแนก ออกได้เป็น

  • เอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์อักษร
    (Textual Archives) คือ เอกสารที่สื่อข้อความเป็นลาย
    ลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเขียนด้วยมือ หรือ พิมพ์ เช่นใบบอก
    สารตรา หนังสือโต้ตอบ เอกสารการประชุม
  • เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives)คือ เอกสารที่สื่อโดยเสียงหรือภาพเช่นภาพ
    ถ่ายเนกาตีฟสไลด์ โปสเตอร์ การ์ด ฯลฯ
  • เอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ แผนผัง (Cartographic Archives)  ได้แก่  แผนที่ พิมพ์เขียว
    แผนผังต่าง ๆ
  • เอกสารจดหมายเหตุประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์ (Machine - Readable Archives)   เป็นเอกสารที่
    บันทึกข้อมูล และ ค้นคืนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เอกสารของแต่ล่ะหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน จะมีลักษณะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับภารกิจหน้าที่ของ
    หน่วยงานนั้น ๆ จึง มีลักษณะแตกต่างกันออกไป แต่
    อย่างไรก็ตามโดยหลักแล้วแต่ละหน่วยงานจะมีเอกสาร
    3 กลุ่มที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่
         - เอกสารเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป
         - เอกสารบริหารงานบุคคล
         - เอกสารบริหารการเงิน

หนังสือ จดหมายเหตุ มี ชื่อ เรียก อีก อย่าง หนึ่ง ว่า อย่างไร

ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยของเราตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2387 – 2388 และอีกครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2407 – 2411 ชื่อว่า    “ บางกอกรีคอร์เดอร์ “ (The Bangkok Recorder) หรือชื่อไทย “หนังสือจดหมายเหตุ” ซึ่งถูกเขียนและพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ในช่วงแรกเริ่มตีพิมพ์ออกมาเป็นฉบับรายเดือน แล้วต่อมาก็เปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือเรียกกันว่ารายครึ่งเดือน

หนังสือ จดหมายเหตุ มี ชื่อ เรียก อีก อย่าง หนึ่ง ว่า อย่างไร

ประวัติความเป็นมา

เริ่มจากหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้มีความประสงค์อยากตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ที่บอกเล่าเรื่องราวในประเทศไทย จึงได้เข้ากราบทูลขอพระบรมราชานุญาติกับรัชกาลที่ 3 และเหล่าบรรดาอำมาตย์มุขมนตรีต่างให้การสนับสนุนแล้ว หนังสือบางกอก รีคอร์เดอร์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นด้วยความที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักคิดว่าเป็นเพียงแค่จดหมายเหตุธรรมดาทำให้ออกมาแค่เพียงปีเดียวก็ยกเลิกไปเพราะรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุนอีกแล้ว สาเหตุมาจากการทำหนังสือพิมพ์แนวอเมริกันจะเป็นรูปแบบการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ทำให้ผู้แทนในรัผฐบาลหลายคนเกิดความไม่พอใจประกอบกับหมอบรัดเลย์เกิดปัญหาส่วนตัวจึงทำให้เลิกพิมพ์ไปในระยะช่วงหนึ่ง

พอมาถึงในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการรับอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งพระองค์เองก็เคยเป็นสมาชิกของบางกอก รีคอร์เดอร์มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ได้ออกตีพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์อีกครั้ง ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก แต่ด้วยความที่หมอบรัดเลย์เขียนบทความทำนองยกศาสนาและประเทศของตนขึ้นข่มคนไทย รวมทั้งเขียนโจมตีพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงเขียนตอบโต้ในทันที ถึงแม้จะไม่มีการลงพระปรมาภิไธย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีว่าบทความที่ว่ามาจากใคร หลังจากนั้นก็เกิดความไม่พอใจมากขึ้นเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ไม่มีการบอกรับสมาชิกเพิ่มขึ้นและสมาชิกเดิมก็ไม่จ่ายเงิน จึงทำให้หนังสือบางกอก รีคอร์เดอร์ได้ถูกปิดตัวลงเพราะยากที่จะยืนหยัดได้ในสถานการณ์เช่นนี้

รูปแบบของหนังสือ

หนังสือ จดหมายเหตุ มี ชื่อ เรียก อีก อย่าง หนึ่ง ว่า อย่างไร

มีการจัดพิมพ์ขึ้นทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกปักษ์ละ 2 ใบ มี 4 หน้า โดยในฉบับที่เป็นภาษาไทยจะมีขนาด 6” x 9” ส่วนฉบับภาษาอังกฤษจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าคือ 12” x 18” มีรูปแบบในการจัดหน้าแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ ในนั้นมีทั้งภาพประกอบ คือภาพวาดขยายปลีกใบละสลึงเฟื้อง แต่ถ้าซื้อแบบพิมพ์เป็นเล่มรวมปลายปีขายเล่มละ 5 บาท เล่มหนึ่งจะมี 26 ใบ

โดยเนื้อหาภายในจะเป็นลักษณะตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ ราคาสินค้า ส่วนการนำเสนอจะเน้นเป็นการรายงานข่าว รวมทั้งการเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งหมอบรัดเลย์ต้องการให้คนเห็นว่า หนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และมีคุณค่าต่อบ้านเมืองมากแค่ไหน สะท้อนแสงสว่างของบ้านเมือง แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายหนังสือบางกอก รีคอร์เดอร์ได้ถูกปิดตัวลงเมื่อปีพ.ศ 2411

Post navigation